พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กหญิงและการกระทำโดยประมาทจนถึงแก่ความตาย: จำเลยไม่มีความผิดฐานประมาท
ในวันที่ 7 ตุลาคม 2539 ตอนเช้าเด็กหญิง ณ.(อายุ 14 ปีเศษ)มาหา จ เพื่อขอตามไปทำงานที่จังหวัดสระบุรี จ.กับเด็กหญิง ณ.ไปหา ส.เพื่อขอให้พาไปส่งที่บ้านดงบัง พบจำเลย บ.และ ฉ.กับพวกอีก 1 คน ส.วานจำเลยกับพวกให้ไปส่งแทน จ.กับเด็กหญิง ณ.นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของ ส. ส่วนจำเลยกับพวกขับรถจักรยานยนต์นั่งซ้อนท้ายไปอีกคันหนึ่ง แต่ ส.ขับรถจักรยานยนต์พา จ.กลับไปที่บ้านโนนฤาษีและพักค้างคืนที่บ้านเพื่อน บ. รุ่งขึ้นวันที่ 8 ส.พาเด็กหญิง ณ.ไปพบจำเลยและพากันมารับพยานไปเที่ยว จ.ขอให้ ส.ไปส่ง จ.กับเด็กหญิง ณ.ที่บ้านดงบัง บ.ไม่ยอมพาไป คืนนั้นจำเลยพา จ.กับเด็กหญิง ณ.ไปพักค้างคืนที่กระท่อมของญาติจำเลยจนถึงคืนวันที่ 10 ตุลาคม 2539 การที่จำเลยที่ 1 พบ จ.กับเด็กหญิงณ.ครั้งแรกที่บ้านนายสมัยไม่ใช่บ้านของนายบุญส่งหรือส่งและจำเลยทราบดีว่า จ.กับเด็กหญิง ณ.จะไปบ้านดงบัง ดังนี้ การที่จำเลยพาเด็กหญิง ณ.ไปนอนค้างที่กระท่อมของญาติจำเลยตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2539 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2539 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองและผู้ดูแล และไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควร ทั้งก่อนหน้านั้น จำเลยก็ทราบดีว่า จ.กับเด็กหญิง ณ.ต้องการจะไปบ้านดงบัง และในวันที่8 ตุลาคม 2539 ที่จำเลยกับ บ.พา จ.กับเด็กหญิง ณ.ไปเที่ยว จ.ขอร้อง บ.ให้ไปส่งคนทั้งสองที่บ้านดงบัง บ.ไม่ยอมพาไป แต่จำเลยกลับพา จ.กับเด็กหญิง ณ.ไปนอนค้างที่กระท่อมของญาติจำเลย พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพรากเด็กหญิง ณ.ไปเสียจากผู้ปกครองและผู้ดูแล
การที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 291 จะต้องมีการกระทำโดยประมาทและการกระทำโดยประมาทนั้นต้องเป็นผลโดยตรงให้เกิดความตายการที่จำเลยร้องบอกให้เด็กหญิง ณ.ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำไปโดยบอกว่าจะลงมาช่วยก็ตามซึ่งเป็นแต่เพียงคำชี้แนะของจำเลย จำเลยหาได้บังคับเด็กหญิง ณ.ให้ต้องว่ายน้ำข้ามไปไม่ เด็กหญิง ณ.มีอายุ 14 ปีเศษ มีวุฒิภาวะพอที่จะรู้ว่าตนเองมีความสามารถพอที่จะว่ายน้ำข้ามไปได้หรือไม่ เมื่อเด็กหญิง ณ.ตัดสินใจว่ายน้ำข้ามไปเป็นการสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยเอง และเด็กหญิง ณ.จมน้ำและถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากกระแสน้ำไหลเชี่ยว โดยจำเลยกับพวกไม่สามารถช่วยเด็กหญิง ณ.ได้ เช่นความตายของเด็กหญิง ณ.หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยไม่ ทั้งไม่ใช่เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการชี้แนะของจำเลย จำเลยจึงมิได้กระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้เด็กหญิงจรุณีถึงแก่ความตาย
การที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 291 จะต้องมีการกระทำโดยประมาทและการกระทำโดยประมาทนั้นต้องเป็นผลโดยตรงให้เกิดความตายการที่จำเลยร้องบอกให้เด็กหญิง ณ.ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำไปโดยบอกว่าจะลงมาช่วยก็ตามซึ่งเป็นแต่เพียงคำชี้แนะของจำเลย จำเลยหาได้บังคับเด็กหญิง ณ.ให้ต้องว่ายน้ำข้ามไปไม่ เด็กหญิง ณ.มีอายุ 14 ปีเศษ มีวุฒิภาวะพอที่จะรู้ว่าตนเองมีความสามารถพอที่จะว่ายน้ำข้ามไปได้หรือไม่ เมื่อเด็กหญิง ณ.ตัดสินใจว่ายน้ำข้ามไปเป็นการสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยเอง และเด็กหญิง ณ.จมน้ำและถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากกระแสน้ำไหลเชี่ยว โดยจำเลยกับพวกไม่สามารถช่วยเด็กหญิง ณ.ได้ เช่นความตายของเด็กหญิง ณ.หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยไม่ ทั้งไม่ใช่เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการชี้แนะของจำเลย จำเลยจึงมิได้กระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้เด็กหญิงจรุณีถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และประมาททำให้ถึงแก่ความตาย ศาลฎีกายกฟ้องฐานประมาท แต่ยืนโทษฐานพรากเด็ก
