พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,971 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4787/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความรับผิดของผู้ขนส่งและการสะดุดหยุดของอายุความจากหนังสือรับสภาพหนี้
โจทก์เดินทางจากกรุงเทพมหานครไปถึงจังหวัดอุดรธานีในวันที่ 25 กรกฎาคม 2541 อันเป็นวันที่จำเลยควรจะส่งมอบกระเป๋าเดินทางสูญหายให้แก่โจทก์ อายุความย่อมเริ่มตั้งแต่วันดังกล่าว แม้โจทก์จะฟ้องคดีวันที่ 9 สิงหาคม 2542 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว แต่เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2541 จำเลยได้มีหนังสือยินยอมชดใช่ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 400 ดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้จะไม่เต็มตามจำนวนที่โจทก์เรียกร้อง ก็เป็นหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2542 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ – มูลค่าทรัพย์สินที่ยึด vs. จำนวนหนี้ – ความรับผิดค่าธรรมเนียมถอนการยึด
การคิดค่าธรรมเนียมของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. ระบุว่า เมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายให้เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น คำว่า ราคาทรัพย์สินที่ยึดตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่งไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 166 ให้คู่ความฝ่ายที่ดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปเพราะความผิดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณานั้นต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยไม่คำนึงว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะชนะคดีหรือไม่ เมื่อการยึดทรัพย์ถูกถอนการยึดเพราะโจทก์นำยึดเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 284 โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์เพียงฝ่ายเดียว
ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 166 ให้คู่ความฝ่ายที่ดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปเพราะความผิดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณานั้นต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยไม่คำนึงว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะชนะคดีหรือไม่ เมื่อการยึดทรัพย์ถูกถอนการยึดเพราะโจทก์นำยึดเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 284 โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์เพียงฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การบังคับชำระหนี้ตามจำนวนความเสียหายที่แท้จริง ไม่ใช่จำนวนเงินตามสัญญาค้ำประกัน
จำนวนเงินตามสัญญาค้ำประกันมิใช่เงินที่บริษัท ล. มอบให้โจทก์ทันทีขณะทำสัญญา แต่เป็นเพียงหลักประกันว่าบริษัท ล. จะปฏิบัติตามสัญญาและหากบริษัท ล. ผิดสัญญาโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้ออกหนังสือค้ำประกันนั้นแทน จึงไม่ใช่เงินมัดจำที่บริษัท ล. ให้ไว้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 และ 378 ที่โจทก์จะริบได้ทันทีเมื่อบริษัท ล. ผิดสัญญาตามสัญญาจ้าง แต่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา และมิใช่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันโดยไม่คำนึงว่าบริษัท ล. จะมีหนี้ที่ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์หรือไม่จึงต้องพิจารณาว่าบริษัท ล. ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่ก่อน เพราะจำเลยต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่บริษัท ล. ต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ สิทธิเรียกร้องจากค้ำประกันขึ้นอยู่กับความรับผิดของลูกหนี้
จำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ บริษัท ล. ผู้รับจ้างนำไปมอบให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เงินที่บริษัท ล. มอบให้โจทก์ทันทีขณะทำสัญญา แต่เป็นเพียงหลักประกันเบื้องต้นเพื่อที่จะให้โจทก์เชื่อได้ว่า บริษัท ล. จะปฏิบัติตามสัญญา และหากบริษัท ล. ผิดสัญญาโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้ออกหนังสือค้ำประกันนั้นแทน จำนวนเงินตามสัญญาไม่ใช่เงินมัดจำที่บริษัท ล. ให้ไว้แก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 377 และ 378 จึงมิใช่หลักประกันที่โจทก์จะริบได้ทันทีเมื่อบริษัท ล. ผิดสัญญา แต่จะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา และเป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ความสะดวกในวิธีการบังคับชำระหนี้หากมี และจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ล. ต้องรับผิดชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่ากับความรับผิดที่บริษัท ล. ต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่ง, อายุความฟ้องร้อง, และการจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่สินค้าได้เสียหายและสูญหายไปในระหว่างการขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างประเทศไทยไปยังประเทศสเปนอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในฐานะตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนดังกล่าวแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศร่วมรับผิด โดยผลของ ป.