พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลและการมีส่วนร่วมของพนักงานอัยการในคดีสัญชาติ: ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิม และคำคัดค้านของอัยการชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องมีสัญชาติไทยไว้ ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาเห็นว่าคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2) เรื่องเขตอำนาจศาล ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นและมีคำสั่งใหม่ได้ตามมาตรา 27
ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ได้ให้อำนาจแก่พนักงานอัยการที่จะโต้แย้งคัดค้านในกรณีที่มีผู้ร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาล คำคัดค้านของพนักงานอัยการจึงชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ได้ให้อำนาจแก่พนักงานอัยการที่จะโต้แย้งคัดค้านในกรณีที่มีผู้ร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาล คำคัดค้านของพนักงานอัยการจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุคัดค้านคำตัดสินและโอกาสชนะคดีชัดเจน
ศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีที่ขาดนัด จำเลยขอพิจารณาใหม่แสดงเหตุว่าจำเลยมีพยานหลักฐานว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นความจริงหลายประการเพียงเท่านี้ไม่พอเป็นคำคัดค้านคำตัดสินของศาลไม่ชอบด้วย มาตรา 208
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำคัดค้านหลังกำหนดเวลา และการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดิน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของผู้ร้องหลังกำหนดเวลาตามที่ศาลประกาศ แต่ก่อนมีการสืบพยานผู้ร้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำคัดค้านนั้น ดังนี้ ศาลชั้นต้นมีอำนาจทำได้ไม่ใช่ขยายระยะเวลา หรือขัดต่อกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
เมื่อผู้คัดค้านเป็นฝ่ายใช้สิทธิครอบครองที่พิพาท การที่ผู้ร้องยึดถือโฉนดและเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่พิพาทเข้าไปตัดฟืนตัดจากเป็นครั้งคราว ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองแก่ผู้ร้อง
เมื่อผู้คัดค้านเป็นฝ่ายใช้สิทธิครอบครองที่พิพาท การที่ผู้ร้องยึดถือโฉนดและเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่พิพาทเข้าไปตัดฟืนตัดจากเป็นครั้งคราว ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องกล่าวคัดค้านคำตัดสินในคำร้องโดยชัดเจน การกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ใช้ไม่ได้
การขอให้พิจารณาคดีใหม่เป็นกระบวนพิจารณาซึ่งคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดและแพ้คดีจะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้น ดังนั้นคู่ความดังกล่าวจะต้องกล่าวคำคัดค้านคำตัดสินของศาลในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยชัดแจ้ง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 จะไปกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ เมื่อไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องย่อมเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกาศคำร้องและกำหนดระยะเวลาคัดค้าน: ผู้คัดค้านต้องยื่นคำคัดค้านภายในกำหนด หากไม่ทำสิทธิในการคัดค้านหมดไป
การที่ศาลชั้นต้นประกาศคำร้องของผู้ร้องขอให้ศาลสั่งว่า ส.เป็นบุคคลไร้ความสามารถทางหนังสือพิมพ์รายวัน ถือว่าประกาศของศาลเป็นที่รู้กันทั่วไป. เมื่อประกาศครบแล้วศาลชั้นต้นเริ่มทำการไต่สวน จึงเป็นการดำเนินตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 แล้ว. ผู้คัดค้านจะอ้างว่าไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ที่ศาลประกาศ ย่อมไม่ได้. เมื่อผู้คัดค้านไม่ยื่นคำคัดค้านภายในกำหนดตามที่ศาลประกาศ ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิจะยื่นคำคัดค้าน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการรับคำคัดค้านหลังเริ่มไต่สวนพยานในคดีผู้จัดการมรดก
การที่ผู้ร้องคัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านในกรณีขอเป็นผู้จัดการมรดก ภายหลังจากศาลได้เริ่มสืบพยานผู้ร้องไปแล้วนั้น ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะเห็นสมควรรับคำร้องคัดค้านหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายคดีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองฯ มาตรา 4 กรณีฟ้องร้องบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 3 และการงดฟังคำคัดค้านของโจทก์
ในภาวะแห่งการปฏิวัติ ระหว่างร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ต่อไป ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มาตรา 17 ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะมีคำสั่งหรือกระทำการภายในขอบเขตที่ระบุไว้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำนั้นชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งย่อมมีผลเป็นธรรมดาว่า ไม่เป็นมูลที่ผู้ใดจะนำมาฟ้องให้รับผิดตามกฎหมายได้ ศาลย่อมไม่รับฟ้องเช่นว่านั้น หรือถ้ารับฟ้องไว้แล้วก็มิได้หมายความว่าศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นในภายหลังไม่ได้ เพราะคำสั่งรับฟ้องเช่นนี้มิใช่คำสั่งวินิจฉัยขี้ขาดคดี ไม่อยู่ในบังคับที่ศาลนั้นจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143, 145 เพราะฉะนั้นพระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวแก่มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 ซึ่งบัญญัติให้บุคคลใดฟ้องร้องว่ากล่าวนายกรัฐมนตรีและผู้กระทำการตามคำสั่งนั้น จึงเป็นวิธีการอันพึงดำเนินเมื่อมีการฟ้องร้องคดีอันเป็นกรณีตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มิใช่บทบัญญัตินอกเหนือขอบเขตแห่งมาตรา 17 และไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร เมื่อพระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติเกี่ยวแก่มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 เป็นกฎหมายที่ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน มาตรา 17 โดยเฉพาะ มิใช่กฎหมายที่บัญญัติกรณีหนึ่งกรณีใดขึ้นเป็นการตัดสิทธิที่บุคคลจะดำเนินคดีทางศาล จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติตามมาตรา 17แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรบัญญัติว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งหรือกระทำการใดโดยอ้างมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฯลฯ ให้ได้รับความคุ้มครอง บุคคลใดจะฟ้องร้องว่ากล่าว ฯลฯ มิได้ นั้น หมายความว่าต้องเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่อ้าง มาตรา 17 โดยเป็นกรณีที่อยู่ภายในขอบเขตของมาตรา 17 หากคำสั่งหรือการกระทำนั้น ๆ อยู่นอกเหนือขอบเขตของมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลย่อมวินิจฉัยได้ว่าคำสั่งหรือการกระทำนั้นมิได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใด ๆ โดยมติคณะรัฐมนตรีในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ฯลฯ แสดงว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจที่จะวินิจฉัยพฤติการณ์ที่เห็นสมควรใช้มาตรการที่กำหนดไว้ การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่ อยู่ที่ความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่
มาตรา 17 มิได้ถูกระบุให้ใช้แก่ผู้ทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะแต่ให้ใช้เพื่อระงับหรือปราบปรามการบ่อนทำลาย แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้ว แต่ผลของการกระทำยังคงอยู่ และมีผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วย จึงถือได้ว่าผู้ได้ร่วมรับผลนั้นอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17 นั้นด้วย
พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวแก่มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติว่า ถ้ามีคดีฟ้องร้องบุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 3 อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลจำหน่ายคดีเสีย การที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจึงเป็นการสั่งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิใช่ว่าศาลจะจำหน่ายคดีได้ แต่เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่านั้น แม้พระราชบัญญัตินี้จะมีผลย้อนหลังบังคับแก่คดีที่ยื่นฟ้องไว้แล้วด้วย และไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อการตีความ ก็เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้ เพราะมิใช่กฎหมายที่ย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคลในทางอาญา
ศาลมีอำนาจที่จะพิเคราะห์ว่ากระบวนพิจารณาใดจำเป็นจะต้องทำเพียงใดหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากระบวนพิจารณาใดเป็นการประวิงหรือฟุ่มเฟือยชักช้าโดยไม่จำเป็น ศาลย่อมงดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นได้ หรือจะสั่งคู่ความให้งดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30, 86 วรรค 2 และดังนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174 วรรค 4 และเมื่อศาลไม่เห็นประโยชน์ที่จะฟังคำคัดค้านของคู่ความ เพราะกฎหมายบัญญัติให้จำหน่ายคดีโดยชัดแจ้งแล้ว การฟังคำคัดค้านของคู่ความมีแต่จะทำความชักช้าประวิง ยุ่งยาก ศาลก็งดฟังคำคัดค้านและมีคำสั่งจำหน่ายคดีไปทีเดียวได้
เมื่อศาลไม่เห็นควรรับคำฟ้องที่ไม่ระบุตัวทรัพย์สินที่พิพาทให้ชัดเจนไว้พิจารณา ศาลก็ทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 และเมื่อศาลรับคำฟ้องโจทก์ไว้แล้วต่อมามีเหตุที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ ศาลก็มีคำสั่งในเรื่องนี้ใหม่โดยให้จำหน่ายคดีที่ไม่มีคำฟ้องชัดเจนพอนั้นเสียได้ ไม่ใช่กรณีที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 29 มาใช้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2510)
พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติตามมาตรา 17แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรบัญญัติว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งหรือกระทำการใดโดยอ้างมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฯลฯ ให้ได้รับความคุ้มครอง บุคคลใดจะฟ้องร้องว่ากล่าว ฯลฯ มิได้ นั้น หมายความว่าต้องเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่อ้าง มาตรา 17 โดยเป็นกรณีที่อยู่ภายในขอบเขตของมาตรา 17 หากคำสั่งหรือการกระทำนั้น ๆ อยู่นอกเหนือขอบเขตของมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลย่อมวินิจฉัยได้ว่าคำสั่งหรือการกระทำนั้นมิได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใด ๆ โดยมติคณะรัฐมนตรีในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ฯลฯ แสดงว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจที่จะวินิจฉัยพฤติการณ์ที่เห็นสมควรใช้มาตรการที่กำหนดไว้ การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่ อยู่ที่ความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่
มาตรา 17 มิได้ถูกระบุให้ใช้แก่ผู้ทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะแต่ให้ใช้เพื่อระงับหรือปราบปรามการบ่อนทำลาย แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้ว แต่ผลของการกระทำยังคงอยู่ และมีผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วย จึงถือได้ว่าผู้ได้ร่วมรับผลนั้นอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17 นั้นด้วย
พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวแก่มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติว่า ถ้ามีคดีฟ้องร้องบุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 3 อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลจำหน่ายคดีเสีย การที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจึงเป็นการสั่งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิใช่ว่าศาลจะจำหน่ายคดีได้ แต่เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่านั้น แม้พระราชบัญญัตินี้จะมีผลย้อนหลังบังคับแก่คดีที่ยื่นฟ้องไว้แล้วด้วย และไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อการตีความ ก็เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้ เพราะมิใช่กฎหมายที่ย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคลในทางอาญา
ศาลมีอำนาจที่จะพิเคราะห์ว่ากระบวนพิจารณาใดจำเป็นจะต้องทำเพียงใดหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากระบวนพิจารณาใดเป็นการประวิงหรือฟุ่มเฟือยชักช้าโดยไม่จำเป็น ศาลย่อมงดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นได้ หรือจะสั่งคู่ความให้งดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30, 86 วรรค 2 และดังนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174 วรรค 4 และเมื่อศาลไม่เห็นประโยชน์ที่จะฟังคำคัดค้านของคู่ความ เพราะกฎหมายบัญญัติให้จำหน่ายคดีโดยชัดแจ้งแล้ว การฟังคำคัดค้านของคู่ความมีแต่จะทำความชักช้าประวิง ยุ่งยาก ศาลก็งดฟังคำคัดค้านและมีคำสั่งจำหน่ายคดีไปทีเดียวได้
เมื่อศาลไม่เห็นควรรับคำฟ้องที่ไม่ระบุตัวทรัพย์สินที่พิพาทให้ชัดเจนไว้พิจารณา ศาลก็ทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 และเมื่อศาลรับคำฟ้องโจทก์ไว้แล้วต่อมามีเหตุที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ ศาลก็มีคำสั่งในเรื่องนี้ใหม่โดยให้จำหน่ายคดีที่ไม่มีคำฟ้องชัดเจนพอนั้นเสียได้ ไม่ใช่กรณีที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 29 มาใช้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล: คำร้องขอประกันตัวไม่ใช่คำคัดค้านคำสั่ง
