พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิมต่างจากคำขอเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์คืน หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคากับค่าใช้ทรัพย์ และศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคากับค่าใช้ทรัพย์ ส่วนคดีนี้ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์ได้ไปติดตามรถยนต์คืนมาได้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตามยึดรถคืนและรถที่ยึดกลับคืนมาได้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม เสื่อมราคา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าใช้จ่ายในการยึดรถและค่าเสื่อมราคาพร้อมดอกเบี้ย ความเสียหายของโจทก์คดีนี้จึงเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนคำขอบังคับก็แตกต่างกันและมิใช่ประเด็นที่ศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งมิใช่กรณีที่จะไปว่ากล่าวชั้นบังคับในคดีก่อนได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษชิงทรัพย์โดยมีอาวุธและทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายโดยมีอาวุธมีดและเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 ทั้งวรรคสองและวรรคสาม โจทก์ไม่จำต้องระบุวรรคของบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(6) มิได้บังคับไว้เช่นนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องศาลก็ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามนั้นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5981/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ: ความชัดเจนของคำขอและเจตนาของจำเลยมีผลต่อการพิจารณา
การระบุหมายเลขคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้เห็นได้ชัดแจ้งว่าเป็นการพิมพ์หมายเลขคดีแดงผิดพลาดจาก 566/2542 เป็น 556/2542ซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ทั้งจำเลยให้การรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้บวกโทษ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดทั้งฐานความผิดและโทษที่พิพากษามาด้วย อันเป็นการแสดงว่าจำเลยเข้าใจคำขอให้นำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ จึงหาทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่การที่ศาลนำโทษจำคุกในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ จึงมิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดอัตราแลกเปลี่ยนในคดีหนี้เงินตราต่างประเทศ ศาลพิพากษาเกินคำขอไม่ได้
เอกสารที่ต้องแนบมาท้ายคำฟ้องตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 7 ก็เพื่อจะให้จำเลยได้รู้ว่ามีเอกสารใดที่เกี่ยวข้องตามคำฟ้องบ้างในเบื้องต้น อันจะทำให้การดำเนินคดีเป็นไปโดยความสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น แม้เอกสารดังกล่าวเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยก็ไม่มีผลทำให้ฟ้องที่มีการบรรยายฟ้องโดยชอบแล้วกลายเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพียงแต่ในชั้นพิจารณาจะต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 46
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือเงินดอลลาร์สหรัฐ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นอกจากจะไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสองแล้ว ยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์โดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฎในคำฟ้อง จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
(วรรคสอง ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2544)
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือเงินดอลลาร์สหรัฐ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นอกจากจะไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสองแล้ว ยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์โดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฎในคำฟ้อง จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
(วรรคสอง ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2544)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดอัตราแลกเปลี่ยนหนี้ต่างประเทศ – ศาลพิพากษาเกินคำขอ, การใช้สิทธิโดยสุจริต, และการปฏิบัติตามสัญญา
คำฟ้องของโจทก์จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ต้องพิจารณาจาก การบรรยายฟ้องเป็นสำคัญ เมื่อคำฟ้องเป็นที่พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาและที่ขอบังคับจำเลยตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2540 ข้อ 6 แล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเอกสารที่ต้องแนบมาท้ายคำฟ้องตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 7 นั้น ก็เพื่อจะให้จำเลยได้รู้ว่ามีเอกสารใดที่เกี่ยวข้องตามคำฟ้องบ้างในเบื้องต้น อันจะทำให้การดำเนินคดีเป็นไปโดยความสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น แม้เอกสารดังกล่าวเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ในชั้นพิจารณาจะต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 46
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาการให้สินเชื่อแล้ว มีหน้าที่ปฏิบัติต่อกันตามสัญญา หากจำเลยปฏิบัติผิดข้อกำหนดใดย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทำให้มีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระเงินคืนได้ การที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อกำหนดตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกู้คืน เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายโดยชอบ แม้โจทก์จะรู้ว่าอยู่ในระหว่างที่จำเลยกำลังเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้รายอื่นก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต
ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือเงินดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินใน วันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นอกจากจะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง แล้วยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ โดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาการให้สินเชื่อแล้ว มีหน้าที่ปฏิบัติต่อกันตามสัญญา หากจำเลยปฏิบัติผิดข้อกำหนดใดย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทำให้มีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระเงินคืนได้ การที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อกำหนดตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกู้คืน เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายโดยชอบ แม้โจทก์จะรู้ว่าอยู่ในระหว่างที่จำเลยกำลังเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้รายอื่นก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต
ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือเงินดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินใน วันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นอกจากจะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง แล้วยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ โดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีแบ่งแยกที่ดิน ศาลฎีกาให้จำกัดสิทธิส่วนแบ่งให้เป็นไปตามคำขอเดิม
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งสี่คนละ 80 ตารางวา การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 จำนวน 2 งาน ตามที่โจทก์ที่ 1 ปลูกสร้างบ้านอยู่และพิพากษายกฟ้องโจทก์คนอื่น จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งที่ดินไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 1 ขอตามคำฟ้อง แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหาย จึงให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งในที่ดินจำนวน 80 ตารางวาส่วนที่ปลูกสร้างบ้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกที่ดิน การพิพากษาเกินคำขอ และการนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร
การฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ที่ห้ามสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสี่คนละ 80 ตารางวา การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 จำนวน 2 งาน ตามที่โจทก์ที่ 1ปลูกสร้างบ้านอยู่และพิพากษายกฟ้องโจทก์คนอื่น จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งที่ดินไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอตามคำฟ้อง แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 จึงให้โจทก์ที่ 1ได้รับส่วนแบ่งในที่ดินส่วนที่ปลูกสร้างบ้าน
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสี่คนละ 80 ตารางวา การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 จำนวน 2 งาน ตามที่โจทก์ที่ 1ปลูกสร้างบ้านอยู่และพิพากษายกฟ้องโจทก์คนอื่น จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งที่ดินไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอตามคำฟ้อง แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 จึงให้โจทก์ที่ 1ได้รับส่วนแบ่งในที่ดินส่วนที่ปลูกสร้างบ้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดินเกินเนื้อที่ตกลง ศาลพิพากษาให้ชำระราคาที่ดินส่วนเกินได้ ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากโจทก์เนื้อที่ 107 ตารางวา แต่จดทะเบียนโอนเกินกว่าที่ตกลงไป 11 ตารางวาขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนหรือให้จำเลยชำระค่าเสียหายเท่าราคาที่ดินตารางวาละ 120,000 บาท เมื่อศาลเห็นว่าคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินนั้น ไม่สามารถเพิกถอนได้ ก็ยกคำขอส่วนนี้และพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 1,320,000 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องที่ว่าหากสภาพแห่งหนี้ไม่อาจบังคับได้ขอให้จำเลยชำระค่าที่ดิน ซึ่งหมายความว่าเมื่อเพิกถอนนิติกรรมไม่ได้ก็ขอให้จำเลยชดใช้ค่าที่ดินส่วนที่เกินได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
สัญญาขายเหมาคือสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชำระราคาและผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคำนวณได้ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุตัวทรัพย์และส่วนของทรัพย์ที่จะซื้อจะขายไว้แน่นอน คือที่ดินเนื้อที่ 107 ตารางวาแต่ในส่วนของราคาระบุว่าให้เพิ่มหรือลดลงได้ตามเนื้อที่ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะมีราคาเท่าใด จึงไม่ใช่สัญญาขายเหมา
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ตกลงกันว่าจะสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ จึงให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ระหว่างนั้นได้ดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 2 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้นเมื่อถึงกำหนดก็จดทะเบียนโอนที่ดินเป็นชื่อจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของโจทก์จึงต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อขาย
สัญญาขายเหมาคือสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชำระราคาและผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคำนวณได้ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุตัวทรัพย์และส่วนของทรัพย์ที่จะซื้อจะขายไว้แน่นอน คือที่ดินเนื้อที่ 107 ตารางวาแต่ในส่วนของราคาระบุว่าให้เพิ่มหรือลดลงได้ตามเนื้อที่ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะมีราคาเท่าใด จึงไม่ใช่สัญญาขายเหมา
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ตกลงกันว่าจะสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ จึงให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ระหว่างนั้นได้ดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 2 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้นเมื่อถึงกำหนดก็จดทะเบียนโอนที่ดินเป็นชื่อจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของโจทก์จึงต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอฎีกาขัดแย้งกับคำขอในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปหรือพิพากษาให้นำที่ดินตามฟ้องขายทอดตลาดมาแบ่งตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เท่ากับให้ดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป อันเป็น การสมประโยชน์ตามคำขอของโจทก์ในชั้นอุทธรณ์แล้ว โจทก์จะฎีกาขอให้พิพากษานำที่ดินตามฟ้องออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งตามคำขอบังคับของโจทก์ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีอีก ไม่ได้ เพราะเป็นคำขอที่ขัดกับคำขอในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7850/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามมิให้วินิจฉัยเกินคำขอ และประเด็นการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบในศาลอุทธรณ์ กรณีปล้นทรัพย์
++ เรื่อง ปล้นทรัพย์ ++
ในข้อที่จำเลยฎีกาว่ามีเหตุปล้นทรัพย์หรือไม่ ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่ามีการปล้นทรัพย์ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้องดังที่ศาลชั้นต้นฟังมา นอกจากนั้นจำเลยยังอ้างในอุทธรณ์อีกว่าตอนเกิดเหตุปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ในภาวะหวาดกลัวจนขาดสติสัมปชัญญะ ผู้เสียหายไม่น่าจะสามารถจำคนร้ายได้ แสดงอยู่ในตัวว่า จำเลยยอมรับว่ามีเหตุการณ์ปล้นทรัพย์ดังที่ศาลชั้นต้นรับฟัง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่า ในการปล้นทรัพย์ จำเลยหรือพวกของจำเลยคนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา340 วรรคสอง ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษา และการกระทำของจำเลยตามฟ้องคงเป็นความผิดตามมาตรา 340 วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า กรณีจึงต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรกปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วย มาตรา 225
ในข้อที่จำเลยฎีกาว่ามีเหตุปล้นทรัพย์หรือไม่ ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่ามีการปล้นทรัพย์ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้องดังที่ศาลชั้นต้นฟังมา นอกจากนั้นจำเลยยังอ้างในอุทธรณ์อีกว่าตอนเกิดเหตุปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ในภาวะหวาดกลัวจนขาดสติสัมปชัญญะ ผู้เสียหายไม่น่าจะสามารถจำคนร้ายได้ แสดงอยู่ในตัวว่า จำเลยยอมรับว่ามีเหตุการณ์ปล้นทรัพย์ดังที่ศาลชั้นต้นรับฟัง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่า ในการปล้นทรัพย์ จำเลยหรือพวกของจำเลยคนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา340 วรรคสอง ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษา และการกระทำของจำเลยตามฟ้องคงเป็นความผิดตามมาตรา 340 วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า กรณีจึงต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรกปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วย มาตรา 225