พ.พ. มาตรา 824 จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศตามมาตรา 5 และมาตรา 7 (5) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ แม้ใบตราส่งจะระบุว่าต้องใช้กฎหมายของเมืองฮ่องกง แต่กรณีพิพาทเป็นการขนส่งทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งในราชอาณาจักรไปยังที่อีกแห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักร และปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ส่งของเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญารับขนของทางทะเลจึงต้องเป็น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะลฯ ตามมาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากเอกสาร การค้ำประกัน และผลกระทบต่อความรับผิดในสัญญากู้ยืม
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชอบตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงตามคำให้การได้ว่า ไม่เคยกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากโจทก์ แต่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ยืมเงินมอบให้โจทก์โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ เพื่อให้ผ่อนผันการจับกุม ย. ตามหมายจับของศาล และเพื่อค้ำประกันหนี้ของ ย. ที่มีต่อ พ. เพราะเป็นการนำสืบถึงที่มาของการลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ หรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย หาใช่เป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็นการต้องห้ามมิให้นำสืบไม่
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องนิติกรรมอำพรางขึ้นอ้างไว้ในคำให้การ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยเกินเลยไปว่าสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นนิติกรรมอำพรางการค้ำประกัน แต่การค้ำประกันตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็หมายถึงการค้ำประกันหนี้ของ ย. ที่มีต่อ พ. ซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ และก่อนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นนิติกรรมอำพราง ศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยไว้ชัดแจ้งในเบื้องต้นแล้วว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ดังนั้น ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นการนอกประเด็นหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องนิติกรรมอำพรางขึ้นอ้างไว้ในคำให้การ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยเกินเลยไปว่าสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นนิติกรรมอำพรางการค้ำประกัน แต่การค้ำประกันตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็หมายถึงการค้ำประกันหนี้ของ ย. ที่มีต่อ พ. ซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ และก่อนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นนิติกรรมอำพราง ศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยไว้ชัดแจ้งในเบื้องต้นแล้วว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ดังนั้น ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นการนอกประเด็นหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อเท็จจริงเพื่อหักล้างความรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินที่ไม่สมบูรณ์ การนำสืบถึงที่มาของการลงลายมือชื่อไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากโจทก์ แต่จำเลยได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมอบให้โจทก์โดยยังไม่ได้กรอกข้อความเพื่อขอให้ผ่อนผันการจับกุม ย. ตามหมายจับของศาล และเพื่อการค้ำประกันการชำระหนี้ของ ย. ซึ่งถูก พ. ญาติโจทก์แจ้งความดำเนินคดีและพนักงานอัยการฟ้องในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ต่อมาศาลพิพากษาจำคุก ย. พ. ไม่อาจเรียกเงินตามเช็คจาก ย. ได้ จึงให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้เพราะเป็นการนำสืบถึงที่มาของการลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินเพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ หรืออีกนัยหนึ่งหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนในการสูญหายของสินค้า โดยมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าสินค้าแผ่นเหล็กจำนวน 1 แผ่นรอง น้ำหนัก 1,426 กิโลกรัม สูญหายไปโดยตู้สินค้าและดวงตราผนึกตู้อยู่ในสภาพปกติเรียบร้อย ทั้งในระหว่างการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุก รถบรรทุกจะนำตู้สินค้าหลบไปที่ใดก็ได้ การลักขโมยสินค้าน่าจะกระทำได้โดยสะดวกกว่าขณะตู้สินค้าอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ ณ ท่าเรือ อเล็กซานเดรีย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าสินค้าสูญหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ก่อนที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าไว้แก่เจ้าหน้าที่ ณ ท่าเรืออเล็กซานเดรีย จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดเพื่อความสูญหายดังกล่าว
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดแต่ลำพังตนเอง เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน ดังนี้ เมื่อตามใบตราส่งพิพาทข้อ 27 ได้กำหนดเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของตัวแทนไว้ เท่ากับผู้ขนส่งและผู้ส่งของตกลงยกเว้นความรับผิดไว้ ย่อมเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 824 ดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งหรือโจทก์
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดแต่ลำพังตนเอง เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน ดังนี้ เมื่อตามใบตราส่งพิพาทข้อ 27 ได้กำหนดเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของตัวแทนไว้ เท่ากับผู้ขนส่งและผู้ส่งของตกลงยกเว้นความรับผิดไว้ ย่อมเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 824 ดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งหรือโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในความรับผิดของจำเลยร่วม เนื่องจากไม่ได้เป็นคู่ความต่างฝ่ายกัน และเรียกจำเลยร่วมมาเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไปในภายหลังหากศาลพิจารณาให้ตนเป็นฝ่ายแพ้คดี การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีก็เพื่อให้ผูกพันในผลแห่งคดี จำเลยทั้งสองมิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความคนละฝ่ายกับจำเลยร่วม จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วม โดยที่โจทก์มิได้ฎีกา แม้จำเลยร่วมจะยื่นคำแก้ฎีกา ก็ไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมขยายเวลาไม่ถือเป็นการสละอายุความ และการคำนวณความรับผิดของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.รับขน
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าทุเรียน โดยทั้งสองฝ่ายคาดว่าสินค้าจะถึงดินแดนไต้หวันไม่เกินวันที่ 25 มีนาคม 2543 แต่เรือที่ใช้ขนส่งสินค้าเกิดขัดข้องกลางทางไม่สามารถเดินทางต่อได้ จึงขนส่งสินค้าพิพาทกลับและมีการสำรวจความเสียหายเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 หลังจากนั้นโจทก์และจำเลยที่ 1 เจรจาเรื่องค่าเสียหายกันเรื่อยมาโดยมีหนังสือโต้ตอบกัน หนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ตามเอกสารหมาย จ. 7 มีเนื้อความว่า " ยินยอมให้ขยายเวลาออกไป 3 เดือน จนถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2544" จากพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าหนังสือของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ. 7 ทำขึ้นก่อนระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาอันควรส่งมอบสินค้าพิพาทสิ้นสุดลง โดยทำขึ้นเพื่อให้มีผลบังคับผูกพันกันได้จริง ดังนั้น การตีความการแสดงเจตนานั้นตาม ป.พ.พ มาตรา 171 ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร จึงแปลเจตนาอันแท้จริงได้ว่าประสงค์จะให้มีผลเป็นหนังสือยินยอมว่าจะไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลภายในวันที่ 25 มิถุนายน 2544 และความยินยอมนี้ใช้บังคับกันได้ตาม พ.ร.บ. รับขนของทางทะเล ฯ มาตรา 47 ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งระบุว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งเป็นทุเรียนสด จำนวน 1,260 กล่อง อันเป็นการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งที่รวมกันนั้นไว้ในใบตราส่ง ดังนี้ จึงต้องถือว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งมีจำนวนหน่วยการขนส่ง 1,260 หน่วย เมื่อคำนวณข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เป็นเงิน 12,600,000 บาท สูงกว่าการคำนวณตามน้ำหนักสินค้า 30 บาท ต่อน้ำหนักสุทธิ 1 กิโลกรัม โดยสินค้าพิพาทตามใบตราส่งมีน้ำหนักสุทธิ 13,860 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเพียง 415,800 บาท ต้องถือจำนวนข้อจำกัดความรับผิดจำนวนที่สูงกว่า แต่เมื่อความเสียหายของโจทก์มีเพียง 263,755.56 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินที่พึงจำกัดความรับผิดได้ตามกฎหมาย จึงต้องถือเอาตามความเสียหายนั้นตามมาตรา 58 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 263,755.56 บาท พร้อมดอกเบี้ยในหนี้เงินนี้อัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้อง
ตามใบตราส่งระบุว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งเป็นทุเรียนสด จำนวน 1,260 กล่อง อันเป็นการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งที่รวมกันนั้นไว้ในใบตราส่ง ดังนี้ จึงต้องถือว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งมีจำนวนหน่วยการขนส่ง 1,260 หน่วย เมื่อคำนวณข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เป็นเงิน 12,600,000 บาท สูงกว่าการคำนวณตามน้ำหนักสินค้า 30 บาท ต่อน้ำหนักสุทธิ 1 กิโลกรัม โดยสินค้าพิพาทตามใบตราส่งมีน้ำหนักสุทธิ 13,860 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเพียง 415,800 บาท ต้องถือจำนวนข้อจำกัดความรับผิดจำนวนที่สูงกว่า แต่เมื่อความเสียหายของโจทก์มีเพียง 263,755.56 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินที่พึงจำกัดความรับผิดได้ตามกฎหมาย จึงต้องถือเอาตามความเสียหายนั้นตามมาตรา 58 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 263,755.56 บาท พร้อมดอกเบี้ยในหนี้เงินนี้อัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้อง