พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงข้อความเพื่อความชอบธรรมและการป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์เป็นหัวหน้าแผนกบัญชีของบริษัทบริษัทให้ออกจากงานต่อมาจำเลยซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทได้ปิดประกาศไว้ที่สำนักงานของบริษัทแจ้งแก่พนักงานทุกคนมีใจความว่าแฟ้มเอกสารประวัติพนักงานได้ถูกทำลายและสูญหายไปเป็นการกระทำของอดีตหัวหน้าแผนกบัญชี(คือโจทก์)จึงขอความร่วมมือจากพนักงานทุกคนให้ร่วมกันจัดทำแฟ้มประวัติพนักงานการกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะและการกระทำเกินเลย: การพิจารณาความชอบธรรมในการป้องกันตัวและการลงโทษ
จำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายก่อเหตุก่อน ผู้ตายกับพวกเล่นการพนันแล้วทะเลาะกันส่งเสียงดังในยามวิกาลจำเลยซึ่งอยู่บ้านใกล้ชิดติดกันย่อมมีความชอบธรรมที่จะไปขอร้องให้เบาๆลงหรือเลิกเล่นการพนัน แต่ผู้ตายกลับด่าว่าจำเลย แล้วเกิดชกต่อยกัน เมื่อมีคนมาห้ามและจำเลยกับผู้ตาย ยุติกันไปแล้ว แต่ผู้ตายหาได้หยุดยั้งเพียงแค่นั้น ไม่ กลับ เข้าไปในบ้านหยิบขวดมาตีศีรษะจำเลยจนโลหิตไหล ฉะนั้นการที่จำเลยไปหยิบปืนในบ้านออกมายิงผู้ตาย จึงเป็นการบันดาลโทสะแต่ที่จำเลยยิง ศ. ด้วยแม้คนทั้งสองจะเป็นบุตรภริยาของผู้ตายและอยู่บ้านเดียวกับผู้ตายก็ตามแต่คนทั้งสองก็มิได้ร่วมทำร้ายจำเลยด้วย การที่จำเลยยิง ว.และศ. ถึงแก่ความตายในขณะนั้นเป็นแต่เพียงจำเลย กระทำไปโดยอารมณ์ร้อนแรงชั่วแล่น ซึ่งไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือเตือนของนายจ้าง: รูปแบบและหลักเกณฑ์การวินิจฉัย ความชอบธรรมในการเลิกจ้าง
หนังสือเตือนของนายจ้างจะต้องมีรูปแบบอย่างใดจึงจะเป็นการสมบูรณ์ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ฉะนั้นการจะวินิจฉัยว่าหนังสือใดเป็นหนังสือเตือน จึงพิจารณาโดยความคิดเห็นของบุคคลสามัญจะพึงเข้าใจ โจทก์เคยมีแบบฟอร์มใบเตือนใช้อยู่ทั่วไป ครั้นในคราวเตือนลูกจ้างมิได้ใช้แบบฟอร์มเช่นนั้น เมื่อหนังสือดังกล่าวมีข้อความเตือนลูกจ้างอย่างชัดแจ้ง ทั้งยังมีข้อความว่าต่อไปจะลงโทษหากปฏิบัติทำนองเดิมอีก ดังนี้ เป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601-1603/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลในขณะเลิกจ้าง แม้เหตุผลที่อ้างภายหลังไม่ตรงกับเหตุผลที่ใช้ในการเลิกจ้าง
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมต่อลูกจ้างหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอ้างเหตุว่าลางานเกิน 30 วันในรอบปี 2 ปีติดต่อกัน ดังนั้น ข้อที่อ้างว่านายจ้างขาดความเชื่อถือในตัวลูกจ้างจึงไม่เป็นเหตุของการเลิกจ้างที่นายจ้างจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง: ความชอบธรรมของบทลงโทษและการบังคับใช้ตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 เป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นธรรม จึงได้กำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัตินี้ไว้เป็นกรณีพิเศษดังนั้นการที่มาตรา 87 ให้อำนาจศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง อันเป็นการจำกัดสิทธิของผู้กระทำผิดจึงไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522 บัญญัติให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้กระทำผิดมีกำหนดห้าปี เป็นบทบังคับเด็ดขาดไม่ให้ศาลใช้ดุลพินิจลดน้อยลงได้ ศาลจึงไม่อาจเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้น้อยกว่ากำหนดห้าปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: เหตุจำเป็นและความชอบธรรมในการไต่สวนคำร้อง
จำเลยอ้างเหตุที่ขาดนัดว่า ป่วยเป็นโรคประสาท ไปพักรักษาตัวที่บ้านน้องชาย ไม่ทราบเรื่องทนายถอนตัวและศาลส่งหมายนัดวันสืบพยานรวมทั้งไม่สามารถยื่นคำขอพิจารณาใหม่ได้ทัน 15 วัน ด้วย ซึ่งถ้าได้ความจริงตามคำร้อง ก็จะถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาไม่ได้ และการที่จำเลยยื่นคำร้องไม่ทันภายใน15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับก็ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจจะบังคับได้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัสต์เพื่อศาสนกิจ: ความชอบธรรมในการรื้อถอนและแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินทรัสต์
กุฎีเจริญพาสน์หรือกุฎีเจ้าเซ็นเป็นทรัสต์การกุศล ทรัสตีจัดการตามความคิดเห็นไม่ผิดข้อบัญญัติศาสนาอิสลาม ไม่ทุจริตไม่เป็นเหตุที่จะถอดจากทรัสตี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดคำสั่งและค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง: การพิจารณาความชอบธรรมในการเลิกจ้างและการจ่ายค่าล่วงเวลา
