คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความรับผิดร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดสัญญา, ความรับผิดร่วม, อายุความ: การกระทำของกรรมการและตัวแทนเรือ, ผลกระทบต่อความเสียหายของบริษัท
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินค่าระวางสินค้าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่าเจรจาในการปล่อยเรือส่วนรายละเอียดเรื่องค่าเสียหายโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง สัญญาให้บริการร่วมกันระหว่างโจทก์กับบริษัทท.กำหนดให้บริษัทท. ต้องมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันความเสียหายแต่จำเลยที่1ผู้อำนวยการของโจทก์ลงนามในสัญญาโดยมีแต่สำเนาหนังสือค้ำประกันและสั่งการเกี่ยวกับการเดินเรือโดยไม่ผ่านฝ่ายปฏิบัติการตามระเบียบทั้งยังทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่2มีอำนาจเต็มในนามจำเลยที่1เป็นเหตุให้จำเลยที่2ใช้เอกสารต่างๆแสดงต่อบุคคลภายนอกและก่อหนี้ขึ้นเมื่อเรือของโจทก์ถูกยึดโดยคำสั่งของศาลต่างประเทศเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆดังนี้แม้ว่าจำเลยที่1จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนโจทก์ก็ตามแต่การกระทำต่างๆดังกล่าวของจำเลยที่1ก็เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของโจทก์และไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ต่อบริษัทท.เพราะไม่มีต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์ยึดถือการสั่งการเดินเรือของจำเลยที่1เป็นเหตุให้จำเลยที่2นำเรือไปเดินรับส่งสินค้ายังท่าเรือที่มิได้ระบุในสัญญาเป็นเหตุให้เรือถูกยึดการที่จำเลยที่2นำหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่1ออกให้เป็นผู้แทนเรือไปใช้แสดงต่อบุคคลต่างๆหาประโยชน์ในทางมิชอบล้วนแต่เป็นผลโดยตรงของการที่จำเลยที่1กระทำละเมิดร่วมกับจำเลยที่2จำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่โจทก์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่ากรรมการ2นายมีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารเอกสารสำคัญแทนบริษัทและประทับตราบริษัทดังนั้นเมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์อายุความ1ปีจึงเริ่มนับเมื่อกรรมการดังกล่าวรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมิใช่นับแต่สภากรรมการรู้แต่เมื่อกรรมการ2นายผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้เข้าร่วมประชุมสภากรรมการด้วยจึงถือว่าได้รู้ในฐานะผู้แทนโจทก์แล้วแต่เมื่อขณะที่รู้นั้นเหตุละเมิดยังไม่เกิดอายุความจึงยังไม่เริ่มนับอายุความจะเริ่มนับเมื่อมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นและผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8203/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนประกอบกิจการร่วมกัน: ความรับผิดร่วมกันในละเมิดของลูกจ้าง
จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางที่ได้รับสัมปทานจากทางราชการ โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่ 2 ร้อยละ 13 ของยอดรายได้ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายและยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 กับยอมให้จำเลยที่ 3 พ่นชื่อบริษัทจำเลยที่ 3 ไว้ที่ข้างรถ จึงถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการรับขนคนโดยสารด้วยกันในลักษณะหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย
ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดไม่เกิน250,000 บาท ในนามของจำเลยที่ 3 นั้น ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ความรับผิดในจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 3 ต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ลดลง เนื่องจากโจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 3 ได้เต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8203/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญ-ความรับผิดร่วม: ละเมิดจากลูกจ้างในกิจการร่วมกัน
จำเลยที่2นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปร่วมกิจการเกินรถกับจำเลยที่3ในเส้นทางที่ได้รับสัมปทานจากทางราชการโดยจำเลยที่3ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่2ร้อยละ13ของยอดรายได้ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายและยอมให้จำเลยที่3นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยที่4กับยอมให้จำเลยที่3พ่นชื่อบริษัทจำเลยที่3ไว้ที่ข้างรถจึงถือว่าจำเลยที่2และที่3เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการรับขนคนโดยสารด้วยกันในลักษณะหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเมื่อจำเลยที1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจำเลยที่3จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่2ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่1ด้วย ที่จำเลยที่3ฎีกาว่าจำเลยที่4ต้องรับผิดไม่เกิน250,000บาทในนามของจำเลยที่3นั้นไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ความรับผิดในจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่3ต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ลดลงเนื่องจากโจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่3ได้เต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746-750/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: ผลกระทบจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 และความรับผิดทางละเมิดร่วมกัน
จำเลยที่1ต้องโทษจำเลยจำคุกอยู่ในเรือนจำจังหวัดสงขลาเรือนจำดังกล่าวมิใช่ท้องที่ที่จำเลยที่1มีถิ่นที่อยู่จึงไม่อาจถือว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่1ขณะฟ้องโจทก์ทั้งห้าจะฟ้องจำเลยที่1ต่อศาลชั้นต้นมิได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิมโจทก์ทั้งห้าต้องฟ้องต่อศาลที่จำเลยที่1มีภูมิลำเนาคือศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาแต่เนื่องจากขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่12)พ.ศ.2534ซึ่งใช้บังคับแล้วแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา4(1)บัญญัติว่า"คำฟ้องให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่"เช่นนี้จึงทำให้โจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดได้ด้วยศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจรับฟ้องโจทก์ทั้งห้าไว้พิจารณา จำเลยที่2ต้องเสียค่าบริการให้จำเลยที่3เป็นรายวันเพื่อตอบแทนการนำรถเข้าร่วมแล่นกับจำเลยที่3การเดินรถคันเกิดเหตุจึงเป็นกิจการร่วมกันระหว่างจำเลยที่2และที่3ฉะนั้นการที่จำเลยที่1ขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุโดยรับจ้างจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำของลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่3ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมจากอุบัติเหตุรถแข่ง: ลูกหนี้ร่วม, ประนีประนอม, ค่าเสียหาย
การที่รถยนต์โดยสารทั้งสองคันวิ่งแข่งกันมาและต่างชนโจทก์นั้นแม้จะเป็นกรณีต่างคนต่างประมาทเลินเล่อก็ตาม แต่ความประมาทเลินเล่อของคนขับรถทั้งสองไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นต่อโจทก์ คนขับรถทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โดยคนขับรถทั้งสองหรือคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์โดยสารทั้งสองคันที่ก่อเหตุร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในรถยนต์โดยสารทั้งสองคันดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมในจำนวนค่าเสียหายเป็นเงิน 730,000 บาท แต่เนื่องจากโจทก์ จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3ได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นเงิน 60,000 บาทส่วนค่าเสียหายที่เหลือโจทก์ยังติดใจเรียกร้องจากจำเลยอื่นอีก สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมีเพียง 60,000 บาทคงเหลือส่วนที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์จำนวนเงิน 670,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองออกเลตเตอร์ออฟเครดิต: ความรับผิดร่วมกันของผู้รับรองเมื่อมีการชำระหนี้แทน
จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อไม้ซุงท่อนจากต่างประเทศ จำเลยที่ 3 มีหนังสือถึงโจทก์ขอให้ออกเลตเตอร์-ออฟเครดิตแก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ยินยอมรับรองตั๋วแลกเงินทุกฉบับที่ส่งมาและจะชำระเงินพร้อมค่าธรรมเนียมเมื่อถึงวันกำหนดตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้ หนังสือของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวมีลักษณะแห่งความผูกพันที่จำเลยที่ 3 ยอมชำระหนี้เองไม่มีความหมายในทางว่าจะชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้นั้น จึงมิใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคแรก
เมื่อจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ดำเนินการตามคำขอของจำเลยที่ 3 ทั้งได้ชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 จนจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าไปแล้ว เป็นการสมประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และอยู่ในขอบข่ายหนังสือรับรองของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จะยกเหตุว่า ผู้รับมอบสินค้าไม่ใช่กรรมการของจำเลยที่ 1 และมิได้ลงชื่อรับมอบสินค้าให้ครบ 2 คน ตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้ เพื่อบอกปัดการชำระหนี้หาได้ไม่
จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องร่วมชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ซึ่งโจทก์เรียกมาตามฟ้องในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี จำเลยที่ 3 มิได้ให้การโต้แย้งอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างอื่น ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นหน้าที่ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมทำให้เกิดความเสียหาย ถือเป็นการกระทำละเมิดร่วมกับผู้เบียดบังเงิน
โดยปกติการละเว้นกระทำไม่ถือว่าเป็นการกระทำอันจะเป็นละเมิดเว้นแต่เป็นการละเว้นกระทำในเมื่อมีหน้าที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นจึงจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันจะเป็นละเมิด ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการเงินพ.ศ.2528หมวด2ข้อ6กำหนดให้ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงินฉะนั้นจำเลยที่2ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินจะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงินขึ้นซึ่งเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงินมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามข้อบังคับดังกล่าวข้อ13คือทำหลักฐานรับจ่ายเงินรับผิดชอบเงินที่รับและจ่ายรับจ่ายเงินให้ถูกต้องตามหลักฐานการรับจ่ายทำงบแสดงยอดเงินรับจ่ายและคงเหลือเสนอต่อผู้มอบเงินไปจ่ายซึ่งหากจำเลยที่2จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงินขึ้นโอกาสที่จำเลยที่1ซึ่งเป็นหัวหน้านายทหารการเงินและเบียดบังเอาเงินของโจทก์ที่จำเลยที่1ได้รับมอบมาเพื่อนำฝากเข้าบัญชีของหน่วยงานของโจทก์ไปก็จะไม่มีหรือยากขึ้นการที่จำเลยที่2ละเว้นไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวโดยประมาทเลินเล่อจึงเป็นผลโดยตรงให้จำเลยที่1เบียดบังเอาเงินของโจทก์ไปเป็นการละเว้นกระทำในเมื่อมีหน้าที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2จึงต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของจำเลยทั้งสองจากการซื้อขายที่ดิน โดยจำเลยที่ 2 ดำเนินการทั้งในฐานะส่วนตัวและนิติบุคคล
