พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การกำหนดความรับผิดชอบระหว่างโจทก์และจำเลย โดยคำนึงถึงความสุจริตและเหตุผลสมควร
แม้โจทก์เป็นผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินทั้งสามแปลงของจำเลย ซึ่งถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 และเมื่อขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดเพียงแปลงเดียวได้เงินเพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ ทำให้ไม่ต้องขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดอีกสองแปลง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ถอนการยึดแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายป.วิ.พ. ก็ตาม แต่ ป.วิ.พ. มาตรา 149 ก็อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดชั้นที่สุดของคู่ความในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา 161 ซึ่งตามมาตรา 161 วรรคสอง ให้รวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยคดีนี้จำเลยเป็นฝ่ายที่แพ้คดีต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลย แต่ตามมาตรา 161 วรรคแรก ก็บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงได้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายไม่สุจริตในการบังคับคดีประวิงการชำระหนี้แก่โจทก์ คดีจึงมีเหตุผลสมควรให้จำเลยเป็นผู้รับผิดในค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน & การระงับข้อพิพาท, ตัวแทน, และความสุจริต
จำเลยและว.ต่างขับรถยนต์โดยประมาทและต่างถูกร้อยตำรวจโทอ.พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับการที่ร้อยตำรวจโทอ.เปรียบเทียบปรับจำเลยและว. และค่าเสียหายของรถยนต์ทั้งสองคันได้มีการตกลงกันให้ต่างคนต่างซ่อมโดยขณะนั้นช. เจ้าของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงเกี่ยวกับรถยนต์ที่มีการชนกันไม่ได้คัดค้านแสดงว่าเหตุที่รถยนต์ทั้งสองคันชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยและว. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันจึงได้มีการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงมีต่อกันข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป การที่ช. ยินยอมให้ว. ตกลงระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเท่ากับช.แสดงออกหรือยอมให้ว. แสดงออกว่าว. เป็นตัวแทนของช. ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความช. จึงต้องผูกพันและรับเอาผลของการที่ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตที่มีเหตุควรเชื่อว่าว.เป็นตัวแทนของช.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821โจทก์จะอ้างว่าการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามมาตรา789ไม่ได้ แม้ร้อยตำรวจโทอ. พนักงานสอบสวนเป็นผู้ทำบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพื่อเปรียบเทียบปรับจำเลยและว.แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อตกลงระหว่างคู่กรณีที่มุ่งจะระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีแพ่ง แม้จำเลยคัดค้าน และการพิจารณาความสุจริตในการดำเนินคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง (1)ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งหรือไม่นั้นอยู่ในดุลพินิจของศาล แม้จำเลยคัดค้านก็อนุญาตให้ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, สิทธิเครื่องหมายการค้า, การฟ้องซ้ำ, ความคล้ายคลึงเครื่องหมายการค้า, และความสุจริต
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ อ.ฟ้องคดีเป็นใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศ โดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คน ลงชื่อต่อหน้าโนตารีปับลิก และมีรองกงสุลไทย ณ เมืองนั้นลงชื่อเป็นพยาน ใบมอบอำนาจของโจทก์จึงเชื่อได้ว่าเป็นใบมอบอำนาจอันแท้จริง ไม่มีเหตุอันควรสงสัยใบมอบ-อำนาจดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น แม้ อ.จะไม่เคยเดินทางไปบริษัทโจทก์ที่ประเทศมาเลเซีย และโจทก์ไม่ได้นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์2 คน มาเบิกความเป็นพยาน แต่จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และแม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะได้ทำขึ้นก่อนโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้แต่ข้อความในใบมอบอำนาจมีว่าโจทก์มอบอำนาจให้ อ.มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และดำเนินการจนถึงที่สุดในศาลไทยได้อ.จึงมีอำนาจฟ้องคดีผู้โต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าใบมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในเมืองต่างประเทศ มีโนตารีปับลิกและกงสุลไทย ณ เมืองนั้น รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศดังกล่าวแล้ว ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีเรื่องเดิมนั้นในศาลเดียวกันต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางเรื่องซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งครั้งหนึ่งและศาลนั้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดิมในศาลเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีของศาลแพ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 143673 ที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ดีกว่าจำเลยที่ 2 ห้ามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ตามคำขอเลขที่ 