พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อบุคคลต่อท้ายเครื่องหมายการค้า ไม่ถือเป็นการล่วงสิทธิหากไม่ทำให้สับสน
จำเลยเอาคำว่า "เซฟตี้แก๊ส" ชื่อของโจทก์ซึ่งมีความหมายธรรมดาถึงความปลอดภัยของการใช้แก๊สมาต่อท้ายเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่กรมทะเบียนการค้าได้รับจดทะเบียนไว้แล้วมาใช้กับสินค้าหัวปรับแรงดันแก๊สที่จำเลยเป็นผู้ผลิต ซึ่งสาธารณชนย่อมเข้าใจได้ว่าหัวปรับแรงดันแก๊สภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของจำเลย มิใช่ของโจทก์ กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายคุ้มครองโจทก์ที่จะเรียกให้จำเลยระงับหรือสั่งห้ามมิให้ใช้ชื่อโจทก์ได้ เพราะชื่อของบุคคลกับเครื่องหมายการค้าเป็นคนละเรื่องกัน จำเลยมิได้ทำผิดกฎหมายอันเป็นการล่วงสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากถนนขาด จำเลยต้องติดตั้งป้ายเตือนและแสงสว่างเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง
อุทกภัยตัดถนนในเขตเทศบาลจำเลยขาดก่อนที่ผู้ตายจะขับ รถจักรยานยนต์มาตกลงไปในช่วงที่ถนนขาดถึงแก่ความตายเป็นเวลา หลายเดือนแล้ว จำเลยมีโอกาสติดป้ายแสดงทางเบี่ยง จัดหา สิ่งกีดขวางใหญ่ ๆ มองได้ชัดในเวลากลางคืนมากีดขวางถนนไว้และ ต้องจัดการติดตั้งสัญญาณไฟเพื่อแสดงให้เห็นว่าถนนขาดเป็นการเตือนว่าจะเป็นอันตรายผู้สัญจรผ่านไปมาจะต้องระมัดระวัง แต่จำเลยไม่ทำ เป็นการละเว้นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ และกรณีไม่ได้เกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ค่าปลงศพผู้ตายเป็นค่าสินไหมทดแทนซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ทำละเมิดต้องจ่าย โจทก์เป็นทายาทของผู้ตายมีหน้าที่จัดการศพผู้ตายไม่ว่าจะทำเองหรือมีผู้อื่นทำแทน หรือโจทก์จะได้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพด้วยตนเองหรือไม่ จำเลยก็ต้องรับผิดจ่ายค่าปลงศพแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการรักษาความปลอดภัยรถยนต์ในลานจอดรถ และความรับผิดของนายจ้าง
ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ ฟ้องโจทก์มีแต่เรื่องละเมิด เรื่องฝากทรัพย์จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ศาลจะพิพากษาให้บังคับชำระหนี้ตามสัญญาฝากทรัพย์ไม่ได้ และเรื่องฝากทรัพย์มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ แต่พยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี ศาลฎีกาจึงเห็นควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่แต่งกายเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ยืนเก็บบัตรจอดรถและปล่อยรถยนต์ออกจากอาคารจอดรถ จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าของอาคารจอดรถ อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 มีทางเข้า 1 ทาง ทางออก 1 ทาง ปากทางมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงิน 5 บาท พร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา5 บาท โดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วย ซึ่งที่ด้านหน้าบัตรตอนล่างมีข้อความว่าบริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัย ด้านหลังของบัตรมีข้อความว่า1. ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัว เพื่อป้องกันรถหาย 2. กรุณาคืนบัตรทุกครั้ง ก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถ ฯลฯ 6. บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดง บริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจ และในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตรา ที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่า กรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหาย สำหรับทางขาออกมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับบัตรและปล่อยรถออก พฤติการณ์ดังกล่าวแม้จะปรากฏว่าผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถเอง ดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เอง และที่บัตรค่าเช่าจอดรถด้านหลังจะมีข้อความว่า หากมีการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นทุกกรณี ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเองทุกประการก็ตาม แต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 นี้ มีบริการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำรถเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 5 โดยรับดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งขณะที่รถจอดอยู่ในอาคารและขณะที่รถจะออกจากอาคาร ซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถและถือบัตรค่าเช่าที่จอดรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบก่อนทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน 5 บาทเป็นค่าตอบแทน การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อน ๆ ของจำเลยทั้งห้า ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไป ไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้น การที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่ 1งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยืนเก็บเงิน ออกบัตร จดทะเบียนรถลงในบัตร และตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถอยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถ หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรง ซึ่งที่ลานจอดรถและที่ด้านหลังบัตรจอดรถ มีข้อความว่า ผู้ใช้บริการลานจอดรถจะต้องเก็บรักษาบัตรไว้เพื่อตรวจขณะจะนำรถออกจากลานจอดรถ มิฉะนั้น บริษัทจะไม่ยอมให้นำรถออกไปจนกว่าจะหาหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยัน เมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียว หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 นายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อโจทก์ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425
คดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีข้อหาฝากทรัพย์ แต่เป็นคดีข้อหาละเมิด แม้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จะไม่ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ ศาลฎีกาก็เห็นควรวินิจฉัยถึงความเสียหายของโจทก์ในฐานละเมิดตามที่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยไว้แล้วต่อไป ซึ่งค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามป.พ.พ. มาตรา 438
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่แต่งกายเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ยืนเก็บบัตรจอดรถและปล่อยรถยนต์ออกจากอาคารจอดรถ จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าของอาคารจอดรถ อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 มีทางเข้า 1 ทาง ทางออก 1 ทาง ปากทางมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงิน 5 บาท พร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา5 บาท โดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วย ซึ่งที่ด้านหน้าบัตรตอนล่างมีข้อความว่าบริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัย ด้านหลังของบัตรมีข้อความว่า1. ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัว เพื่อป้องกันรถหาย 2. กรุณาคืนบัตรทุกครั้ง ก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถ ฯลฯ 6. บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดง บริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจ และในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตรา ที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่า กรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหาย สำหรับทางขาออกมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับบัตรและปล่อยรถออก พฤติการณ์ดังกล่าวแม้จะปรากฏว่าผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถเอง ดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เอง และที่บัตรค่าเช่าจอดรถด้านหลังจะมีข้อความว่า หากมีการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นทุกกรณี ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเองทุกประการก็ตาม แต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 นี้ มีบริการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำรถเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 5 โดยรับดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งขณะที่รถจอดอยู่ในอาคารและขณะที่รถจะออกจากอาคาร ซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถและถือบัตรค่าเช่าที่จอดรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบก่อนทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน 5 บาทเป็นค่าตอบแทน การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อน ๆ ของจำเลยทั้งห้า ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไป ไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้น การที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่ 1งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยืนเก็บเงิน ออกบัตร จดทะเบียนรถลงในบัตร และตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถอยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถ หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรง ซึ่งที่ลานจอดรถและที่ด้านหลังบัตรจอดรถ มีข้อความว่า ผู้ใช้บริการลานจอดรถจะต้องเก็บรักษาบัตรไว้เพื่อตรวจขณะจะนำรถออกจากลานจอดรถ มิฉะนั้น บริษัทจะไม่ยอมให้นำรถออกไปจนกว่าจะหาหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยัน เมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียว หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 นายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อโจทก์ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425
คดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีข้อหาฝากทรัพย์ แต่เป็นคดีข้อหาละเมิด แม้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จะไม่ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ ศาลฎีกาก็เห็นควรวินิจฉัยถึงความเสียหายของโจทก์ในฐานละเมิดตามที่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยไว้แล้วต่อไป ซึ่งค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามป.พ.พ. มาตรา 438
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของอาคารจอดรถต่อการโจรกรรมรถยนต์: หน้าที่ดูแลความปลอดภัยและมาตรฐานความระมัดระวัง
ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ฟ้องโจทก์มีแต่เรื่องละเมิดเรื่องฝากทรัพย์จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีศาลจะพิพากษาให้บังคับชำระหนี้ตามสัญญาฝากทรัพย์ไม่ได้และเรื่องฝากทรัพย์มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบแต่พยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีศาลฎีกาจึงเห็นควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ จำเลยที่1เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นเจ้าหน้าที่แต่งกายเช่นเดียวกับจำเลยที่1ยืนเก็บบัตรจอดรถและปล่อยรถยนต์ออกจากอาคารจอดรถจำเลยที่5เป็นเจ้าของอาคารจอดรถอาคารจอดรถของจำเลยที่5มีทางเข้า1ทางทางออก1ทางปากทางมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงิน5บาทพร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา5บาทโดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วยซึ่งที่ด้านหน้าบัตรตอนล่างมีข้อความว่าบริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยด้านหลังของบัตรมีข้อความว่า1.ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัวเพื่อป้องกันรถหาย2.กรุณาคืนบัตรทุกครั้งก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถฯลฯ6.บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดงบริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจและในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตราที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่ากรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหายสำหรับทางขาออกมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับบัตรและปล่อยรถออกพฤติการณ์ดังกล่าวแม้จะปรากฏว่าผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถเองดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เองและที่บัตรค่าเช่าจอดรถด้านหลังจะมีข้อความว่าหากมีการสูญหายหรือเสียหายใดๆเกิดขึ้นทุกกรณีผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเองทุกประการก็ตามแต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่5นี้มีบริการรักษาความเรียบร้อยความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำรถเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่5โดยรับดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งขณะที่รถจอดอยู่ในอาคารและขณะที่รถจะออกจากอาคารซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถและถือบัตรค่าเช่าที่จอดรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบก่อนทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน5บาทเป็นค่าตอบแทนการกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อนๆของจำเลยทั้งห้าก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความเรียบร้อยความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอดจำเลยที่1มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไปไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่1แล้วจำเลยที่1งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้นการที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่1งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420 