พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาจากลักษณะการใช้จริงและผลกระทบต่อสาธารณชน
ในคดีเครื่องหมายการค้าเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องวินิจฉัยไม่เพียงแต่ว่าเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจะต้องเหมือนกันทุกอย่าง แต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นเป็นลักษณะทำนองเดียวกันด้วย จะชี้ขาดว่าเครื่องหมายการค้าไม่เหมือนกันโดยเอามาเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้างนั้นไม่ได้ จำต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและใช้กันโดยสุจริตถึงประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าประจำและถึงสภาพแห่งท้องตลาดคือแยกปริมาณที่ประชาชนจะพึงซื้อ
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ D.ENTAL CAREมีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง จึงไม่มีลักษณะเหมือนคล้ายกันแต่ประการใด
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ DENTAL - Bมีความแตกต่างกันเพียงคำแรกคือ OR กับ DEN ส่วนสองคำหลังเหมือนกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ประกอบกับเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งสามารถใช้อักษรไม่ให้เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก แต่หาได้ใช้ไม่ จึงฟังได้ว่าตัวอักษรที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีลักษณะคล้ายกับอักษรเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DENTAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B ของโจทก์ กับDENTAL - C ของจำเลยที่ 2 มีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงจุดเด่นที่ทั้งสองฝ่ายเน้นคืออักษรโรมันดังกล่าว ผู้ซื้อแปรงสีฟันย่อมจะเรียกขานตามยี่ห้อ หรือหากเลือกสินค้าเองก็คงจะพิจารณาจากชื่อยี่ห้อที่ปรากฏมากกว่าจะไปดูรายละเอียดอักษรบนกล่อง เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้อักษรโรมันไม่กี่ตัวและอ่านออกเสียงเพียง 3 พยางค์ แปรงสีฟันของโจทก์ติดตลาดแล้วย่อมเป็นที่รู้จักดีอีกทั้งยังมีราคาสูงกว่าแปรงสีฟันของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยยังได้โฆษณาแปรงสีฟัน DENTAL - C ทางสื่อมวลทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะให้สาธารณชนหลงผิดหรือลวงขายเป็นสินค้า ORAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ D.ENTAL CAREมีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง จึงไม่มีลักษณะเหมือนคล้ายกันแต่ประการใด
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ DENTAL - Bมีความแตกต่างกันเพียงคำแรกคือ OR กับ DEN ส่วนสองคำหลังเหมือนกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ประกอบกับเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งสามารถใช้อักษรไม่ให้เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก แต่หาได้ใช้ไม่ จึงฟังได้ว่าตัวอักษรที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีลักษณะคล้ายกับอักษรเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DENTAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B ของโจทก์ กับDENTAL - C ของจำเลยที่ 2 มีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงจุดเด่นที่ทั้งสองฝ่ายเน้นคืออักษรโรมันดังกล่าว ผู้ซื้อแปรงสีฟันย่อมจะเรียกขานตามยี่ห้อ หรือหากเลือกสินค้าเองก็คงจะพิจารณาจากชื่อยี่ห้อที่ปรากฏมากกว่าจะไปดูรายละเอียดอักษรบนกล่อง เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้อักษรโรมันไม่กี่ตัวและอ่านออกเสียงเพียง 3 พยางค์ แปรงสีฟันของโจทก์ติดตลาดแล้วย่อมเป็นที่รู้จักดีอีกทั้งยังมีราคาสูงกว่าแปรงสีฟันของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยยังได้โฆษณาแปรงสีฟัน DENTAL - C ทางสื่อมวลทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะให้สาธารณชนหลงผิดหรือลวงขายเป็นสินค้า ORAL - B
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้มีรูปกระทิงเป็นสาระสำคัญ