139116 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่15 พฤษภาคม 2527 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2530 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอเลขที่ 164038 จึงทราบว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปขอจดทะเบียนอีก 2 คำขอ คือคำขอเลขที่ 142555 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกและคำขอเลขที่ 163600 ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 163600 ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีเดิมจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่143673 ดีกว่าจำเลยตามคำขอเลขที่ 139116 หรือไม่ ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่164038 ดีกว่าจำเลยตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 142555 และ 163600หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอเลขที่ 163600 หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีเดิมกับคดีนี้จึงอาศัยข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่แตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม เพราะมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราม้าทองคำพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซีย สำหรับสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ)ในน้ำเกลือ ตั้งแต่ พ.ศ.2515 โดยได้รับโอนจาก ฉ. และ ท. เมื่อ พ.ศ.2522 ได้สั่งสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ) ในน้ำเกลือของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2519ก่อนจำเลยและบริษัท ล.ของบิดาจำเลยจะผลิตสินค้าอย่างเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทออกจำหน่ายใน พ.ศ.2520 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเป็นคดีนี้ได้ แม้คำขอที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนฟ้องคดีนี้จะระบุชื่อสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวก 42 คือลูกมะกอก (ลูกหนำเลี๊ยบ) ในน้ำเกลือ ส่วนคำขอของจำเลยระบุว่าจำพวก 42ทั้งจำพวกก็ตาม เพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนดีกว่ากันตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้ารูปม้า 2 ตัว ของจำเลยคงมีม้าตัวใหญ่กับชื่อภาษาอังกฤษว่า GOLDEN HORSE BRAND อยู่ข้างบน กับชื่ออักษรจีนอีก3 ตัว อยู่ข้างล่างเหมือนเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ทุกประการคงมีต่างกันเฉพาะรูปม้าตัวเล็ก ๆ เพิ่มเติมที่มุมล่างด้านซ้ายในเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเท่านั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด เพราะผู้ซื้อเห็นรูปม้าตัวใหญ่แล้วก็อาจเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ คงไม่ได้สังเกตรูปม้าตัวเล็กอีก จำเลยอาจเพิ่มเติมรูปม้าในเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นม้า 2 ตัวตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ได้อีกหลายแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยหาได้ทำไม่ การแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวส่อให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่เจตนาจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีของศาลแพ่ง เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเสียด้วยได้
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าใบมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในเมืองต่างประเทศ มีโนตารีปับลิกและกงสุลไทย ณ เมืองนั้น รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศดังกล่าวแล้ว ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีเรื่องเดิมนั้นในศาลเดียวกันต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางเรื่องซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งครั้งหนึ่งและศาลนั้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดิมในศาลเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีของศาลแพ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 143673 ที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ดีกว่าจำเลยที่ 2 ห้ามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ตามคำขอเลขที่ 139116 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่15 พฤษภาคม 2527 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2530 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอเลขที่ 164038 จึงทราบว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปขอจดทะเบียนอีก 2 คำขอ คือคำขอเลขที่ 142555 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกและคำขอเลขที่ 163600 ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 163600 ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีเดิมจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่143673 ดีกว่าจำเลยตามคำขอเลขที่ 139116 หรือไม่ ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่164038 ดีกว่าจำเลยตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 142555 และ 163600หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอเลขที่ 163600 หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีเดิมกับคดีนี้จึงอาศัยข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่แตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม เพราะมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราม้าทองคำพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซีย สำหรับสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ)ในน้ำเกลือ ตั้งแต่ พ.ศ.2515 โดยได้รับโอนจาก ฉ. และ ท. เมื่อ พ.ศ.2522 ได้สั่งสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ) ในน้ำเกลือของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2519ก่อนจำเลยและบริษัท ล.ของบิดาจำเลยจะผลิตสินค้าอย่างเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทออกจำหน่ายใน พ.ศ.2520 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเป็นคดีนี้ได้ แม้คำขอที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนฟ้องคดีนี้จะระบุชื่อสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวก 42 คือลูกมะกอก (ลูกหนำเลี๊ยบ) ในน้ำเกลือ ส่วนคำขอของจำเลยระบุว่าจำพวก 42ทั้งจำพวกก็ตาม เพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนดีกว่ากันตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้ารูปม้า 2 ตัว ของจำเลยคงมีม้าตัวใหญ่กับชื่อภาษาอังกฤษว่า GOLDEN HORSE BRAND อยู่ข้างบน กับชื่ออักษรจีนอีก3 ตัว อยู่ข้างล่างเหมือนเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ทุกประการคงมีต่างกันเฉพาะรูปม้าตัวเล็ก ๆ เพิ่มเติมที่มุมล่างด้านซ้ายในเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเท่านั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด เพราะผู้ซื้อเห็นรูปม้าตัวใหญ่แล้วก็อาจเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ คงไม่ได้สังเกตรูปม้าตัวเล็กอีก จำเลยอาจเพิ่มเติมรูปม้าในเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นม้า 2 ตัวตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ได้อีกหลายแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยหาได้ทำไม่ การแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวส่อให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่เจตนาจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีของศาลแพ่ง เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเสียด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน, สิทธิครอบครอง, การฟ้องขับไล่, และการยกข้ออ้างเรื่องความไม่สุจริตในการโอน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริต เมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริต จำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า ขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณา โจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา 2 ครั้ง เป็นการไม่ชอบแต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติ เพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง 7 วัน แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริต มูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาและคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท 274,665 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์274,665 บาท ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 5,000 บาท จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรายงานเท็จในการทำงานเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
โจทก์รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจบริหารสูงสุดของจำเลยในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบและโจทก์ก็มิได้ทำงานกับจำเลยจนเกษียณอายุโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องสิทธิประโยชน์ในเรื่องบัตรโดยสารเครื่องบิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้ากับข้าราชการโดยไม่สุจริต และความประมาทของผู้ขาย ทำให้จำเลยที่ 5 ไม่ผูกพันหนี้
โจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำได้ตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างกันเอง นอกจากนี้การสั่งซื้อสินค้าโจทก์เป็นการสั่งซื้อจำนวนมากแทบทุกวันเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยที่หน่วยรายการใดจะปฏิบัติเช่นนี้ จำเลยที่ 1 เองก็ไม่ลงนามในหนังสือตั้งเจ้าหนี้แต่เริ่มแรกเมื่อโจทก์ส่งสินค้าให้ทาง เรือนจำ ทำให้โจทก์ไม่ได้รับชำระราคาสินค้าโจทก์น่าจะตระหนักดีว่า เมื่อไม่มีหนังสือตั้งเจ้าหนี้ของกรมราชทัณฑ์จำเลยที่ 5 โจทก์จะให้จำเลยที่ 5รับผิดชอบต่อโจทก์ไม่ได้ ตามวิสัยของพ่อค้าเมื่อมีพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมไม่ส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าที่ไม่ชำระค่าสินค้าอีกต่อไป แต่โจทก์ยังคงส่งสินค้าให้ทาง เรือนจำอีกเป็นความประมาทอย่างร้ายแรงของโจทก์เอง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุ พ.ศ. 2521ได้ประกาศในราชกิจานุเบกษา เพื่อให้ประชาชนทราบโดยทั่วกันว่าหากจะติดต่อหรือปฏิบัติเกี่ยวกับการพัสดุทางราชการเช่น การซื้อ การจ้าง การซ่อมแซมบำรุงรักษา ฯลฯ จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าว ซึ่งโจทก์จะปฏิเสธว่าไม่รับรู้เพราะเป็นระเบียบภายในหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จะมีการขอจดทะเบียนภายหลัง
