คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำชี้ขาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการใช้เป็นพยานได้แม้ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ หากจำเลยยอมรับมีจริง
ปัญหาว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถึงแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นก็ยังยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นใจความว่า อนุญาโตตุลาการได้มีคำสั่งชี้ขาดแล้วดังสำเนาคำชี้ขาดพร้อมด้วยคำแปลท้ายฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าคำชี้ขาดนี้ขัดต่อกฎหมายไทย เป็นการยอมรับแล้วว่ามีคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังสำเนาที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องจริง ไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบแสดงว่ามีคำชี้ขาดดังกล่าวอีก ดังนั้นถึงจะฟังว่าต้นฉบับปิดอากรแสตมป์ไม่ครบก็ไม่เป็นเหตุที่จะยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่คำชี้ขาด ไม่ผูกมัดนายจ้าง
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 77 มิใช่คำชี้ขาด แต่เป็นคำชี้แจงให้นายจ้างทราบว่าฝ่าฝืนประกาศและควรปฏิบัติอย่างไร ไม่มีผลในกฎหมายให้นายจ้างต้องปฏิบัติ ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของนายจ้างที่จะฟ้องให้เพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีคำชี้ขาดของกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่
โจทก์เป็นเจ้าของและผู้จัดการโรงเรียน ได้ถูกครูกล่าวหาว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยทั้ง 8 ในฐานะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ออกคำชี้ขาดว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับครูผู้กล่าวหาเข้าทำงานตามเดิมและจ่ายเงินให้ผู้กล่าวหาอีกจำนวนหนึ่ง โดยให้โจทก์ปฏิบัติภายใน 15 วันนั้น คำชี้ขาดดังกล่าวได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามข้อ 75 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการแรงงานสัมพันธ์ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 คำชี้ขาดตามประกาศดังกล่าว ข้อ 17,18 ให้บังคับได้เป็นเวลา 1 ปี หาใช่เป็นเพียงคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานหรือพนักงานเงินทดแทนไม่ ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: อำนาจศาล, คำขอท้ายฟ้อง, การบังคับคดี
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเพราะเห็นว่าคำชี้ขาด ของอนุญาโตตุลาการขัดต่อกฎหมายนั้น เป็นคำสั่งในอำนาจของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 218 วรรคท้าย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 (1) ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วสั่งให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษาว่า ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำขอในอุทธรณ์ของโจทก์ แต่คำขอในอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นการขอให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีผลบังคับโดยคำพิพากษาของศาลตามมาตรา 221 นั่นเอง มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งอย่างธรรมดา เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ขัดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้นเสียเองได้ หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ไม่
ในกรณีดังกล่าว การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาเพียง 50 บาท สืบเนื่องมาจากเรื่องที่โจทก์เข้าใจอำนาจของศาลอุทธรณ์ผิด ซึ่งศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ถูกต้องได้เมื่อจะพิพากษา
อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้จำเลยคืนเงิน 40,000 บาท ให้โจทก์ หากไม่คืนภายในเวลาที่กำหนดก็ให้โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งขายที่ดินที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้าง เงินที่ขายได้ตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เดียว ดังนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในกรณีนี้ก็คือ ชี้ขาดให้จำเลยคืนเงิน 40,000 บาท ให้โจทก์ภายในเวลาที่กำหนด ส่วนที่อนุญาโตตุลาการกล่าวต่อไปนั้น หาใช่เป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ เป็นแต่เพียงคำเสนอแนะว่า หากจำเลยไม่คืนเงินให้โจทก์ภายในกำหนด ก็ให้เสนอคดีต่อศาลต่อไปเท่านั้น ส่วนวิธีการบังคับคดีซึ่งศาลจะสั่งขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวหรือไม่ หรือขายทอดตลาดได้เงินเท่าใด ให้เป็นของใครนั้น ย่อมอยู่ภายใต้บทบัญญัติในภาค 4 ลักษณะแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ฉะนั้น คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยขายได้เงินเท่าใด ให้เป็นของโจทก์แต่ผู้เดียวนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อวิธีการบังคับคดีดังกล่าว ศาลจะพิพากษาตามคำขอของโจทก์ในข้อนี้ไม่ได้ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 40,000 บาท ให้แก่โจทก์ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงให้ศาลชี้ขาดข้อพิพาทที่ดินและการไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด
การที่คู่ความตกลงกันให้ศาลไปตรวจดูที่พิพาท แล้วให้ศาลชี้ขาดตามที่เห็นสมควรโดยคู่ความยินยอมตามที่ศาลชี้ขาดนั้นหาใช่เป็นการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ไม่ เพราะศาลยังต้องชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีอีกว่าที่พิพาทควรจะเป็นของใครเพียงใด คดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138 แต่เมื่อศาลตรวจดูที่พิพาทแล้ว เห็นว่า ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นของฝ่ายใด จึงพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทออกเป็นสองส่วนให้โจทก์จำเลยได้ฝ่ายละส่วน โจทก์จะอุทธรณ์ว่าที่พิพาทมีลักษณะเหมือนของโจทก์ ควรให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง ดังนี้หาได้ไม่ เพราะเท่ากับไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของศาลตามที่ตกลงไว้นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นเป็นไปโดยมิชอบ ศาลสูงก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อฉ้อฉลเจ้าหนี้หลังมีคำชี้ขาดคดี ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
อำเภอชี้ขาดให้จำเลยชำระค่านายหน้าแก่โจทก์ จำเลยลงชื่อยินยอมปฏิบัติตามสัญญายอมความของอำเภอ ต่อมาอีก 5 วันจำเลยจึงโอนขายที่ดินของจำเลยให้ผู้ร้อง สัญญาระบุว่าซื้อขาย แต่ความจริงไม่มีค่าตอบแทน ดังนี้
เมื่อจำเลยไม่ชำระค่านายหน้าให้โจทก์ๆ ฟ้องคดี จนศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมนำยึดที่ดินของจำเลยดังกล่าวเพื่อการบังคับคดีได้ เพราะการโอนให้ผู้ร้องดังกล่าว เป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ย่อมขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโต้แย้งคำชี้ขาดและบัญชีงบดุลของผู้ชำระบัญชี: ต้องรอถูกฟ้องเรียกหนี้ก่อน จึงมีสิทธิร้อง
ในเรื่องผู้ชำระบัญชี ซึ่งศาลตั้งในกรณีเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญมิได้จดทะเบียน ได้ทำคำชี้ขาดและทำบัญชีงบดุลย์ของหุ้นส่วนนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ใดอื่นจะมาร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงแก้ไขมิได้ เพราะยังไม่มีสิทธิโต้แย้งอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 55 กล่าวคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดยังมิได้ถูกฟ้องเรียกหนี้ตามคำชี้ขาดหรือตามบัญชีแต่อย่างใด จึงไม่มีสิทธิที่จะมาร้องต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโต้แย้งคำชี้ขาดผู้ชำระบัญชี: ยังไม่มีสิทธิฟ้องหากยังไม่ถูกเรียกร้องหนี้
ในเรื่องผู้ชำระบัญชี ซึ่งศาลตั้งในกรณีเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญมิได้จดทะเบียน ได้ทำคำชี้ขาดและทำบัญชีงบดุลย์ของหุ้นส่วนนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ใดอื่นจะมาร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงแก้ไขมิได้ เพราะยังไม่มีสิทธิโต้แย้งอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 กล่าวคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดยังมิได้ถูกฟ้องเรียกหนี้ตามคำชี้ขาดหรือตามบัญชีแต่อย่างใด จึงไม่มีสิทธิที่จะมาร้องต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยคนต่างด้าวผ่านคนไทย และการบังคับตามคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คนต่างด้าวร่วมออกเงินซื้อที่ดินเป็นเจ้าของร่วมกันโดยให้คนไทยลงชื่อเป็นผู้ซื้อแทน แล้วให้คนไทยนั้นทำหนังสือมอบอำนาจให้คนต่างด้าวผู้ซื้อคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจดูแล ภายหลังคนต่างด้าวผู้ซื้อตกลงแบ่งแยกที่ดินกันไม่ได้จึงตั้งคนกลางชี้ขาด คนกลางชี้ขาดแล้วแต่คนต่างด้าวผู้ครอบครองที่ดินไม่ยอมมอบที่ดินให้ ดังนี้ คนต่างด้าวอีกคนหนึ่งจะฟ้องศาลขอให้ศาลบังคับให้แบ่งที่ดินให้แก่ตนตามคำชี้ขาดของคนกลางนั้น ถือว่าเป็นการบังคับในทางให้โจทก์ได้ที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว โจทก์จะมาฟ้องขอรับผลในทางฝ่าฝืนกฎหมายไม่ได้ ศาลไม่บังคับให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9476/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ และการแก้ไขค่าเสียหายสกุลเงินต่างประเทศ
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในคดีนี้เป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งวาเรน - แฟร์ไอน์ แดร์ ฮามบัวร์เกอร์ เบอร์เซ อี.วี. ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จึงเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 ถึงมาตรา 44 เห็นได้แจ้งชัดว่า คู่พิพาทอาจร้องขอต่อศาลประเทศไทยที่มีเขตอำนาจให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งกระทำขึ้นในต่างประเทศได้ และศาลที่มีเขตอำนาจจะมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดนั้นให้ต่อเมื่อเป็นคำชี้ขาดที่อยู่ในบังคับแห่งสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่ประเทศไทยยอมตนเข้าผูกพันเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 41 หรือคู่พิพาทซึ่งจะถูกบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งได้กระทำขึ้นในต่างประเทศอาจขอให้ศาลประเทศไทยที่มีเขตอำนาจมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวหากสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 43 (1) ถึง (6) บัญญัติได้เท่านั้น แต่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลไทยที่มีเขตอำนาจมีคำสั่งให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งกระทำขึ้นในต่างประเทศ การร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการจึงต้องร้องขอต่อศาลในประเทศที่คำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำขึ้นเท่านั้น สอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 5 (1) (อี) ในอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการบังคับตามชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี และกฎหมายแม่แบบว่าด้วยอนุญาโตตุลาการทางพาณิชย์ของคณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติหรือ "UNCITRAL Model Laws" ที่กำหนดไว้ใน Ariticle 34 และ 36 การเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 นั้น เฉพาะศาลที่มีการดำเนินกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาลเท่านั้นที่อาจพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอแย้งให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวซึ่งเป็นคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งกระทำขึ้นในต่างประเทศได้
ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระเงินสกุลต่างประเทศโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ถึงกำหนดชำระเงินตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการนั้น ยังไม่ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ที่บัญญัติให้ลูกหนี้ใช้เป็นเงินไทยได้โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
of 5