คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความชอบด้วยกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 6และมาตรา 8(1) ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษประกาศให้ยาเสพติดให้โทษชื่อใดอยู่ในประเภทใดได้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ประกาศให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงมีผลใช้บังคับได้ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 6 เช่นกฎหมายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีข่มขืนที่ขาดความชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่มีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้อง และความผิดเป็นเรื่องยอมความได้
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องข้อหาข่มขืนกระทำชำเราเสียด้วย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสอง โจทก์จะฎีกาในข้อหานี้หาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรกเป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานและคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใดการรับแจ้งความแม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษทางอาญาต้องรอคดีถึงที่สุด การโต้แย้งเรื่องความชอบด้วยกฎหมายทำได้ในชั้นฎีกาแม้ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นต้น
ปัญหาว่าการเพิ่มโทษจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อโจทก์มิได้แก้ฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างในฎีกา จึงต้องฟังว่าขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ คดีซึ่งโจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษยังไม่ถึงที่สุด ศาลชั้นต้นจะเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา, การบันทึกคำฟ้อง, และความบกพร่องในกระบวนพิจารณาคดี
ความผิดฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐ ผู้เสียหายที่ 2 ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานนี้ไม่ได้โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาเกี่ยวกับความผิดฐานนี้ จึงฟังเป็นที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์และเป็นหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจา เพื่อสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหาใดและขอให้ลงโทษตามบทกฎหมายใดบ้าง จึงต้องพิจารณาจากฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้และบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกัน แม้บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์จะไม่ได้อ้างกฎหมายและบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ระบุว่าขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 300 พ.ร.บ. จราจรทางบก มาตรา 43, 157 อันเป็นการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสแล้ว ฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้จึงชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 19 วรรคสอง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่ฟ้องหรือให้การด้วยวาจา ให้ศาลบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้" มีความหมายว่าให้คู่ความลงชื่อไว้ก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าศาลบันทึกฟ้องด้วยวาจาถูกต้องเท่านั้น เมื่อพิจารณาแล้ว การที่คู่ความไม่ได้ลงชื่อไว้ในคดีนี้เกิดจากเจ้าพนักงานศาลไม่ได้นำไปให้คู่ความลงชื่อจึงเป็นเพียงความบกพร่องเท่านั้น กระบวนการพิจารณาดังกล่าวหาได้เสียไปไม่จึงไม่ต้องเพิกถอน
จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล เห็นสมควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เฉพาะความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา แม้ไม่ได้อ้างมาตรากฎหมายโดยตรง และผลของการไม่ลงชื่อในบันทึกคำฟ้อง
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ และเป็นหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจาเพื่อสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหาใดและขอให้ลงโทษตามบทกฎหมายใดบ้าง จึงต้องพิจารณาจากฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้และบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกัน
แม้บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์จะไม่ได้อ้างกฎหมายและบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ระบุว่าขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 43,157 อันเป็นการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสแล้วฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้จึงชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่ฟ้องหรือให้การด้วยวาจา ให้ศาล บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้" มีความหมายว่าให้คู่ความลงชื่อไว้ก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าศาลบันทึกฟ้องด้วยวาจาถูกต้อง เท่านั้น การที่คู่ความไม่ได้ลงชื่อไว้ในคดีนี้เกิดจากเจ้าพนักงานศาลไม่ได้ นำไปให้คู่ความลงชื่อเป็นเพียงความบกพร่องเท่านั้น คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและระหว่างสืบเสาะและพินิจจำเลยในกำหนด 15 วัน และ นัดฟังคำพิพากษา ผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และขอถ่ายเอกสารบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้และเอกสารอื่น ๆ อีก จนกระทั่งถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลได้แจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจให้จำเลยทราบ และศาลอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้วโดยโจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ซึ่งไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งถึงความบกพร่องดังกล่าวอีกทั้งโจทก์และโจทก์ร่วมก็มิได้ ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงถือว่าคู่ความทุกฝ่ายยอมรับ โดยปริยายแล้วกระบวนการพิจารณาดังกล่าวหาได้เสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8750/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลในการพิจารณาฟ้องแย้งร่วมกับคำให้การ และความชอบด้วยกฎหมายของการสั่งให้พิจารณาก่อนพิพากษา
