คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความชำรุดบกพร่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงการชำระราคาจากความชำรุดบกพร่องของสินค้าและการออกเช็คโดยไม่มีเจตนาทุจริต
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนหนึ่ง ของค่าซื้อกล้องถ่ายรูปที่จำเลยซื้อจากโจทก์ไปขายให้แก่ กรมการปกครอง ซึ่งโจทก์ ผู้ขายจะต้องรับผิดในความ ชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 เมื่อปรากฏว่าก่อนที่เช็คพิพาทจะถึง กำหนด จำเลยได้รับกล้องที่ชำรุดบกพร่องจากกรมการปกครองมา เพื่อซ่อมเกี่ยวกับตัวเฟืองภายในกล้องจำนวน 10 กล้องจำเลยย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 488ที่จะยึดหน่วงการชำระราคาไว้ได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ดังนั้นการที่จำเลยสั่งห้ามมิให้ธนาคารจ่ายเงินตาม เช็คพิพาทและไม่นำเงินเข้าบัญชี จึงไม่เป็นการออกเช็ค โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือออกเช็คใน ขณะที่ออกเงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาจ้างเหมา แม้ไม่มีตราบริษัท และความรับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่องของงาน
สัญญาจ้างระบุไว้ว่า ระหว่างบริษัทโจทก์โดยนางสาวว.ผู้ว่าจ้างและจำเลยผู้รับจ้าง เมื่อนางสาวว. ลงนามในสัญญาและบริษัทโจทก์ได้ยอมรับเอาผลงานที่จำเลยทำให้ตามสัญญาจนกระทั่งบริษัทโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างให้จำเลยครบถ้วนตามสัญญาแล้ว แม้จะไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทตามข้อบังคับ บริษัทโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างเหมาเจาะบ่อน้ำบาดาลมิได้กำหนดเวลาที่ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ผู้รับจ้างต้องรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งมอบตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับจ้างใช้เครื่องยนต์เก่าหรือใหม่เว้นแต่ความชำรุดบกพร่องจะเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้ว่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องความชำรุดบกพร่องของสินค้า: ข้อตกลงรับคืนกระป๋องชำรุดไม่ยกเว้นอายุความ 1 ปี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยติดต่อค้าขายกันหลายปีโดยโจทก์รับซื้อกระป๋องบรรจุน้ำมันหล่อลื่น จากจำเลยมีข้อตกลงว่าถ้ากระป๋องชำรุดรั่วใช้การไม่ได้ จำเลยยอมรับคืนและยอมใช้ค่ากระป๋องในราคาที่จำเลยขายให้โจทก์ โจทก์ได้ส่งกระป๋องที่ชำรุดจำนวนหนึ่งคืนจำเลย แต่จำเลยไม่ใช้ราคา โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ ดังนี้เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จำเลยขายให้โจทก์ชำรุดบกพร่องโดยตรง ตกอยู่ภายใต้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474 ไม่ใช่เรื่องโจทก์ฟ้องเรียกราคาค่าขายกระป๋อง ชำรุดอันจะ ใช้อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างทำของ: ความชำรุดบกพร่องตามมาตรา 601 กับการไม่ส่งมอบงานให้ครบถ้วน
ความชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 หมายความถึงความชำรุดบกพร่องซึ่งเกิดขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 598, 599 และ600. อันหมายถึงความชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ผู้รับจ้างส่งมอบให้กับผู้ว่าจ้างครบถ้วนแล้ว มิใช่หมายถึงการไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา
จำเลยไม่ส่งมอบลูกรังและทรายให้โจทก์ให้ครบถ้วนตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากสัญญาจ้างทำของ: ความชำรุดบกพร่อง vs. ผิดสัญญา
ความชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 หมายความถึงความชำรุดบกพร่องซึ่งเกิดขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 598,599 และ600. อันหมายถึงความชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ผู้รับจ้างส่งมอบให้กับผู้ว่าจ้างครบถ้วนแล้ว มิใช่หมายถึงการไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา
จำเลยไม่ส่งมอบลูกรังและทรายให้โจทก์ให้ครบถ้วนตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขายเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของสินค้า ต้องเป็นความชำรุดที่มีอยู่ก่อนหรือขณะส่งมอบ
ความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินซึ่งขาย อันผู้ขายจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 นั้น จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้ว หรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย ส่วนความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลังผู้ขายหาต้องรับผิดไม่
