พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความระมัดระวังของยามรักษาความปลอดภัย: การประเมินความประมาทเลินเล่อในสถานการณ์พื้นที่กว้าง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้ให้คำจำกัดความคำว่าประมาทเลินเล่อตามมาตรา420ไว้คงมีแต่ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา59วรรคสี่และตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525แต่ก็กล่าวโดยสรุปได้ความหมายว่าการขาดความระมัดระวังนั่นเอง ระเบียบของวิทยาลัยโจทก์ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยกำหนดอำนาจหน้าที่ยามต้องตรวจตราความเรียบร้อยตลอดเวลาอยู่ประจำทางเข้าออกประตูหน้าวิทยาลัยขณะเปิดปิดประตูอยู่อย่างน้อย1คนตลอดเวลาวิทยาลัยของโจทก์มีเนื้อที่ถึง150ไร่มีอาคาร30หลังทรัพย์สินที่หายเก็บไว้ในอาคาร2โดยไม่มีระเบียบชัดแจ้งให้จำเลยต้องสำรวจพื้นที่และทรัพย์สินในอาคารให้ครบทั้ง30อาคารและโดยวิสัยของผู้มีหน้าที่ยามซึ่งต้องดูแลบริเวณที่มีพื้นที่และอาคารมากขนาดนี้ขณะเข้าเวรเพียงผลัดละ2คนจำเลยทั้งสองไม่น่าจะต้องใช้ความระมัดระวังถึงระดับนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากความประมาทเลินเล่อในการขุดดินทำถนน, ละเมิดต่อสายเคเบิลใต้ดิน, หน้าที่ใช้ความระมัดระวัง
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโจทก์ได้วางสายเคเบิลโทรศัพท์ของโจทก์ในซอยสาธารณะไว้ก่อนแล้ว เป็นหน้าที่ของผู้ที่ไปทำการขุดถนนในภายหลังจะต้องใช้ความระมัดระวังการที่คนงานขุดถนนซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยปักแผ่นเหล็ก กั้นดินลงไปโดยวิธีใช้แรงกดดันอย่างแรงจนสายเคเบิลโทรศัพท์ได้รับความเสียหาย โดยไม่ตรวจดูให้ละเอียดและหาทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเช่นนี้ ถือได้ว่าคนงานขุดท่อและปรับปรุงถนนโดยประมาทเลินเล่อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อจากการขุดดินทำลายสายเคเบิล: ผู้รับเหมามีหน้าที่ใช้ความระมัดระวัง
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโจทก์ได้วางสายเคเบิลโทรศัพท์ของโจทก์ในซอยสาธารณะไว้ก่อนแล้วเป็นหน้าที่ของผู้ที่ไปทำการขุดถนนในภายหลังจะต้องใช้ความระมัดระวังการที่คนงานขุดถนนซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยปักแผ่นเหล็กกั้นดินลงไปโดยวิธีใช้แรงกดดันอย่างแรงจนสายเคเบิลโทรศัพท์ได้รับความเสียหายโดยไม่ตรวจดูให้ละเอียดและหาทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าคนงานขุดท่อและปรับปรุงถนนโดยประมาทเลินเล่อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการสหกรณ์ในการถอนเงิน หากไม่ได้ประมาทเลินเล่อ และใช้ความระมัดระวังตามวิญญูชน
จำเลยที่ 3 เป็นหนึ่งในจำนวน 5 คน ที่ได้รับแต่งตั้งจากสหกรณ์โจทก์ให้เป็นผู้มีอำนาจฝากเงินและถอนเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ได้ลงชื่อร่วมกับจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็ค ถอนเงินจากธนาคาร ก. เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้ธนาคาร ส. แล้วจำเลยที่ 1ยักยอกเงินดังกล่าวไป แม้ทางปฏิบัติจำเลยที่ 3 ต้องถอนเงินพร้อมจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 3 ได้ให้ ห. ซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ไปถอนเงินกับจำเลยที่ 1ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วมิได้ประมาทเลินเล่อ จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4943/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินเลยคำฟ้องในคดีละเมิด การใช้ความระมัดระวังของบิดาต่อบุตรผู้เยาว์ และการนอกประเด็นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดฐานกระทำละเมิดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ร่วมกันกระทำละเมิดโดยร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ตาย การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 มิได้ร่วมกันจำเลยที่ 