จำเลยที่2ถึงที่4ยืนเก็บเงินออกบัตรจดทะเบียนรถลงในบัตรและตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถที่อยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่2ถึงที่4จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรงซึ่งที่ลานจอดรถและที่ด้านหลังบัตรจอดรถมีข้อความว่าผู้ใช้บริการลานจอดรถจะต้องเก็บรักษาบัตรไว้เพื่อตรวจขณะจะนำรถออกจากลานจอดรถมิฉะนั้นบริษัทจะไม่ยอมให้นำรถออกไปจนกว่าจะหาหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยันเมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียวหากจำเลยที่2ถึงที่4ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้การที่จำเลยที่2ถึงที่4ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัดอันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปและเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420จำเลยที่2ถึงที่4ต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่2ถึงที่4เป็นลูกจ้างของจำเลยที่5กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่5จำเลยที่5นายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่2ถึงที่4ต่อโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425 คดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีข้อหาฝากทรัพย์แต่เป็นคดีข้อหาละเมิดแม้ว่าจำเลยที่3ถึงที่5จะไม่ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ศาลฎีกาก็เห็นควรวินิจฉัยถึงความเสียหายของโจทก์ในฐานละเมิดตามที่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยไว้แล้วต่อไปซึ่งค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2315/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: แม้มีทางอื่น แต่หากไม่ปลอดภัยหรือไม่สะดวกใช้ได้จริง ก็ยังคงมีสิทธิใช้ทางพิพาทเดิมได้
นอกจากทางพิพาทแล้วโจทก์ยังมีทางเดินริมเขื่อนที่ออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ทางดังกล่าวทางด้านซ้ายจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมีประตูถ้าเจ้าของที่ดินปิดประตูโจทก์ก็ไม่สามารถใช้ทางดังกล่าวได้ส่วนทางด้านขวาจะต้องข้ามคลองไปตามคานคอนกรีตเล็กๆผู้เดินอาจตกลงไปในคลองได้จึงไม่ปลอดภัยดังนั้นทางพิพาทยังมีความจำเป็นแก่โจทก์ที่จะใช้ออกสู่ทางสาธารณะอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานเรือนจำ การใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อความปลอดภัยและข้อยกเว้นความรับผิด
ผู้ต้องขังที่ก่อเหตุร้ายพาตัวประกันที่ถูกมัดไว้เป็นคู่ ๆ เดินออกมาโดยมีผู้ต้องขังคนหนึ่งถือลูกระเบิดมือพร้อมกับพูดขู่และชูลูกระเบิดมือทำท่าจะขว้างมายังกองอำนวยการที่จำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ห่างเพียง 4-5 เมตรจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ จึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานใช้อาวุธปืนยิงผู้ต้องขังดังกล่าวโดยก่อนมีคำสั่งได้ประชุมตกลงกันว่าให้ยิงได้ทีละนัดพร้อมทั้งกำหนด ให้เจ้าพนักงานแต่ละคนยิงผู้ต้องขังเป็นรายตัวไป มิใช่ว่า ยิงสุ่มเข้าไปในกลุ่มผู้ก่อเหตุร้าย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างรอบคอบเพื่อความปลอดภัยของตัวประกันอย่างดีที่สุด และจำเป็นต้องสั่งการโดยฉับพลันเนื่องจากผู้ต้องขังชูลูกระเบิดมือทำท่าจะขว้างมายังจำเลยที่ 2 กับพวก การที่ลูกระเบิดมือของผู้ต้องขังเกิดระเบิดขึ้นและถูกตัวประกันถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การกระทำของจำเลยที่ 2 กับพวกจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 17(1)(3),21เจ้าพนักงานเรือนจำไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของตนทั้งทางแพ่งหรือทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำไปโดยสุจริตและการกระทำนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหมวด 4 ไม่ว่าผู้ถูกกระทำจะเป็นผู้ต้องขังหรือบุคคลอื่นก็ตาม ฉะนั้นแม้ตัวประกันถึงแก่ความตายเพราะการกระทำดังกล่าว จำเลยทั้งสิบก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจสถานพยาบาลและจำหน่ายยาโดยไม่ถูกต้อง อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. ยา และอาจถูกสั่งระงับเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาล ได้รับใบอนุญาตให้ขายยาแผนโบราณ และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาเภสัชกรรม เมื่อยาของกลางมีไว้เพื่อกิจการค้าของจำเลย และถูกเก็บซุกซ่อนอยู่ในสถานพยาบาล แม้มิได้นำออกแสดงโดยเปิดเผยให้คนทั่วไปทราบ แต่จำเลยพร้อมที่จะนำมาขายให้แก่คนไข้หรือผู้มาขอซื้อได้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยา
ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยถูกร้องเรียนจากราษฎรว่าสถานพยาบาลของจำเลยมีพฤติการณ์หลอกลวงคนไข้ว่าสามารถรักษาโรคสารพัด โดยใช้คนขับรถ-สองแถวรับจ้างชักจูงคนไข้ เจ้าหน้าที่เคยตักเตือนจำเลยแล้ว ก็ยังไม่ยอมงดการกระทำอันเป็นการท้าทายเจ้าหน้าที่ โดยอาศัยโอกาสที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ-แผนโบราณสาขาเภสัชกรรม หากปล่อยให้จำเลยประกอบอาชีพต่อไปอาจกระทำความผิดได้อีก กรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้แก่จำเลย
ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยถูกร้องเรียนจากราษฎรว่าสถานพยาบาลของจำเลยมีพฤติการณ์หลอกลวงคนไข้ว่าสามารถรักษาโรคสารพัด โดยใช้คนขับรถ-สองแถวรับจ้างชักจูงคนไข้ เจ้าหน้าที่เคยตักเตือนจำเลยแล้ว ก็ยังไม่ยอมงดการกระทำอันเป็นการท้าทายเจ้าหน้าที่ โดยอาศัยโอกาสที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ-แผนโบราณสาขาเภสัชกรรม หากปล่อยให้จำเลยประกอบอาชีพต่อไปอาจกระทำความผิดได้อีก กรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทของผู้ขับขบวนรถไฟ การไม่ปฏิบัติตามระเบียบความปลอดภัย ส่งผลให้เกิดการชนและเสียชีวิต
ตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ พ.ศ.2524 ข้อ 260ซึ่งผู้ขับขบวนรถไฟจะต้องปฏิบัติตามกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่พนักงานขับรถไม่เห็นสัญญาณอนุญาต ให้พนักงานขับรถหยุดขบวนรถใกล้ถึงถนนผ่านเสมอระดับทาง และดูให้แน่ชัดว่าไม่มีสิ่งใดกีดขวางทางแล้ว ก็ให้นำขบวนรถผ่านไปได้ด้วยความระมัดระวังการที่จำเลยที่ 1 มิได้หยุดรถก่อนถึงถนนคีรีรัฐยา ย่อมเป็นการงดเว้นการปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ พ.ศ.2524 ข้อ 260 ดังกล่าวที่กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการเดินรถไฟผ่านถนนที่ตัดกับรางรถไฟโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งผู้ขับขบวนรถไฟผ่านถนนเสมอระดับทางจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์จำเลยที่ 1 อาจใช้ความระมัดระวังโดยหยุดขบวนรถเสียก่อนจะถึงถนนคีรีรัฐยาแล้วนำขบวนรถผ่านถนนดังกล่าวไปด้วยความระมัดระวัง แต่จำเลยที่ 1 ก็หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขับขบวนรถไฟโดยประมาท และการที่จำเลยที่ 1 ขับขบวนรถไฟผ่านถนนคีรีรัฐยาแล้วเกิดชนกับรถยนต์กระบะที่จำเลยที่ 2ขับมาเป็นเหตุให้ผู้ที่นั่งมาในกระบะหลังของรถยนต์ถึงแก่ความตาย 2 คน ความตายของบุคคลทั้งสองจึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ด้วยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1213/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบความปลอดภัยของนายจ้าง มิถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
แม้จำเลยจะพิสูจน์ไม่ได้ว่าการที่คนร้ายลักข้าวสารไปนั้นเพราะความผิดของโจทก์ แต่การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบอันเกี่ยวกับความปลอดภัยในทรัพย์สินของจำเลยเป็นอาจิณและข้าวสารของจำเลยจำนวนมากถูกคนร้ายลักไปในระหว่างที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยขาดความเชื่อถือและไว้วางใจโจทก์ที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปแล้ว จำเลยจึงมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ควบคุมการรื้อถอนอาคารที่ผิดแบบและประมาทเลินเล่อจนเกิดอันตรายต่อชีวิตและร่างกาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมดูแลการรื้อถอนอาคาร ถือได้ว่าเป็นผู้จัดให้มีการรื้อถอนอาคารที่เกิดเหตุ เมื่อฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดให้มีการรื้อถอนอาคารอันอาจจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 วรรคแรกแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ควบคุมงานในความหมายตามมาตรา 4 จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 31 วรรคสองอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดให้มีการรื้อถอนอาคารที่เกิดเหตุได้ดำเนินการรื้อถอนโดยทุบพื้นคอนกรีตทุกชั้นก่อนเพื่อให้วัสดุที่รื้อถอนหล่นลงมาข้างล่างตามช่องพื้นที่ทุบไว้ และเศษอิฐเศษปูนที่ไม่สามารถผ่านช่องพื้นที่ทุบไว้ได้คงค้างอยู่จนพื้นชั้นที่ 6 รับน้ำหนักไม่ไหว เป็นเหตุให้อาคารที่กำลังรื้อถอนอยู่นั้นพังลงมาทับคนงานที่กำลังรื้อถอนอาคารอยู่ถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย เป็นการรื้อถอนที่ผิดไปจากแบบแปลนและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดและเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31,70