คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3921/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนตัวในกรรมสิทธิ์รวมโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมรายอื่น
ปัญหาว่า ข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นอันไร้ผลหรือไม่นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 คู่ความก็หยิบยกขึ้นอ้างได้
การทำพินัยกรรมเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินที่จะมีผลเมื่อตายและเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 บัญญัติว่า "บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง? เมื่อตนตายก็ได้" นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือ? ก็ได้" แม้ผู้ตายและผู้ร้องจะมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8372 ก็ตาม ผู้ตายย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้อง ข้อกำหนดแห่งพินัยกรรมในส่วนนี้จึงมีผลบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3921/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนเจ้าของรวม: สิทธิทำพินัยกรรมเฉพาะส่วนของตนโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
ผู้ตายกับผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน ผู้ตายย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361และมาตรา 1646 โดยไม่จำต้องรับความยินยอมจากผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้นบ้านโดยอาศัยความยินยอมและพบของกลางโดยชอบด้วยกฎหมาย ยืนยันคำพิพากษาเดิม
เจ้าพนักงานตำรวจได้ขอความยินยอมจาก น. มารดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุก่อนทำการค้น แสดงว่าการค้นกระทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจความยินยอมของน. แม้การค้นจะกระทำโดยไม่มีหมายค้นที่ออกโดยศาลอนุญาตให้ค้นได้ ก็หาได้เป็นการค้นโดยมิชอบไม่ นอกจากนี้ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินการค้นได้เห็นจำเลยซึ่งอยู่ในห้องนอนโยนเมทแอมเฟตามีนออกไปนอกหน้าต่าง อันเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจพบจำเลยกำลังกระทำความผิด ซึ่งหน้าและได้กระทำลงในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(1),92(2) เมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จึงนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหนังสือค้ำประกันหลังคำสั่งอายัดถูกเพิกถอนด้วยความยินยอมและหนังสือค้ำประกันเป็นสัญญาแยกต่างหาก
โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงกันให้ศาลชั้นต้นถอนคำสั่งอันเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยจำเลยเสนอหนังสือค้ำประกันของธนาคารซึ่งเป็นบุคคลภายนอกยอมผูกพันเพื่อการชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยเงื่อนไขว่าหากคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ธนาคารจึงต้องผูกพันตามข้อความในหนังสือค้ำประกันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 กรณีไม่อาจถือว่าการเข้าค้ำประกันของธนาคารต่อศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันจะมีผลยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ตามมาตรา 260 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ตัวแทนส่งมอบทรัพย์สิน และผลของการจดจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอม
จำเลยเป็นตัวแทนผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพขณะที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยกลับจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคาร โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยจึงต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์โดยการปลอดจำนองเช่นเดิม แต่การไถ่ถอนจำนอง จำเลยผู้จำนองจะต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วนจึงจะปลอดจำนอง หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามลำดับต่อไปได้ จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ระหว่างมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน ไม่ต้องได้รับความยินยอม
ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 341 ไม่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้แต่ประการใดว่าการหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง จำเลยได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังโจทก์แล้ว ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าการฝากเงินของโจทก์ไว้กับจำเลยนั้นได้มีการกำหนดเวลาคืนเงินฝากไว้แน่นอน กรณีจึงต้องถือว่าหนี้เงินฝากดังกล่าวถึงกำหนดชำระหนี้ทันทีที่โจทก์ได้ฝากเงินไว้กับจำเลยและก็ไม่ปรากฎเช่นกันว่าทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันมาหักกลบลบกันไว้แต่อย่างใด จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำเงินฝากในบัญชีของโจทก์ไปหักกลบลบกับหนี้ที่โจทก์กู้เงินไปจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9716/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยานต้องมีเหตุสมควร การไม่ได้รับเงินหรือการขาดความยินยอมไม่ทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ
ข้อเท็จจริงที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงินและสัญญากู้ดังกล่าวกับสัญญาจำนอง ทำขึ้นโดยปราศจากความยินยอมของภริยาจำเลยมิใช่ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง
การไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้คงมีผลตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 650 ว่าสัญญาดังกล่าวไม่สมบูรณ์ และการทำสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คงมีผลตามมาตรา 1480 ว่า นิติกรรมสัญญาดังกล่าวไม่สมบูรณ์ อันอาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้เท่านั้น แต่หาได้ตกเป็นโมฆะจนถึงกับโจทก์ผู้ให้กู้ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ ส่วนเรื่องการบอกเลิกสัญญาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะไปดำเนินการตามกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับจำเลย การขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจำเลยจะมีสิทธิขอแก้ไขคำให้การหลังจากสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9408/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เสียหายออกจากบ้านด้วยความโกรธ แต่การพาไปยังที่อื่นที่ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง ย่อมถือเป็นการพรากผู้เยาว์
แม้ตอนแรกผู้เสียหายที่ 1 จะออกจากบ้านเองเพราะโกรธที่ถูกโจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาด่าก็ตาม แต่การที่ผู้เสียหายที่ 1 บอกจำเลยว่าจะไปหาพี่สาวซึ่งจำเลยรับอาสาจะไปส่งแต่กลับพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่กระท่อมนาซึ่งไม่ใช่สถานที่ที่ผู้เสียหายที่ 1 ต้องการจะไป และจำเลยได้อยู่กับผู้เสียหายที่ 1 ที่กระท่อมนาเป็นเวลา 3 คืน 2 วัน รวมทั้งได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายที่ 1 ด้วย ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้พรากผู้เสียหายที่ 1 ไปจากโจทก์ร่วมโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารถือเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาคำนวณค่าชดเชย การลด/ยกเลิกต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
ค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ในชื่อค่าครองชีพ แม้จะไม่เรียกว่าค่าจ้าง แต่ก็มิใช่สาระสำคัญที่จะถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่ เมื่อเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำจำนวนแน่นอนโดยไม่ต้องนำใบเสร็จค่าน้ำมันมาเบิก อันเป็นการจ่ายให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และจำเลยจ่ายให้เพื่อเป็นการชดเชยค่าน้ำมันรถยนต์ให้แก่ผู้บริหารที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวเพื่อการงานของจำเลยอันเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์ ค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์จึงเป็นค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2
จำเลยออกประกาศจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้แก่ผู้บริหารอันเป็นประกาศที่จำเลยกำหนดขึ้นฝ่ายเดียว แต่ประกาศดังกล่าวเป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีผลบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20การที่จำเลยออกประกาศลดค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหาร และออกประกาศเลิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารเพียงฝ่ายเดียวแม้โจทก์และลูกจ้างของจำเลยมิได้คัดค้าน แต่ก็มิได้ยินยอมให้จำเลยลดหรือเลิกการจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหาร ประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวขัดแย้งกับประกาศเดิมและไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าย่อมไม่มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหารตามข้อตกลงเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7930/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญญาประกันตัว: พนักงานสอบสวนมีอำนาจฟ้องได้ในฐานะเจ้าพนักงาน และประเด็นการให้ความยินยอมของภริยา
แม้พนักงานสอบสวนจะไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่ก็เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้มีอำนาจทำสัญญาประกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 และ มาตรา 113 ฉะนั้น จึงย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันในฐานะเจ้าพนักงานตามอำนาจแห่งหน้าที่โดยชื่อตำแหน่งหน้าที่ของตน ดังนี้ เมื่อจำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมตัวของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112และจำเลยผิดสัญญาประกันดังกล่าว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร บ. ย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาประกันได้ กรมตำรวจไม่ใช่พนักงานสอบสวนและมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลย จะฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้ฟ้องหาได้ไม่
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องจำเลยทำสัญญาประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8หยิบยกปัญหาข้อนี้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ทั้งปัญหาเกี่ยวกับการให้ความยินยอมก็ไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
of 57