พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการยักยอกทรัพย์ แม้คดีอาญาจะระงับด้วยการยอมความ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาว่า จำเลยยักยอกเงิน ขอให้ลงโทษและให้จำเลยใช้เงินคืนแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยรับฝากข้าวเปลือกของโจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยได้เบียดบังเอาข้าวเปลือกของโจทก์ไปขายเสีย แล้วเบียดบังเอาเงินค่าข้าวเปลือกที่ขายได้เป็นของจำเลย เป็นความผิดฐานยักยอก แต่โจทก์จำเลยได้แสดงเจตนาเลิกคดีอาญาต่อกัน ได้ชื่อว่ายอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธิฟ้องคดีอาญาจึงระงับไป พิพากษายกฟ้องโจทก์ในทางอาญา แต่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ในคดีส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีอาญาเป็นอันถึงที่สุดแล้ว ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46) เมื่อข้อเท็จจริงในทางอาญาได้ความว่า จำเลยรับฝากข้าวเปลือกของโจทก์ไว้แล้วนำไปขายแก่บุคคลอื่น เบียดบังเอาเงินค่าข้าวเปลือกไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินค่าข้าวเปลือกนั้นให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์เพื่อขายหากำไร ไม่ใช่การยักยอกทรัพย์ แม้ผิดสัญญาซื้อขาย
การที่จำเลยรับทรัพย์ไปจากโจทก์ร่วมก็เพื่อหวังจะเอาไปขายหากำไรอีกต่อหนึ่ง จำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องทำการขายตามคำสั่งของโจทก์ร่วมจำเลยจะขายเกินราคาหรือต่ำกว่าราคาที่โจทก์ร่วมกำหนดไว้ก็ทำได้ เพียงแต่ว่าเมื่อขายได้แล้ว ต้องส่งราคาแก่โจทก์ร่วมตามที่กำหนดกันไว้เท่านั้น การครอบครองทรัพย์ของจำเลยในลักษณะเช่นนี้จึงมิใช่ครอบครองทรัพย์ในฐานตัวแทนโจทก์ร่วม หากแต่ครอบครองโดยอาศัยอำนาจแห่งสัญญาที่โจทก์ร่วมกับจำเลยมีนิติสัมพันธ์ต่อกันเมื่อจำเลยบิดพลิ้วไม่ส่งเงินที่ขาย ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นทั้งโจทก์ก็สืบไม่ได้ว่า จำเลยได้เบียดบังตัวทรัพย์ไว้โดยทุจริต จึงหาใช่เป็นการผิดทางอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการเสียชีวิต จำเป็นต้องพิสูจน์การกระทำที่ทำให้ถึงแก่ความตาย
ความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ซึ่งให้สิทธิผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายที่จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ทำละเมิดทำให้เขาถึงตาย หากมีการทำละเมิดแต่ไม่ถึงตาย ผู้ทำละเมิดก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ที่อ้างว่าขาดไร้อุปการะ
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 โดยคำฟ้องไม่มีข้อความให้รับผิดตามมาตราอื่น และแถลงร่วมกับจำเลยให้ถือเอาผลของคำพิพากษาฎีกาซึ่งจำเลยถูกฟ้องในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นหลักเกณฑ์ให้ศาลกำหนดค่าเสียหายโดยต่างไม่สืบพยาน ปรากฏในคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายถึงบาดเจ็บตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 254 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตามฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ถนัดว่าจำเลยเป็นผู้ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย คดีลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนโดยเจตนาไม่ได้ พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ได้ความดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 และไม่มีทางที่จะถือเอาคำพิพากษาฎีกา ดังกล่าวมาพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 โดยคำฟ้องไม่มีข้อความให้รับผิดตามมาตราอื่น และแถลงร่วมกับจำเลยให้ถือเอาผลของคำพิพากษาฎีกาซึ่งจำเลยถูกฟ้องในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นหลักเกณฑ์ให้ศาลกำหนดค่าเสียหายโดยต่างไม่สืบพยาน ปรากฏในคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายถึงบาดเจ็บตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 254 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตามฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ถนัดว่าจำเลยเป็นผู้ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย คดีลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนโดยเจตนาไม่ได้ พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ได้ความดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 และไม่มีทางที่จะถือเอาคำพิพากษาฎีกา ดังกล่าวมาพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินแล้วนำไปใช้จ่าย ไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ แต่เป็นเรื่องทางแพ่ง
ฝากเงินให้ช่วยเก็บรักษาไว้ ต่อมานานปีเศษขอเงินคืนแต่ผู้รับฝากคืนให้ไม่ได้โดยอ้างว่า ตัวเองและสามีได้เอาไปใช้จ่ายเสียหมดแล้วดังนี้ เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันทางแพ่ง ไม่เป็นผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งแยกจากความผิดทางอาญา แม้ไม่มีความผิดอาญา ก็ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายได้
ในคดีที่โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษทางอาญา และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ด้วยนั้นแม้ศาลจะฟังว่า จำเลยเอาทรัพย์ไปจริงแต่มิได้เจตนาลักยังไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ก็ดี ศาลก็พิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่จำเลยเอาไปให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งควบคู่คดีอาญา: ศาลต้องพิจารณาค่าเสียหายแม้พิพากษายกฟ้องอาญา
คดีหาเป็นคดีอาญาว่า จำเลยบุกรุกทำให้เสียทรัพย์ และได้เรียกค่าเสียหายมาด้วย แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องในความผิดทางอาญา ฐานทำให้เสียทรัพย์สำหรับค่าเสียหายว่า จำเลยจะต้องรับผิดเพียงไร หรือไม่ ซึ่งศาลควรต้องพิพากษาให้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่า ความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ตาม ป.ม.วิ.อาญา มาตรา 47.
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้ชนะคดีในชั้นฎีกาได้.
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/92
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้ชนะคดีในชั้นฎีกาได้.
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/92
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งในคดีอาญา: ศาลมีอำนาจพิจารณาค่าเสียหายควบคู่ไปกับคดีอาญาได้
คดีหาเป็นคดีอาญาว่า จำเลยบุกรุกทำให้เสียทรัพย์ และได้เรียกค่าเสียหายมาด้วย แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องในความผิดทางอาญา ฐานทำให้เสียทรัพย์ สำหรับค่าเสียหายว่าจำเลยจะต้องรับผิดเพียงไรหรือไม่ ซึ่งศาลควรต้องพิพากษาให้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่า ความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้ชนะคดีในชั้นฎีกาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/92)
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้ชนะคดีในชั้นฎีกาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/92)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการรื้อรั้ว: ศาลต้องฟังตามคำพิพากษาคดีอาญาสำหรับจำเลยในคดีอาญา แต่ไม่ผูกพันผู้ที่ไม่ได้เป็นคู่ความ
การพิจารณาคดีส่วนแพ่งซึ่งคู่ความได้ว่ากล่าวเป็นทางอาชญากันแล้ว ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาในคดีอาชญาแต่หลักนี้ไม่ใช้บังคับสำหรับผู้ที่มิได้เป็นคู่ความในคดีอาชญาด้วย อ้างฎีกาที่ 1056-1057 พ.ศ.2472 ค่าเสียหายไกลกว่าเหตุค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องเสียไปในการฟ้องร้องคดีอาชญา นั้นจำเลยในคดีอาชญาไม่ต้องรับผิดชดให้เมื่อศาลสูงเห็นว่าศาลล่างงดสืบพะยานของคู่ความไม่ถูกต้องแล้ว ก็ต้องให้ศาลล่างสืบพะยานต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความ ค่าธรรมเนียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งและอาญาจากการบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ การปรับบทลงโทษและค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยที่ 1 เป็นภริยาจำเลยที่ 2 ซื้อบ้านมีลักษณะเป็นห้องแถวไม้และใช้ผนังอาคารไม้ทั้งสองด้านร่วมกันกับบ้านสองหลังของโจทก์ร่วม การที่จำเลยทั้งสองว่าจ้าง ช. รื้อผนังอาคารไม้ทั้งสองด้านโดยพลการ เป็นการร่วมกันเข้าไปในบ้านทั้งสองหลังซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุข เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 และเป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 364 อีกบทหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป การกระทำของจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุกจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 362 และมาตรา 364 ทั้งยังเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งผนังอาคารไม้ทั้งสองด้านของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยอันเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358 อีกบทหนึ่ง
จำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างให้ ช. ซ่อมแซมปรับปรุงบ้านของจำเลยที่ 1 โดยให้รื้อฝาผนังร่วมซึ่งเป็นผนังไม้ทั้งสองด้าน คอยควบคุมดูแลการก่อสร้างอยู่ตลอด และทราบว่าการไม่ฉาบปูนผนังอิฐทางด้านบ้านของโจทก์ร่วม เป็นสาเหตุที่ทำให้มีน้ำรั่วซึมเวลาฝนตก การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการสมคบร่วมกันกระทำการรื้อผนังอาคารร่วมทั้งสองด้านซึ่งโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของร่วมด้วย จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 หาใช่เป็นเพียงผู้ใช้ให้ ช. กระทำความผิดตามมาตรา 84 ไม่
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไม่ใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยทั้งสองบุกรุกและทำให้บ้านทั้งสองหลังของโจทก์ร่วมเสียหาย ส่วนค่าเสียหายต่อจิตใจก็คือค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 446 กำหนดให้เรียกร้องได้เฉพาะในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายอนามัยหรือทำให้เขาเสียเสรีภาพเท่านั้น กรณีความเสียหายต่อทรัพย์สิน มาตรา 446 ไม่เปิดสิทธิให้แก่ผู้ต้องเสียหายเรียกร้องเอาได้ สำหรับค่าเช่าหรือค่าเสียโอกาสใช้สอยบ้านของโจทก์ร่วมนั้น การที่ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมไม่ได้ใช้สอยบ้านทั้งสองหลัง ไม่ได้หมายความว่าขณะเกิดเหตุโจทก์ร่วมจะใช้สอยหรือหาประโยชน์จากบ้านทั้งสองหลังของตนไม่ได้ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกและทำให้บ้านทั้งสองหลังของโจทก์ร่วมเสียหาย จึงเป็นผลโดยตรงที่ทำให้โจทก์ร่วมเสียหาย ไม่อาจใช้สอยหรือหาประโยชน์จากบ้านทั้งสองหลังของตนได้
โจทก์บรรยายฟ้องระบุการกระทำผิดฐานบุกรุกว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านพักอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุข และมีคำขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 362, 364, 365 ประกอบมาตรา 83 เมื่อการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองในความผิดฐานนี้เข้าลักษณะเป็นความผิดทั้งตามมาตรา 362 และมาตรา 364 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาปรับบทลงโทษเพียงตามมาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 362 จึงไม่ถูกต้องครบถ้วน ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และการที่ศาลฎีกาเพียงแต่ปรับบทลงโทษโดยมิได้แก้ไขโทษให้หนักขึ้น ก็มิได้เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษอันจักเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
กรณีผู้เสียหายยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่มีนัยสำคัญบ่งชี้ว่าวิธีพิจารณาความแพ่งเช่นว่านี้ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เช่นเดียวกับคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาทั่วไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 นั่นเอง ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงอยู่ในบังคับต้องมีคำพิพากษาสั่งในเรื่องความรับผิดในชั้นที่สุดแห่งค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 ประกอบมาตรา 167 เพราะแม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 253 คำร้องขอตามมาตรา 44/1 ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 บัญญัติว่า "ถ้าศาลเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมด หรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม โดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลซึ่งค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้นได้รับยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร" และแม้คำว่า "ผู้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 เป็นบทบัญญัติต่อเนื่องมาจากหลักเกณฑ์การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีตามมาตรา 156 มาตรา 156/1 และมาตรา 157 ก็ตาม แต่ก็ต้องนำมาใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้เสียหายใช้สิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนเองอันเป็นคดีส่วนแพ่ง ซึ่งมาตรา 44/1 วรรคสอง บัญญัติให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. และผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้นด้วย ในฐานะที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง
จำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างให้ ช. ซ่อมแซมปรับปรุงบ้านของจำเลยที่ 1 โดยให้รื้อฝาผนังร่วมซึ่งเป็นผนังไม้ทั้งสองด้าน คอยควบคุมดูแลการก่อสร้างอยู่ตลอด และทราบว่าการไม่ฉาบปูนผนังอิฐทางด้านบ้านของโจทก์ร่วม เป็นสาเหตุที่ทำให้มีน้ำรั่วซึมเวลาฝนตก การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการสมคบร่วมกันกระทำการรื้อผนังอาคารร่วมทั้งสองด้านซึ่งโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของร่วมด้วย จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 หาใช่เป็นเพียงผู้ใช้ให้ ช. กระทำความผิดตามมาตรา 84 ไม่