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปกระทิง 2 ตัวยืนซ้อนเหลื่อมกันอยู่โดยต่างหันหน้าไปทางเดียวกันทางซ้ายมือและมีอักษรไทยคำว่า กระทิงคู่ อยู่ใต้รูปโดยรูปกระทิงและอักษรไทยทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปคล้ายโล่ซึ่งมีพื้นทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ แบบที่ 1 เป็นรูปกระทิงตัวเดียวหันหน้าไปทางขวามืออยู่ในลักษณะก้มหัวงอขาหน้า ทำท่าขวิดแบบที่ 3 เป็นกระทิง 2 ตัวหันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัว งอขาหน้า ทำท่าขวิดต่อสู้กัน และแบบที่ 2เป็นรูปกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัว งอขาหน้า ทำท่าขวิดต่อสู้กันเช่นเดียวกับแบบที่ 2 แต่มีวงกลมสีแดงล้อมรอบกลางลำตัวของกระทิงทั้งสองและมีอักษรไทยสีแดงคำว่า กระทิงแดง อยู่ใต้รูปกระทิงทั้งสองด้วย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่างมีรูปกระทิงเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่เมื่อรูปกระทิงแตกต่างกันอย่างชัดเจนจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับเบี้ยปรับมีความแตกต่างกัน ศาลไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 เงินมัดจำเป็นเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งตามมาตรา 378 กำหนดไว้ว่าหากผู้วางมัดจำผิดสัญญาก็ให้ริบหากผู้รับมัดจำผิดสัญญาก็ให้ส่งคืน เว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้มิได้ถือเอาความเสียหายของผู้รับมัดจำมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาในการริบมัดจำส่วนเงินเบี้ยปรับตามมาตรา 379 เป็นจำนวนค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อมีการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญา และการริบเบี้ยปรับ มาตรา 383 ให้ถือเอาทางได้ทางเสียของเจ้าหนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าจะริบเบี้ยปรับทั้งหมดหรือจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควร จึงเห็นได้ว่าเงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะไม่เหมือนกัน มัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5742/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลชื่อสินค้าเป็นภาษาไทยไม่ขัดแย้งถึงการว่าจ้างโฆษณา แม้จะมีความแตกต่างในการแปล และประเด็นอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ร่วมกันว่าจ้างโจทก์จัดการโฆษณาสินค้าโดยระบุรายการสินค้าที่โฆษณาเป็นภาษาอังกฤษว่าMEOBATH ซึ่งโจทก์แปลเป็นภาษาไทยว่าแชมพูมีโอ และโจทก์นำสืบว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าคือแชมพูยี่ห้อมีโอ โดยแปลภาษาอังกฤษคำว่าMEOBATHเป็นภาษาไทยว่าแชมพูมีโอ จำเลยนำสืบโดยอ้างใบเรียกเก็บเงินซึ่งระบุว่าสินค้าที่ให้โจทก์โฆษณานั้นมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าMEOBATH แต่จำเลยแปลเป็นภาษาไทยว่ามีโอกาช ซึ่งแปลว่าสบู่เหลวดังนี้ถือได้ว่าจำเลยนำสืบรับว่าสินค้าที่โจทก์รับโฆษณาคือสินค้าที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าMEOBATH แม้โจทก์และจำเลยจะแปลเป็นภาษาไทยต่างกันแต่ก็เป็นสินค้าอย่างเดียวกันนั้นเองจึงฟังได้ว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าตามฟ้องหาใช่เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องไม่ วันเดือนปีใดตรงกับวันอะไรนั้นเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปคู่ความไม่ต้องนำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา84(1)ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยเองว่าวันสุดท้ายของกำหนดอายุความ2ปีตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการจึงชอบแล้ว ที่จำเลยที่2และที่3ฎีกาว่าจำเลยที่3เป็นเพียงกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่2จำเลยที่3จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนั้นจำเลยที่2และที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความลวงสาธารณชน, ลักษณะเครื่องหมาย, และการใช้สินค้า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า"Madam Cook" กับอักษรไทยคำว่า "มาดามกุ๊ก" เป็นคำ 3 พยางค์ โดยอักษรโรมันอยู่ด้านบนของอักษรไทย