จำเลยที่ 2 ตกลงเรื่องถมดินกับโจทก์ประมาณเดือนมีนาคม2531 แต่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2531 ดังนั้นในขณะที่จำเลยที่ 2 ไปเจรจาซื้อที่ดินจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำในฐานะส่วนตัวเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังไม่มีตัวตน แต่เหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพราะจำเลยที่ 2 รับราชการอยู่ จึงให้ ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และในทางปฏิบัติจำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารงานและดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 และหลังจากจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจำเลยที่ 2 ได้ซื้อดินจากโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1
ฎีกาจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอตามฟ้องแย้ง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน-ความรับผิดร่วม: ศาลแก้เบี้ยปรับเหมาะสมกับความเสียหายและยืนยันความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนของประเทศ โจทก์จำต้องจัดหาบุคลากรเข้ามาทำงานทางด้านวิทยาการ ต้องติดต่อขอทุนศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบจากกรมวิเทศสหการ เมื่อกรมวิเทศสหการหาทุนได้แล้วโจทก์จะต้องดำเนินการคัดเลือกผู้ได้รับทุนเสนอไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อผู้ได้รับทุนเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศสำเร็จการศึกษากลับมาแล้วจะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป หากผู้ได้รับทุนบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ย่อมสูญเสียบุคลากรที่ได้สร้างขึ้นมาและสูญเสียเวลาที่จะต้องจัดหาผู้เข้ารับทุนรายอื่นไปศึกษาทดแทน ย่อมส่งผลกระทบต่อแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานราชการตามที่ได้วางเป้าหมายเอาไว้ เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ การที่สัญญาได้ระบุให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินทุน เงินเดือน และเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนโจทก์ และกำหนดเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้คืนนั้น เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งแล้วเงินเบี้ยปรับที่โจทก์เรียกร้องมาตามสัญญามิได้สูงเกินส่วน ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน และสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 และ 689 นั้นฐานะของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันในลักษณะนี้จึงต้องรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 691 หรือนัยหนึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันจากการขนส่งสินค้าและการประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 อ้างเพียงว่า จำเลยที่ 1เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ร่วมกับบุคคลภายนอก คำร้องไม่ได้แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าหากศาลพิจารณาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 แพ้คดีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57 (3) ป.วิ.พ. ที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี
หลังจากศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบแล้ว จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ขอให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบโดยให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำแถลงโต้แย้ง หากศาลเห็นว่าคำสั่งเรื่องหน้าที่นำสืบที่สั่งไว้เดิมถูกต้อง เพื่อเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปนั้น ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสามโดยไม่มีข้อแม้ไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปรับเงินค่าจ้างบรรทุกสินค้ามาทั้งหมดแล้วหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะได้ออก ส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้จำเลยที่ 2ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างบรรทุกของ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 3 มีอาชีพรับจ้างบรรทุกสินค้าโดยถ่ายจากเรือใหญ่มาใส่เรือที่จำเลยที่ 3 ควบคุมอยู่เป็นประจำ และบริเวณที่ขนถ่ายสินค้าย่อมจะต้องมีเรือบรรทุกสินค้าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแล่นผ่านไปมาเป็นประจำ ย่อมทำให้เกิดคลื่นใหญ่เล็กเป็นปกติธรรมดา จำเลยที่ 3 จึงต้องใช้ความระมัดระวังหาทางป้องกันมิให้สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำเมื่อเกิดคลื่นทำให้เรือโคลงหรือเอียงลงการที่สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควร จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่
of 12