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไม่ใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยทั้งสองบุกรุกและทำให้บ้านทั้งสองหลังของโจทก์ร่วมเสียหาย ส่วนค่าเสียหายต่อจิตใจก็คือค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 446 กำหนดให้เรียกร้องได้เฉพาะในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายอนามัยหรือทำให้เขาเสียเสรีภาพเท่านั้น กรณีความเสียหายต่อทรัพย์สิน มาตรา 446 ไม่เปิดสิทธิให้แก่ผู้ต้องเสียหายเรียกร้องเอาได้ สำหรับค่าเช่าหรือค่าเสียโอกาสใช้สอยบ้านของโจทก์ร่วมนั้น การที่ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมไม่ได้ใช้สอยบ้านทั้งสองหลัง ไม่ได้หมายความว่าขณะเกิดเหตุโจทก์ร่วมจะใช้สอยหรือหาประโยชน์จากบ้านทั้งสองหลังของตนไม่ได้ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกและทำให้บ้านทั้งสองหลังของโจทก์ร่วมเสียหาย จึงเป็นผลโดยตรงที่ทำให้โจทก์ร่วมเสียหาย ไม่อาจใช้สอยหรือหาประโยชน์จากบ้านทั้งสองหลังของตนได้
โจทก์บรรยายฟ้องระบุการกระทำผิดฐานบุกรุกว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านพักอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุข และมีคำขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 362, 364, 365 ประกอบมาตรา 83 เมื่อการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองในความผิดฐานนี้เข้าลักษณะเป็นความผิดทั้งตามมาตรา 362 และมาตรา 364 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาปรับบทลงโทษเพียงตามมาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 362 จึงไม่ถูกต้องครบถ้วน ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และการที่ศาลฎีกาเพียงแต่ปรับบทลงโทษโดยมิได้แก้ไขโทษให้หนักขึ้น ก็มิได้เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษอันจักเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
กรณีผู้เสียหายยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่มีนัยสำคัญบ่งชี้ว่าวิธีพิจารณาความแพ่งเช่นว่านี้ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เช่นเดียวกับคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาทั่วไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 นั่นเอง ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงอยู่ในบังคับต้องมีคำพิพากษาสั่งในเรื่องความรับผิดในชั้นที่สุดแห่งค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 ประกอบมาตรา 167 เพราะแม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 253 คำร้องขอตามมาตรา 44/1 ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 บัญญัติว่า "ถ้าศาลเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมด หรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม โดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลซึ่งค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้นได้รับยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร" และแม้คำว่า "ผู้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 เป็นบทบัญญัติต่อเนื่องมาจากหลักเกณฑ์การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีตามมาตรา 156 มาตรา 156/1 และมาตรา 157 ก็ตาม แต่ก็ต้องนำมาใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้เสียหายใช้สิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนเองอันเป็นคดีส่วนแพ่ง ซึ่งมาตรา 44/1 วรรคสอง บัญญัติให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. และผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้นด้วย ในฐานะที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15732/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้งท้องถิ่น: การกระทำทุจริตเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และความรับผิดทางแพ่งในการชดใช้ค่าเสียหาย
ในการพิพากษาคดีแพ่งศาลต้องพิจารณาตามหลักเรื่องภาระการพิสูจน์และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักดีกว่ากัน เมื่อทางนำสืบของโจทก์มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลใหม่พัฒนา จัดทำโครงการทัศนศึกษาดูงานที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง โดยใช้งบประมาณของทางราชการ แต่กลับนำคณะทัศนศึกษาดูงานไปลงแพที่เขื่อนกิ่วลม และมีการจัดเลี้ยงอาหารและสุราแก่คณะเดินทางเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่จำเลย โดยมิได้มีการอบรมและศึกษาดูงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ การกระทำของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 99 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
การใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว มิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ที่ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวแต่อย่างใด
การใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว มิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ที่ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวแต่อย่างใด