และอักษรไทยมีขนาดเล็กกว่าอักษรโรมันเล็กน้อยส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า "กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า"COOK" พยางค์เดียว และอักษรไทยคำว่า "กุ๊ก" เป็นอักษรตัวขนาดใหญ่กว่าอักษรโรมัน อักษรโรมันวางอยู่บนพยัญชนะ "ก" ตัวที่ 2 ในระดับเดียวกันกับวรรณยุกต์ไม้ตรี เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรไทยและอักษรโรมันเป็นอักษรประดิษฐ์และอักษรโรมันคำว่า "Madam Cook" ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก คงใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวอักษร "M" และ "C" ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งอักษรไทยและอักษรโรมันเป็นอักษรธรรมดามิใช่อักษรประดิษฐ์ อักษรโรมันคำว่า"COOK"" ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ลักษณะเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจึงแตกต่างกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีคำว่า "กุ๊ก" และคำว่า "Cook" เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นคำเดียวกับคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำดังกล่าวก็เป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไปมิใช่คำประดิษฐ์ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าว และเครื่องหมาย-การค้าของทั้งโจทก์และจำเลยก็มีเสียงเรียกขานแตกต่างกัน โดยของโจทก์เรียกว่า "กุ๊ก" ส่วนของจำเลยเรียกว่า "มาดามกุ๊ก" การจัดตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็เป็นไปตามปกติธรรมดา โดยเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรโรมันคำว่า "Madam" มีขนาดเดียวกันกับคำว่า "Cook"อันเป็นการให้ความสำคัญในถ้อยคำแต่ละพยางค์เท่าเทียมกัน มิได้จัดให้อักษรคำว่า"Cook" หรือ "กุ๊ก" มีขนาดใหญ่หรือเน้นให้ดูโดดเด่นเป็นพิเศษเพื่อเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียวคือสินค้าน้ำมันพืชและเน้นเครื่องหมายการค้าโดยใช้ตัวอักษรสีแดงสด ส่วนจำเลยแม้จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจำพวกที่ 42 รายการสินค้าทั้งจำพวกซึ่งรวมถึงสินค้าน้ำมันพืชด้วย แต่จำเลยก็ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับอาหารสำเร็จรูปที่จำเลยผลิตขึ้น ได้แก่ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย หูฉลามน้ำแดงเปรี้ยวหวานอาหารทะเล ปลากระพงน้ำแดง โดยใช้เครื่องหมายการค้าเป็นอักษรโรมันว่า "Madam Cook" และส่งออกไปขายยังต่างประเทศ มิได้ผลิตขายในประเทศไทย ทั้งอักษรโรมันคำว่า "Madam Cook" บนซองบรรจุอาหารสำเร็จรูปก็มีลักษณะตรงกับที่จำเลยจดทะเบียนไว้ มิได้จัดตัวอักษรหรือใช้สีสันหรือกระทำการใดอันเป็นการเน้นคำว่า "Cook" แต่อย่างใด แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาไม่สุจริตที่จะทำให้สาธารณชนหลงผิดหรือลวงขายสินค้าของตนให้เข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: ความแตกต่างของภาพรวมสำคัญกว่าองค์ประกอบย่อยที่คล้ายคลึงกัน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ใช้ปิดกับกระป๋องนม มีลักษณะประกอบกัน 3 ประการ คือแม่หมีอุ้มลูก อักษรโรมันคำว่า "BEAR BRAND" และอักษรไทยคำว่า "ตราหมี" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีลักษณะประกอบกัน 5 ประการ คือลูกหมี ขวดนม ถ้วย อักษรโรมันคำว่า "SIMILAC"และอักษรไทยคำว่า "ซิมิแลค" เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายที่มีลักษณะเดียวกันมีเพียงรูปหมี ลำพังแต่รูปหมีทั่ว ๆ ไป โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะสงวนไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียว สำหรับรูปหมีของจำเลยที่ 1 เป็นรูปตุ๊กตาหมีตัวเดียว รูปขวดนมสูงใหญ่ และรูปถ้วยใหญ่ประกอบกับชื่อสินค้าเป็นอักษรโรมัน และอักษรไทยตัวใหญ่ แสดงว่าไม่ได้เน้นที่รูปตุ๊กตาหมีเป็นสาระสำคัญซึ่งแตกต่างกับรูปหมีของโจทก์เป็นรูปแม่หมีอุ้มลูกหมีประกอบกับชื่อสินค้าทั้งอักษร-โรมันและอักษรไทย เรียกตราหมี ส่วนที่เรียกทางการค้าซึ่งของโจทก์เรียกขานว่าตราหมีของจำเลยที่ 1 เรียกขานว่าซิมิแลค เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1จึงมีลักษณะไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันจะทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความแตกต่างของลักษณะเครื่องหมายและการเรียกขานทางการค้าเพื่อวินิจฉัยการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ใช้ปิดกับกระป๋องนมมีลักษณะประกอบกัน3ประการคือแม่หมีอุ้มลูกอักษรโรมันคำว่า"BEARBRAND"และอักษรไทยคำว่า"ตราหมี"ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1มีลักษณะประกอบกัน5ประการคือลูกหมีขวดนมถ้วยอักษรโรมันคำว่า"SIMILAC"และอักษรไทยคำว่า"ซิมิแลค"เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายที่มีลักษณะเดียวกันมีเพียงรูปหมีลำพังแต่รูปหมีทั่วๆไปโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะสงวนไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียวสำหรับรูปหมีของจำเลยที่1เป็นรูปตุ๊กตาหมีตัวเดียวรูปขวดนมสูงใหญ่และรูปถ้วยใหญ่ประกอบกับชื่อสินค้าเป็นอักษรโรมันและอักษรไทยตัวใหญ่แสดงว่าไม่ได้เน้นที่รูปตุ๊กตาหมีเป็นสาระสำคัญซึ่งแตกต่างกับรูปหมีของโจทก์เป็นรูปแม่หมีอุ้มลูกหมีประกอบกับชื่อสินค้าทั้งอักษรโรมันและอักษรไทยเรียกตราหมีส่วนที่เรียกทางการค้าซึ่งของโจทก์เรียกขานว่าตราหมีของจำเลยที่1เรียกขานว่าซิมิแลคเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จึงมีลักษณะไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันจะทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6921/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบที่ทำให้สาธารณชนหลงผิด แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
คำฟ้องบรรยายว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้ทั้งสองเครื่องหมายเหมือนหรือเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้และที่ยื่นขอจดทะเบียน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสอง โดยโจทก์ได้แนบเอกสารเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และระบุรายละเอียดในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของจำเลยโดยแนบเอกสารมาท้ายฟ้องด้วย ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งจำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"JACKSON" กับอักษรไทยคำว่า "แจ็คสัน" และเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้าจากบริษัท จ. ส่วนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า แม้จะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนแต่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับกางเกงยีนที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ด.เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSONG" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"JACKSON" มีรูปกีตาร์ด้านหน้าดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์จะยังมิได้มีการจดทะเบียน โจทก์ก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ โดยนัยแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพิ่มอักษรโรมันตัว G เข้าไปที่ข้างท้ายคำว่า"JACKSON" อีก 1 ตัว ส่วนลักษณะการเขียนตัวอักษรและการวางตัวอักษรเหมือนกันสำเนียงเรียกขานคล้ายกัน และโดยเฉพาะป้ายติดกางเกงยีนอักษรตัว G ปักด้วยด้ายสีขาวและอยู่บนพื้นสีขาว ส่วนตัวอักษรอื่นอีก 7 ตัว คือ JACKSON ปักด้วยด้ายสีดำ หาไม่เพ่งพินิจและสังเกตให้รอบคอบจะไม่เห็นตัวอักษร G ดังกล่าวส่อเจตนาของจำเลยว่ามุ่งจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้รูปภาพคนใส่กางเกงยีนและสีสันบนป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยเหมือนกับป้ายยี่ห้อและป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์ทุกประการเครื่องหมายการค้าของจำเลยแม้จะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีเส้นตรงขีดอยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า "JACKSONG" แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นรายละเอียดปลีกย่อย สาระสำคัญและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "JACKSON" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนหลงผิด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปยื่นคำขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"JACKSON" กับอักษรไทยคำว่า "แจ็คสัน" และเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้าจากบริษัท จ. ส่วนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า แม้จะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนแต่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับกางเกงยีนที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ด.เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSONG" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"JACKSON" มีรูปกีตาร์ด้านหน้าดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์จะยังมิได้มีการจดทะเบียน โจทก์ก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ โดยนัยแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพิ่มอักษรโรมันตัว G เข้าไปที่ข้างท้ายคำว่า"JACKSON" อีก 1 ตัว ส่วนลักษณะการเขียนตัวอักษรและการวางตัวอักษรเหมือนกันสำเนียงเรียกขานคล้ายกัน และโดยเฉพาะป้ายติดกางเกงยีนอักษรตัว G ปักด้วยด้ายสีขาวและอยู่บนพื้นสีขาว ส่วนตัวอักษรอื่นอีก 7 ตัว คือ JACKSON ปักด้วยด้ายสีดำ หาไม่เพ่งพินิจและสังเกตให้รอบคอบจะไม่เห็นตัวอักษร G ดังกล่าวส่อเจตนาของจำเลยว่ามุ่งจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้รูปภาพคนใส่กางเกงยีนและสีสันบนป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยเหมือนกับป้ายยี่ห้อและป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์ทุกประการเครื่องหมายการค้าของจำเลยแม้จะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีเส้นตรงขีดอยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า "JACKSONG" แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นรายละเอียดปลีกย่อย สาระสำคัญและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "JACKSON" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนหลงผิด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปยื่นคำขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, ใบมอบอำนาจ, เครื่องหมายการค้า, ความแตกต่างของเครื่องหมาย, การอุทธรณ์นอกประเด็น
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ทำที่เมืองฮ่องกง มีหนังสือของโนตารีปับลิกแห่งเมืองฮ่องกงรับรองว่าผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ โดยมีกงสุลไทยเมืองฮ่องกงรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกอีกชั้นหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าใบมอบอำนาจฉบับนี้ลงชื่อโดยผู้มีอำนาจของโจทก์จริง ไม่จำเป็นต้องให้โนตารีปับลิกรับรองด้วยว่าผู้ที่ลงชื่อมอบอำนาจได้กระทำต่อหน้าตนและรับรองว่ามีตราคุนประทับในใบมอบอำนาจ ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีดังกล่าวย่อมมีผลใช้ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฮ่องกง และแนบหนังสือรับรองของโนตารีปับลิกซึ่งรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายฮ่องกงมาท้ายฟ้อง ย่อมเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์แจ้งชัดแล้ว ไม่จำต้องแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลมาท้ายฟ้องด้วยฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่ผู้เดียว ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของบุคคลอื่นใด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นการอุทธรณ์นอกคำให้การ และนอกประเด็น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 เป็นอักษรโรมันคำว่าLEE KUM KEE รูปที่ 2 เป็นอักษรจีนอ่านว่า สี คุม กี หรือ ลี คุม คี หรือลี คัม กี หรือ ลี กัม กี รูปที่ 6 เป็นกรอบรูปประดิษฐ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางเป็นรูปวงกลม มีหญิงจีนยืนชิดโต๊ะอาหารหันหน้าเข้าโต๊ะ มือซ้ายวางคว่ำบนโต๊ะหลังมือชิดจานอาหาร รูปที่ 7 เป็นรูปแถบชายธงโค้งด้านเว้าหงายขึ้น ตรงกลางมีรูปวงกลม หญิงจีน โต๊ะอาหารและจานอาหารเช่นเดียวกับในรูปที่ 6 ตรงชายแถบด้านขวามีอักษรโรมันคำว่า LEE KUM KEE อ่านว่า ลี กัม กี รูปที่ 8 เป็นรูปพัดจีน-ประดิษฐ์ มีอักษรโรมัน L.K.K. อ่านว่า แอล เค เค อยู่เหนืออักษรจีนที่อ่านว่าลี คัม กี รูปที่ 9 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์เหมือนรูปที่ 8 แต่เพิ่มตัวอักษรจีนอ่านว่าลี คุม กี อยู่เหนือพัดจีน และ อักษรโรมันคำว่า LEE KUM KEE อ่านว่า ลี คัม กีอยู่ใต้พัดจีน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยรูปภาพ และตัวอักษรมีทั้งหมดสองส่วน 3 รูป ส่วนบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ภายในมีกรอบรูปประดิษฐล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีนเหนือขึ้นไปเป็นอักษรโรมันคำว่าLEE MIAN KEE อ่านว่า ลี เมียน กี ด้านซ้ายและขวามีอักษรจีนอ่านว่าลี เมียน กี อยู่ในกรอบรูปประดิษฐ์เล็ก ๆ ส่วนล่างประกอบด้วยรูป 2 รูปเรียงกันรูปแรกด้านซ้ายเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายเข็มขัดมีหัวอยู่ตรงกลาง มีรูปหญิงจีนถือจาน-อาหารอยู่ตรงหัวเข็มขัด ส่วนสายเข็มขัดดานขวามีอักษรโรมันอ่านว่าLEE MIAN KEE อ่านว่า ลี เมียน กี กับอักษรจีนอ่านว่า ลี เมียน กี รูปที่ 2ด้านขวาเป็นรูปคล้ายพัดจีนประดิษฐ์ตั้งตรงด้านมือจับชี้ลงมีอักษรโรมัน L.M.K.อ่านว่า แอล เอ็ม เค และอักษรจีนอ่านว่า ลี เมียน กี อยู่ภายในกรอบรูปพัดจีนโดยอักษรโรมันอยู่เหนืออักษรจีน เครื่องหมายการคำของโจทก์ทั้ง 7 รูป ดังกล่าวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยึงแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 และ 2 มีเพียงตัวอักษรเท่านั้นไม่มีรูปภาพ การอ่านออกเสียงก็ต่างกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจุดเด่นอยู่ที่รูปภาพ ส่วนของโจทก์อยู่ที่ตัวอักษร เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นรูปภาพเดี่ยว ของจำเลยมีรูปภาพถึง 3 รูป แม้จะมีรูปหญิงจีนเหมือนกันแต่ท่าทางก็ต่างกัน ของโจทก์รูปหญิงจีนเป็นรูปเด่น ของจำเลยเป็นเพียงรูปเล็ก ๆ ของรูปหนึ่งใน 3 รูป เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 7 แม้จะมีอักษรโรมันและอักษรจีนเช่นเดียวกับของจำเลย แต่ก็ออกเสียงคนละอย่างและอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 8 และรูปที่ 9 เป็นรูปเดี่ยว ของจำเลยเป็นรูปภาพ 3 รูป มีรูปพัดจีนเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ และเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้ามส่วนของโจทก์นั้นขอบรูปพัดเป็นรูปเถาไม้เลื้อยคดเคี้ยวคล้ายลายกนก ไม่มีด้ามแม้รูปที่ 9 ของโจทก์จะมีตัวอักษรภาษาจีนและอักษรโรมันก็อ่านออกเสียงคนละอย่างกับของจำเลย ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปหนึ่งรูปใดใน 7 รูปดังกล่าวเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฮ่องกง และแนบหนังสือรับรองของโนตารีปับลิกซึ่งรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายฮ่องกงมาท้ายฟ้อง ย่อมเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์แจ้งชัดแล้ว ไม่จำต้องแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลมาท้ายฟ้องด้วยฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่ผู้เดียว ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของบุคคลอื่นใด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากัน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่นไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นการอุทธรณ์นอกคำให้การ และนอกประเด็น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 เป็นอักษรโรมันคำว่าLEE KUM KEE รูปที่ 2 เป็นอักษรจีนอ่านว่า สี คุม กี หรือ ลี คุม คี หรือลี คัม กี หรือ ลี กัม กี รูปที่ 6 เป็นกรอบรูปประดิษฐ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางเป็นรูปวงกลม มีหญิงจีนยืนชิดโต๊ะอาหารหันหน้าเข้าโต๊ะ มือซ้ายวางคว่ำบนโต๊ะหลังมือชิดจานอาหาร รูปที่ 7 เป็นรูปแถบชายธงโค้งด้านเว้าหงายขึ้น ตรงกลางมีรูปวงกลม หญิงจีน โต๊ะอาหารและจานอาหารเช่นเดียวกับในรูปที่ 6 ตรงชายแถบด้านขวามีอักษรโรมันคำว่า LEE KUM KEE อ่านว่า ลี กัม กี รูปที่ 8 เป็นรูปพัดจีน-ประดิษฐ์ มีอักษรโรมัน L.K.K. อ่านว่า แอล เค เค อยู่เหนืออักษรจีนที่อ่านว่าลี คัม กี รูปที่ 9 เป็นรูปพัดจีนประดิษฐ์เหมือนรูปที่ 8 แต่เพิ่มตัวอักษรจีนอ่านว่าลี คุม กี อยู่เหนือพัดจีน และ อักษรโรมันคำว่า LEE KUM KEE อ่านว่า ลี คัม กีอยู่ใต้พัดจีน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยรูปภาพ และตัวอักษรมีทั้งหมดสองส่วน 3 รูป ส่วนบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ภายในมีกรอบรูปประดิษฐล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปเรือสำเภาจีนเหนือขึ้นไปเป็นอักษรโรมันคำว่าLEE MIAN KEE อ่านว่า ลี เมียน กี ด้านซ้ายและขวามีอักษรจีนอ่านว่าลี เมียน กี อยู่ในกรอบรูปประดิษฐ์เล็ก ๆ ส่วนล่างประกอบด้วยรูป 2 รูปเรียงกันรูปแรกด้านซ้ายเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายเข็มขัดมีหัวอยู่ตรงกลาง มีรูปหญิงจีนถือจาน-อาหารอยู่ตรงหัวเข็มขัด ส่วนสายเข็มขัดดานขวามีอักษรโรมันอ่านว่าLEE MIAN KEE อ่านว่า ลี เมียน กี กับอักษรจีนอ่านว่า ลี เมียน กี รูปที่ 2ด้านขวาเป็นรูปคล้ายพัดจีนประดิษฐ์ตั้งตรงด้านมือจับชี้ลงมีอักษรโรมัน L.M.K.อ่านว่า แอล เอ็ม เค และอักษรจีนอ่านว่า ลี เมียน กี อยู่ภายในกรอบรูปพัดจีนโดยอักษรโรมันอยู่เหนืออักษรจีน เครื่องหมายการคำของโจทก์ทั้ง 7 รูป ดังกล่าวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยึงแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 1 และ 2 มีเพียงตัวอักษรเท่านั้นไม่มีรูปภาพ การอ่านออกเสียงก็ต่างกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย และเครื่องหมายการค้าของจำเลยจุดเด่นอยู่ที่รูปภาพ ส่วนของโจทก์อยู่ที่ตัวอักษร เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 6 เป็นรูปภาพเดี่ยว ของจำเลยมีรูปภาพถึง 3 รูป แม้จะมีรูปหญิงจีนเหมือนกันแต่ท่าทางก็ต่างกัน ของโจทก์รูปหญิงจีนเป็นรูปเด่น ของจำเลยเป็นเพียงรูปเล็ก ๆ ของรูปหนึ่งใน 3 รูป เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 7 แม้จะมีอักษรโรมันและอักษรจีนเช่นเดียวกับของจำเลย แต่ก็ออกเสียงคนละอย่างและอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปที่ 8 และรูปที่ 9 เป็นรูปเดี่ยว ของจำเลยเป็นรูปภาพ 3 รูป มีรูปพัดจีนเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ และเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้ามส่วนของโจทก์นั้นขอบรูปพัดเป็นรูปเถาไม้เลื้อยคดเคี้ยวคล้ายลายกนก ไม่มีด้ามแม้รูปที่ 9 ของโจทก์จะมีตัวอักษรภาษาจีนและอักษรโรมันก็อ่านออกเสียงคนละอย่างกับของจำเลย ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปหนึ่งรูปใดใน 7 รูปดังกล่าวเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมและโอกาสสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้จะมีอักษรโรมันคำว่า "FRUIT" และรูปผลไม้วางรอบกันอยู่เหมือนกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังมีอักษรโรมันคำว่า "OF THE LOOM" เป็นส่วนประกอบอีกด้วย เมื่อเรียกขานรวมกันแล้วเป็น 4 คำ หรือ 4 พยางค์ คือ "ฟรุ๊ตออฟเดอะลูม" ส่วนของจำเลยเรียกขานเพียงคำหรือพยางค์เดียวคือ "ฟรุ๊ต" หรือ "ฟรุ๊ตส" ดังนั้นอักษรโรมันที่เป็นส่วนประกอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจนบุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันก็สามารถเห็นความแตกต่างกันได้นอกจากนั้นรูปผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยก็ยังต่างกันอีก ทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า "FRUIT THE LOOM" และของจำเลยมีคำว่า "FRUIT" สำหรับรูปแบบแรก และมีคำว่า "FRUITS" สำหรับรูปแบบที่ 2 เป็นส่วนประกอบอีกภาคหนึ่งซึ่งแตกต่างกัน รูปลักษณะของเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์และจำเลยโดยส่วนรวมจึงแตกต่างกัน การเรียกขานก็แตกต่างกันด้วยดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายจะใช้กับสินค้าในจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าครอบคลุมถึงกันก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกันโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจึงไม่คล้ายกัน