แม้เด็กหญิง จ. ออกจากบ้านโดยบอกผู้เสียหายที่ 1ซึ่งเป็นผู้ปกครองและผู้ดูแลว่าไปหานางสาว ร. เมื่อพบก็ขอตามไปทำงานที่จังหวัดสระบุรีด้วย นางสาว ร.กับเด็กหญิง จ. ไปหานาย ส.เพื่อขอให้ไปส่งที่บ้านดงบัง และนาย ส. วานจำเลยที่ 1 กับพวกไปส่งแทนก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 กับพวกไม่พานางสาว ร.กับเด็กหญิง จ. ไปส่งที่บ้านดงบัง จำเลยที่ 1 กลับพาเด็กหญิง จ. ไปเที่ยวและค้างคืนที่กระท่อมญาติของจำเลยที่ 1 โดยหาได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายที่ 1 ไม่ทั้งที่ทราบดีว่า นางสาว ร. กับเด็กหญิง จ. จะไปบ้านดงบัง พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ต้องมีการกระทำโดยประมาทและการกระทำโดยประมาทนี้เป็นผล โดยตรงให้เกิดความตาย คำของจำเลยที่ 1 ที่ร้องบอก ให้เด็กหญิง จ. ว่ายน้ำข้ามไป โดยบอกว่าจะลงมาช่วยนั้นคงเป็นแต่เพียงคำชี้แนะ หาได้บังคับให้เด็กหญิง จ. ว่ายน้ำข้ามไปไม่ เมื่อเด็กหญิง จ. ตัดสินใจว่ายน้ำ ข้ามไปและจมน้ำเพราะกระแสน้ำไหลเชี่ยว จนถึงแก่ความตายโดยจำเลยที่ 1 กับพวกไม่สามารถช่วยได้จึงนับได้ว่าเป็นการสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยของเด็กหญิง จ. เองเหตุความตายหาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกไม่ ทั้งมิใช่เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการชี้แนะของ จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 กับพวกจึงมิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เด็กหญิง จ. ถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: การชี้แนะให้ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำ ไม่ถือเป็นเหตุโดยตรง
การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 จะต้องมีการกระทำโดยประมาทและการกระทำโดย ประมาทนั้นต้องเป็นผลโดยตรงให้เกิดความตาย จำเลยร้องบอกให้เด็กหญิง จ. ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำไปโดยบอกว่าจำเลยจะลงมาช่วย เมื่อเป็นแต่เพียงคำชี้แนะของจำเลย จำเลยหาได้บังคับเด็กหญิง จ. ให้ต้องว่ายน้ำข้ามแม่น้ำไปไม่ เด็กหญิง จ. มีอายุ 14 ปีเศษมีวุฒิภาวะพอที่จะรู้ว่าตนเองมีความสามารถพอที่จะว่ายน้ำข้ามไปได้หรือไม่ เมื่อเด็กหญิง จ. ตัดสินใจสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยเอง และเด็กหญิง จ. จมน้ำและถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากกระแสน้ำไหลเชี่ยว เช่นนี้ความตายของเด็กหญิง จ. หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยไม่ทั้งไม่ใช่เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการชี้แนะของจำเลยจำเลยจึงมิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เด็กหญิง จ.ถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำทำให้ตกใจถึงแก่ความตาย แม้มีโรคประจำตัว เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้
ผู้ตายมีโรคเดิมอยู่แล้ว เมื่อเกิดอาการตกใจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติทำให้หัวใจวายอันเป็นสาเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ การที่จำเลยใช้ก้อนหินตีที่หน้าของผู้ตายทำให้เกิดอาการตกใจ หัวใจเต้นผิดปกติจนถึงแก่ความตาย ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย เป็นความผิดฐานมิได้เจตนาฆ่าแต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย แม้ผู้ตายเคยเข้ารับการรักษาโรคหัวใจมาก่อน ก็ไม่เป็นเหตุให้รับฟังว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยมิใช่เกิดจากการทำร้ายของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6036/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค: ขยายเวลาเมื่อผู้ทรงเช็คถึงแก่ความตายก่อนอายุความครบกำหนด
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ว.แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ต่อมา ว. ถึงแก่ความตายโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของว.ได้ฟ้องให้จำเลยให้รับผิดตามเช็คพิพาท เมื่อปรากฏว่าว. ผู้ทรงเช็คถึงแก่ความตายภายหลังเช็คพิพาทถึงกำหนด และอายุความสิทธิเรียกร้องตามเช็คจะครบกำหนด ภายในหนึ่งปีนับแต่วันตายอันเป็นโทษแก่ว. ผู้ตาย จึงต้องขยายอายุความออกไปเป็นหนึ่งปีนับแต่ วันที่ว. ถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนจำนำหลังเจ้าหนี้และผู้จำนำถึงแก่ความตาย การตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการ
ซ.จำนำที่ดินให้แก่ ข.เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2458 กรณีต้องบังคับตามประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 เมื่อยังไม่มีการไถ่ถอนจำนำและที่ดินยังไม่หลุดเป็นสิทธิแก่ ข.เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่า ซ.ยินยอมหรือศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นถ้าหาก ซ.และ ข.ยังมีชีวิตอยู่ ซ.ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนำได้ และ ข.ก็มีหน้าที่ให้ไถ่ถอนจำนำ แต่เมื่อ ซ.และ ข.ถึงแก่ความตายสิทธิและหน้าที่ของ ซ.และ ข.ซึ่งถือว่าเป็นมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 และ 1600 ผู้ร้องเป็นทายาท ซ. สิทธิและหน้าที่ของ ซ.ในการไถ่ถอนจำนำย่อมตกแก่ผู้ร้องด้วย เมื่อกองมรดกของ ข.ไม่มีทายาท กองมรดกของ ข.ย่อมตกแก่แผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่ใช่ทายาทของ ข. ดังนี้ ทายาทของ ซ. ผู้จำนำจึงไม่สามารถทำการไถ่ถอนจำนำได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ข.ขึ้น และตราบใดที่กองมรดกของ ข.ยังไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้จำนำก็ไม่มีทางไถ่ถอนจำนำได้เลย การที่ผู้ร้องจะไถ่ถอนจำนำจากกองมรดกของ ข.จึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกของ ข.มีผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในกรณีนี้จึงต้องถือว่าผู้ร้องซึ่งมีสิทธิไถ่ถอนจำนำเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ข.ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ความเชื่อมโยงของการทำร้ายกับภาวะสุขภาพเดิมของผู้ตาย
คืนเกิดเหตุจำเลยเมาสุราขว้างปาเศษอาหารในร้านที่เกิดเหตุและไม่ยอมชำระค่าสุราอาหาร เป็นเหตุให้มีการพูดจาระหว่าง ส.เจ้าของร้านกับจำเลย ผู้ตายเข้ามาในร้านขณะการพูดจาเรื่องที่จำเลยไม่ยอมชำระค่าสุราอาหารยุติไปแล้ว เมื่อผู้ตายทราบเรื่องจาก ส.แล้วผู้ตายพูดว่าคนทำมาหากินไม่น่าทำอย่างนี้ซึ่งเป็นการวิจารณ์ความประพฤติอันไม่สมควรของจำเลย จำเลยทราบดีถึงความประพฤติที่ไม่ถูกต้องสมควรของตนอยู่แล้ว จึงโกรธที่ผู้ตายซึ่งเป็นคนนอกมาวิจารณ์การกระทำของตน จำเลยจึงด่าผู้ตายว่า อ้ายเหี้ยอ้วนเป็นคนเสือก เป็นเหตุให้จำเลยเข้าทำร้ายโดยกระโดดถีบท้องผู้ตาย ดังนี้ ถือว่าจำเลยจึงเป็นผู้ก่อเหตุทำร้ายผู้ตายก่อน
ผู้ตายเข้าชกต่อยกับจำเลยจนเป็นเหตุให้ทั้งสองฝ่ายล้มลงบนพื้นผู้ตายหมดสติแน่นิ่งไปโดยมิได้ลุกขึ้นมาอีก จำเลยลุกขึ้นมาได้ก็เข้าทุบที่ขมับผู้ตายอีก3 ถึง 4 ที มีผู้นำผู้ตายส่งโรงพยาบาล แต่ผู้ตายตายก่อนจะถึงโรงพยาบาล แสดงว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากถูกจำเลยทำร้าย แม้ได้ความว่าผู้ตายมีโรคหัวใจและความดันโลหิตอยู่ก่อนและมีเพียงแผลถลอกที่ศอกขวา เข่าขวา และขาซ้าย ก็ไม่เป็นเหตุให้รับฟังว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยมิใช่เกิดจากการทำร้ายของจำเลย เพราะการทำร้ายของจำเลยเป็นผลให้เกิดการกระทบกระเทือนร่างกายและจิตใจของผู้ตายอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตล้มเหลวขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจอย่างเฉียบพลัน ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย
ผู้ตายเข้าชกต่อยกับจำเลยจนเป็นเหตุให้ทั้งสองฝ่ายล้มลงบนพื้นผู้ตายหมดสติแน่นิ่งไปโดยมิได้ลุกขึ้นมาอีก จำเลยลุกขึ้นมาได้ก็เข้าทุบที่ขมับผู้ตายอีก3 ถึง 4 ที มีผู้นำผู้ตายส่งโรงพยาบาล แต่ผู้ตายตายก่อนจะถึงโรงพยาบาล แสดงว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากถูกจำเลยทำร้าย แม้ได้ความว่าผู้ตายมีโรคหัวใจและความดันโลหิตอยู่ก่อนและมีเพียงแผลถลอกที่ศอกขวา เข่าขวา และขาซ้าย ก็ไม่เป็นเหตุให้รับฟังว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยมิใช่เกิดจากการทำร้ายของจำเลย เพราะการทำร้ายของจำเลยเป็นผลให้เกิดการกระทบกระเทือนร่างกายและจิตใจของผู้ตายอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตล้มเหลวขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจอย่างเฉียบพลัน ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเจ้ามรดก: การรู้ถึงความตายต้องชัดเจนและมีหลักฐานยืนยัน
