คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความผิดร้ายแรง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การหลับในเวลาทำงานไม่ใช่ความผิดร้ายแรงพอที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์แอบไปพักผ่อนหลับนอนในเวลาปฏิบัติงานตามหน้าที่เพียงสองชั่วโมงเศษ อันเป็นการกระทำผิดต่อสภาพการจ้าง แต่จำเลยไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดไว้ว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงหรือไม่ หรือมีโทษสถานใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรง การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือเป็นการจงใจทำให้จำเลยต้องได้รับความเสียหาย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำผิดระเบียบข้อบังคับไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เพียงแต่ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่อันถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพราะจำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าแม้โจทก์เพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับ จำเลยก็มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คงอุทธรณ์ข้อที่ว่าการสอบสวนความผิดชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การพิสูจน์ความผิดร้ายแรงเป็นสาระสำคัญ หากพิสูจน์ได้เพียงผิดระเบียบ ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เพียงแต่ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่อันถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพราะจำเลยอุทธรณ์แต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับเมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าแม้โจทก์เพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับจำเลยก็มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมคงอุทธรณ์ข้อที่ว่าการสอบสวนความผิดชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท และการเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายร่างกายภรรยาไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง
หนังสือมอบอำนาจของบริษัทจำเลยที่มอบอำนาจให้ ช. ดำเนินคดีในศาลแรงงานกลางนั้นมี ส. ลงชื่อผู้เดียว จำเลยอุทธรณ์ว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดให้ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ช. และประทับตราของบริษัทด้วย การมอบอำนาจจึงไม่ผูกพันจำเลยนั้น ข้ออุทธรณ์ดังกล่าวมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แม้จะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็มีอำนาจที่จะไม่วินิจฉัยให้ได้
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุไว้ว่าการทำร้ายร่างกายกันเป็นความผิดทางวินัย มิได้ระบุว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงดังนั้น การกระทำใดจะถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไปโจทก์ตบตีภรรยาซึ่งเป็นคนงานด้วยกันแต่ไม่ปรากฏว่าได้รับบาดเจ็บ แม้จะเป็นภายในบริเวณโรงงานแต่ก็นอกเวลาทำงาน และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้าง การกระทำของโจทก์จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุจริตการสอบเลื่อนตำแหน่งเป็นความผิดร้ายแรง สิทธิของนายจ้างในการปลดออกโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์รู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นเข้าสอบเลื่อนตำแหน่งแทน เป็นการทุจริตในการสอบซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงอยู่ในตัว จึงถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินับอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิปลดโจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตลอดจนค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดร้ายแรง และสิทธิในการได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังพยานปากใดและไม่รับฟังพยานปากใดเป็นดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังเป็นประการใดแล้วข้อเท็จจริงย่อมยุติคู่ความจะอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอื่นหาได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชาในระหว่างที่มีการประชุมพนักงานในบริษัทจำเลยจนปากแตกโลหิตไหล การกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นการทำผิดอาญาซึ่งมีโทษตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นการประพฤติตนไม่เหมาะสมไม่เคารพยำเกรงผู้บังคับบัญชาซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายด้านการปกครอง และไม่ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดเป็นความผิดรุนแรงมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม ความผิดของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องตักเตือน และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ได้กระทำผิดตามข้อ 47 แล้ว จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทั้งสิ้นไม่ว่าปีใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกหนี้ที่กู้ยืมเงินลูกค้าโดยมิชอบ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยประกอบกิจการธนาคาร มีคำสั่งห้ามพนักงานกระทำการเบียดเบียนลูกค้า โจทก์เป็นพนักงานสินเชื่อซึ่งอำนาจหน้าที่ ของโจทก์มีส่วนเป็นคุณและเป็นโทษแก่ลูกค้าได้ โจทก์ กู้ยืมเงินลูกค้าถึง 14 ราย เป็นเงิน 37,700 บาท หากโจทก์มีความจำเป็นต้องใช้เงินโดยสุจริตก็อาจกู้ยืม เพียงรายหนึ่งหรือสองรายก็น่าจะได้เงินพอกับจำนวนที่ ต้องการ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการเบียดเบียนลูกค้าโดย อาศัยอำนาจหน้าที่และเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยอันเป็น กรณีร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรมเนื่องจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาเหตุของเครื่องจักรเสีย และการตีความความผิดร้ายแรงตามระเบียบบริษัท
การที่โจทก์มิได้ซ่อมแมคปั๊มตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและกลับบ้านไปเพราะโจทก์เชื่อว่ามอเตอร์เสีย มิใช่แผงอีเล็กทรอนิกซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์เสีย และเวลาที่กลับก็ล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติแล้ว รุ่งขึ้นเมื่อโจทก์ทราบว่าแมคปั๊มไม่ทำงานเพราะแผงอีเล็กทรอนิกเสียก็จัดการเปลี่ยนแผงใหม่จนแมคปั๊มทำงานเป็นปกติ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำความผิดฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอย่างร้ายแรง และตามระเบียบของจำเลยเพียงแต่ระบุว่า การละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปเป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าการกระทำผิดที่เคยถูกตักเตือนมาแล้วเป็นความผิดร้ายแรงไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือหรือไม่เพราะเป็นเพียงข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การมิใช่เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากดื่มสุราขณะปฏิบัติหน้าที่ แม้ไม่ถึงขั้นมึนเมา ถือเป็นความผิดร้ายแรง ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลย มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยนายสถานี ได้ร่วมดื่มสุรากับบุคคลภายนอกในห้องนายสถานีในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับการเดินรถ แม้จะไม่ถึงขั้นมึนเมา ก็ถือว่าการกระทำของโจทก์อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยและประชาชนอย่างร้ายแรงได้ จำเลยจึงชอบที่จะลงโทษโจทก์ไล่ออกตามกฎข้อบังคับและระเบียบการเดินรถและประมวลการลงโทษผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ กรณีมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย นายจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือเว้นแต่ความผิดร้ายแรง
แม้การที่โจทก์ดื่มสุราในหอพักจะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานก็ตาม แต่การฝ่าฝืนนั้นนายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ก็ต่อเมื่อได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงก็ไม่จำต้องตักเตือน ดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวโดยไม่เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เพราะการดื่มสุราส่งเสียงดังไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง ทั้งข้อบังคับก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นความผิดร้ายแรงด้วย
ส่วนการที่โจทก์ไปพูดขอยืมปืนจากยามเพื่อจะไปยิงน้องชายจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง การกระทำของโจทก์ก็ยังไม่เป็นความผิด ไม่เข้าเกณฑ์การกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีกเช่นกัน
of 5