คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความรับผิดทางละเมิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของผู้ให้ผู้เยาว์ขับรถ: เจ้าของหอพักไม่ใช่ผู้ดูแลตามมาตรา 430
จำเลยที่ 2 เป็นเพียงเจ้าของหอพักที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์เช่าอยู่และเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไปเพื่อธุระของตนเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลผู้รับดูแลจำเลยที่ 1 ไว้ตามความหมายในมาตรา 430 แห่ง ป.พ.พ.เพราะเจ้าของหอพักมีหน้าที่เพียงดำเนินการกิจการหอพักและควบคุมการเข้าพักในหอพักเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำลงไปนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยความรับผิดทางละเมิดนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลฎีกาพิพากษากลับ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็กำหนดประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ไว้เพียงประการเดียวว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนที่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 หรือไม่ การที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 2เป็นลูกจ้างกระทำการในทางการที่จ้างของ จำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางเรือ: การแบ่งความรับผิดเมื่อทั้งสองฝ่ายประมาท
เหตุที่เรือชนกันเกิดจากการกระทำโดยประมาทของฝ่ายจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่ฝ่ายโจทก์ก็มีส่วนกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการที่ตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างดังนั้น จำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์มากน้อยเพียงใดก็ต้องพิจารณาว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 442 เมื่อจำเลยให้การว่าเหตุที่เรือชนกันไม่ใช่เพราะความผิดของฝ่ายจำเลยแต่เป็นความผิดของฝ่ายโจทก์ การที่ศาลวินิจฉัยว่าเหตุละเมิดเกิดจากการกระทำโดยประมาทของฝ่ายโจทก์ด้วย จึงเป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากยานพาหนะ และการประเมินค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางถนน โดยคำนึงถึงประมาทของผู้ตาย
ป. ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์โดยสารประจำทางของจำเลยชนผู้ตายซึ่งกำลังเดินข้ามถนน อันเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยและได้ครอบครองควบคุมดูแลยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกลจึงเป็นกรณีอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437ดังนั้น จึงฟังได้ในเบื้องต้นว่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้นร่วมกับ ป. เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง แม้การที่ผู้ตายไม่ข้ามถนนในทางข้ามซึ่งอยู่ไม่ห่างจากที่เกิดเหตุอันถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยก็ตาม แต่ ป.มีส่วนประมาทมากกว่าเพราะ ป. ขับรถโดยไม่ชะลอความเร็วในขณะใกล้ถึงทางแยก การที่ผู้ตายมีส่วนประมาทก่อให้เกิดความเสียหายศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์มากน้อยเพียงใดก็ได้โดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5079/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างขณะปฏิบัติงานต่อเนื่อง แม้มีธุระส่วนตัว
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการอยู่ในสังกัดของจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกน้ำของจำเลยที่ 2 รดน้ำต้นไม้ ได้ขับรถไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ เสร็จแล้วได้ขับรถไปบ้านของตนแม้จะเป็นธุระส่วนตัวไม่ใช่เวลาปฏิบัติราชการตามหน้าที่ และที่เกิดเหตุมิใช่พื้นที่ที่จำเลยที่ 2 รับผิดชอบดำเนินการก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปบ้านของตนก็ดี และตอนขับกลับก็ดี เป็นเวลาต่อเนื่องคาบเกี่ยวกับงานที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติไปตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ไปทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างทางที่ขับรถกลับดังนี้ถือได้ว่าขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติงานซึ่งได้กระทำการตามหน้าที่การงานของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ตัวการตัวแทน, ความรับผิดทางละเมิด: โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงจึงมีอำนาจฟ้องได้
จำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเมาสุรานั่งไปด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 2แทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น ตัวการ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถในขณะเกิดเหตุ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ให้ จำเลย ที่ 2 รับผิดในฐานะตัวการด้วย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ที่เสียหาย จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มิใช่เจ้าของรถคันเกิดเหตุ แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และความรับผิดของเจ้าของกิจการที่ได้ประโยชน์
จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 กระทำไปในทางการที่จ้างซึ่ง จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต้อง ร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดต่อ โจทก์จำเลยที่ 2 ที่ 3 นำรถยนต์บรรทุกน้ำมันเข้าวิ่งรับขนส่งน้ำมันในนามของจำเลยที่ 4 ซึ่ง จำเลยที่ 4 ได้ ผลประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบ ตาม สัญญาขนส่งน้ำมันระหว่างจำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 4กำหนดให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้รับผิดชอบค่าจ้างคนขับรถ ดังนี้ถือ ได้ ว่ากิจการดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 4 จึงต้อง ร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดร่วมกันและแยกกัน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่รับผิดรับผิดเต็มจำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนหนึ่งอันเกิดจากมูลละเมิด ศาลชั้นต้นพิพากษาแบ่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ชำระครึ่งหนึ่งและจำเลยที่ 3 ที่ 4 ชำระอีกครึ่งหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่จะให้โจทก์ต้องอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายขึ้นมาอีก ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้เต็มจำนวนก็ถือได้ว่าปัญหาเรื่องค่าเสียหายเต็มจำนวนได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่ทำละเมิดต่อโจทก์ ก็ต้องให้ผู้นั้นรับผิดเต็มจำนวน จะแบ่งให้รับผิดเพียงบางส่วนหาชอบไม่ ฉะนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 เท่านั้นที่จะต้องรับผิด และพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงเฉพาะส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้รับผิด โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 เท่านั้นที่จะต้องรับผิด ศาลฎีกาก็มีอำนาจ พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เต็มตามมูลหนี้แห่งการละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738-3739/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: ความรับผิดทางละเมิดจากการชนรถ และขอบเขตการผูกพันตามคำพิพากษา
จำเลยที่ 1 ถูกอัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 3(อัยการจังหวัดมหาสารคาม) ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 3(ศาลจังหวัดมหาสารคาม)ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ และไม่หยุดช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฯ มาตรา 160 วรรคแรก ส่วนข้อหาขับรถโดยประมาทยกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้นปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บาดเจ็บในคดีอาญาหรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาของศาลมณฑลทหารบกที่ 3(ศาลจังหวัดมหาสารคาม) ซึ่งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(8) โดยอัยการได้ฟ้องแทนโจทก์ที่ 2 แม้โจทก์ที่ 2 จะมิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว แต่โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีอาญานั้น ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 54และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2และไม่มีความรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2อ้างว่าเป็นนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ด้วยส่วนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถคันเกิดเหตุนั้น ในคดีอาญามิใช่เป็นผู้บาดเจ็บจากการที่รถชนกัน และมิใช่อยู่ในฐานะผู้เสียหายโดยการจัดการแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4),5(2) และมิใช่เป็นคู่ความเดียวกัน ผลของคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ที่ 1ในคดีแพ่งต้องฟังข้อเท็จจริงใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างขณะปฏิบัติงาน และสิทธิเรียกร้องจากบริษัทประกันภัย
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่เบิกความว่าในการสอบสวนจำเลยที่ 1 รับว่าขับรถกลับจากไปรับจ้างบรรทุกดิน ใน ทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ขณะนำรถกลับมาไว้ที่อู่ก็เกิดเหตุขึ้นแม้จะเป็นพยานบอกเล่าแต่ก็เป็นคำบอกเล่าที่เป็นคำรับของคู่ความ รับฟังได้ การเรียกบริษัทประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อรับผิดตามสัญญาประกันภัยแทนจำเลยที่ 2 เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นแล้วจะต้องเริ่มต้นสืบพยานกันใหม่ และแม้ศาลไม่เรียกบริษัทดังกล่าวเข้าเป็นจำเลยร่วม จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องจากบริษัทดังกล่าวได้อยู่แล้วจึงไม่มีประโยชน์ที่จะเรียกบริษัทดังกล่าวเข้ามาเป็นจำเลยร่วม.
of 9