คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำนวณโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณลดโทษทางอาญา: ลดมาตราส่วนโทษและลดโทษจากคำรับสารภาพ ต้องคำนวณตามลำดับและถูกต้อง
ฎีกาที่ว่า ศาลอุทธรณ์คำนวณการลดโทษให้จำเลยไม่ถูกต้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าและการลงโทษ: การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าและการคำนวณโทษที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกับพวกใช้อาวุธปืนยิง ส. ได้รับอันตรายสาหัส โดยมีเจตนาฆ่าขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,297 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาฆ่า การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 288,80 บทเดียว ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 297 อีกบทหนึ่งด้วย
ศาลชั้นต้นคำนวณการลดโทษให้ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาคำนวณให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356-1521/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีอาญาหลายกรรมต่างวาระและการคำนวณโทษ จำเลยต้องรับโทษตามจำนวนวันจริง ไม่ใช่การทอนเป็นปีเดือน
การกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกันถึง 166 ครั้งนั้น เพื่อความสดวกศาลแขวงจะรวมคดีทั้ง 166 สำนวนพิจารณาพิพากษารวมกันก็ได้ และเมื่อศาลแขวงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละสำนวนโดยมีกำหนดโทษซึ่งอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะลงแล้ว แม้ในที่สุดจำเลยจะต้องรับโทษถึง 2490 วัน ก็ย่อมทำได้
การลงโทษเรียงสำนวนทั้ง 166 สำนวน พึ่งให้นับโทษติดต่อกันไปไม่จำต้องรวมโทษทุกสำนวนเข้าด้วยกันแล้วคิดทอนจากวันเป็นปีเดือน เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษจริงเกินกว่าโทษที่จะต้องรับโดยการนับโทษติดต่อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356-1521/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมคดีหลายสำนวนเพื่อลงโทษและการคำนวณโทษจำคุกที่ถูกต้อง
การกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกันถึง 166 ครั้ง นั้นเพื่อความสะดวกศาลแขวงจะรวมคดีทั้ง 166 สำนวนพิจารณาพิพากษารวมกันก็ได้และเมื่อศาลแขวงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละสำนวนโดยมีกำหนดโทษซึ่งอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะลงแล้ว แม้ในที่สุดจำเลยจะต้องรับโทษถึง 2490 วัน ก็ย่อมทำได้
การลงโทษเรียงสำนวนทั้ง 166 สำนวน พึงให้นับโทษติดต่อกันไปไม่จำต้องรวมโทษทุกสำนวนเข้าด้วยกันแล้วคิดทอนจากวันเป็นปีเดือน เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษจริงเกินกว่าโทษที่จะต้องรับโดยการนับโทษติดต่อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ต้องคิดจากโทษที่เหลืออยู่จากการลดครั้งก่อน ไม่ใช่จากโทษเดิม
การคำนวณลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเกี่ยวกับลักษณะโทษนั้น ต้องถือกำหนดโทษที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาแต่เมื่อกำหนดโทษตามคำพิพากษาได้ลดลงตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ คงเหลือเท่าใดแล้ว กำหนดโทษที่เหลืออยู่นั้น ก็ต้องถือเป็นกำหนดโทษหรือเกณฑ์ของโทษที่จะต้องรับอาญาต่อไป ถ้ามีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษต่อมาให้ลดโทษ ก็จะลดโทษจากกำหนดโทษซึ่งได้ลดมาจากคราวก่อน และคงเหลืออยู่นั้นจะถือตามโทษเดิมคงที่อยู่ไม่ได้เพราะได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาด: ศาลมีอำนาจแก้การคำนวณโทษที่ผิดพลาดได้ตาม ป.วิ.อาญา ม.๑๙๐ โดยไม่ถือว่าเป็นการแก้ไขคำพิพากษา
คำพิพากษาซึ่งมีคำวินิจฉัยให้ลดโทษฐานปราณีให้จำเลยแต่ศาลหลงลืมมิได้หักลดโทษให้ตรงกับความเป็นจริงนั้นศาลมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหลงลืมนี้ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาด: ศาลมีอำนาจแก้ไขการคำนวณโทษที่ไม่ถูกต้องได้ แม้คำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คำพิพากษาซึ่งมีคำวินิจฉัยให้ลดโทษฐานปราณีให้จำเลย แต่ศาลหลงลืมมิได้หักลดโทษให้ตรงกับความเป็นจริงนั้น ศาลมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหลงลืมนี้ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษปรับในคดีฝิ่น: ราคาฝิ่นที่ใช้คำนวณโทษต้องเป็นราคาที่รัฐบาลจำหน่ายจริง
