คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความรับผิดชอบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดโฉนดที่ดินจากการกู้ยืมเงิน: กรรมสิทธิ์ร่วม & ความรับผิดชอบของผู้กู้
เมื่อ ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินแปลงพิพาทย่อมมีสิทธินำโฉนดที่ดินไปให้จำเลยยึดถือเพื่อเป็นหลักประกันในการที่ ป. กู้ยืมเงินจากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์และทายาทอื่น ๆ ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ป. ในที่ดินดังกล่าว จะไม่ได้รู้เห็นหรือให้ความยินยอม จำเลยก็ย่อมยึดถือโฉนดที่ดินไว้ได้จนกว่า ป. จะชำระหนี้ให้แก่จำเลย หากโจทก์หรือทายาทอื่นได้รับความเสียหายจากการกระทำของ ป. ก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกับ ป. ต่างหาก หาเกี่ยวกับจำเลยไม่ แม้จำเลยจะมีสิทธิบังคับคดีได้เฉพาะที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ป. ดังที่โจทก์อ้าง ก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี อันเป็นคนละเรื่องกับการที่จำเลยใช้สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินอันเนื่องมาจากการที่ ป. นำมามอบให้ยึดถือไว้ เพื่อประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิง และการพิพากษาความรับผิดชอบของจำเลยร่วม
โจทก์มีผู้เสียหายซึ่งขณะเกิดเหตุอายุ 9 ปีเศษ เป็นประจักษ์พยานเพียงคนเดียวแต่พฤติการณ์แวดล้อมที่ปรากฏ มีเหตุผลเชื่อได้ว่าเหตุการณ์เป็นไปดังที่ผู้เสียหายเบิกความ แม้คำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นศาลจะแตกต่างจากคำให้การในชั้นสอบสวนบ้าง ซึ่งเป็นเพียงประเด็นรายละเอียดปลีกย่อยในเรื่องที่ไม่สำคัญย่อมไม่ทำให้น้ำหนักคำเบิกความของผู้เสียหายลดน้อยลง
จำเลยทั้งสองกอดปล้ำผู้เสียหายก็เพื่อการกระทำชำเราผู้เสียหายและในเวลาเดียวกันจำเลยทั้งสองก็ได้พยายามกระทำชำเราผู้เสียหาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง ด้วยไม่ได้ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ส่งของต้องแจ้งลักษณะอันตรายของสินค้าเพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง หากไม่แจ้งต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น
ประกาศกรมเจ้าท่ากำหนดว่า "สารหรือสิ่งของใดจัดอยู่ในชั้นและประเภทใดให้เป็นไปตาม INTERNATIONALMARITMEDANGEROUSGOODS CODE(IMDGCODE) ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (INTERNATIONALMARITIMEORGANIZATION หรือ IMO)" ดังนั้น สิ่งของใดจะเป็นสิ่งของอันตรายบ้างนั้นก็ต้องเป็นไปตามที่ IMDGCODE กำหนดไว้ที่ประเทศไทยต้องยอมรับในฐานะที่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (THEINTERNATIONALCONVENTIONFORTHESAFETYOFLIFEATSEA1974) เมื่อ IMDGCODE ระบุว่า ถ่านที่มาจากพืชเป็นของที่ลุกไหม้ได้โดยธรรมชาติ เพราะสามารถร้อนตัวขึ้นช้า ๆ และติดไฟได้เองในอากาศ ดังนั้นถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายได้
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของนั้นด้วยก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้องอันจะเป็นการปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 มิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกางตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกางเช่นนี้ เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่นที่โจทก์รับขนไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9278/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากทรัพย์: การรับฝากรถและผลของการส่งมอบบัตรรับฝากรถ
จำเลยอาศัยที่วัดเป็นสถานที่เพื่อให้คนมาฝากรถ จึงเป็นเรื่องชัดแจ้งว่าจำเลยทำธุรกิจรับฝากทรัพย์ โดยจำเลยรับค่าบริการจากฝ่ายโจทก์ แล้วมอบบัตรให้มีข้อความว่า "รับฝากรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ขอบคุณที่ใช้บริการ(กรุณาอย่าทำบัตรหาย)" โดยมีหมายเลขกำกับ อันแสดงว่าฝ่ายโจทก์จะรับรถคืนได้ต่อเมื่อคืนบัตรให้แก่ฝ่ายจำเลย ดังนี้มีผลเท่ากับฝ่ายโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินไว้ในอารักขาของฝ่ายจำเลยแล้ว การที่ไม่ได้มอบลูกกุญแจให้ไว้ด้วย หาใช่สาระสำคัญไม่ การปฏิบัติระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยเป็นการฝากทรัพย์ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6551/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทางทะเล: ความรับผิดชอบต่อสินค้าเสียหายและการพิสูจน์การออกใบตราส่ง
โจทก์ตกลงว่าจ้างให้จำเลยดำเนินการส่งทุเรียนสดจากประเทศไทยไปยังเมืองเกาซุงประเทศไต้หวัน โดยทางเรือ จำเลยได้ติดต่อจองระวางเรือ ทำพิธีการศุลกากรและตกลงให้ผู้มีชื่อเป็นผู้ขนส่งทุเรียนไปให้ผู้ซื้อ ที่ประเทศไต้หวัน โดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทเริ่มตั้งแต่จัดหารถลากตู้คอนเทนเนอร์ไปรับทุเรียนพิพาท ที่จังหวัดจันทบุรี และนำไปส่งที่ท่าเรือแหลมฉบัง จำเลยได้ออกใบตราส่งและรับเงินค่าบริการ ตามใบตราส่ง มีข้อความระบุว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้รับสินค้าไว้ถูกต้องแล้วและจำเลยได้เรียกเก็บเงินค่าระวางขนส่ง ค่าเช่า ตู้คอนเทนเนอร์และค่าธรรมเนียมอื่นจากโจทก์ไปแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ใบตราส่ง หมายความว่า เอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของเป็นหลักฐาน แห่งสัญญารับขนของทางทะเล เมื่อจำเลยเป็นผู้ออกใบตราส่ง จำเลยจึงปฏิเสธว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนโรงงานแปรรูปไม้: ความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและการดูแลกิจการตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดที่ไม่จัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามให้ถูกต้องตามความจริงอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษสำหรับผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม จำเลยเป็นเพียงตัวแทนดูแลกิจการโรงงานแปรรูปไม้ที่เกิดขึ้นของผู้รับอนุญาต จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามประการหนึ่ง กับเมื่อผู้รับอนุญาตซึ่งเป็นตัวการได้มอบอำนาจให้จำเลยตัวแทนมีอำนาจเฉพาะสั่งให้คนงานหรือผู้รับจ้างหยุดทำการแปรรูปไม้ หยุดขนหรือเคลื่อนย้ายไม้เมื่อได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ อำนวยความสะดวก ตอบข้อซักถาม และรับทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบกิจการที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ลงนามในหนังสือกำกับไม้แปรรูปและลงนามในคำขอใบเบิกทางเพื่อขอนำไม้เคลื่อนที่ และลงนามในหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์และลงนามในคำขอประทับรอยตราประจำต่อหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์ติดต่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับโรงงานแปรรูปไม้ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือตั้งตัวแทนเท่านั้นอันมีลักษณะเป็นกรณีที่จำเลยตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้จัดทำบัญชีดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดอันเป็นความผิดตามมาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ และตามข้อกำหนดฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้ ข้อ 14 ระบุว่า ผู้รับอนุญาตต้องอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเอง หากไม่อาจอยู่ดูแลกิจการด้วยตนเองได้ต้องจัดให้มีตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และวรรคสามระบุว่า หากฝ่าฝืนให้สั่งพักใช้ใบอนุญาต ตามข้อกำหนดดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่อาจอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเองได้ ต้องจัดให้มีตัวแทนเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หากผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนไม่จัดให้มีตัวแทนเพื่อการดังกล่าวไว้ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตของผู้รับอนุญาตได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ซื้อมีหน้าที่ตรวจสอบสภาพที่ดินก่อนประมูล เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องรับผิดชอบ
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาดที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจ เลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาวของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศ กับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึงทั้งได้ระบุการไป ให้ดูตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่ กับระบุว่า การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง ดังนี้ ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควรแก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดสิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจนหลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการประมูล
ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด กับผู้ร้องได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดินเห็นที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดินแปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้องทราบว่ามีการประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาดให้ดีก่อนทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเอง เพราะตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 ตามคำร้องและคำแถลงคัดค้านของผู้ร้อง แล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐานที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่งศาลชั้นต้นในกรณีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายทอดตลาดที่ดิน: ความรับผิดชอบของผู้ซื้อในการตรวจสอบสภาพที่ดิน และความชอบด้วยกฎหมายของการบังคับคดี
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาด ที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจ เลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ซึ่งมีชื่อจำเลย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาว ของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศ กับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึงทั้งได้ระบุการไป ให้ดูตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่ กับระบุว่า การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้อง ไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง ดังนี้ ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควร แก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียด สิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจน หลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการประมูล ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด กับผู้ร้อง ได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดินเห็นที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดิน แปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้อง ทราบว่ามีการประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาด ให้ดีก่อนทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเอง เพราะตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อ ไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้ เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ตามคำร้อง และคำแถลงคัดค้านของผู้ร้อง แล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐาน ที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวน คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์ พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ขอให้วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่งศาลชั้นต้นในกรณีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้จ้างวานฆ่าต่อเนื่อง: ความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้างและผู้ถูกจ้าง
การที่จำเลยว่าจ้าง นาย อ. กับนาย ก. ให้ฆ่าผู้ตาย และนาย ก. ขอให้นาย ส. เข้ามาช่วยเหลือ แล้วนาย ส. ไปว่าจ้างบุคคลกลุ่มหนึ่งให้มาร่วมก็เพื่อให้สามารถฆ่าผู้ตายให้สำเร็จแต่ล้มเลิกเสีย นาย ส. และนาย ก. จึงไปติดต่อบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งให้มาร่วมทำงานนั้นต่อไป แล้วในที่สุดก็ฆ่าผู้ตายได้สำเร็จ จึงเป็นผลของการกระทำที่สืบเนื่องติดต่อมาจากการว่าจ้างของจำเลยนั่นเอง การกระทำของจำเลยตามฟ้องข้อ ข. ข้อ ค. และข้อ ง. จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ตาม ป.อ. มาตรา 84 วรรคสอง ตอนต้น ประกอบมาตรา 289 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีรับของโจร: สถานที่จับกุมและการรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน โดยคงจำคุกจำเลยคนละไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 218 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า การที่รถจักรยานยนต์ของกลางอยู่ที่จำเลยทั้งสาม พฤติการณ์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 กับพวกรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ในการจับกุมมีเจ้าพนักงานตำรวจชั้นสัญญาบัตรของตำรวจทางหลวงและสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางร่วมจับกุมด้วย จึงถือว่าจำเลยทั้งสามถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจับกุมตามกฎหมายโดยชอบและการที่จำเลยทั้งสามร่วมกันบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คันของกลางบนรถยนต์กระบะเดินทางมาเขตอำเภอกบินทร์บุรีเพื่อจะนำไปจำหน่ายยังประเทศเขมรนั้น เป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตามมาตรา 19(3)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น ร้อยตำรวจเอก อ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางเป็นผู้ร่วมจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกในท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีด้วยร้อยตำรวจเอกอ. จึงเป็นพนักงานผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแล้วเข้ากรณีตาม มาตรา 19 วรรคสาม (ข) เพราะเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ พบการกระทำผิดอยู่ก่อนโดยเริ่มสอบสวนตั้งแต่ยังจับตัว จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไม่ได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกถูกจับกุมที่ท้องที่ อำเภอกบินทร์บุรีก็ตาม ก็หาทำให้ร้อยตำรวจเอก อ. พ้นจากการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้พนักงานอัยการจังหวัดลำปางโจทก์จึงฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้ โดยถือว่ามีการสอบสวน โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
of 33