เครื่องปรับอากาศที่โจทก์ติดตั้งที่ภัตตาคารของจำเลยให้ความเย็นเรียบร้อยดีนับแต่เวลาติดตั้งตลอดมาไม่น้อยกว่า 3-4 เดือน แสดงให้เห็นว่าเครื่องปรับอากาศดังกล่าวมิได้มีความชำรุดบกพร่องอยู่ก่อน หรือในขณะทำสัญญาซื้อขาย หรือในเวลาส่งมอบเลย ฉะนั้นที่เครื่องปรับอากาศให้ความเย็นไม่พอในเวลาต่อมา จึงเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลังจากที่จำเลยได้รับมอบและใช้ประโยชน์มาไม่น้อยกว่า 3-4 เดือน โจทก์หาต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องนี้ไม่ และด้วยเหตุนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระตามมาตรา 488 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17186/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และการคำนวณอายุความค่าซ่อมแซมความชำรุดบกพร่อง
จำเลยอุทธรณ์ว่า ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 4.2.2 ระบุให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านภายในวันที่ 27 ธันวาคม 2545 ให้แก่โจทก์ จำเลยแจ้งให้โจทก์มารับโอนในวันที่ 31 มีนาคม 2546 ซึ่งล่วงเลยเวลาตามสัญญา แต่โจทก์ยินยอมรับโอนโดยไม่อิดเอื้อน แสดงว่า โจทก์และจำเลยต่างไม่ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสำคัญ แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า วันที่โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านจากจำเลย โจทก์ได้แจ้งสงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยโดยมีพนักงานของจำเลยรับทราบไว้แล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่อิดเอื้อน จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 การฟ้องให้รับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตามสัญญาซื้อขาย มิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง โจทก์มีหนังสือแจ้งความชำรุดบกพร่องให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2547 ถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่โจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่อง แต่ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 11.2 ผู้จะขายต้องเริ่มดำเนินการแก้ไขความเสียหายหรือความชำรุดบกพร่องภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ผู้จะซื้อได้แจ้งให้ผู้จะขายทราบเป็นลายลักษณ์อักษร หากผู้จะขายเพิกเฉยหรือดำเนินการโดยชักช้า ผู้จะซื้อมีสิทธิแก้ไขเอง ผู้จะขายต้องรับผิดชอบในความเสียหายและค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อจะได้ชำระไป และตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป หลังจากโจทก์แจ้งความชำรุดบกพร่องให้จำเลยทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขแล้วโจทก์ต้องให้เวลาจำเลยเริ่มดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบ เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากจำเลยยังไม่ดำเนินการแก้ไข โจทก์จึงจะใช้สิทธิเรียกร้องได้ วันที่ครบ 60 วัน นับแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบ คือ วันที่ 25 พฤษภาคม 2547 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2548 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17002/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขายบ้านต่อความชำรุดบกพร่องที่ซ่อนเร้นและไม่สามารถตรวจพบได้ง่าย
การผุกร่อนของเหล็กเส้นที่ถูกสนิมกัดกินคานบ้านเป็นความชำรุดบกพร่องที่เป็นเหตุเสื่อมราคาและเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ เมื่อโจทก์ซื้อบ้านเพื่อจะใช้อยู่อาศัยและคู่สัญญาซื้อขายไม่ได้ตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 483 ความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเป็นความชำรุดบกพร่องที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 472
