พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,842 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องมีฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกทำลาย การฟ้องเรียกค่าเสียหายต้องพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
คดีก่อนโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าบ้านเป็นของโจทก์ แต่ศาลจังหวัดสมุทรสาครฟังข้อเท็จจริงว่าไม่ใช่ของโจทก์ คดีถึงที่สุด โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนจำต้องผูกพันในคำพิพากษาของศาลจังหวัดสมุทรสาครตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก แม้จะฟังว่าจำเลยทั้งห้า จำเลยร่วมกับพวกร่วมกันรื้อบ้านตามที่โจทก์ฟ้องก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของบ้านดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องรีดเอาทรัพย์ต้องระบุความลับและการเปิดเผยทำให้เสียหาย
โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่า ภาพเปลือยของผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยเป็นความลับซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้เสียหายหรือบุคคลที่สามเสียหาย ทั้งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ เพราะหากไม่ใช่ความลับที่เปิดเผยแล้วจะทำให้ผู้เสียหายหรือบุคคลที่สามต้องเสียหาย ก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าไม่ใช่ความลับที่ผู้เสียหายประสงค์จะปกปิดเอาไว้มิให้เปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 338 ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยทั้งสองจะเข้าใจข้อหาได้ดีและไม่หลงต่อสู้ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำฟ้องที่ไม่ชอบนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้าและการจำหน่ายสินค้าละเมิด ศาลแก้ไขโทษปรับให้เหมาะสมกับความเสียหาย
มาตรา 3 วรรคสอง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ให้ใช้มาตรา 109 และ 110 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแทนบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนภายในราชอาณาจักรตามมาตรา 274 และการปฏิบัติต่อสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 275 แห่ง ป.อ. แล้ว ในการปรับบทกฎหมายจึงไม่ต้องอ้างบทบัญญัติในมาตรา 274 และ 275 แห่ง ป.อ. อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้าง การผ่อนปรนค่าปรับ และการมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายจากความล่าช้า
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ข้อ 138 ที่โจทก์อ้างเป็นเหตุผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาระบุว่า หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ให้ส่วนราชการพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น ร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างเป็นเงิน 370,000 บาท สัญญากำหนดค่าปรับตามสัญญาไว้วันละ 3,700 บาท จึงเท่ากับค่าปรับจำนวน 100 วัน เท่านั้น ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ผ่อนปรนให้ถึง 190 วัน เพราะจำเลยที่ 1 เคยยินยอมให้ปรับได้มาก่อนแล้ว ทั้งที่จำเลยที่ 1 ทิ้งงานไปเนิ่นนานแล้วมิใช่จำเลยที่ 1 กำลังดำเนินการก่อสร้างแต่ไม่อาจแล้วเสร็จได้ทันตามสัญญา จึงไม่มีเหตุให้โจทก์ต้องผ่อนปรนให้ถึง 190 วัน การที่โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเสียภายในเวลาอันสมควร แต่ปล่อยปละละเลยไว้จนค่าปรับมีจำนวนสูงเกินสมควรเช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควร เพราะโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1477/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: การหลอกลวงด้วยพิธีกรรมและคำทำนายโดยปราศจากความสามารถ, การพิสูจน์ความเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างต้นเดือนธันวาคม 2541 ถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 เวลากลางวัน วันเดือนปีใดไม่ปรากฏชัด จำเลยโดยทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ โดยจำเลยทำอุบายทำพิธีกรรมนำโอ่งทำน้ำมนต์มาตั้งพร้อมจัดทำธูปเทียน สายสิญจน์ และหนังสือคัมภีร์อัลกุรอ่านมาวางไว้ ทำพิธีสวดมนต์ภาษาอิสลามทำน้ำมนต์แล้วนำมาพรมบนศีรษะให้แก่ผู้เสียหายทั้งแปดและพูดหลอกลวงผู้เสียหายทั้งแปดว่าจะต้องใช้เงินไปซื้อแพะนำมาบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อทำการสะเดาะเคราะห์และจะทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดร่ำรวย ความจริงจำเลยไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดเกิดความร่ำรวยได้ ด้วยการหลอกลวงแสดงข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวต่อผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นประชาชน เป็นเหตุให้จำเลยได้รับเงินไปจากผู้เสียหายทั้งแปดตามจำนวนเงินที่ผู้เสียหายแต่ละรายได้เสียให้แก่จำเลยไปตามที่โจทก์ได้บรรยายไว้ในฟ้องแล้ว และจำเลยได้นำเงินที่ได้รับจากผู้เสียหายทั้งแปดไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว เห็นว่า โจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งแล้วถึงวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิด การกระทำที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งแปดโดยทุจริตและโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้เสียหายทั้งแปดซึ่งเป็นประชาชนผู้ถูกหลอกลวง ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดต่อผู้เสียหายแต่ละคน จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายคนใดเมื่อวันเดือนปีใดและหลอกลวงผู้เสียหายแต่ละคนกี่ครั้ง หรือได้เงินจากผู้เสียหายแต่ละรายครั้งละเท่าใด เงินที่ได้จากการหลอกลวงนำไปใช้เป็นค่าซื้อแพะกี่ตัว เป็นเงินเท่าใด เงินที่มิได้นำไปซื้อแพะมีเท่าใดหากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิด จำเลยจะต้องคืนเงินที่รับจากผู้เสียหายแต่ละรายเท่าใดนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้องแล้ว
จำเลยได้พูดบอกผู้เสียหายแต่ละคนว่าจำเลยสามารถทำพิธีสะเดาะเคราะห์รดน้ำมนต์ให้ผู้เสียหายทั้งแปดเพื่อให้ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งมีปัญหาเรื่องเงินหรือหนี้สินสามารถปลดหนี้สินและขายที่ดินหรือตึกได้ ส่วนผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยปวดที่ขาและปวดเมื่อยที่เข่าจำเลยก็สามารถทำให้หายปวดหายเมื่อยได้ ทั้งที่ความจริงจำเลยไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 8 หลงเชื่อจึงได้มอบเงินให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำเงินไปซื้อแพะมาทำพิธีบวงสรวง การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการหลอกลวงผู้เสียหาย เมื่อการหลอกลวงดังกล่าวได้กระทำต่อผู้เสียหายทั้งแปด นายสมศักดิ์รวมทั้งบุคคลอื่นตามแต่วาระและโอกาสโดยไม่จำกัดประเภทบุคคล และหลอกลวงตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่บ้านของนาง ม. บ้านของผู้เสียหายที่ 1 บ้านของผู้เสียหายที่ 6 การกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อโกงประชาชน
แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยที่พูดหลอกลวงผู้เสียหายทั้งแปดว่าจะต้องใช้เงินไปซื้อแพะนำมาบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อทำการสะเดาะเคราะห์และจะทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดร่ำรวย ซึ่งความจริงจำเลยไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดร่ำรวยได้ แต่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาเกี่ยวกับผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ได้ความว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ว่าจะต้องใช้เงินซื้อแพะนำมาบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 หายจากเจ็บป่วยซึ่งจำเลยไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 หายจากเจ็บป่วยได้ ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้แต่อย่างใด ศาลจึงมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยได้พูดบอกผู้เสียหายแต่ละคนว่าจำเลยสามารถทำพิธีสะเดาะเคราะห์รดน้ำมนต์ให้ผู้เสียหายทั้งแปดเพื่อให้ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งมีปัญหาเรื่องเงินหรือหนี้สินสามารถปลดหนี้สินและขายที่ดินหรือตึกได้ ส่วนผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยปวดที่ขาและปวดเมื่อยที่เข่าจำเลยก็สามารถทำให้หายปวดหายเมื่อยได้ ทั้งที่ความจริงจำเลยไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 8 หลงเชื่อจึงได้มอบเงินให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำเงินไปซื้อแพะมาทำพิธีบวงสรวง การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการหลอกลวงผู้เสียหาย เมื่อการหลอกลวงดังกล่าวได้กระทำต่อผู้เสียหายทั้งแปด นายสมศักดิ์รวมทั้งบุคคลอื่นตามแต่วาระและโอกาสโดยไม่จำกัดประเภทบุคคล และหลอกลวงตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่บ้านของนาง ม. บ้านของผู้เสียหายที่ 1 บ้านของผู้เสียหายที่ 6 การกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อโกงประชาชน
แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยที่พูดหลอกลวงผู้เสียหายทั้งแปดว่าจะต้องใช้เงินไปซื้อแพะนำมาบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อทำการสะเดาะเคราะห์และจะทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดร่ำรวย ซึ่งความจริงจำเลยไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดร่ำรวยได้ แต่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาเกี่ยวกับผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ได้ความว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ว่าจะต้องใช้เงินซื้อแพะนำมาบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 หายจากเจ็บป่วยซึ่งจำเลยไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 หายจากเจ็บป่วยได้ ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้แต่อย่างใด ศาลจึงมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อนุญาตเลื่อนการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ในกระบวนการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้นให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วทำความเห็นส่งสำนวนคำขอรับชำระหนี้ต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 105 เพื่อศาลจะได้มีคำสั่งตามมาตรา 106 และมาตรา 107 ต่อไป การที่ผู้ร้องทั้งเจ็ดได้คัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 51 เมื่อผู้คัดค้านหมายนัดให้ผู้ร้องทั้งเจ็ดนำพยานมาให้ทำการสอบสวนประกอบคำคัดค้าน ผู้ร้องทั้งเจ็ดขอเลื่อนการสอบสวน ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำร้อง กรณีเป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ซึ่งยังไม่แน่ว่าผู้คัดค้านจะทำความเห็นเสนอศาลอย่างไร จะฟังตามคำคัดค้านของผู้ร้องทั้งเจ็ดหรือไม่ และเมื่อผู้คัดค้านทำความเห็นเสนอศาลแล้ว ลำพังความเห็นของผู้คัดค้านก็หามีผลแต่อย่างใดไม่ ทั้งเมื่อศาลพิจารณาตามมาตรา 106 หรือมาตรา 107 แล้วก็อาจมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ คำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนการสอบสวนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายตามมาตรา 146 ผู้ร้องทั้งเจ็ดยังไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8450/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเอาเอกสารไปเสีย ต้องพิจารณาถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้อื่น มิใช่แค่กรรมสิทธิ์ในเอกสาร
ความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 กฎหมายมุ่งคุ้มครองเอกสารที่เป็นพยานหลักฐานในทำนองเดียวกันกับพินัยกรรมเป็นสำคัญ มิได้มุ่งถึงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการเป็นเจ้าของกระดาษหรือวัตถุที่ทำให้ปรากฏความหมายเป็นเอกสารซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์ไว้เป็นการทั่วไปอยู่แล้ว คำว่า "เอาไปเสีย" ตามมาตรา 188 จึงมิได้มีความหมายเป็นอย่างเดียวกับคำว่า "เอาไปเสีย" ที่ใช้ในความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 แต่หมายถึงเอาไปจากที่เอกสารนั้นอยู่ในประการที่น่าจะเกิดจากความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนที่อาจขาดเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐาน
ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีเป็นเอกสารที่โจทก์ร่วมจัดทำขึ้นมอบให้แก่จำเลยที่ 1 นำไปใช้เก็บค่าสินค้าซึ่งหากลูกค้าชำระค่าสินค้าจำเลยที่ 1 จะต้องมอบใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีให้ลูกค้าไป ส่วนสมุดบัญชีเงินฝากโจทก์ร่วมเปิดบัญชีเพื่อประโยชน์ในการหักทอนบัญชีหนี้สินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่เกิดจากกิจการที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้แก่โจทก์ร่วม โดย ว. หรือจำเลยที่ 1 คนใดคนหนึ่งลงชื่อประทับตราสำคัญของโจทก์ร่วมมีสิทธิเบิกถอนเงินได้ และเมื่อหักทอนบัญชีกันแล้วเงินคงเหลือก็คือค่าบำเหน็จตอบแทนการขายซึ่งตกเป็นของจำเลยที่ 1 ทั้งนับแต่เปิดบัญชีจำเลยที่ 1 เป็นผู้เบิกถอนเงินและเป็นผู้เก็บรักษาสมุดบัญชีเงินฝากตลอดมา ดังนั้น แม้ต่อมาโจทก์ร่วมได้ถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ร่วม จำเลยที่ 1 ต้องส่งคืนใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีรวมทั้งสมุดบัญชีเงินฝากให้แก่โจทก์ร่วม แต่จำเลยที่ 1 ยึดหน่วงไว้ไม่ยอมส่งคืนอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ร่วม ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในทางแพ่งยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188
ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีเป็นเอกสารที่โจทก์ร่วมจัดทำขึ้นมอบให้แก่จำเลยที่ 1 นำไปใช้เก็บค่าสินค้าซึ่งหากลูกค้าชำระค่าสินค้าจำเลยที่ 1 จะต้องมอบใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีให้ลูกค้าไป ส่วนสมุดบัญชีเงินฝากโจทก์ร่วมเปิดบัญชีเพื่อประโยชน์ในการหักทอนบัญชีหนี้สินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่เกิดจากกิจการที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้แก่โจทก์ร่วม โดย ว. หรือจำเลยที่ 1 คนใดคนหนึ่งลงชื่อประทับตราสำคัญของโจทก์ร่วมมีสิทธิเบิกถอนเงินได้ และเมื่อหักทอนบัญชีกันแล้วเงินคงเหลือก็คือค่าบำเหน็จตอบแทนการขายซึ่งตกเป็นของจำเลยที่ 1 ทั้งนับแต่เปิดบัญชีจำเลยที่ 1 เป็นผู้เบิกถอนเงินและเป็นผู้เก็บรักษาสมุดบัญชีเงินฝากตลอดมา ดังนั้น แม้ต่อมาโจทก์ร่วมได้ถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ร่วม จำเลยที่ 1 ต้องส่งคืนใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีรวมทั้งสมุดบัญชีเงินฝากให้แก่โจทก์ร่วม แต่จำเลยที่ 1 ยึดหน่วงไว้ไม่ยอมส่งคืนอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ร่วม ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในทางแพ่งยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากจำเลย
โจทก์ตกลงให้ อ. ทำสัญญากู้ยืมเงินจากสหกรณ์เป็นเงิน 500,000 บาท โดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินของโจทก์เป็นประกันหนี้ เหตุที่ต้องให้ อ. เป็นผู้กู้ยืม เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหกรณ์ดังกล่าว ต่อมา อ. ไปรับเงินที่กู้ยืมซึ่งเมื่อคิดหักชำระหนี้สินและค่าหุ้นแล้ว คงได้รับเป็นเงิน 431,928 บาท จึงต้องถือว่า อ. เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ และเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในเงินที่กู้ยืมจากสหกรณ์ ตราบเท่าที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ต่อให้แก่ผู้ใด ทั้งโจทก์ไม่ได้มอบให้จำเลยเป็นตัวแทนไปรับเงินจาก อ. ดังนั้นการที่ อ. มอบเงินให้แก่จำเลยเพื่อฝากต่อให้แก่โจทก์ย่อมเป็นเรื่องความรับผิดระหว่าง อ. กับจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงินดังกล่าวที่เป็นของ อ. ไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากจำเลย
โจทก์ต้องการกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ แต่โจทก์มิได้เป็นสมาชิกจึงขอให้ อ. ทำสัญญากู้ยืมเงินจากสหกรณ์แทนโดยโจทก์นำที่ดินมาจำนองเป็นประกัน สหกรณ์อนุมัติให้ อ. กู้ยืมเงินและสหกรณ์หักค่าหุ้นและเงินกู้ระยะสั้นที่ อ. ค้างชำระออก ก่อนส่งมอบเงินที่เหลือให้แก่ อ. พฤติการณ์ถือว่า อ. เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ และเป็นเจ้าของเงินที่กู้ยืมจากสหกรณ์ เมื่อโจทก์มิได้มอบให้จำเลยเป็นตัวแทนไปรับเงินจาก อ. ดังนั้น หาก อ. มอบเงินที่กู้ยืมมาจากสหกรณ์ให้แก่จำเลยเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องความรับผิดระหว่าง อ. กับจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกได้ดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5099/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนำตั๋วแลกเงินก่อนกำหนด การไถ่ถอนตั๋วแลกเงินก่อนครบกำหนดชำระ และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ฮ. เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์โดยมีสำเนาหนังสือมอบอำนาจแนบมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมี ป. และ จ. ร่วมกันลงลายมือชื่อเป็นผู้กระทำการแทนโจทก์ จำเลยให้การเพียงว่าขณะยื่นฟ้องคดี ป. มิได้เป็นรองประธานธนาคารโจทก์และ จ. มิได้เป็นเลขานุการผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์แล้ว จึงถือว่าจำเลยทั้งสองรับว่าบุคคลทั้งสองยังมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์อยู่ในขณะที่ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว และเมื่อในขณะฟ้องคดีนี้โจทก์ยังมิได้มีหนังสือเพิกถอนการมอบอำนาจดังกล่าว การมอบอำนาจดังกล่าวจึงยังสมบูรณ์อยู่และใช้บังคับได้ตามกฎหมาย แม้หากจะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหรือเปลี่ยนตัวผู้มีอำนาจกระทำกิจการแทนโจทก์จาก ป. และ จ. ไปเป็นบุคคลอื่นภายหลังจากที่ทั้งสองคนลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจไว้โดยชอบแล้ว ก็หาทำให้กิจการของโจทก์ที่ได้กระทำไปแล้วโดยบุคคลทั้งสองต้องเสียไป หรือไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด โจทก์ไม่จำต้องนำพยานหลักฐานมาสืบว่าขณะฟ้องคดีนี้บุคคลทั้งสองยังคงมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์อยู่
จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่า โจทก์ไม่ได้นำพยานหลักฐานมาสืบแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นการทำสัญญาและธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของโจทก์ตามฟ้องจึงตกเป็นโมฆะ ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้รับอนุญาตดังกล่าวหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าการทำธุรกรรมดังกล่าวขัดต่อกฎหมายหรือไม่ แต่จำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อุทธรณ์ข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก
จำเลยจำนำตั๋วแลกเงินเป็นประกันหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้รับจำนำโดยเป็นผู้ทรงที่ได้รับสลักหลังและรับมอบตั๋วแลกเงินไว้ในครอบครอง ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 และ 766 นั้น เมื่อมีการสลักหลังเพื่อจำนำตั๋วแลกเงิน ผู้ทรงย่อมใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วนั้นได้ทั้งสิ้น และผู้รับจำนำตั๋วแลกเงินก็มีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วนั้นในวันถึงกำหนดได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวบังคับจำนำ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินเฉพาะที่ถึงกำหนดนำเงินมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวบังคับจำนำแก่จำเลยที่ 1 ก่อน
ในกรณีจำนำทรัพย์สินตามปกติทั่วไปนั้น หากผู้รับจำนำจะบังคับจำนำก็ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นเสียก่อน ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวผู้รับจำนำจึงชอบที่จะนำทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายทอดตลาดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 764 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยหากมีการตกลงให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นนอกจากบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับจำนำ ข้อตกลงเช่นนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 756 และแม้เฉพาะในกรณีการบังคับชำระหนี้จากตั๋วแลกเงินที่ผู้จำนำนำมาจำนำเป็นประกันหนี้นั้น ผู้รับจำนำมีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนำก่อนก็ตาม แต่ก็ต้องเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินในวันถึงกำหนดชำระเงินด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 766 การที่โจทก์ใช้วิธีการบังคับชำระหนี้จากตั๋วแลกเงินที่รับจำนำไว้ดังกล่าวโดยการนำไปไถ่ถอนก่อนครบกำหนดชำระเงินตามตั๋วแลกเงินนั้น ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ทั้งการไถ่ถอนหรือขอรับเงินตามตั๋วแลกเงินก่อนวันครบกำหนดชำระเงินตามตั๋วนี้ ผู้จ่ายก็ชอบที่จะไม่จ่ายเงินได้จนกว่าจะถึงวันครบกำหนดชำระ แต่กรณีนี้ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นยอมจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินให้แก่โจทก์ โดยมีการหักลดเงินตามตั๋วไว้ ทำให้ผู้จ่ายเงินได้ประโยชน์จากส่วนลดนั้น ขณะที่โจทก์ก็ได้ประโยชน์ได้รับเงินมาชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 กลับเป็นฝ่ายต้องเสียประโยชน์จากการที่มีการนำเงินที่ได้จากการไถ่ถอนตั๋วแลกเงินก่อนวันครบกำหนดน้อยกว่าจำนวนเงินตามตั๋วซึ่งนำไปหักชำระหนี้ได้น้อยลง จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำอันมิชอบของโจทก์ดังกล่าว จึงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ใช้เงินส่วนที่ขาดไปนั้น หรือคิดหักชำระหนี้เสียให้ถูกต้องได้
จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่า โจทก์ไม่ได้นำพยานหลักฐานมาสืบแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นการทำสัญญาและธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของโจทก์ตามฟ้องจึงตกเป็นโมฆะ ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้รับอนุญาตดังกล่าวหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าการทำธุรกรรมดังกล่าวขัดต่อกฎหมายหรือไม่ แต่จำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อุทธรณ์ข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก
จำเลยจำนำตั๋วแลกเงินเป็นประกันหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้รับจำนำโดยเป็นผู้ทรงที่ได้รับสลักหลังและรับมอบตั๋วแลกเงินไว้ในครอบครอง ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 และ 766 นั้น เมื่อมีการสลักหลังเพื่อจำนำตั๋วแลกเงิน ผู้ทรงย่อมใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วนั้นได้ทั้งสิ้น และผู้รับจำนำตั๋วแลกเงินก็มีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วนั้นในวันถึงกำหนดได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวบังคับจำนำ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินเฉพาะที่ถึงกำหนดนำเงินมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวบังคับจำนำแก่จำเลยที่ 1 ก่อน
ในกรณีจำนำทรัพย์สินตามปกติทั่วไปนั้น หากผู้รับจำนำจะบังคับจำนำก็ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นเสียก่อน ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวผู้รับจำนำจึงชอบที่จะนำทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายทอดตลาดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 764 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยหากมีการตกลงให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นนอกจากบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับจำนำ ข้อตกลงเช่นนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 756 และแม้เฉพาะในกรณีการบังคับชำระหนี้จากตั๋วแลกเงินที่ผู้จำนำนำมาจำนำเป็นประกันหนี้นั้น ผู้รับจำนำมีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนำก่อนก็ตาม แต่ก็ต้องเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินในวันถึงกำหนดชำระเงินด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 766 การที่โจทก์ใช้วิธีการบังคับชำระหนี้จากตั๋วแลกเงินที่รับจำนำไว้ดังกล่าวโดยการนำไปไถ่ถอนก่อนครบกำหนดชำระเงินตามตั๋วแลกเงินนั้น ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ทั้งการไถ่ถอนหรือขอรับเงินตามตั๋วแลกเงินก่อนวันครบกำหนดชำระเงินตามตั๋วนี้ ผู้จ่ายก็ชอบที่จะไม่จ่ายเงินได้จนกว่าจะถึงวันครบกำหนดชำระ แต่กรณีนี้ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นยอมจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินให้แก่โจทก์ โดยมีการหักลดเงินตามตั๋วไว้ ทำให้ผู้จ่ายเงินได้ประโยชน์จากส่วนลดนั้น ขณะที่โจทก์ก็ได้ประโยชน์ได้รับเงินมาชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 กลับเป็นฝ่ายต้องเสียประโยชน์จากการที่มีการนำเงินที่ได้จากการไถ่ถอนตั๋วแลกเงินก่อนวันครบกำหนดน้อยกว่าจำนวนเงินตามตั๋วซึ่งนำไปหักชำระหนี้ได้น้อยลง จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำอันมิชอบของโจทก์ดังกล่าว จึงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ใช้เงินส่วนที่ขาดไปนั้น หรือคิดหักชำระหนี้เสียให้ถูกต้องได้