พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพาดหัวข่าวที่เป็นเท็จสร้างความเข้าใจผิดและขัดต่อข้อห้ามของคำสั่ง คปป. ทำให้มีอำนาจสั่งถอนใบอนุญาต
การพาดหัวหนังสือพิมพ์ว่า "จับทูตซาอุฯ บงการฆ่า 3 เพื่อนร่วมชาติ" นั้น ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดในทันทีนั้นว่ามีการจับทูต ซึ่งหมายถึงเอกอัครราชทูต หรืออัครราชทูต หรืออุปทูต หรือบุคคลในระดับเดียวกัน ฐานเป็นผู้บงการฆ่าเพื่อนร่วมชาติ 3 คน ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะความจริงในขณะนั้นยังไม่มีการจับเจ้าหน้าที่ระดับทูต หรือระดับใดของสถานทูตซาอุดิอาระเบีย ฉะนั้นการพาดหัวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นเท็จ เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามข้อ 2(6) และ ข้อ 4 แห่งคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 ซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหานครผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะดำเนินการแก่ผู้ร้องตามข้อ 7และปรากฏว่าหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องได้ถูกเตือน มาแล้ว 2 ครั้งแต่ยังฝ่าฝืนข้อ 4 ซ้ำอีก ดังนั้น เจ้าพนักงานการพิมพ์ผู้คัดค้านจึงชอบที่จะใช้ดุลพินิจ สั่งถอนใบอนุญาตบรรณาธิการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องตามข้อ 7 วรรคสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเข้าใจผิดในกระบวนการยุติธรรม: จำเลยมีหน้าที่ดูแลคดีของตนเอง แม้เกิดจากความเข้าใจผิด
คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 ที่ว่าการขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 1 เกิดจากความเข้าใจผิดของจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยที่ 1 เข้าใจผิดว่า จำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้ทนายความประจำตัวของจำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การและดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ แทนจำเลยที่ 1 ด้วย และทนายความของจำเลยที่ 2 ก็เข้าใจว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ทนายความประจำบริษัทของจำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การและดำเนินกระบวนพิจารณาของจำเลยที่ 1 เอง เหตุผลดังกล่าวแม้จะเป็นความจริงก็ไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องเอาใจใส่ในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 เองจำเลยที่ 1 จะอ้างความเข้าใจผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบในการดำเนินคดีและการขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ อ้างว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยที่ 1เข้าใจผิดว่า จำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้ทนายความประจำตัวของจำเลยที่ 2 ดำเนินคดีโดยยื่นคำให้การและดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ แทนจำเลยที่ 1 และทนายความของจำเลยที่ 2 ก็เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ทนายความของจำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การและดำเนินกระบวนพิจารณาเอง แม้เหตุผลตามคำร้องจะเป็นความจริงก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องเอาใจใส่ในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 เอง จำเลยที่ 1 จะอ้างความเข้าใจผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีหน้าที่ต้องติดตามคดีด้วยตนเอง ความเข้าใจผิดของทนายความไม่ถือเป็นเหตุจงใจขาดนัด
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 อ้างเหตุว่าจำเลยที่และทนายของจำเลยทั้งสองต่าง เข้าใจผิดว่าต่าง ได้ ดำเนินการยื่นคำให้การและดำเนินการพิจารณาแทนกันไปแล้ว จึงเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดย ไม่จงใจนั้นดังนี้แม้หากจะได้ความจริงตาม ข้ออ้างดังกล่าวก็ ไม่อาจกล่าวได้ ว่าจำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้อง เอาใจใส่ในการต่อสู้ คดีของจำเลยที่ 1 เอง จะอ้างความเข้าใจผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้จงใจหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: เหตุผลความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวันนัดและการไต่สวนใหม่
