พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด: การประเมินราคาภาษีศุลกากรโดยสืบราคาจากตลาดจริงเพื่อใช้เป็นเกณฑ์คำนวณภาษี
โจทก์สำแดงราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเท่ากับราคาสินค้าในบัญชีราคาสินค้าและหลักฐานเอกสารการชำระเงินให้แก่ผู้ขายและโจทก์นำสืบว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาแท้จริงจึงควรเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าซึ่งต้องใช้เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีอากร แต่พระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 2 นิยามคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด"หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร)ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด ตามความหมายนี้ ราคาที่โจทก์ซื้อสินค้ามาโดยอ้างว่าเป็นราคาแท้จริง จึงมิใช่เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป แม้โจทก์จะนำสืบว่าเคยนำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันมาก่อนในราคาเดียวกับการนำเข้าครั้งนี้ก็ปรากฏว่าเป็นการนำเข้าของโจทก์เองซึ่งซื้อจากผู้ขายรายเดียวกัน นอกจากนี้โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นแสดงให้เห็นว่าราคาขายเงินสด ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาที่นำเข้าและสถานที่ที่นำเข้าซึ่งเป็นความหมายของราคาอันแท้จริงในท้องตลาดว่าเป็นราคาเท่าใด ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้า อันจะใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรได้ จำเลยให้เจ้าหน้าที่ซึ่งประจำเมืองฮ่องกง อันเป็นสถานที่ที่โจทก์สั่งซื้อสินค้าเข้ามา สืบราคาตามร้านใหญ่ ๆ หลายร้านราคาที่สืบได้ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน เมื่อนำมาเฉลี่ยแล้วราคาขายปลีกสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,974.87 เหรียญฮ่องกงคำนวณเป็นราคาขายส่งโดยคิดลดลง 20 เปอร์เซ็นต์เป็นราคาขายส่ง เอฟ.โอ.บี. กิโลกรัมละ3,180 เหรียญฮ่องกง อันถือเป็นราคาอันแท้จริงที่ซื้อขายกันคำนวณเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. โดยนำค่าขนส่งทางอากาศและค่าประกันภัยในบัญชีราคาสินค้าตามที่โจทก์สำแดงไว้ บวกเข้าไป ผลออกมาเป็นราคาซี.ไอ.เอฟ. กิโลกรัมละประมาณ 3,200 เหรียญฮ่องกง การหาราคาอันแท้จริงของจำเลยได้กระทำตามขั้นตอน มีการคิดคำนวณรายละเอียดต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและเป็นวิธีที่ถูกต้องน่าเชื่อถือเป็นการสืบหาราคาในเวลาที่ใกล้เคียงพอสมควรกับเวลาที่โจทก์นำเข้า ฟังได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,200เหรียญฮ่องกง มิใช่ราคากิโลกรัมละ 750 เหรียญฮ่องกง ดังที่โจทก์สำแดงราคาไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายจ่ายที่ต้องห้ามทางภาษี กรณีพนักงานทำงานให้หลายบริษัท และการเฉลี่ยรายจ่ายระหว่างบริษัท
เมื่อปรากฏว่าพนักงานที่ได้รับเงินเดือนของโจทก์ไม่ได้ทำงานให้บริษัทโจทก์แต่เพียงแห่งเดียว แต่ยังได้ทำงานให้บริษัทอื่นด้วยโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าเป็นสัดส่วนมากน้อยเท่าใด รายจ่ายของโจทก์ที่เป็นเงินเดือน โบนัส และค่าตอบแทนอื่น ๆ ของพนักงานของโจทก์จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามบางส่วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี ส่วนรายจ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าวิทยุ โทรพิมพ์และค่าธรรมเนียมการใช้วิทยุโทรพิมพ์ของโจทก์นั้น เมื่อไม่ได้เป็นรายจ่ายเฉพาะการใช้ในกิจการของโจทก์ หากแต่เป็นรายจ่ายที่รวมอยู่กับการใช้ในกิจการของบริษัทอื่นด้วยโดยไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าเป็นส่วนสัดมากน้อยเท่าใด รายจ่ายของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามบางส่วนตามมาตรา 65 ตรี เช่นกัน