การที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่าLAT และ LOUISTAPE ใช้กับสินค้ากาวเทปอันเป็นสินค้าจำพวกที่ 50 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่นายทะเบียนให้รอการจดทะเบียนไว้เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า LOUISTAPEของจำเลยซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับสินค้าการเทปเช่นเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นั้น เป็นกรณีที่มีบุคคลหลายคนต่างอ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน หรือเกือบเหมือนกัน ใช้สำหรับสินค้าเดียวกันและต่างร้องขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากันตามมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันโจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวโดยการคัดค้านก่อนและให้โอกาสแก่จำเลยผู้ขอจดทะเบียนก่อนโต้แย้งคำคัดค้านของโจทก์ไม่ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และLOUISTAPE กับสินค้าเทปกาวมาตั้งแต่ปี 2518 และได้โฆษณาแพร่หลายซึ่งสินค้าโจทก์ แต่จำเลยเพิ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าโจทก์ในปี 2531ทั้งจำเลยเคยเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์มาก่อน จำเลยย่อมทราบถึงการที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอย่างดีเช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ประเด็นที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และ LOUIS ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และจำเลยดีกว่าจำเลยแต่มิได้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),243(1),246 และ 247 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมตกไปในตัวไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวอีกศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ดินพิพาท: สิทธิของทายาทและการโต้แย้งความสุจริตของผู้ซื้อ
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และเรียกที่ดินพิพาทคืน หากไม่สามารถคืนได้ก็ให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองรวมเป็นเงิน 226,400 บาท ดังนี้ เป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนคดีของโจทก์ทั้งสองเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อโจทก์ที่ 1 ผู้เดียวฎีกา ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงเหลือเพียงราคาที่ดินของโจทก์ที่ 1 เรียกคืนจำนวน 133,200 บาท ไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ที่ 1 ยื่นฎีกา
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้น โดยเชื่อว่าศาลชั้นต้นขายทอดตลาดที่ดินพิพาทจำนวนหนึ่งในสี่ส่วนของที่ดินทั้งสองแปลงเป็นการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยสุจริต โจทก์ที่ 1 ฎีกาว่าน.ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทของ ป. ในฐานะผู้จัดการมรดก ส่วนของ น.จึงมีเพียงหนึ่งในห้าส่วนของที่ดินที่ น.ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทอื่นรวมทั้งโจทก์ที่ 1 ด้วย การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมหมายความเฉพาะส่วนของ น. ไม่รวมส่วนที่ น.ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทอื่นในฐานะผู้จัดการมรดก และจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินโดยไม่สุจริตนั้นล้วนแต่เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้น โดยเชื่อว่าศาลชั้นต้นขายทอดตลาดที่ดินพิพาทจำนวนหนึ่งในสี่ส่วนของที่ดินทั้งสองแปลงเป็นการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยสุจริต โจทก์ที่ 1 ฎีกาว่าน.ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทของ ป. ในฐานะผู้จัดการมรดก ส่วนของ น.จึงมีเพียงหนึ่งในห้าส่วนของที่ดินที่ น.ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทอื่นรวมทั้งโจทก์ที่ 1 ด้วย การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมหมายความเฉพาะส่วนของ น. ไม่รวมส่วนที่ น.ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทอื่นในฐานะผู้จัดการมรดก และจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินโดยไม่สุจริตนั้นล้วนแต่เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนลวงสาธารณชน: ความสุจริตของผู้ประกอบการและผลกระทบต่อผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีสาระสำคัญของลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่ตัวอักษรโรมันคำว่าBROTHERและbrotherแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีคำว่าtriอยู่ด้านหน้า กับคำว่าTRADEMARKอยู่ด้านล่าง และมีรูปห่วงวงกลม3ห่วง วางเรียงกันอยู่เหนือคำว่าbrotherคำว่าtriและTRADEMARKเป็นเพียงส่วนประกอบบอกจำนวนว่าเป็นtribrotherหรือสามพี่น้องส่วนคำว่าTRADEMARKแปลว่า เครื่องหมายการค้า ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด สำหรับรูปห่วงวงกลม3ห่วง ที่วางเรียงกันก็ไม่มีลักษณะพิเศษไม่ถึงกับเป็นลักษณะบ่งเฉพาะอันอาจแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อจำเลยได้ใช้หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ทำให้เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้ว่าจักรเย็บผ้าหรือมอเตอร์จักรเย็บผ้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ และจำเลยเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แสดงให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย