คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเสี่ยง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการถูกทำร้าย: โจทก์ท้าทายให้จำเลยทดลองคาถาอาคม ยอมรับความเสี่ยงเอง ไม่ถือเป็นการละเมิด
การที่โจทก์ท้าให้จำเลยฟันเพื่อทดลองคาถาอาคมซึ่งตนเชื่อถือและอวดอ้างว่าตนอยู่คงนั้น เป็นการที่โจทก์ได้ยอมหรือสมัครใจให้จำเลยทำต่อร่างกาย เป็นการยอมรับผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ตามกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้รับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งความเสี่ยงทรัพย์สินซื้อขาย - ไฟไหม้ทำลายทรัพย์สิน
เงินราคาของที่ผู้ซื้อวางไว้แก่ผู้ขาย ซึ่งผู้ขายจะต้องคืนแก่ผู้ซื้อได้กลายเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ไป ภายหลังทั้งสองฝ่ายต่างทำสัญญากันให้รับผิดชอบคนละครึ่งและผู้ขายได้ชำระให้ผู้ซื้อไปครึ่งหนึ่งแล้ว ส่วนทรัพย์ที่ซื้อขายตกลงกันให้ผู้ซื้อบอกขาย ขายได้กำไรเท่าใด แบ่งกันคนละครึ่งต่อมาของที่ขายก็ถูกไฟไหม้สูญหายไป ดังนี้ผู้ซื้อจะมาเรียกร้องให้ผู้ขายคืนเงินอีกครึ่งหนึ่งที่วางไว้ไม่ได้เพราะความตกลงกันเด็ดขาดไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8286/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีผลบังคับเฉพาะการทำงานในตำแหน่งที่ระบุ หากเปลี่ยนตำแหน่งเพิ่มความเสี่ยง ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
คำฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดระเบียบและฝ่าฝืนวิธีการขายรถยนต์ของโจทก์โดยขายรถยนต์ให้ลูกค้าได้เงินมาแล้วไม่ส่งมอบโจทก์จนครบถ้วน อันเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับที่ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้เงินคืน ส่วนรายละเอียดว่าเป็นการผิดระเบียบข้อใดสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ไม่เคลือบคลุม
ตามสัญญาค้ำประกันข้อ 1 ระบุให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งสมัครเข้าทำงานในบริษัทโจทก์ตามใบสมัครงานลงวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์หรือกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ในขณะทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลตามที่จำเลยที่ 2 ระบุในสัญญาค้ำประกันข้อ 1 แม้ว่าสัญญาค้ำประกันข้อ 4 ระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมและตกลงด้วยว่าหากโจทก์โยกย้าย แต่งตั้ง สับเปลี่ยน หรือถอดถอนจำเลยที่ 1 ไปทำงานกับบริษัทในเครือหรือสำนักงานสาขาแห่งใดให้ถือว่าสัญญาค้ำประกันนี้มีผลบังคับได้เช่นเดิมตลอดไป ก็มีความหมายเพียงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่กับโจทก์หรือบริษัทในเครือของโจทก์ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลตามที่ค้ำประกันไว้เท่านั้น เมื่อโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ย้ายจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่แผนกบุคคลไปทำหน้าที่พนักงานขาย อันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้นเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน และจำเลยที่ 1 ทำให้เกิดความเสียหาย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
of 3