3 ในการใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่กลับพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 ในฐานะบิดาซึ่งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลปล่อยให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์หยิบฉวยอาวุธปืนไปใช้ยิงผู้ตายจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นการนอกฟ้อง นอกประเด็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4452/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนภาษีอากรเมื่อสำแดงพิกัดศุลกากรผิดพลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบ
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 10 วรรคห้า นั้น การเรียกร้องขอคืนภาษีอากรที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง จะต้องเป็นกรณีผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบ หรือส่งออกว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรที่ชำระไว้เกินนั้นประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่งคือพนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบหรือส่งออกว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบหรือส่งออกสินค้ารายพิพาทที่โจทก์นำเข้าได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าว่าเครื่องบันทึกภาพวีดีโอครบชุด โดยมีภาษาอังกฤษกำกับไว้ว่า"1/2InchHSCompactMovie,Cameraw/Accessories" ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 113 บัญญัติว่า "บรรดาใบขนสินค้าบัญชี สมุดบัญชี บันทึกเรื่องราวหรือเอกสารไม่ว่าประเภทใด ๆให้ทำและถือไว้เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ" แสดงว่าใบขนสินค้าจะทำขึ้นเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ จำเลยจะต้องคัดเลือกพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษพอสมควรมาทำหน้าที่ตรวจสอบใบขนสินค้า และตรวจสอบของก่อนสั่งปล่อยสินค้าว่าสินค้าที่นำเข้าตรงกับที่สำแดงไว้หรือไม่ ภาษาอังกฤษคำว่า"Camera" มีความหมายว่า "กล้อง" ส่วนคำว่า "Recorder" มีความหมายว่า "เครื่องบันทึก" เป็นคำสามัญทั่วไปไม่ใช่คำที่ใช้ในทางเทคนิคโดยเฉพาะ ทั้งในพิกัดอัตราศุลกากรที่ 85.21 ที่ระบุเครื่องบันทึกภาพวีดีโอก็ใช้คำว่า "ideoRecording" ส่วนพิกัดอัตราศุลกากรที่ 8525.30 ที่ระบุถึงกล้องถ่ายโทรทัศน์ก็ใช้คำว่า"TelevisionCameras" หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้ความระมัดระวังและตรวจสอบรายการสินค้าที่โจทก์แสดงพิกัดศุลกากรที่โจทก์ระบุ ก็น่าจะพบว่ารายการสินค้ารายพิพาทนั้น ภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน จึงเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพึงต้องรู้ก่อนส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรผิด และอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับสินค้าพิพาทที่ส่งมอบ ตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงมีสิทธิขอคืนอากรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ต่อการไม่ระมัดระวัง ทำให้ทรัพย์สินสูญหายหรือถูกยึด
ผู้รับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดั่งนั้นการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยขนทรัพย์สินของโจทก์ที่ฝากไว้ออกจากสถานที่รับฝากโดยหลบหนีภาษีศุลกากร จนทรัพย์สินของโจทก์ถูกยึดเป็นของกลางในคดีอาญา แสดงว่าจำเลยขาดความระมัดระวังไม่ใช้ฝีมือสงวนทรัพย์สินของโจทก์เช่นวิญญูชน หาใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยคืนทรัพย์สินที่ฝากไม่ได้ จำเลยต้องใช้ราคา
โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องค่าเสียหาย ประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องค่าเสียหาย ประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับฝากทรัพย์ต้องระมัดระวังรักษาทรัพย์สินให้ปลอดภัย หากขาดความระมัดระวังจนทรัพย์สินสูญหายหรือถูกยึด ต้องรับผิดชดใช้ราคา