ฟ้องว่าจำเลยมีฝิ่นโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ไม่สืบถึงราคาฝิ่นที่รัฐบาลในท้องที่เกิดเหตุเช่นนี้ ศาล ลงโทษปรับ จำเลยในอัตราคั่นต่ำ คือ 50 บาท กล่าวในฟ้องว่า จำเลยมีฝิ่นดิบราคา 101 บาท 44 สตางค์ จำเลยรับว่าได้มีฝิ่นดิบไว้จริงดังนี้จะถือว่าจำเลยให้การรับถึงราคาฝิ่นที่กล่าวในฟ้องด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณโทษจำคุกเพื่อรับพระราชทานอภัยโทษ - ต้องพิจารณาทุกกระทงความผิด
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านทั้งสี่คำนวณวันต้องโทษจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2547 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2549 และ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2550 ผิดพลาด กรณีเป็นเรื่องชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2553 และ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2554 นั้น จำเลยที่ 2 เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้ (3) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต" ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายความว่า กรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปี เว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และคำว่า "เว้นแต่กรณีศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต" นั้น หมายความว่า หากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว เมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวม ศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น คดีนี้ความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ศาลวางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษจำคุกในความผิดฐานร่วมกันขายเมทแอมเฟตามีน 50 ปี ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต 3 ปี ฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ 2 ปี และฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมารวมลงโทษแก่จำเลยที่ 2 ได้ แต่จำเลยที่ 2 ยังคงมีความผิดและต้องโทษจำคุกในความผิดทั้งสี่ฐานดังกล่าว มิใช่ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิตเพียงอย่างเดียว
พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2547 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2549 และ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2550 มาตรา 3 บัญญัติให้ความหมายคำว่า กำหนดโทษ ทำนองเดียวกันว่า "กำหนดโทษซึ่งศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุด หรือ กำหนดโทษตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ หรือกำหนดโทษดังกล่าวที่ได้ลดโทษลงแล้วโดยการได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือโดยเหตุอื่น" โทษจำคุกที่จำเลยที่ 2 ได้รับเป็นโทษซึ่งศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุด ดังนี้ ในการพิจารณาว่าจำเลยที่ 2 จะได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2547 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2549 และ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2550 เพียงใดจึงต้องพิจารณาตามกำหนดโทษจำคุกที่จำเลยที่ 2 ได้รับเป็นโทษซึ่งศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุดแต่ละกระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10048/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องคดีอาญาและการคำนวณโทษปรับที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เดิมโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 530 เม็ด น้ำหนัก 20.188 กรัม ต่อมาโจทก์ขอแก้ฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนคำนวณสารบริสุทธิ์ 20.188 กรัม เพื่อให้ตรงตามรายงานการตรวจพิสูจน์ จำเลยทั้งสองรับสารภาพว่าร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 530 เม็ด น้ำหนัก 20.188 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ปฏิเสธว่าไม่ได้ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20.188 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยทั้งสามจึงมิได้หลงต่อสู้ การขอแก้ฟ้องจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสามเสียเปรียบ
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามคนละ 1,000,000 บาท ลดโทษให้คนละหนึ่งในสาม คงปรับคนละ 666,666 บาท เป็นการคำนวณที่ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับคนละ 666,666.66 บาท ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสามคนละ 666,666.66 บาท ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสาม ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
of 4