พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการก่อสร้างอาคารผิดกฎหมาย แม้จะโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้วก็ยังต้องรับผิดชอบ
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีทั้งบทบัญญัติที่เป็นส่วนแพ่งและส่วนอาญา สำหรับบทบัญญัติในส่วนแพ่ง เช่น ขอให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารระงับการก่อสร้างหรือสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารโดยไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา
สำหรับกรณีคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท แต่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 65และมาตรา 42, 66 ทวิ และเป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 66 ทวิ วรรคสองซึ่งนอกจากต้องระวางโทษตามมาตรา 66 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินสามหมื่นบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้ การกระทำความผิดของจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงแยกได้เป็นสองส่วน ได้แก่ความรับผิดในทางแพ่ง คือ การรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างฝ่าฝืนมาตรา 21 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามมาตรา 42
สำหรับกรณีของจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา โดยไม่ได้ขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยผิดกฎหมาย และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปให้บุคคลภายนอกก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในทางอาญาของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาไปจนกว่าอาคารพิพาทจะได้มีการรื้อถอน เพราะหากยอมให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อโอนอาคารพิพาทให้แก่บุคคลภายนอก คำพิพากษาก็จะไร้ผลบังคับ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันจนกว่าจำเลยจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบแล้ว
สำหรับกรณีคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท แต่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 65และมาตรา 42, 66 ทวิ และเป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 66 ทวิ วรรคสองซึ่งนอกจากต้องระวางโทษตามมาตรา 66 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินสามหมื่นบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้ การกระทำความผิดของจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงแยกได้เป็นสองส่วน ได้แก่ความรับผิดในทางแพ่ง คือ การรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างฝ่าฝืนมาตรา 21 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามมาตรา 42
สำหรับกรณีของจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา โดยไม่ได้ขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยผิดกฎหมาย และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปให้บุคคลภายนอกก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในทางอาญาของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาไปจนกว่าอาคารพิพาทจะได้มีการรื้อถอน เพราะหากยอมให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อโอนอาคารพิพาทให้แก่บุคคลภายนอก คำพิพากษาก็จะไร้ผลบังคับ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันจนกว่าจำเลยจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการก่อสร้างผิดกฎหมาย แม้จะโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ยังคงต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีทั้งบทบัญญัติที่เป็นส่วนแพ่งและส่วนอาญา การกระทำความผิดของจำเลยแยกได้เป็นสองส่วน คือ ความรับผิดในทางแพ่ง คือ การรื้อถอน อาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างฝ่าฝืนมาตรา 21 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา 42 แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา โดยไม่ได้ขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยผิดกฎหมายและเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตาม จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 21,65 และมาตรา 42,66 ทวิ แม้จำเลยจะได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปให้บุคคลภายนอกก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในทางอาญาของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาชำระค่าปรับเป็นรายวันไปจนกว่าอาคารพิพาทจะได้มีการรื้อถอนเพราะหากยอมให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อโอนอาคารพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกคำพิพากษาก็จะไร้ผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทใช้ไฟฟ้าช็อตปลาทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ถือเป็นความรับผิดทางอาญา แม้ผู้ตายจะลงไปในน้ำหรือแก้สายไฟฟ้า
จำเลยใช้กระแสไฟฟ้าช็อตปลาในคลองสาธารณะ ถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่เมื่อผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าช็อตตาย ก็ต้องถือว่าเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลย ไม่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะเป็นเพราะผู้ตายลงไปอาบน้ำในคลอง หรือผู้ตายไปแก้สายไฟฟ้าที่เกี่ยวติดสิ่งของจึงถูกกระแสไฟฟ้าช็อตตาย ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยพ้นผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการบรรทุกน้ำหนักเกินกฎหมาย และเหตุผลส่วนตัวที่ไม่สามารถนำมาใช้รอการลงโทษได้
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกและรถพ่วงคันเกิดเหตุบรรทุกทรายมีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด 38,800 กิโลกรัม แล่นไปตามทางหลวงแผ่นดิน เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางหลวงแผ่นดิน ซึ่งได้รับการออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดมากจนเกินกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานตามปกติ การกระทำดังกล่าวของจำเลยแสดงให้เห็นว่า จำเลยมุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตนหรือผลประโยชน์ของนายจ้างจำเลยเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินส่วนรวมและไม่นำพาต่อสวัสดิภาพในชีวิตและทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลอื่น ๆ ที่ร่วมใช้เส้นทางสัญจรไปมาซึ่งต้องเสี่ยงต่ออันตรายอันอาจเกิดจากสภาพถนนที่ชำรุดทรุดโทรมง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายที่อาจจะเกิดจากสภาพรถยนต์ของจำเลยซึ่งบรรทุกน้ำหนักเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าที่ผู้ขับจะควบคุมรถยนต์ได้อย่างปลอดภัย การที่จำเลยอ้างว่าจำต้องกระทำความผิดในครั้งนี้เพราะไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือขัดคำสั่งของนายจ้าง มิฉะนั้นอาจต้องถูกไล่ออกจากงานอันจะทำให้จำเลยต้องขาดรายได้และหากจำเลยต้องจำคุกก็จะทำให้บุตร ภริยา ซึ่งไม่อาจหาเลี้ยงตนเองและต้องอาศัยจำเลยเพียงผู้เดียวหารายได้มาจุนเจือต้องได้รับความเดือดร้อนอย่างมากนั้น เห็นได้ว่าเหตุต่าง ๆ ที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นเพียงเหตุผลส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น บุคคลทั่ว ๆ ไปในสถานะเช่นเดียวกันกับจำเลยก็มีภาระหน้าที่ไม่แตกต่างไปจากจำเลยจำเลยไม่อาจอ้างภาระความจำเป็นส่วนตัวเพื่อก่อภาระให้แก่สังคมโดยรวมได้ เหตุต่าง ๆ ที่จำเลยยกขึ้นอ้างนั้นจึงยังไม่เพียงพอที่จะนำมารับฟังเพื่อรอการลงโทษให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการบรรทุกน้ำหนักเกินขนาด และเหตุผลความจำเป็นส่วนตัวที่ไม่เพียงพอต่อการรอการลงโทษ
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกและรถพ่วงคันเกิดเหตุบรรทุกทรายมีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด 38,800 กิโลกรัม แล่นไปตามทางหลวงแผ่นดิน เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางหลวงแผ่นดิน ซึ่งได้รับการออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดมากจนเกินกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานตามปกติ การกระทำดังกล่าวของจำเลยแสดงให้เห็นว่า จำเลยมุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตนหรือผลประโยชน์ของนายจ้างจำเลยเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินส่วนรวมและไม่นำพาต่อสวัสดิภาพในชีวิตและทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลอื่น ๆ ที่ร่วมใช้เส้นทางสัญจรไปมาซึ่งต้องเสี่ยงต่ออันตรายอันอาจเกิดจากสภาพถนนที่ชำรุดทรุดโทรมง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายที่อาจจะเกิดจากสภาพรถยนต์ของจำเลยซึ่งบรรทุกน้ำหนักเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าที่ผู้ขับจะควบคุมรถยนต์ได้อย่างปลอดภัย การที่จำเลยอ้างว่าจำต้องกระทำความผิดในครั้งนี้เพราะไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือขัดคำสั่งของนายจ้าง มิฉะนั้นอาจต้องถูกไล่ออกจากงานอันจะทำให้จำเลยต้องขาดรายได้และหากจำเลยต้องจำคุกก็จะทำให้บุตร ภริยา ซึ่งไม่อาจหาเลี้ยงตนเองและต้องอาศัยจำเลยเพียงผู้เดียวหารายได้มาจุนเจือต้องได้รับความเดือดร้อนอย่างมากนั้น เห็นได้ว่าเหตุต่าง ๆ ที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นเพียงเหตุผลส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น บุคคลทั่ว ๆ ไปในสถานะเช่นเดียวกันกับจำเลยก็มีภาระหน้าที่ไม่แตกต่างไปจากจำเลยจำเลยไม่อาจอ้างภาระความจำเป็นส่วนตัวเพื่อก่อภาระให้แก่สังคมโดยรวมได้ เหตุต่าง ๆ ที่จำเลยยกขึ้นอ้างนั้นจึงยังไม่เพียงพอที่จะนำมารับฟังเพื่อรอการลงโทษให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6112/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการออกเช็คไม่มีเงินรองรับ โดยจำเลยลงลายมือชื่อทั้งในฐานะส่วนตัวและตัวแทนบริษัท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คธนาคาร ก. จำนวน 4 ฉบับเพื่อชำระหนี้การกู้ยืมเงินอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ต่อมาธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งนี้จำเลยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ฯลฯดังนี้ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แล้ว
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยมีตราของบริษัท ซ.ประทับอยู่ด้วยนั้น ไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท ซ. จำเลยก็คงมีความรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกันเพราะการดำเนินกิจการของบริษัทย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัทและเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินก็ถือว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับบริษัท ซ.ออกเช็คพิพาท ดังนี้โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้โดยไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันกระทำผิด
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยมีตราของบริษัท ซ.ประทับอยู่ด้วยนั้น ไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท ซ. จำเลยก็คงมีความรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกันเพราะการดำเนินกิจการของบริษัทย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัทและเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินก็ถือว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับบริษัท ซ.ออกเช็คพิพาท ดังนี้โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้โดยไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันกระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6112/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้สั่งจ่ายเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชี และการฟ้องจำเลยในฐานะผู้แทนบริษัท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คธนาคาร ก. จำนวน4 ฉบับ เพื่อชำระหนี้การกู้ยืมเงินอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและการบังคับได้ตามกฎหมาย ต่อมาธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งนี้จำเลยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คฯลฯ ดังนี้ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพากษาชำระหนี้ให้โจทก์ร่วม โดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยมีตราของบริษัท ซ. ประทับอยู่ด้วยนั้น ไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท ซ. จำเลยก็คงมีความรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกัน เพราะการดำเนินกิจการของบริษัทย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัทและเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินก็ถือว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับบริษัท ซ. ออกเช็คพิพาท ดังนี้โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้ โดยไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันกระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาฐานยักยอกทรัพย์ จำเลยต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุนการกระทำความผิด
ขณะสุราของโจทก์ร่วมหายไปไม่มีพยานรู้เห็นโจทก์ร่วมมาทราบว่าสุราขาดหายก็เนื่องจากมีการตรวจสอบบัญชีสุราคงเหลือและที่กล่าวหาจำเลยทั้งสองก็เพราะจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบในสุราที่หายไปแต่ปรากฎว่ายังมีช. พนักงานของโจทก์ร่วมอีกคนหนึ่งเป็นผู้นำสุราไปขายให้แก่ร้านค้าและเก็บเงินจากร้านค้าซึ่งภายหลังเกิดเหตุช. ได้หลบหนีไปพยานโจทก์และโจทก์ร่วมนอกจากนี้ก็ไม่มีผู้ใดยืนยันหรือชี้ชัดได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ยักยอกสุราของโจทก์ร่วมไปมีวิธีการยักยอกและนำไปจำหน่ายอย่างไรดังนั้นการที่สุราของโจทก์ร่วมขาดหายไปจากสต๊อกอาจจะเป็นเพราะช. นำไปขายและยังเก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้ก็ได้พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1ยักยอกสุราของโจทก์ร่วมไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงขัดแย้งกับพยานหลักฐาน และการตีความบทอาญาต้องเคร่งครัด
เมื่อคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ทรัพย์ที่จำเลยเผาบางส่วนนั้น จำเลยเป็นเจ้าของรวมกันอยู่ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าทรัพย์ทั้งหมดเป็นของผู้เสียหาย จึงขัดต่อคำเบิกความของผู้เสียหายอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) ก ประกอบด้วยมาตรา 247และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ป.อ. มาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา 217 จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 218แต่เมื่อมาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา 217 ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 217 ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
ป.อ. มาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา 217 จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 218แต่เมื่อมาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา 217 ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 217 ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9546/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบการล้มละลายต่อความรับผิดทางอาญา: ผู้ล้มละลายยังต้องรับผิดชอบคดีอาญาที่เกิดขึ้นก่อนการพิทักษ์ทรัพย์
กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์บุคคลใดหรือมีคำพิพากษาให้บุคคลใดเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นเกี่ยวกับสิทธิและสภาพของบุคคล บุคคลผู้ล้มละลายจะจัดการทรัพย์สินได้หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
ตามหลักกฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเองหรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์อยู่ ถ้าหากไปก่อหนี้สินขึ้นในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จะถือเอามูลหนี้นั้นไปขอรับชำระหนี้ไม่ได้แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้หนี้สินนั้นสูญสิ้นไป โดยเฉพาะกฎหมายล้มละลายมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิด-อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ได้เกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลังแต่อย่างใด ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดดังกล่าวได้
ตามหลักกฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเองหรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์อยู่ ถ้าหากไปก่อหนี้สินขึ้นในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จะถือเอามูลหนี้นั้นไปขอรับชำระหนี้ไม่ได้แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้หนี้สินนั้นสูญสิ้นไป โดยเฉพาะกฎหมายล้มละลายมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิด-อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ได้เกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลังแต่อย่างใด ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดดังกล่าวได้