โจทก์ประกอบกิจการตัวแทนนายหน้าเป็นส่วนใหญ่ มิได้ลงทุนด้วยเงิน รายได้เบื้องต้นของโจทก์ก็คือรายรับที่ได้จากค่านายหน้า ส่วนบริษัท ม. ประกอบกิจการซื้อขายสิ่งทอภายในประเทศ มีการลงทุนด้วยเงินในการซื้อสินค้าและเมื่อขายสินค้าได้เงินเป็นรายรับมา ในกรณีมีกำไรรายรับย่อมหมายถึงต้นทุนบวกด้วยกำไรขั้นต้น และถือได้ว่ากำไรขั้นต้นนั้นคือรายได้เบื้องต้นจากการประกอบกิจการของบริษัท การคิดเฉลี่ยรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทดังกล่าวจะต้องคิดจากฐานที่เหมือนกันหรือพอเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้นการเฉลี่ยแบ่งรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทที่ถูกต้องและเป็นธรรม ทางฝ่ายบริษัท ม. จะต้องคิดมาจากรายได้เบื้องต้นดังกล่าวเป็นฐานในการคำนวณ การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณหารายจ่ายเฉลี่ยโดยนำเอายอดรายรับซึ่งรวมต้นทุนของสินค้าเข้าไว้ด้วยมาเป็นฐานในการคำนวณ ทำให้ส่วนเฉลี่ยรายจ่ายของโจทก์มีเป็นจำนวน้อยและเป็นเหตุให้รายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์มีเป็นจำนวนมากนับว่าไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินปรับปรุงรายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง
โจทก์ประกอบกิจการตัวแทนนายหน้าเป็นส่วนใหญ่ มิได้ลงทุนด้วยเงิน รายได้เบื้องต้นของโจทก์ก็คือรายรับที่ได้จากค่านายหน้า ส่วนบริษัท ม. ประกอบกิจการซื้อขายสิ่งทอภายในประเทศ มีการลงทุนด้วยเงินในการซื้อสินค้าและเมื่อขายสินค้าได้เงินเป็นรายรับมา ในกรณีมีกำไรรายรับย่อมหมายถึงต้นทุนบวกด้วยกำไรขั้นต้น และถือได้ว่ากำไรขั้นต้นนั้นคือรายได้เบื้องต้นจากการประกอบกิจการของบริษัท การคิดเฉลี่ยรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทดังกล่าวจะต้องคิดจากฐานที่เหมือนกันหรือพอเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้นการเฉลี่ยแบ่งรายจ่ายระหว่าง 2 บริษัทที่ถูกต้องและเป็นธรรม ทางฝ่ายบริษัท ม. จะต้องคิดมาจากรายได้เบื้องต้นดังกล่าวเป็นฐานในการคำนวณ การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณหารายจ่ายเฉลี่ยโดยนำเอายอดรายรับซึ่งรวมต้นทุนของสินค้าเข้าไว้ด้วยมาเป็นฐานในการคำนวณ ทำให้ส่วนเฉลี่ยรายจ่ายของโจทก์มีเป็นจำนวน้อยและเป็นเหตุให้รายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์มีเป็นจำนวนมากนับว่าไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินปรับปรุงรายจ่ายที่ต้องห้ามของโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายสำหรับพนักงานที่เข้าทำงานระหว่างปี: เกณฑ์การคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับจริง
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา39เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ต้องเป็นสิ่งที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาแล้ว. การคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้เท่าจำนวนที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียเท่านั้นคือต้องคำนวณจากเงินได้ที่ผู้มีเงินได้รับแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าควรจะได้รับต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีเท่านั้นดังนั้นวิธีคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายสำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีที่ถูกต้องคือให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปีเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน. ฟ้องของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะ2รายการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิธีคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้เข้าทำงาน/ได้เงินเดือนขึ้นระหว่างปี ต้องคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับจริง
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50(1) สำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปี หรือได้รับเงินเดือนขึ้นระหว่างปีนั้น ให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปี เป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ หากมีการจ่ายเงินโบนัสก็จะนำเงินโบนัสรวมกับเงินเดือนที่จ่ายเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีด้วย แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับพนักงานที่เข้าทำงาน/ได้ขึ้นเงินเดือนระหว่างปี ต้องคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับจริงเท่านั้น
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50(1) สำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีหรือได้รับเงินเดือนขึ้นระหว่างปีนั้น ให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปี เป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ หากมีการจ่ายเงินโบนัสก็จะนำเงินโบนัสรวมกับเงินเดือนที่จ่ายเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีด้วย แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าส่วนแบ่งกำไรเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษี: รายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร
โจทก์ผู้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันมีกำไรสำหรับการดำเนินการในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2515 และปี พ.ศ. 2516 โจทก์ แบ่งผลกำไรร้อยละ 25 ให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เงินกำไร ที่แบ่งให้นั้นจึงเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไร ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(19) แม้จะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าตามสัญญาเช่า ก็ตาม ก็ไม่ยกเว้นให้กระทำได้
โจทก์ยื่นแบบรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ไม่ถูกต้องโดยนำรายจ่ายอันเป็นรายการที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่าย เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินแจ้งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระอีก และให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 และมาตรา 22
โจทก์ยื่นแบบรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ไม่ถูกต้องโดยนำรายจ่ายอันเป็นรายการที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่าย เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินแจ้งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระอีก และให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 และมาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้ที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้าง ต้องคำนวณตามเงินได้ที่ลูกจ้างต้องเสียจริง ไม่ใช่คำนวณซ้ำจนกว่ายอดคงที่
จำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้เพิ่ม 5,680.68 บาทโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
เงินที่นายจ้างออกชำระภาษีแทนลูกจ้างต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ครั้งเดียว แต่จะคำนวณซ้ำแล้วซ้ำอีกถึง 17 ครั้งไม่ได้นายจ้างอุทธรณ์การประเมินได้เช่นเดียวกับลูกจ้าง
เงินที่นายจ้างออกชำระภาษีแทนลูกจ้างต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ครั้งเดียว แต่จะคำนวณซ้ำแล้วซ้ำอีกถึง 17 ครั้งไม่ได้นายจ้างอุทธรณ์การประเมินได้เช่นเดียวกับลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้กรณีนายจ้างจ่ายภาษีให้ลูกจ้าง ต้องรวมเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อคำนวณภาษีที่ถูกต้อง
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีของลูกจ้างผู้ใดนั้น ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่าลูกจ้างผู้นั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตนเป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ที่ลูกจ้างจะต้องเสียจำนวนนี้ หากนายจ้างออกให้ก็จะต้องนำมารวมกับรายได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้างเพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมิน.ทั้งสิ้นของลูกจ้าง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) แต่จะคำนวณทำนองนี้ต่อไปซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีป้าย: เลือกวิธีคำนวณแบบ ก. หรือ ข. แบบใดแบบหนึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีอากร
ป้ายพิพาทคำนวณพื้นที่ได้สองแบบ คือ ตามแบบ ก. หรือ แบบ ข.แบบบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ถ้าคำนวณตามแบบ ก. คือถือว่าป้ายมีขอบเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1,200 เซนติเมตรยาว 3,000 เซนติเมตร แม้ด้านบนมีตัวอักษร ที ในภาษาอังกฤษล้ำออกจากขอบเขต 75 เซนติเมตรก็ตาม จะถือว่าป้ายมีความกว้าง 1,275 เซนติเมตรไม่ได้เพราะด้านบนของตัวอักษร ที นั้นไม่ใช่ขอบเขตของป้ายตามแบบ ก. ของบัญชีอัตราภาษีป้ายดังกล่าว ถ้าคำนวณตามแบบ ข. คือถือเอาตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมายเป็นเกณฑ์ ป้ายจะมีความกว้าง 1,205 เซนติเมตร และยาว 2,650เซนติเมตร จะวัดขอบเขตของป้ายเข้าไว้ในเนื้อที่ป้ายด้วยไม่ได้ เพราะขอบเขตของป้ายมิใช่ตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมาย
จริงอยู่ตามบัญชีอัตราภาษีป้ายดังกล่าวไม่ได้ห้ามการคำนวณเนื้อที่ป้ายโดยวิธีคำนวณแบบ ก. และ ข. รวมกันโดยตรงก็ดี แต่พระราชบัญญัติภาษีป้ายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หากจะต้องตีความเพราะตัวบทกฎหมายไม่แจ้งชัดเช่นนี้ ก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่ไม่เป็นโทษแก่ราษฎรผู้จะต้องเสียภาษีอากรเมื่อพิเคราะห์บัญญัติ ที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัตินี้แล้วอนุมานได้ว่าเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ คือ จะต้องประเมินภาษีป้ายโดยเลือกคำนวณเนื้อที่ป้ายเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งในสองแบบนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เลือกคำนวณตามแบบ ก. แล้ว ก็ต้องคำนวณตามแบบนั้น
จริงอยู่ตามบัญชีอัตราภาษีป้ายดังกล่าวไม่ได้ห้ามการคำนวณเนื้อที่ป้ายโดยวิธีคำนวณแบบ ก. และ ข. รวมกันโดยตรงก็ดี แต่พระราชบัญญัติภาษีป้ายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หากจะต้องตีความเพราะตัวบทกฎหมายไม่แจ้งชัดเช่นนี้ ก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่ไม่เป็นโทษแก่ราษฎรผู้จะต้องเสียภาษีอากรเมื่อพิเคราะห์บัญญัติ ที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัตินี้แล้วอนุมานได้ว่าเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ คือ จะต้องประเมินภาษีป้ายโดยเลือกคำนวณเนื้อที่ป้ายเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งในสองแบบนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เลือกคำนวณตามแบบ ก. แล้ว ก็ต้องคำนวณตามแบบนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคา CIF สำหรับคำนวณภาษี: ราคาตลาดหลังหักส่วนลดเป็นเกณฑ์ที่ถูกต้อง
โจทก์สั่งสินค้าอุปกรณ์ท่อน้ำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร ราคาสินค้าดังกล่าวที่เสนอขายเป็นราคามาตรฐานสากล แต่ผู้ขายหักส่วนลดให้โจทก์ 58% ราคาที่หักส่วนลดแล้วเป็นราคาตลาด ดังนี้ ต้องถือราคาที่หักส่วนลดแล้วเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. ที่จะคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร เพราะรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 (6) หมายความว่ามูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร ซึ่งมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้ความหมายคำว่า มูลค่าว่า ราคาตลาดของทรัพย์สิน ทั้งโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตผ่านธนาคารและชำระเงินไปตามตั๋วแลกเงินในจำนวนราคาที่หักส่วนลดแล้ว ราคาสินค้าที่หักส่วนลดนี้จึงเป็นราคาที่แท้จริง เป็นราคาตลาดและราคา ซี.ไอ.เอฟ. ที่ถูกต้องเชื่อถือได้ จำเลยไม่มีอำนาจที่จะอาศัยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) ประเมินราคา ซี.ไอ.เอฟ. ใหม่ โดยถือเอาราคาสินค้าก่อนหักส่วนลดเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ.มาเป็นหลักในการประเมินภาษีการค้าของโจทก์อีก