ผู้แทนโจทก์สั่งให้ลูกจ้างไปซ่อมรถบดถนนที่เสีย ลูกจ้างได้เดินทางไปทันทีและโดยดี แต่รถยนต์ที่ใช้เดินทางไปเกิดเสีย ลูกจ้างช่วยแก้ไขอยู่จนกระทั่งเวลา 16 น. เศษ จึงใช้การได้ ที่ลูกจ้างไม่เดินทางต่อไปเพื่อซ่อมรถบดถนนก็เพราะเห็นว่าจวนจะหมดเวลาทำงานตามปกติ (17 น.) แล้ว ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างขัดคำสั่งโจทก์ โจทก์ให้ลูกจ้างออกจากงาน (เมื่อพ.ศ.2513) จึงต้องจ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯซึ่งกำหนดว่าถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามประเพณีนิยม หรือในวันหยุดงานพักผ่อนประจำปีนายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ตามอัตราที่กำหนดนั้น มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างในเรื่องค่าแรงงาน ซึ่งกำหนดอัตราค่าแรงงานไว้ไม่ให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง ถือว่าข้อกำหนดดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นบทบัญญัติเด็ดขาดซึ่งจะตกลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้น การที่โจทก์กับลูกจ้างตกลงกันไม่คิดค่าล่วงเวลาเพราะลูกจ้างขอทำงานในวันหยุดชดใช้วันทำงานปกติที่ขาดงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ใช้บังคับไม่ได้โจทก์ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯซึ่งกำหนดว่าถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามประเพณีนิยม หรือในวันหยุดงานพักผ่อนประจำปีนายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ตามอัตราที่กำหนดนั้น มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างในเรื่องค่าแรงงาน ซึ่งกำหนดอัตราค่าแรงงานไว้ไม่ให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง ถือว่าข้อกำหนดดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นบทบัญญัติเด็ดขาดซึ่งจะตกลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้น การที่โจทก์กับลูกจ้างตกลงกันไม่คิดค่าล่วงเวลาเพราะลูกจ้างขอทำงานในวันหยุดชดใช้วันทำงานปกติที่ขาดงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ใช้บังคับไม่ได้โจทก์ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงข้อความเพื่อความชอบธรรมและการป้องกันส่วนได้เสีย ไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาท
โจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายเคมีของบริษัท โจทก์ติดต่อให้บริษัทคู่แข่งของบริษัท ล. เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เคมีของบริษัท ฮ. ต่อมาโจทก์ออกจากบริษัท ล. ไปทำงานกับบริษัท บ. จำเลยผู้จัดการบริษัทจึงประกาศปิดไว้ที่บริษัท ล. ให้พนักงานทราบทั่วกันว่าโจทก์ถูกห้ามเข้ามาในบริเวณสำนักงานและคลังพัสดุของบริษัท เพราะโจทก์ได้กระทำผิดระเบียบกฎข้อบังคับของบริษัทและทำให้บริษัทเสียประโยชน์การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมและป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับบริษัท ล. ตามคลองธรรม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวโดยชอบธรรม การบันดาลโทสะ และความผิดฐานพยายามฆ่า/ทำร้ายร่างกาย
มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด อ.หาว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนยิง และใช้มีดแทงจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ถอยออกไปแล้ว อ. คงยืนอยู่ที่เดิม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพี่ของจำเลยที่ 2 ได้ร้องห้ามและวิ่งเข้าไปเพื่อจะแย่งมีดจาก อ..โดยไม่ปรากฏว่าอ. มีท่าทีจะทำร้ายจำเลยที่ 2 อีกต่อไป อ. เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 จะเข้ามาทำร้ายตน จึงใช้มีดแทงสวนไป 1 ที จำเลยที่ 1 ยังกระโดดเข้ามาหา อ. อีก แล้วเกิดปลุกปล้ำแย่งมีดกันขึ้นจำเลยที่ 1 แย่งไม่ได้ จึงถอยห่างออกไปแล้วใช้ปืนยิง อ.2 นัด ถูกหน้าอก อ.และจำเลยที่2ยกเก้าอี้ขึ้นตีศีรษะอ. อีก 2 ที ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการป้องกัน หากแต่เป็นการพยายามฆ่าคนโดยบันดาลโทสะ สำหรับจำเลยที่ 2 ยังถือไม่ได้ว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิง อ. จึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย อ. จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายโดยบันดาลโทสะเท่านั้น