พบผลลัพธ์ทั้งหมด 886 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดียาเสพติดและการลงโทษตามปริมาณสารบริสุทธิ์ ศาลต้องยึดตามที่ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 2,000 เม็ด น้ำหนัก 177.9 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจำนวน 1,000 เม็ด น้ำหนัก 88.95 กรัม โดยการขายให้แก่สายลับ ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 102 เป็นการบรรยายฟ้องตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม) แม้โจทก์จะนำสืบว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 45.327 กรัม ซึ่งถ้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไปให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษตามมาตรา 66 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) อันมีระวางโทษหนักกว่ามาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เท่าใด จึงไม่อาจลงโทษตามมาตรา 66 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งมีระวางโทษหนักกว่ามาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) และเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ความผิดหลายกระทง การลดโทษต้องลดเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษไม่ใช่รวมโทษทุกกระทงก่อนแล้วจึงลด
ความผิดหลายกระทง การลดโทษต้องลดเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษไม่ใช่รวมโทษทุกกระทงก่อนแล้วจึงลด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5593/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินเลยขอบเขตคำฟ้อง: การครอบครองปรปักษ์และการแลกเปลี่ยนที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเอาที่ดินของจำเลยมาแลกเปลี่ยนกับที่ดินมือเปล่าซึ่งเป็นที่สวนของโจทก์ทั้งสอง โดยให้โจทก์ทั้งสองได้คนละครึ่ง โจทก์ทั้งสองได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งแยกให้โจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การว่า ไม่ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกับโจทก์ทั้งสอง จำเลยตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกับน้องสาวของจำเลยแต่ต่อมาได้ยกเลิกสัญญากันและน้องสาวได้นำที่ดินแปลงที่จะแลกเปลี่ยนไปออกเป็นโฉนดของน้องสาวเองแล้ว โจทก์ที่ 1 เข้าอยู่อาศัยโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย ตามคำฟ้องมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยสละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ได้แย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ดังนั้น คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยสละสิทธิครอบครองแก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 แย่งการครอบครองจากจำเลยเพราะจำเลยไม่ฟ้องเอาคืนภายใน 1 ปี ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษจำเลยเกินคำฟ้องฐานใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาแก้ไขโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมในฟ้องข้อ ข. ว่า "หลังจากจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำผิดดังกล่าวตามฟ้องข้อ ก. แล้ว จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้บังอาจนำเอกสารราชการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำปลอมขึ้นดังกล่าว อ้างแสดงต่อองค์การบริหารส่วนตำบลกกโก เพื่อหลอกลวง..." คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวบรรยายถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม โจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน และความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญาที่อ้างถึงคำสั่งทางปกครอง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ซึ่งมิได้บัญญัติให้คู่ความต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีเพื่อมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ และผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีคำส่งระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด โดยโจทก์ได้แนบคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งดังกล่าวของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เท้าความอ้างเหตุว่า มีการดำเนินการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดมลภาวะและความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติโดยรวม ในตอนท้ายคำสั่งมีข้อความว่า จึงมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด จากคำสั่งดังกล่าวมีความหมายอยู่ในตัวว่าให้ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ แม้ตอนท้ายของคำสั่งจะมิได้ระบุคำว่าระบบความเค็มต่ำตอนท้ายคำว่ากุ้งกุลาดำเอาไว้ แต่ตอนต้นของคำสั่งได้เท้าความอ้างเหตุความเสียหายของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเอาไว้ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ออกตามที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้องและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาว่า จำเลยเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ 9 บ่อ แต่ละบ่อมีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ในเขตหมู่ที่ 1 ตำบลหนองน้ำใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาย่อมมีความหมายว่า จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นเอง คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้วหาเคลือบคลุมไม่
คำสั่งของนายกรัฐมนตรี และคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่แนบท้ายฟ้อง เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความมีอยู่จริงของเอกสารและความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร หาใช่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีเพื่อมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ และผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีคำส่งระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด โดยโจทก์ได้แนบคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งดังกล่าวของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เท้าความอ้างเหตุว่า มีการดำเนินการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดมลภาวะและความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติโดยรวม ในตอนท้ายคำสั่งมีข้อความว่า จึงมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด จากคำสั่งดังกล่าวมีความหมายอยู่ในตัวว่าให้ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ แม้ตอนท้ายของคำสั่งจะมิได้ระบุคำว่าระบบความเค็มต่ำตอนท้ายคำว่ากุ้งกุลาดำเอาไว้ แต่ตอนต้นของคำสั่งได้เท้าความอ้างเหตุความเสียหายของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเอาไว้ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ออกตามที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้องและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาว่า จำเลยเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ 9 บ่อ แต่ละบ่อมีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ในเขตหมู่ที่ 1 ตำบลหนองน้ำใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาย่อมมีความหมายว่า จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นเอง คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้วหาเคลือบคลุมไม่
คำสั่งของนายกรัฐมนตรี และคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่แนบท้ายฟ้อง เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความมีอยู่จริงของเอกสารและความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร หาใช่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องครบถ้วน การอ้างอิงคำสั่งนายกฯ/ผู้ว่าฯ เป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข้อกฎหมาย ฟ้องไม่เคลือบคลุม
คำสั่งของนายกรัฐมนตรีและคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่แนบท้ายฟ้องเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความมีอยู่จริงของเอกสารและความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร ถือเป็นข้อเท็จจริงประกอบให้ฟ้องสมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) มิใช่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายฟ้องตามมาตรา 158 (6) ฉะนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ ฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยได้แนบคำสั่งของนายกรัฐมนตรีและคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้เท้าความอ้างเหตุถึงการมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่โดยเด็ดขาด แม้ตอนท้ายของคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดจะมิได้ระบุคำว่าความเค็มต่ำตอนท้ายคำว่ากุ้งกุลาดำเอาไว้ แต่ตอนต้นของคำสั่งได้เท้าความอ้างเหตุความเสียหายของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำไว้ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นคำสั่งที่ออกตามที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้อง และเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคำฟ้องโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างของข้อเท็จจริงในคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา ทำให้ศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกซึ่งเป็นจำเลยในคดีอื่นร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1,178 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ตามทางพิจารณาได้ความว่า ในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้เฉพาะ ช. จำเลยในอีกคดีหนึ่งพร้อมของกลาง จึงแจ้งข้อหาแก่ ช. ว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ช. ให้การรับสารภาพ โดยอ้างว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจากจำเลย และนำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้บ้านจำเลยเพื่อทำการตรวจค้นแต่ไม่พบจำเลย จึงออกหมายจับไว้และต่อมาจึงจับจำเลยได้ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงว่าในวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง ช. มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงผู้เดียวโดยลำพัง จำเลยไม่ได้เป็นตัวการร่วมกับ ช. กระทำความผิดข้อหานี้ตาม ป.อ. มาตรา 83 ดังที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการแตกต่างกันอย่างมากในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเกินคำฟ้อง: ศาลไม่อาจพิพากษาในส่วนที่ไม่ได้บรรยายไว้ แม้มีคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาซื้อหินอ่อนและหินแกรนิตกับโจทก์ในราคา 1,770,000 บาท ชำระมัดจำงวดแรกร้อยละ 20 ของราคาหินเป็นเงิน 354,000 บาท งวดต่อไปชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันส่งหินให้และออกใบแจ้งหนี้/ใบวางบิลเรียกเก็บเงิน โจทก์ส่งหินอ่อนและหินแกรนิตให้จำเลยตามสัญญาและเรียกเก็บเงินเรื่อยมา ปรากฏว่าจำเลยค้างชำระค่าหินอ่อนและหินแกรนิตโจทก์เป็นเงิน 578,329.95 บาท ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบว่ายอดเงินที่จำเลยค้างชำระดังกล่าวมียอดเงินที่จำเลยสั่งซื้อหินอ่อนและหินแกรนิตเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาที่โจทก์จำเลยทำสัญญากันไว้จำนวน 137,561.08 บาท รวมอยู่ด้วย ซึ่งโจทก์ไม่ได้บรรยายไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมีคำขอให้ชำระเงินในส่วนนี้ปนรวมมาด้วยก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าหินอ่อนและหินแกรนิตที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากสัญญาที่จำเลยทำสัญญาซื้อกับโจทก์ตามที่ปรากฏในคำฟ้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องวงแชร์ การไม่ระบุรายละเอียดการเล่นแชร์ไม่ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์ทั้งห้ากับพวกเป็นลูกวงแชร์ซึ่งมีจำเลยเป็นนายวงแชร์เป็นแชร์ชนิดดอกตาม 9 วง หุ้นละ 500 บาท 8 วง และหุ้นละ 300 บาท 1 วง กำหนดประมูลแชร์วันที่ 5, 15, 20, 25, 30 ของทุกเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2537 จำเลยมีหน้าที่เรียกเก็บเงินจากลูกวงแชร์มาให้ผู้ประมูลได้ หากเรียกเก็บจากลูกวงแชร์คนใดไม่ได้ จำเลยต้องชำระเงินแทนไปก่อนแล้วเรียกเก็บเอาภายหลัง และหากจำเลยไม่มอบเงินกองกลางให้แก่ผู้ประมูลได้ ถือว่าจำเลยผิดสัญญาต้องใช้เงินกองกลางทั้งหมดแก่ลูกวงแชร์ จำเลยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนโดยได้รับเงินกองกลางวงแชร์งวดแรกไปใช้ประโยชน์ก่อนโดยไม่ต้องประมูล ต่อมาวงแชร์ล้มโดยที่โจทก์ทั้งห้ายังไม่ได้ประมูล จำเลยในฐานะนายวงแชร์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่างวดรวมทั้งดอกเบี้ยแชร์แก่โจทก์ทั้งห้า คำฟ้องดังกล่าวได้บรรยายให้เห็นถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ทั้งห้ากับจำเลยแล้วว่าเป็นอย่างไร และจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งห้าเพราะเหตุใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์แต่ละคนร่วมเล่นแชร์วงที่เท่าใด เล่นคนละกี่มือ แชร์แต่ละวงที่ร่วมเล่นมีการประมูลไปแล้วกี่มือ ยังไม่ได้ประมูลกี่มือ โจทก์แต่ละคนส่งค่าแชร์ไปแล้วกี่งวดเป็นเงินเท่าใด และยังค้างส่งอีกกี่งวด นั้น แม้จะไม่บรรยายมาในคำฟ้องก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ทั้งห้าจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ไม่เคลือบคลุมแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอคืนนามบัตรลูกค้าต้องชัดเจนและพิสูจน์ได้ มิเช่นนั้นศาลไม่สามารถบังคับได้ และการพิพากษาต้องเป็นไปตามคำขอในฟ้อง
คำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเรื่องเงินโบนัส ได้บรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้เงินจากจำเลยเป็นจำนวนเท่าใด อันเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา แต่โจทก์ไม่ได้ขอให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ในคำขอท้ายคำฟ้อง ศาลแรงงานกลางจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง แม้ศาลแรงงานกลางจะกำหนดเป็นประเด็นว่า จำเลยจะต้องจ่ายเงินโบนัสแก่โจทก์หรือไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางกำหนดไว้ผิดหลงไปเท่านั้น
ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง หมายความว่า โจทก์จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้อะไรหรือกระทำการใด หรืองดเว้นกระทำการใด ก็ต้องบรรยายให้แจ้งชัดในคำขอบังคับท้ายคำฟ้องและพิสูจน์ให้เห็นตามคำขอบังคับนั้นเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับของศาลที่ออกตามคำพิพากษาได้อย่างถูกต้อง หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็สามารถบังคับคดีได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยยึดนามบัตรของลูกค้าประมาณ 2,000 แผ่น ที่ติดต่อกับโจทก์ไว้ และมีคำขอบังคับท้ายคำฟ้องขอให้จำเลยคืนนามบัตรประมาณ 2,000 แผ่นนั้นให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่านามบัตรที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนให้โจทก์นั้น เป็นนามบัตรของใครมีชื่ออะไรบ้าง ศาลย่อมไม่สามารถบังคับให้จำเลยคืนนามบัตรที่ถูกต้องให้แก่โจทก์ หากศาลพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ จำเลยก็ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ การที่ศาลแรงงานกลางไม่พิพากษาบังคับให้จำเลยคืนนามบัตรประมาณ 2,000 แผ่น ให้แก่โจทก์นั้นชอบแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง หมายความว่า โจทก์จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้อะไรหรือกระทำการใด หรืองดเว้นกระทำการใด ก็ต้องบรรยายให้แจ้งชัดในคำขอบังคับท้ายคำฟ้องและพิสูจน์ให้เห็นตามคำขอบังคับนั้นเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับของศาลที่ออกตามคำพิพากษาได้อย่างถูกต้อง หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็สามารถบังคับคดีได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยยึดนามบัตรของลูกค้าประมาณ 2,000 แผ่น ที่ติดต่อกับโจทก์ไว้ และมีคำขอบังคับท้ายคำฟ้องขอให้จำเลยคืนนามบัตรประมาณ 2,000 แผ่นนั้นให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่านามบัตรที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนให้โจทก์นั้น เป็นนามบัตรของใครมีชื่ออะไรบ้าง ศาลย่อมไม่สามารถบังคับให้จำเลยคืนนามบัตรที่ถูกต้องให้แก่โจทก์ หากศาลพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ จำเลยก็ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ การที่ศาลแรงงานกลางไม่พิพากษาบังคับให้จำเลยคืนนามบัตรประมาณ 2,000 แผ่น ให้แก่โจทก์นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ชอบ ศาลไม่รับพิจารณา เหตุไม่เกี่ยวข้องกับข้อหาเดิมในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมตึกแถว จำเลยเข้ามาอยู่อาศัยในตึกแถวโดยโจทก์ไม่ได้อนุญาต เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์กับผู้มีชื่อได้ร่วมกันข่มขู่ให้จำเลยออกจากที่ดินและให้นำเงินไปชำระแก่โจทก์ โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลในคดีที่โจทก์กับ ป. ถูก ส. ยื่นฟ้องเป็นจำเลยและศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้โจทก์โอนหุ้นรวมทั้งห้ามทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ จ. การกระทำของโจทก์เป็นการละเมิดและรอนสิทธิการเช่าของจำเลย ทำให้จำเลยไม่สามารถครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินรวมทั้งต้องว่าจ้างทนายความมาดำเนินการแก้ต่าง ขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำละเมิดอันเป็นเรื่องอื่นซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 179 วรรคสาม