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม ที่ระบุห้ามเจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น การรู้หรือควรได้รู้ดังกล่าว ต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน
แม้จะได้ความว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานให้ทราบว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจ ได้ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการเป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้องผู้ประกันให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับจำนวน 500,000 บาท กองคดีแพ่ง กรมอัยการรับดำเนินการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของผู้ประกัน ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานว่าผู้ประกันได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตรให้โจทก์รับทราบในวันเดียวกัน ย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของผู้ประกันแล้วนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของผู้ประกันเจ้ามรดก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้จะได้ความว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานให้ทราบว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจ ได้ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการเป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้องผู้ประกันให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับจำนวน 500,000 บาท กองคดีแพ่ง กรมอัยการรับดำเนินการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของผู้ประกัน ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานว่าผู้ประกันได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตรให้โจทก์รับทราบในวันเดียวกัน ย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของผู้ประกันแล้วนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของผู้ประกันเจ้ามรดก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาเหตุรอการลงโทษจากพฤติการณ์และเจตนา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา290ซึ่งถือว่าเป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วยโดยไม่ได้บรรยายมาในคำฟ้องว่าผู้ตายได้รับอันตรายสาหัสและทางพิจารณาก็ไม่ได้ความดังกล่าวดังนั้นที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297จึงเป็นการฎีกาในข้อหาที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในฟ้องทั้งเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษศาลจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสี่คงลงโทษจำเลยทั้งห้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา295ประกอบด้วยมาตรา192วรรคท้ายได้เท่านั้น จำเลยทั้งห้าไม่เคยได้รับโทษจำคุกและไม่ปรากฏความประพฤติในทางเสื่อมเสียประกอบอาชีพโดยสุจริตโดยเฉพาะจำเลยที่1เป็นนักศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยครูเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ตายเมาสุราแล้วอาละวาดไปหาเรื่องจำเลยทั้งห้าบาดแผลที่เกิดขึ้นมีเพียงตาข้างซ้ายปิดและมีบาดแผลเหนือคิ้วเท่านั้นจำเลยทั้งห้าเพียงแต่เตะต่อยผู้ตายแม้ว่าจำเลยที่2จะจับศีรษะผู้ตายโขกกับพื้นก็ไม่ปรากฏว่ารุนแรงเพียงใดและมีบาดแผลร้ายแรงเกิดขึ้นทั้งหลังเกิดเหตุจำเลยที่3จะนำตัวผู้ตายส่งโรงพยาบาลแต่ผู้ตายไม่ยอมไปแสดงว่าจำเลยทั้งห้าไม่ได้มีเจตนาคิดร้ายต่อผู้ตายพฤติการณ์แห่งคดีจึงมีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยทั้งห้าไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทจากการช็อตปลาในที่สาธารณะเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
จำเลยใช้กระแสไฟฟ้าช็อตปลาในคลองสาธารณะถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา59วรรคสี่เมื่อผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าช็อตตายก็ต้องถือว่าเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยไม่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะเป็นเพราะผู้ตายลงไปอาบน้ำในคลองหรือผู้ตายไปแก้สายไฟฟ้าที่เกี่ยวติดสิ่งของจึงถูกกระแสไฟฟ้าช็อตตายก็ไม่มีผลทำให้จำเลยพ้นผิด