ผู้รับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยขนทรัพย์สินของโจทก์ที่ฝากไว้ออกจากสถานที่รับฝากโดยหลบหนีภาษีศุลกากร จนทรัพย์สินของโจทก์ถูกยึดเป็นของกลางในคดีอาญา แสดงว่าจำเลยขาดความระมัดระวังไม่ใช้ฝีมือสงวนทรัพย์สินของโจทก์เช่นวิญญูชน หาใช่เหตุสุดวิสัยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์สินที่ฝากไม่ได้ จำเลยต้องใช้ราคา โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องค่าเสียหายประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงถึงที่สุดแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการเปลี่ยนเลนตัดหน้า – ผู้ขับขี่มีหน้าที่ใช้ความระมัดระวัง – การคิดดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน
ทางเดินรถในถนนพหลโยธินทั้งทางด้านขาเข้าและขาออกจากกรุงเทพมหานครแบ่งเป็น 2 ช่องเดินรถ ระหว่างทางเดินรถขาเข้ากับขาออกจะเว้นช่องว่างไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อเป็นทางข้ามให้รถแล่นเลี้ยวไปสู่ทางเดินรถอีกด้านหนึ่งได้ รถยนต์บรรทุกแล่นในทางเดินรถด้านขาออก ถ้าหากจะเลี้ยวขวาเข้าไปในทางเดินรถด้านขาเข้า ตามปกติจะต้องแล่นในช่องเดินรถทางขวาเพื่อจะไม่ต้องเลี้ยวตัดหน้ารถคันอื่น การที่รถยนต์บรรทุกแล่นในช่องเดินรถทางซ้ายของทางเดินรถขาออกและเลี้ยวขวาข้ามช่องเดินรถทางขวาเพื่อจะเข้าไปในช่องว่างทางข้ามไปสู่ทางเดินรถขาเข้าโดยกระชั้นชิดและกะทันหันตัดหน้ารถยนต์เก๋ง ย่อมทำให้รถยนต์เก๋งไม่สามารถจะหยุดได้ทัน ถือได้ว่าคนขับรถยนต์บรรทุกกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง เพราะถ้าหากรถยนต์บรรทุกจะใช้ความระมัดระวังไม่รีบเลี้ยวขวาโดยทันทีโดยขับรถตรงไปก่อน ขอทางชิดขวาแล้วไปเลี้ยวขวาในช่องว่างทางข้ามช่องต่อไปก็ย่อมจะทำได้โดยปลอดภัย ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าฝ่ายรถยนต์เก๋งประมาทเลินเล่ออย่างใด ดังนี้ถือว่าคนขับรถยนต์บรรทุกเป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย ฐานะของโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามป.พ.พ. มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดมีขึ้นนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหม-ทดแทนเป็นต้นไป จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยให้นับแต่วันชำระค่าสินไหมทดแทน แต่เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าได้ชำระค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวทั้งหมดหรือครั้งสุดท้ายไปเมื่อใดแน่ ศาลเห็นสมควรกำหนดให้แก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย ฐานะของโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามป.พ.พ. มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดมีขึ้นนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหม-ทดแทนเป็นต้นไป จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยให้นับแต่วันชำระค่าสินไหมทดแทน แต่เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าได้ชำระค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวทั้งหมดหรือครั้งสุดท้ายไปเมื่อใดแน่ ศาลเห็นสมควรกำหนดให้แก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายรถเช่าซื้อ: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายจากการใช้งานที่ปราศจากความระมัดระวัง
ตามบันทึกการรับรถคันที่เช่าซื้อคืนไม่ปรากฏว่ารถมีความเสียหายเกี่ยวกับเครื่องยนต์ เบรก ช่วงล่าง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้ความว่าโจทก์ยึดรถในขณะที่จำเลยที่ 1 นำออกใช้งานตามปกติและรถเพิ่งใช้ได้เพียง 9,000 กิโลเมตร ประกอบกับโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าความเสียหายดังกล่าวเกิดจากการใช้ปราศจากความระมัดระวัง เยี่ยงวิญญูชน อันเป็นความผิดปกติอย่างไร จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดค่าซ่อมรถต่อโจทก์.