จำเลยฟ้องแย้งและมีคำขอบังคับโจทก์รวมมาในคำให้การตรงกับบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องตรวจฟ้องแย้งของจำเลยและมีคำสั่งตามที่พิจารณาเห็นสมควรว่าจะรับไว้พิจารณาต่อไป หรือไม่ โดยต้องพิจารณาประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การโดยมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องฟ้องแย้งของจำเลยไว้เลย จึงเป็นการไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว และเมื่อคดียังมีปัญหาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยเช่นนี้ สมควรให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งฟ้องแย้งของจำเลยเสียก่อนแล้วจึงค่อยพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งได้ตาม มาตรา 27 และเมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยจึงยังไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งในเรื่องฟ้องแย้งโดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับฟ้องแย้งได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและให้ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องแย้งของจำเลยก่อนแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8600/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการไต่สวนคำร้องอนาถา: ความชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีนัดหมายชนกัน
โจทก์เพิ่งจะยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเป็นครั้งแรก และศาลภาษีอากรกลางส่งหมายแจ้งวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์โดยวิธีปิดหมาย แต่ทนายโจทก์ได้กำหนดวันนัดไต่สวนมูลฟ้องไว้ในคดีอาญาเรื่องอื่นไว้ก่อนได้รับหมายกำหนดวันไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในคดีนี้ซึ่งเป็นวันเดียวกัน และในวันนัดดังกล่าวทนายโจทก์ก็ได้เดินทางไปไต่สวนมูลฟ้องจริง การที่ศาลภาษีอากรกลางไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดี และยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7149/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากโรงงานน้ำตาล: ความชอบด้วยกฎหมาย, การผิดนัดชำระหนี้, และดอกเบี้ย
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีอำนาจกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและวรรคสองกำหนดว่า การกำหนดเบี้ยปรับดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและวรรคสี่ระบุให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับฯ สำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงถือได้ว่าระเบียบดังกล่าวได้ออกโดยชอบ ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายและไม่ซ้ำซ้อน
ระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับกำหนดให้คิดเบี้ยปรับกระสอบละ 2,000 บาทแต่ไม่น้อยกว่าครั้งละ 200,000 บาท ไม่ใช่ค่าปรับซึ่งเป็นโทษทางอาญาเพราะเบี้ยปรับเป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน จึงเป็นคนละอย่างกับโทษปรับตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท
เบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นเบี้ยปรับอันเกิดจากการที่คู่สัญญาซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญาไว้ต่อกันว่า ลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ถึงมาตรา 381 มิใช่กรณีของจำเลยซึ่งจะต้องรับผิดเพราะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดโดยกฎหมาย
เบี้ยปรับที่คณะกรรมการของโจทก์กำหนดให้จำเลยนำไปชำระ ถือได้ว่าเป็นหนี้อย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ข้อ 9 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์มีอำนาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4449/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องฐานจัดให้มีการเล่นการพนัน และขอบเขตการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ในบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จะบรรยายถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นเจ้าบ้านฯ อันเป็นการใช้คำอย่างย่อโดยละข้อความที่จะตามมาเสีย แต่ในเอกสารฉบับเดียวกันนั่นเองเมื่อกล่าวถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ก็บรรยายโดยใช้คำเต็มว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าบ้านจัดให้มีการเล่นและเมื่อศาลชั้นต้นได้บันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักผู้จัดให้มีการเล่นเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน จึงย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 นั่นเองคำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันจึงมิใช่เป็นเรื่องพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวมาในฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังมิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ไม่ร้ายแรงนัก จึงมีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 และคุมความประพฤติไว้ กรณีเช่นว่านี้เป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2โดยรอการลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันอีกฐานหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้พิพากษาแก้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและความชอบด้วยกฎหมายในการฟ้องคดีอาญา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป
of 18