พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดร่วมกันและแบ่งแยก หนี้อันแบ่งแยกมิได้ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้รับผิดเต็มจำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนหนึ่งอันเกิดจากมูลละเมิด ศาลชั้นต้นพิพากษาแบ่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ชำระครึ่งหนึ่ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ชำระอีกครึ่งหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่จะให้โจทก์ต้องอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายขึ้นมาอีก ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้เต็มจำนวน ก็ถือได้ว่าปัญหาเรื่องค่าเสียหายเต็มจำนวนได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่ทำละเมิดต่อโจทก์ ก็ต้องให้ผู้นั้นรับผิดเต็มจำนวน จะแบ่งให้รับผิดเพียงบางส่วนหาชอบไม่ ฉะนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 เท่านั้นที่จะต้องรับผิด และพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงเฉพาะส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้รับผิด โจทก์ฎีกาศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เท่านั้นที่จะต้องรับผิด ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เต็มตามมูลหนี้แห่งการละเมิดได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4758-4760/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและลูกจ้างจากอุบัติเหตุทางละเมิด แม้มีการชดใช้ค่าเสียหายจากคู่กรณีอื่นแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่เหลือ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่างขับรถยนต์เฉี่ยวชนกันโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลอนุญาตไปแล้ว ส่วนคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายครึ่งหนึ่ง ของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ เพราะจำเลยที่ 2 มีความประมาท ไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลยที่ 1 ดังนี้ การที่โจทก์ได้รับค่าเสียหายจากนายจ้างของจำเลยที่ 2 ไปแล้วก็เป็น เรื่องค่าเสียหายเฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ หาได้ครอบคลุมไปถึงจำนวนค่าเสียหายในส่วนที่ จำเลยที่ 1 และที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยไม่ โจทก์ยังคงมีสิทธิ ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้อยู่ในเหตุการณ์ละเมิด และการแบ่งค่าเสียหายตามส่วนของโจทก์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นคนขับรถฝ่ายหนึ่งกับนายจ้างร่วมรับผิดฐานละเมิด แม้เหตุที่รถชนกันจะเกิดจากความประมาทร่วมของคนขับรถทั้งสองฝ่าย เมื่อโจทก์มิได้มีส่วนร่วมในความประมาทด้วยโดยเพียงนั่งมาในรถยนต์สามล้อเท่านั้น ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้นต่อโจทก์เต็มจำนวน มิใช่รับผิดเพียงกึ่งหนึ่ง การที่ผู้ทำละเมิดแต่ละคนจะรับผิดมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างผู้ทำละเมิด
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์ทั้งสามจำนวนเดียว โดยมิได้แยกเป็นของแต่ละคนทั้งที่โจทก์ทั้งสามขอค่าอุปการะเลี้ยงดูมาแต่ละคนไม่เท่ากัน ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดให้มากน้อยตามส่วนของแต่ละคนที่ขอมาได้
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์ทั้งสามจำนวนเดียว โดยมิได้แยกเป็นของแต่ละคนทั้งที่โจทก์ทั้งสามขอค่าอุปการะเลี้ยงดูมาแต่ละคนไม่เท่ากัน ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดให้มากน้อยตามส่วนของแต่ละคนที่ขอมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2713/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดร่วมกันในคดีแพ่งจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยจำกัดขอบเขตความรับผิดของเจ้าของรถ
ศาลฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งตามคำพิพากษาส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยว่า จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์โดยประมาททำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัสแต่จะใช้ฟังยันจำเลยที่ 1 เจ้าของรถยนต์ด้วยไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันในการยักยอกทรัพย์ การรับช่วงสิทธิ และการบังคับค้ำประกัน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันยักยอกเงินของสหกรณ์ฯไป ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นแก่สหกรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคแรก ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติการณ์ที่จะต้องรับผิดยิ่งหย่อนกว่ากันจึงต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกันตามมาตรา 432 วรรคสาม เมื่อโจทก์ได้ชำระเงินที่ยักยอกให้สหกรณ์ฯ ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของสหกรณ์ฯ มาไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 229(3),226การที่โจทก์ใช้เงินคืนแก่สหกรณ์ฯ ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์ฟ้องเรียกเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ฯ จากจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ได้ชำระให้ไปแล้วมิใช่ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกมาจึงไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายและถือไม่ได้ว่าเป็นการมาศาลด้วยมืออันไม่บริสุทธิ์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับสหกรณ์ฯ เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นต่อสหกรณ์ฯ นี้เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันแล้ว โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิจากสหกรณ์ จึงใช้สิทธิของสหกรณ์ฯ บังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกรรมการบริษัทต่อหนี้ที่เกิดจากการสั่งซื้อสินค้าในนามบริษัท แม้จะมีข้อจำกัดวงเงิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งสินค้าของโจทก์มาจำหน่ายยังค้างชำระราคาสินค้าโจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ปฏิเสธว่าไม่ได้สั่งซื้อ จำเลยที่ 2 ให้การว่าได้สั่งซื้อในนามของจำเลยที่ 1 ศาลล่างพิพากษามาให้จำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ค้างชำระจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา คดียุติชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จะฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ค้างชำระค่าสินค้าโจทก์อยู่เพียง 2 หมื่นบาทเศษ หาได้ไม่ เพราะตนมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำในการ
จำเลยที่ 2 ติดต่อสั่งซื้อสินค้าหลายรายการหลายครั้ง จากโจทก์ขณะเป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 และได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อในตำแหน่งผู้จัดการจำเลยที่ 1 กับได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในเอกสารต่าง ๆ ทุกฉบับ ถือว่าได้ซื้อในนามหรือแทนจำเลย ที่ 1 ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ จะต้องชำระราคาที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะยกเอาคำสั่งภายในที่โจทก์ ไม่รู้มายันโจทก์ เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
หมายเหตุในใบส่งของของโจทก์ระบุให้ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดกรุงเทพนั้นเป็นข้อความที่โจทก์พิมพ์ไว้แต่ฝ่ายเดียว ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ตกลงด้วย จึงไม่ใช่ข้อตกลงที่จะผูกพันความ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (4) โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อ ศาลจังหวัดนครปฐม ซึ่งจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้ตามมาตรา 4 (2)
จำเลยที่ 2 ติดต่อสั่งซื้อสินค้าหลายรายการหลายครั้ง จากโจทก์ขณะเป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 และได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อในตำแหน่งผู้จัดการจำเลยที่ 1 กับได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในเอกสารต่าง ๆ ทุกฉบับ ถือว่าได้ซื้อในนามหรือแทนจำเลย ที่ 1 ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ จะต้องชำระราคาที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะยกเอาคำสั่งภายในที่โจทก์ ไม่รู้มายันโจทก์ เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
หมายเหตุในใบส่งของของโจทก์ระบุให้ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดกรุงเทพนั้นเป็นข้อความที่โจทก์พิมพ์ไว้แต่ฝ่ายเดียว ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ตกลงด้วย จึงไม่ใช่ข้อตกลงที่จะผูกพันความ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (4) โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อ ศาลจังหวัดนครปฐม ซึ่งจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้ตามมาตรา 4 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง, และผู้รับประกันเช็คต่อผู้ทรง
ผู้สั่งจ่ายเช็ค ผู้สลักหลัง หรือผู้รับประกันด้วยอาวัล ต้องร่วมรับผิดต่อผู้ทรงและผู้ทรงก็มีสิทธิฟ้องหรือเรียกร้องจากบุคคลดังกล่าวเรียงตัวหรือรวมกันก็ได้ โดยมิได้พักต้องดำเนินการตามลำดับที่บุคคลดังกล่าวมาผูกพัน
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คจะต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยทั้งสองแล้ว ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ไปนั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คจะต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยทั้งสองแล้ว ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ไปนั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311-1312/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและลูกจ้าง กรณีรถร่วมเดินรถ และการมีส่วนร่วมในกิจการเดินรถ
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในเส้นทางสายอำเภอเมืองภูเก็ตกับท่าฉัตรไชย ยินยอมให้จำเลยที่ 4 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นคนขับเข้ามาเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีและใช้รถคันดังกล่าวนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 แล้ว แม้ตรงที่จำเลยที่ 5 ขับรถไปเกิดเหตุจะเป็นเส้นทางนอกสัมปทานของจำเลยที่ 3 แต่ก็ปรากฏว่าเป็นเส้นทางที่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้รถคันดังกล่าววิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ตลอดมาจำเลยที่ 3 จะอ้างว่ารถนั้นมิได้ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 หาได้ไม่
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและผู้ร่วมกิจการในกรณีละเมิดจากลูกจ้าง
จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถยนต์ และนำเข้าเดินร่วมทางกับบริษัทจำเลยที่ 2 บริษัทจำเลยที่ 2 นำรถเข้าร่วมเดินกับบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานทาง โดยจำเลยที่ 1, 2 และ 3 แบ่งผลประโยชน์กัน จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ร่วมกิจการกับจำเลยที่ 3 และถือได้ว่าเป็นกิจการของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของจำเลยที่ 4 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกิจการร่วมค้าจากการละเมิดของลูกจ้าง
จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถยนต์และนำเข้าเดินร่วมทางกับบริษัทจำเลยที่ 2 บริษัทจำเลยที่ 2 นำรถเข้าร่วมเดินกับบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานทาง โดยจำเลยที่ 1, 2 และ 3 แบ่งผลประโยชน์กัน จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ร่วมกิจการกับจำเลยที่ 3 และถือได้ว่าเป็นกิจการของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของจำเลยที่ 4 ด้วย