คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำพิพากษาผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6455/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น vs. ทางภาระจำยอม: คำพิพากษาผูกพัน ห้ามรื้อร้อง
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ขอใช้ทางโดยระบุว่าเป็นทางจำเป็น คดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลฟังว่าเป็นทางจำเป็น คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่อาจกล่าวอ้างในภายหลังว่าเป็นทางภาระจำยอม คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นแก่โจทก์ การที่จำเลยฟ้องแย้งว่าเป็นทางภาระจำยอม โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าเป็นทางภาระจำยอม จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ทั้งต้องฟังว่าที่ดินของโจทก์เป็นทางจำเป็น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินผูกพันคดีขับไล่ภายหลังได้
ในคดีก่อนโจทก์บังคับคดีขับไล่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นบริวารของ บ. ให้ออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่พิพาทเดียวกันกับคดีนี้ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษว่าไม่ใช่บริวารของจำเลยเพราะที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง เมื่อคำร้องดังกล่าวตั้งประเด็นว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีดังกล่าวจึงมีว่า ที่ดินเนื้อที่ 30 ไร่ ตามที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของผู้ร้องนั้นเป็นของโจทก์หรือไม่ ซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้องและผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่ผู้ร้อง ดังนี้ คำวินิจฉัยที่รับฟังว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นคำวินิจฉัยที่มีประเด็นแห่งคดีเดียวกันกับคดีนี้ ผลแห่งคำวินิจฉัยย่อมผูกพันโจทก์และผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยของคำพิพากษาดังกล่าวได้ ข้อเท็จจริงจึงต้องถือตามว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของผู้ร้อง หรือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1
เมื่อคดีแพ่งของศาลชั้นต้น มี บ. เป็นโจทก์ ว. และ ด. เป็นจำเลย โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความด้วย คำวินิจฉัยที่ให้ บ. ชนะคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ ส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มาด้วยโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในที่พิพาทโดยความยิมยอมของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิในที่พิพาทนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในที่พิพาทโดยความยินยอมของเจ้าของที่พิพาทแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 และที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความในคดีก่อนหน้าย่อมมีผลผูกพันในคดีต่อมา แม้ผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นคู่ความ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ต่างเป็นคู่ความในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อและพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) โดยรับรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปในสภาพปัจจุบัน คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสามในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะกล่าวอ้างหรือโต้เถียงให้ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้แตกต่างไปจากเดิมไม่ได้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย เมื่อเป็นกรณีคำพิพากษาผูกพันคู่ความแล้วก็ต้องฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้เพื่อให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้ออีก
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระค่าเสียหาย 1,090,000 บาท แต่มาฎีกาโต้แย้งเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ 1,090,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่คู่ความยังโต้แย้งกันอยู่
of 3