คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำพิพากษาตามยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ ต้องมีหนี้ประธานก่อนบังคับจำนอง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันมีคำพิพากษาตามยอม
หนี้จำนองโดยสภาพเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธานเสียก่อนการบังคับจำนองเอาแก่ทรัพย์จำนองจึงจะกระทำได้ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาจำนองอันดับที่ 1 กับจำเลยไว้ก่อนก็ตาม แต่เมื่อการไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นหนี้ประธานในคดีนี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาจำนองดังกล่าว ดังนี้โจทก์จะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(1)เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี ตามมาตราดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดีหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม เริ่มนับจากวันที่ผิดนัดชำระ ไม่ใช่จากวันมีคำพิพากษา
ศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2529ให้จำเลยผ่อนชำระตามจำนวนเงินที่ระบุและภายในระยะเวลาที่กำหนดเป็นคราว ๆ โดยชำระครั้งแรกวันที่ 27 พฤษภาคม2529 เป็นเงิน 50,000 บาท และส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 8,000 บาท ทุก ๆ วันที่ 27 ของเดือนเริ่มนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2529 จนกว่าจะชำระเสร็จเมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้ผู้ร้องเพียง 3 งวด จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ผู้ร้องตั้งแต่ งวดที่ 4 ประจำวันที่ 27 สิงหาคม2529 ดังนั้น ระยะเวลาในการบังคับคดีภายใน 10 ปี ของผู้ร้องจึงจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2529 เป็นต้นไปเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันที่ 25 มิถุนายน 2539 ถือว่าได้ขอบังคับคดีภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม: การชำระหนี้ต่างตอบแทนและการร้องขอให้บังคับคดีภายในอายุความ
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมและมีคำสั่งท้ายคำพิพากษาว่าบังคับตามยอม ทั้งมีคำสั่งไว้ที่หน้าสำนวนว่า บังคับตามยอม หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกยึดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. โดยโจทก์กับจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำบังคับกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับนั้นไว้และจำเลยทราบคำบังคับนั้นแล้ว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะต้องร้องขอให้บังคับคดีอีกชั้นหนึ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ประสงค์จะบังคับคดีโดยนำเงิน18,200,000 บาท มาวางศาลเพื่อชำระแก่จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับ อันเป็นการชำระหนี้ต่างตอบแทนในการขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม แต่คำบังคับของศาลไม่มีกรณีต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต้องยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี การยื่นคำร้องดังกล่าวของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 เมื่อเป็นการร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา และการร้องขอให้บังคับคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับก็ย่อมชอบด้วยกฎหมายด้วย แม้การบังคับคดีจะยังไม่แล้วเสร็จภายในสิบปีก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมและการบังคับคดีภายในสิบปี ศาลพิพากษายืนคำสั่งบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมและมีคำสั่งท้ายคำพิพากษาว่าบังคับตามยอม ทั้งมีคำสั่งไว้ที่หน้าสำนวนว่า บังคับ ตามยอม หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกยึดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยโจทก์กับจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำบังคับกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับนั้นไว้และจำเลยทราบคำบังคับนั้นแล้ว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะ ต้องร้องขอให้บังคับคดีอีกชั้นหนึ่ง โจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ประสงค์จะบังคับคดีโดยนำเงิน18,200,000 บาท มาวางศาลเพื่อชำระแก่จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับ อันเป็นการชำระหนี้ต่างตอบแทนในการขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมแต่คำบังคับของศาลไม่มีกรณีต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต้องยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี การยื่นคำร้องดังกล่าวของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เมื่อเป็นการร้องขอให้บังคับคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับก็ย่อมชอบ ด้วยกฎหมายด้วย แม้การบังคับคดีจะยังไม่แล้วเสร็จภายใน สิบปีก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาฟ้องคดีเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเป็นต้องพิจารณาเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมร่วมด้วย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 7 คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้นให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 (3)...(4)..." และมาตรา 302 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งได้เสนอต่อศาลตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์กล่าวถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดสัญญาที่จำเลยตกลงหรือสัญญาว่าจะเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการโอนสิทธิการเช่าตึก 7 ชั้นคืนให้แก่โจทก์นั้น มิได้แยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอมแล้ว หากแต่เป็นการยอมรับภาระในหนี้ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องผ่อนชำระหนี้ให้ครบจำนวนหนี้ตามข้อ 1 แห่งสัญญาประนีประนอมยอมความจึงจำเป็นต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมด้วยว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วหรือไม่ กรณีเช่นนี้ คำฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่ง และคำฟ้องนี้จำต้องให้ศาลแพ่งวินิจฉัยเสียก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีหรือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นคือศาลแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคดีเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ต้องเสนอต่อศาลที่พิจารณาคดีชั้นต้น
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้นให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302(3)(4)" และ มาตรา 302 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งได้เสนอต่อศาลตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์กล่าวถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดสัญญาที่จำเลยตกลงหรือสัญญาว่าจะเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการโอนสิทธิการเช่าตึก 7 ชั้นคืนให้แก่โจทก์นั้น มิได้แยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอมแล้ว หากแต่เป็นการยอมรับภาระในหนี้ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องผ่อนชำระหนี้ให้ครบจำนวนหนี้ตามข้อ 1แห่งสัญญาประนีประนอมยอมความจึงจำเป็นต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมด้วยว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วหรือไม่ กรณีเช่นนี้คำฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่ง และคำฟ้องนี้จำต้องให้ศาลแพ่งวินิจฉัยเสียก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีหรือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นคือศาลแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5282/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่สัญญา แม้ฝ่ายหนึ่งผิดนัด สิทธิบังคับคดีตามสัญญา
เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ระบุว่า กรณีที่โจทก์ผิดนัดให้เลิกสัญญาได้ ทั้งโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลชั้นต้นโดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความต่อโจทก์ได้ เพราะเป็นกรณีนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นสาระสำคัญแห่งคำพิพากษาตามยอม
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมและมิได้มีการอุทธรณ์คำพิพากษาคดีถึงที่สุด ซึ่งหลังจากนั้นเป็นเรื่องของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยจึงมีเฉพาะสิทธิขอให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาตามยอมที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมความอย่างชัดแจ้งว่าหากโจทก์ผิดนัดยินยอมให้บังคับคดีได้ทันทีโดยการยึดทรัพย์ของโจทก์มาชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย ซึ่งจำเลยก็ได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีแก่โจทก์ และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีไปแล้ว และเมื่อโจทก์นำเงินที่จะต้องชำระตามสัญญา-ประนีประนอมยอมความมาวางศาล โจทก์ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิกระทำได้เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมให้ตนหลุดพ้นจากหนี้ตามคำพิพากษาได้
โจทก์นำเงินตามจำนวนที่คำพิพากษาตามยอมระบุไว้มาวางต่อศาลภายหลังโจทก์ผิดนัดแล้ว เป็นผลเพียงทำให้โจทก์ต้องชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่นำมาวางศาลนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่นำเงินตามคำพิพากษาตามยอมมาวางศาลในอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม แม้มีการแบ่งแยกที่ดิน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยครั้งแรกว่า ศาลชั้นต้นชอบที่จะต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ทั้งสี่ให้ได้ความเสียก่อนว่าเป็นความจริงตามคำร้องของโจทก์ทั้งสี่หรือไม่อย่างไร หากฟังได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 และ 43799เป็นที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย และจำเลยยังไม่ได้ขายเพื่อนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสี่และทายาทภายในกำหนดสัญญา โจทก์ทั้งสี่ก็ชอบที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้และพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นครั้งแรก ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของโจทก์ทั้งสี่แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โจทก์ทั้งสี่และจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งแรก คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว จึงถึงที่สุด ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้ไต่สวนคำร้องของโจทก์ทั้งสี่และมีคำสั่งใหม่แล้ว ดังนี้ ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสี่จะสามารถอ้างสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม เพราะเหตุมีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 5826 ออกเป็นแปลงย่อยหรือไม่ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งแรกแล้วว่าโจทก์ทั้งสี่สามารถบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมได้ จำเลยจึงไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาฎีกาได้อีก
ในชั้นบังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมตามที่เป็นจริงได้ แม้โจทก์และจำเลยจะมิได้ฎีกาเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 โดยจำเลยคงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 5826 และ 43799ให้แก่โจทก์ทั้งสี่คนละหนึ่งในหกส่วนก็ตาม แต่ที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 เป็นที่ดินที่แยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 5826 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทในคดีนี้ และโจทก์ทั้งสี่ได้แก้ฎีกาว่าที่ดินทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 ด้วย ดังนั้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261-4264/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อมีการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(3) ได้ในสองกรณี คือ คำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด หรือหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสีย แต่คำพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ถูกกลับในชั้นที่สุด ทั้งจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์แล้วย่อมถือว่าโจทก์และจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือว่ามีการบังคับคดีที่กำลังดำเนินการอยู่ที่ศาลจะเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979-4982/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอมต่อผู้จัดการมรดกใหม่ และหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
แม้ว่าสัญญาจะซื้อขายที่เจ้ามรดกทำไว้กับโจทก์ทั้งห้าก่อนที่จะถึงแก่ความตายจะมีเพียงบุคคลสิทธิ ไม่ส่งผลให้โจทก์ทั้งห้าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งห้าได้เคยฟ้องกองมรดกของเจ้ามรดกและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าแล้ว แม้ภายหลังจะมีการเพิกถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมและตั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทน คำพิพากษาตามยอมก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนจำเลยที่ 3 แม้ว่าจะเป็นวัดแต่เมื่อได้รับโอนที่ดินพิพาทมาตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกย่อมต้องรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดอันเกี่ยวกับที่ดินที่รับโอนมาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600, 1601 และ 1651 (2) การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ปฏิบัติการชำระหนี้ของเจ้ามรดกที่ก่อไว้ก่อนถึงแก่ความตาย มิใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์หรือศาสนสมบัติกลางอันจะต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ศาลจึงมีคำพิพากษาในส่วนนี้ได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ จำเลย แล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ายังมีข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยอยู่อีกและข้อเท็จจริงนี้อาจเป็นผลให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงไป สมควรที่จะฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความให้สิ้นกระแสความเสียก่อน จึงสมควรให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ข) ประกอบด้วยมาตรา 247
of 13