แม้ก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบบ้านให้แก่โจทก์นั้น โจทก์ได้เข้าไปตรวจดูบ้านถึง 4 ครั้ง กับใช้กล้องวิดีโอถ่ายสภาพบ้านนำไปให้ญาติของโจทก์ช่วยกันพิจารณาสภาพบ้านด้วยก็ตาม แต่ในส่วนโครงเหล็กของคานชั้น 2 อยู่บริเวณเหนือฝ้า การจะตรวจดูต้องทุบแล้วรื้อฝ้าออกจึงจะพบเห็น ไม่ใช่กรณีที่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบและโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์รับเอาบ้านไว้โดยมิได้อิดเอื้อน ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ขอเปิดฝ้าเพื่อตรวจดูคานนั้น ก็เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปที่ไม่น่าจะคาดคิดว่าคานบ้านชั้น 2 ซึ่งไม่ได้อยู่ใกล้พื้นดินหรือความชื้นจะเกิดสนิมที่เหล็กเส้นจนผุกร่อน จนต้องขอเปิดฝ้าดูเพื่อตรวจสอบ กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน อันจะทำให้จำเลยทั้งสองผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องในกรณีดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 473 (1) และ (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10864/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงราคาสินค้าชำรุด: ผู้ซื้อมีสิทธิยึดหน่วงราคาจนกว่าผู้ขายจะแก้ไขความชำรุดบกพร่อง
จำเลยสั่งซื้อและว่าจ้างโจทก์ติดตั้งระบบสัญญาป้องกันภัยที่สำนักงานของจำเลย เมื่อสัญญาซื้อขายมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาจึงมีหน้าที่ต้องระมัดระวังในการปฏิบัติการชำระหนี้ของตนในคราวเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 461 และ 486 เมื่อระบบสัญญาณป้องกันภัยที่โจทก์ติดตั้งยังมีความชำรุดบกพร่องบางส่วนอันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ นอกจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 แล้ว ตามมาตรา 488 ยังบัญญัติรับรองสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อชอบที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระด้วยเช่นเดียวกับมาตรา 599 ที่กำหนดให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้ราคาที่ยังไม่ได้ชำระแก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นให้สิ้นไป หรือหาประกันที่สมควรให้แก่จำเลยได้ตามมาตรา 488 หรือจะให้ประกันแก่จำเลยผู้ว่าจ้างตามสมควรตามมาตรา 599 เสียก่อน แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้แก่โจทก์จำนวน 380,000 บาท แต่จำเลยยังอุทธรณ์อ้างสิทธิยึดหน่วงราคาโดยมีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย และศาลอุทธรณ์ก็พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่มีหนี้ที่โจทก์อาจขอหักกลบจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนใบอนุญาตจัดสรรที่ดินไม่ตัดสิทธิผู้ซื้อในการฟ้องร้องความชำรุดบกพร่องจากผู้ขายเดิม
ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 บัญญัติเรื่องการโอนใบอนุญาตจัดสรรที่ดินไว้ในมาตรา 38 กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินยื่นคำขอต่อคณะกรรมการตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าการโอนนั้นไม่เป็นที่เสียหายแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร และธนาคารหรือสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตามมาตรา 24 หรือมาตรา 43 วรรคสอง ได้ยินยอมด้วยแล้ว ให้คณะกรรมการอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอน แม้มาตรา 39 บัญญัติผลแห่งการโอนใบอนุญาตว่า "เมื่อได้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอนแล้ว ให้บรรดาสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตกไปยังผู้รับโอน" ก็ตาม แต่เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรรโดยเฉพาะการได้สิทธิในที่ดินจัดสรรและการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ดังจะเห็นได้จากการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดสรรที่ดินในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคไว้ในมาตรา 43 ส่วนบ้านเรือนที่ปลูกสร้างในที่ดินที่จัดสรรย่อมเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ซึ่งยังคงมีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาซื้อขายกับผู้ขาย หาได้โอนไปตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งโอนไปเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในฐานะผู้ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน แต่ไม่หมายรวมถึงสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ตามข้อสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ภายในบังคับของ ป.พ.พ. ต่างหากจาก พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ดังนั้นบรรดาสิทธิ หน้าที่และความรับผิดที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับดังกล่าวจึงยังคงมีอยู่ทุกประการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ได้ เมื่ออาคารพาณิชย์ที่จำเลยที่ 1 ขายให้แก่โจทก์มีความชำรุดบกพร่อง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
of 3