คำร้อง ของจำเลยที่ขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างว่า มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา เพราะวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยเดินทางมาถึงศาลก่อนเวลานัดไปดูใบลอยที่หน้าศาล ปรากฏว่าไม่มีเลขคดี ชื่อโจทก์และจำเลยในใบลอยดังกล่าว ทนายจำเลยไปที่ห้องเก็บสำนวนไม่พบสำนวน เจ้าหน้าที่ห้องเก็บสำนวนดูวันนัดบนปกสำนวนแล้วแจ้งว่าคดีนัดวันรุ่งขึ้น ทนายจำเลยเข้าใจว่าลงนัดในสมุดนัดผิดพลาดไปจึงเดินทางกลับ รุ่งขึ้นมาศาล ปรากฏว่ามีเลขคดีชื่อโจทก์และจำเลยในใบลอย จึงไปที่บัลลังก์ ตามใบลอย ก็ได้ทราบจากเจ้าหน้าที่ศาลว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาคดีไปแล้วตั้งแต่วันวาน ดังนี้ หากความจริงเป็นไปดังที่จำเลยอ้างย่อมฟังได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา ชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4484/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันรับเอกสาร การจงใจขาดนัดตามกฎหมาย
จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้องในวันที่ 19 มีนาคม 2529 แต่ยื่นคำให้การในวันที่ 28 มีนาคม 2529 แม้ในหมายเรียกจะเขียนไว้ว่า รับวันที่ 20 มีนาคม 2529 แต่ในชั้นไต่สวนจำเลยมิได้นำสืบว่าใครเป็นผู้เขียนและจำเลยได้รับหมายในวันที่ 20 มีนาคม 2529 เมื่อจำเลยยื่นคำให้การเกินกำหนดไป 1 วัน จึงถือได้ว่าจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4484/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันที่รับหมาย และการไม่อำนาจต่อสู้คดี
จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้องในวันที่ 19 มีนาคม 2529แต่ยื่นคำให้การในวันที่ 28 มีนาคม 2529 แม้ในหมายเรียกจะเขียนไว้ว่า รับวันที่ 20 มีนาคม 2529 แต่ในชั้นไต่สวนจำเลยมิได้นำสืบว่าใครเป็นผู้เขียนและจำเลยได้รับหมายในวันที่ 20 มีนาคม 2529เมื่อจำเลยยื่นคำให้การเกินกำหนดไป 1 วัน จึงถือได้ว่าจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องเวลา ศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ได้หากมิได้จงใจ
จำเลยแต่งทนายและยื่นคำให้การปฏิเสธความรับผิดตามฟ้อง แสดงว่าประสงค์จะต่อสู้คดีจนถึงที่สุด ทั้งจำเลยและทนายก็มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์แต่ผิดเวลาไป คือมาศาลหลังจากที่ศาลสั่งขาดนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ไปแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยเข้าใจผิดเรื่องเวลานัดของศาลเนื่องจากทนายจำเลยจดเวลานัดในสมุดนัดผิดพลาดถือได้ว่าจำเลยไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา และขอพิจารณาคดีใหม่ได้
จำเลยมาศาลหลังจากเริ่มต้นสืบพยานไปแล้ว แต่ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษา ถือได้ว่าอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียว จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ในระยะเวลาดังกล่าว เป็นการขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคสอง ไม่ต้องกล่าวขอคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลในคำร้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคท้าย
จำเลยมาศาลหลังจากเริ่มต้นสืบพยานไปแล้ว แต่ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษา ถือได้ว่าอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียว จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ในระยะเวลาดังกล่าว เป็นการขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคสอง ไม่ต้องกล่าวขอคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลในคำร้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวันนัด ไม่ถือว่าจงใจขาดนัด
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเพราะป่วย ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 28 และ 29 กรกฎาคม 2529 แต่เสมียนทนายเข้าใจผิดได้แจ้งให้ทนายจำเลยทราบว่าศาลเลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2529 เพียงวันเดียว ซึ่งในวันดังกล่าวทนายจำเลยก็มาศาลและได้ยื่นบัญชีระบุพยานจำเลยในคดีดังกล่าวเพิ่มเติมด้วย แม้เสมียนทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลก็ตามก็อาจเข้าใจผิดได้ การที่ทนายจำเลยไม่ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2529 และไม่มาศาลถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันนัด สืบเนื่องจากเสมียนทนายแจ้งวันผิด ศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเพราะป่วย ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 28 และ 29 กรกฎาคม 2529 แต่เสมียนทนายเข้าใจผิดได้แจ้งให้ทนายจำเลยทราบว่าศาลเลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 29กรกฎาคม 2529 เพียงวันเดียว ซึ่งในวันดังกล่าวทนายจำเลยก็มาศาลและได้ยื่นบัญชีระบุพยานจำเลยในคดีดังกล่าวเพิ่มเติมด้วย แม้เสมียนทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลก็ตามก็อาจเข้าใจผิดได้ การที่ทนายจำเลยไม่ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2529 และไม่มาศาล ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา