พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อบุคคลต่อท้ายเครื่องหมายการค้า ไม่ถือเป็นการล่วงสิทธิหากไม่ทำให้สับสน
จำเลยเอาคำว่า "เซฟตี้แก๊ส" ชื่อของโจทก์ซึ่งมีความหมายธรรมดาถึงความปลอดภัยของการใช้แก๊สมาต่อท้ายเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่กรมทะเบียนการค้าได้รับจดทะเบียนไว้แล้วมาใช้กับสินค้าหัวปรับแรงดันแก๊สที่จำเลยเป็นผู้ผลิต ซึ่งสาธารณชนย่อมเข้าใจได้ว่าหัวปรับแรงดันแก๊สภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของจำเลย มิใช่ของโจทก์ กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายคุ้มครองโจทก์ที่จะเรียกให้จำเลยระงับหรือสั่งห้ามมิให้ใช้ชื่อโจทก์ได้ เพราะชื่อของบุคคลกับเครื่องหมายการค้าเป็นคนละเรื่องกัน จำเลยมิได้ทำผิดกฎหมายอันเป็นการล่วงสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อบุคคลต่อท้ายเครื่องหมายการค้าที่ไม่ทำให้สาธารณชนสับสน ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
จำเลยเอาคำว่า"เซพตี้แก๊ส" ชื่อของโจทก์ซึ่งมีความหมายธรรมดาถึงความปลอดภัยของการใช้แก๊สมาต่อท้ายเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่กรมทะเบียนการค้าได้จดทะเบียนไว้แล้วมาใช้กับสินค้าหัวปรับแรงดันแก๊สที่จำเลยเป็นผู้ผลิตซึ่งสาธารณชนย่อมเข้าใจได้ว่าหัวปรับแรงดันแก๊สภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ของโจทก์กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายคุ้มครองโจทก์ที่จะเรียกให้จำเลยระงับหรือสั่งห้ามมิให้ใช้ชื่อโจทก์ได้เพราะชื่อของบุคคลกับเครื่องหมายการค้าเป็นคนละเรื่องกันจำเลยมิได้ทำผิดกฎหมายอันเป็นการล่วงสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6283/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนเกิดความสับสน และการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "THE BEACH BOYS"ใช้เป็นเครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าประเภทแผ่นเสียง แถบบันทึกเสียง เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ แต่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือคำว่า "BEACH BOYS" เป็นรูปสามเหลี่ยม3 รูป วางซ้อนกันโดยสามเหลี่ยมรูปในมีเส้นลวดลายและมีรูปดอกไม้สามดอก มีรูปคนในลักษณะเล่นกระดานโต้คลื่น ด้านบนมีอักษรโรมันคำว่า "BEACH" อยู่ในแถบโค้งสีทึบ และด้านล่างมีคำว่า "BOYS" อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอักษรโรมันทั้งสองคำมองเห็นอย่างเด่นชัดเป็นที่สะดุดตา ส่วนรูปดอกไม้ คน และกระดานโต้คลื่นมองครั้งแรกแทบจะไม่ทราบว่าเป็นอะไร ส่วนประกอบสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวหนังสือโรมันคำว่า "BEACH BOYS" แม้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะไม่มีคำว่า "THE" แต่เมื่อเวลาอ่านออกเสียงจะเน้นหนักตรงคำบีช บอยส์ ย่อมทำให้ประชาชนผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยต่อภาษาต่างประเทศฟังหรือเรียกขานเป็นอย่างเดียวกัน และเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 38เช่นเดียวกับของโจทก์ ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่า ตราบีช บอยส์ เหมือนกันทำให้สับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้ อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "BEACH BOYS" กับรูปภาพโดยมีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "THE BEACH BOYS" ของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6266/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า VERSACE: ความสับสนในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดสินค้า
โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า VERSACEL' UOMO" อ่านว่า เวอร์แซค แอล อูโอโม เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 38 รายการสินค้าเสื้อยืด เสื้อเชิ้ต กระโปรง กางเกงขายาว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนแล้วมี 4 รูปแบบ คือคำว่า V'E VERSACE, GIANNIVERSACE, V 2 by VERSACE และ VERSUS GIANNI คำว่า VERSACE เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสถานการค้าของจำเลยซึ่งได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศอิตาลีจำเลยใช้คำว่า VERSACE ประกอบกับคำอื่นรวมเป็นเครื่องหมายการค้าหลายรูปแบบใช้กับสินค้าจำพวก 38 ที่จำเลยผลิตขึ้น ส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าจำเลยจึงอยู่ที่คำว่า VERSACE แม้เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนจะใช้คำว่า VERSACE โดยมีคำว่า L' UOMO ต่อท้ายก็ตาม แต่คำว่า VERSACEของโจทก์ก็ตรงกับคำว่า VERSACE ของจำเลยในส่วนสาระสำคัญ อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนทำให้เกิดความสับสน และสิทธิของผู้ใช้เครื่องหมายการค้าก่อน
ฉลากกล่องบรรจุสินค้าของโจทก์และจำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันและอักษรไทยลักษณะประดิษฐ์อย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ใช้คำว่า Madame de Mai มาดาม ดีใหม่ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยใช้คำว่า Due tai Madame ดิวไท มาดามลวดลายการประดิษฐ์อักษรทั้งอักษรโรมันและอักษรไทยในฉลากทั้งสองต่างเป็นตัวเขียนรูปลักษณะและลีลาการเขียนอย่างเดียวกัน ขนาดตัวอักษรใกล้เคียงกัน การวางตัวอักษรในฉลากก็วางไว้ในตำแหน่งเดียวกันของกล่อง สีของตัวอักษรและส่วนประกอบอื่นก็มีสีคล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียงระนาบเอียง โดยของโจทก์ระนาบเอียงขึ้นไปทางขวา ของจำเลยระนาบเอียงลงมาทางขวา ลักษณะฉลากเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวรวมทั้งเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่าคลาสสิค มาดาม CLASSIC MADAME ของจำเลยต่างมุ่งเน้นถึงความสำคัญของอักษรโรมันคำว่า Madame และอักษรไทยคำว่า มาดาม เช่นเดียวกัน มีสำเนียงเรียกขานชื่อสินค้าน้ำยาย้อมผมว่า มาดาม อย่างเดียวกัน ของโจทก์ระบุว่าผลิตโดยกรุงเทพเคมีของจำเลยระบุว่า ผลิตโดยกรุงธนเคมี ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 48 น้ำยาย้อมผมเช่นเดียวกัน อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นสินค้าอย่างเดียวกัน ฉลากเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันและอักษรไทยในลักษณะลวดลายประดิษฐ์คำว่า Madame de Mai และมาดาม ดีใหม่ ของโจทก์จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้
สามีจำเลยเคยเป็นลูกจ้างโจทก์และออกจากงาน แล้วมาทำกิจการค้าน้ำยาย้อมผมซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนกับสินค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยเพิ่งมายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่สามีจำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่ โจทก์จึงเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย การที่เครื่องหมายการค้าจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด ดังนี้ เป็นการที่จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนไว้ได้
ในข้อที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เคยยื่นคำคัดค้านคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาแล้ว แต่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยยกคำคัดค้านของโจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์และมิได้ฟ้องคดีต่อศาล จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น เป็นฎีกาข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
สามีจำเลยเคยเป็นลูกจ้างโจทก์และออกจากงาน แล้วมาทำกิจการค้าน้ำยาย้อมผมซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนกับสินค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยเพิ่งมายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่สามีจำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่ โจทก์จึงเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย การที่เครื่องหมายการค้าจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด ดังนี้ เป็นการที่จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนไว้ได้
ในข้อที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เคยยื่นคำคัดค้านคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาแล้ว แต่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยยกคำคัดค้านของโจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์และมิได้ฟ้องคดีต่อศาล จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น เป็นฎีกาข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสน โจทก์ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือกว่า
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ยุติชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีแล้ว ปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลย่อมอยู่ในฐานะที่จะวินิจฉัยได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวย่อมต้องพิจารณาจากรูปแบบเครื่องหมายการค้าสลากเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้า และตัวสินค้าเป็นสำคัญหาจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่มที่ใช้สินค้าซึ่งเป็นเพียงพยานความเห็นแต่อย่างใดไม่ซึ่งในคดีนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้อง คำให้การ พยานเอกสารสลากเครื่องหมายการค้า และภาพถ่ายที่โจทก์และจำเลยอ้างส่งต่อศาลชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีได้ทั้งหมดแล้วการสืบพยานบุคคลไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเป็นประการอื่นได้ จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานบุคคลต่อไป ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม 2 วง วงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนา ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า"EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้นอยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม2 วง ซ้อนกัน และวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMC"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้นอยู่ภายในวงกลมเช่นกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะ การวางตัวอักษรโรมัน ขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมันและเส้นคลื่น 2 เส้น ซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมัน คงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร"F" และตัวอักษรโรมันตัวท้าย โจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร"C" และเส้นคลื่น 2 เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกัน ส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น 2 เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์ รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว"F" จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน"F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไป ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นา สินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป "EKOMAC" ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความสับสน และสิทธิในเครื่องหมายการค้าเมื่อมีการโอนสิทธิ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ยุติชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีแล้วปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลย่อมอยู่ในฐานะที่จะวินิจฉัยได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดหรือไม่ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวย่อมต้องพิจารณาจากรูปแบบเครื่องหมายการค้าสลากเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าและตัวสินค้าเป็นสำคัญหาจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่มที่ใช้สินค้าซึ่งเป็นเพียงพยานความเห็นแต่อย่างใดไม่ซึ่งในคดีนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้องคำให้การพยานเอกสารสลากเครื่องหมายการค้าและภาพถ่ายที่โจทก์และจำเลยอ้างส่งต่อศาลชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีได้ทั้งหมดแล้วการสืบพยานบุคคลไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเป็นประการอื่นได้จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานบุคคลต่อไปศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม2วงวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า"EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น2เส้นอยู่ภายในวงกลมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม2วงซ้อนกันและวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMC"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น2เส้นอยู่ภายในวงกลมเช่นกันเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะการวางตัวอักษรโรมันขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมันและเส้นคลื่น2เส้นซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมันคงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร "F" และตัวอักษรโรมันตัวท้ายโจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร "C" และเส้นคลื่น2เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกันส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น2เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อยไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว "F" จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน "F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไปส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาสินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่7ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป "EKOMAC" ก็ตามแต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตามก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า โดยพิจารณาจากองค์ประกอบและความหมายของคำ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมาย-การค้าที่ได้ถือคำอักษรโรมันเป็นสำคัญ คือของโจทก์เป็นคำว่า "DENTYNE" ส่วนของจำเลยเป็นคำว่า "DENT GUM" อักษรไทยเป็นเพียงคำทับศัพท์เพื่ออ่านออกเสียงตามอักษรโรมันว่า เดนทีน เดนท์กัม แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีคำว่า"เดนท์" และคำว่า "DENT" เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าซึ่งมีอักษรไทย 3 ตัวแรก และอักษรโรมัน 4 ตัวแรก ตรงกับอักษรไทยและอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยแยกเป็นคำ2 คำ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำคำเดียว คำว่า "DENT" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีความหมายว่า รอยเว้า รอยฟัน ทำเป็นรอยตอกเป็นรอย และคำว่า "GUM" มีความหมายว่า ยางไม้ กาวที่ทำจากยางไม้ส่วนคำว่า "DENTYNE" ของโจทก์เป็นคำที่ไม่มีความหมาย เครื่องหมายการค้าของจำเลยและโจทก์จึงมีคำและตัวอักษรแตกต่างกันอย่างเด่นชัด ทั้งเครื่องหมาย-การค้าทั้งสองก็มีสำเนียงเรียกขานแตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ก่อให้ความสับสนหลงผิด ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้าและการใช้คำสามัญ 'กุ๊ก' โดยไม่ทำให้สับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า กุ๊ก และ COOKประกอบด้วยรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัว แต่งตัวเป็นพ่อครัว ลำตัวคล้ายขวด มีมือสองข้างและเท้าสองข้าง คำว่า กุ๊ก และ COOK อยู่กลางลำตัว ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนเป็นรูปคนอยู่ภายในวงกลมค่อนซีก แม้จะแต่งตัวเป็นพ่อครัวแต่ก็มีเพียงครึ่งตัวท่อนบน มีมือสองข้างแต่ไม่มีเท้า มีอักษรประดิษฐ์คำว่า PRอยู่ที่หน้าอกของพ่อครัว ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวซึ่งมีขนาดใหญ่ มิได้อยู่ที่คำว่า กุ๊กพีอาร์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ารูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างจากรูปการ์ตูนลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจน ประกอบกับฉลากปิดสินค้าซอสปรุงรสตราพีอาร์ของจำเลยก็ไม่มีคำว่า กุ๊ก ปรากฏอยู่ แต่มีรูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวและระบุชื่อบริษัทจำเลยเป็นผู้ผลิตพร้อมที่อยู่ใต้รูปคนดังกล่าวเห็นได้อย่างเด่นชัด ทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือ น้ำมันพืชเท่านั้น ส่วนสินค้าของจำเลยเป็น ซอส ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว และน้ำปลา ไม่มีน้ำมันพืช ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนหลงผิด ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 คำว่า กุ๊กหมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊ก แต่เพียงผู้เดียว บุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่า กุ๊ก ได้จำเลยจึงนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 คำว่า กุ๊กหมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊ก แต่เพียงผู้เดียว บุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่า กุ๊ก ได้จำเลยจึงนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม: การเปลี่ยนแปลงวันหยุดประเพณีสร้างความสับสน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
เดิมจำเลยกำหนดให้วันที่ 4 และ 5 มิถุนายน 2536 เป็นวันหยุดตามประเพณี แต่จำเลยมีความจำเป็นต้องให้ลูกจ้างมาทำงานในวันดังกล่าวจึงได้ขออนุญาตต่อแรงงานจังหวัด แรงงานจังหวัดอนุญาต แสดงว่าจำเลยยังถือว่าวันที่ 4 และ 5 มิถุนายน 2536 เป็นวันหยุดตามประเพณีของจำเลยอยู่ แต่ในขณะเดียวกันจำเลยก็มีประกาศเปลี่ยนแปลงวันหยุดประเพณีดังกล่าวเป็นวันที่ 2 และ 6กรกฎาคม 2536 แทน และสหภาพแรงงานที่โจทก์เป็นสมาชิกได้มีหนังสือคัดค้านการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนแปลงวันหยุดดังกล่าวด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะสร้างความสับสนแก่ลูกจ้างของจำเลยรวมทั้งโจทก์ด้วยว่า วันที่ 4 และ 5 มิถุนายน 2536 เป็นวันหยุดตามประเพณีหรือไม่และจะต้องมาทำงานในวันนั้นหรือไม่ ดังจะเห็นได้จากบัญชีรายชื่อลูกจ้างที่ไม่มาทำงานในวันดังกล่าวมีจำนวนถึง169 คน กรณีจึงไม่พอที่จะถือว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในวันที่ 4และ 5 มิถุนายน 2536 โดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)