ผู้ร้องถูกศาลสั่งขังในฐานเป็นบริวารของจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำบังคับของศาล สามีผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยและยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ร้อง ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย ให้ยกคำร้องดังนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้น เพราะเป็นคำสั่งระหว่างศาลกับสามีผู้ร้องและคำร้องของสามีผู้ร้องก็เป็นเรื่องยื่นขอประกันตัวผู้ร้อง ไม่ใช่เป็นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลหรือเป็นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาในข้อที่ว่า ผู้ร้องมิใช่บริวาร ศาลจะสั่งขับไล่ผู้ร้องไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน
ในคดีล้มละลาย ผู้มีส่วนได้เสียในการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการยึดทรัพย์สินของจำเลยนั้น ต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้มีคำสั่งเสียชั้นหนึ่งก่อน จึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7381/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกและการฟ้องบังคับให้เพิกถอนคำคัดค้านการขอออกโฉนด: ประเด็นการแย่งการครอบครองและขอบเขตคำขอ
แม้จำเลยชนะคดีในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะตั้งประเด็นส่วนที่จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาในคำแก้อุทธรณ์ได้ ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. ซึ่งจำเลยก็ได้โต้แย้งแก้อุทธรณ์ไว้ในข้อ 2 ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของนาย ต. ไม่อาจนำไปแบ่งปันให้แก่ทายาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตั้งประเด็นในการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. หรือไม่ กับฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. จึงชอบแล้ว
จำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินเป็นมรดกของนาย ต. ซึ่งตกทอดแก่ทายาทและจำเลยแย่งการครอบครองจากทายาทอื่นจนได้สิทธิการครอบครองแล้วแต่อย่างใด หากแต่ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของนาย ต. ไม่อาจนำไปแบ่งปันแก่ทายาทได้ เพราะนาย ต. ยกให้นาย อ. บิดาจำเลยตั้งแต่นาย ต. มีชีวิตอยู่ เท่ากับอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของนาย อ. และตกทอดมายังจำเลย โดยนาย อ. และจำเลยมิได้แย่งการครอบครองมาจากผู้ใด คดีจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ไม่อาจแย่งการครอบครองในที่ดินซึ่งตนเองมีสิทธิครอบครองหรือเป็นเจ้าของได้ แม้ภายหลังโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ทายาทและนาย อ. ไปตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของนาย ต. นาย อ. ได้มีหนังสือไปถึงโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของนาย ต. ที่จะต้องนำไปแบ่งปันแก่ทายาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เพราะจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. การโต้แย้งตามหนังสือของนาย อ. ดังกล่าวจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองเช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องเกิน 2 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเอาคืนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
จำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินเป็นมรดกของนาย ต. ซึ่งตกทอดแก่ทายาทและจำเลยแย่งการครอบครองจากทายาทอื่นจนได้สิทธิการครอบครองแล้วแต่อย่างใด หากแต่ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของนาย ต. ไม่อาจนำไปแบ่งปันแก่ทายาทได้ เพราะนาย ต. ยกให้นาย อ. บิดาจำเลยตั้งแต่นาย ต. มีชีวิตอยู่ เท่ากับอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของนาย อ. และตกทอดมายังจำเลย โดยนาย อ. และจำเลยมิได้แย่งการครอบครองมาจากผู้ใด คดีจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ไม่อาจแย่งการครอบครองในที่ดินซึ่งตนเองมีสิทธิครอบครองหรือเป็นเจ้าของได้ แม้ภายหลังโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ทายาทและนาย อ. ไปตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของนาย ต. นาย อ. ได้มีหนังสือไปถึงโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของนาย ต. ที่จะต้องนำไปแบ่งปันแก่ทายาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เพราะจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. การโต้แย้งตามหนังสือของนาย อ. ดังกล่าวจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองเช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องเกิน 2 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเอาคืนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง