พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1520/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา การวางค่าธรรมเนียม และการคืนค่าธรรมเนียมศาล
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้สืบพยานโจทก์ต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องชำระให้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ภายใน 15 วัน จำเลยไม่นำเงินมาวาง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ก็เป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 234 เมื่อจำเลยไม่นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงการสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย จึงต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงการสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย จึงต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะคนอนาถา: การเลือกใช้สิทธิ และผลของการอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยเพราะจำเลยมิใช่คนยากจน หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวจำเลยมีสิทธิที่จะดำเนินการตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าบัญญัติไว้ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนหรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งแม้จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้เลือกอุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จำเลยก็จะกลับมาขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7497/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ก่อนมีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้โจทก์และผู้ร้องขัดทรัพย์นำเจ้าพนักงานที่ดิน ทำแผนที่วิวาท เสร็จแล้วให้ส่งแผนที่วิวาทพร้อมสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อพิจารณาต่อไปนั้นเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าว ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ เพื่อการใช้สิทธิฎีกาภายหลังเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษาแล้วโจทก์ฎีกาคำสั่งดังกล่าวทันที จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วย มาตรา 247 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเกินกำหนดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทำให้คำสั่งนั้นไม่มีผลบังคับ
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 กำหนดให้พนักงานตรวจแรงงานต้องทำการสอบสวนและมีคำสั่ง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง หากมีกรณีจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งในกำหนดเวลาได้ก็ให้ขอขยายระยะเวลาต่ออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย จำเลยเป็นพนักงานตรวจแรงงานได้รับคำร้องของ ส. กับพวกเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2544 แต่มีคำสั่ง เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2544 ซึ่งเกินกว่า 60 วันโดยไม่ได้ขอขยายระยะเวลาตามกฎหมายคำสั่งของจำเลยจึง ไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5049/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาคดี และการปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อใช้สิทธิโต้แย้งภายหลัง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 23 มิถุนายน 2546 เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการเรียกจำเลยให้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนคู่ความตามคำพิพากษามาวางศาลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง อันเป็นคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังตามกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก่อน แล้วใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แล้ว การที่จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ทันทีในขณะที่ยังถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4621/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดี และการพิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา การประวิงคดี
การที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีพยานเข้าทำการไต่สวนให้น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสามมีฐานะยากจน โดยจำเลยทั้งสามขอให้ยกคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามต่อไปนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ซึ่งจะต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเวลา 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย จำเลยทั้งสามชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดเวลา 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
ทนายจำเลยทั้งสามมอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนโดยอ้างว่าป่วย โดยในครั้งแรกศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้เลื่อนคดีและกำชับให้เตรียมพยานมาให้พร้อมทั้งกำชับว่าหากมีพยานเพียงใดถือว่าติดใจเพียงเท่านั้น หากไม่มีพยานมาศาลจะงดสืบพยานและให้ทนายทั้งสามส่งใบรับรองแพทย์ ครั้งถึงวันนัดทนายจำเลยทั้งสามมอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนอีก อ้างว่าป่วยโดยไม่มีใบรับรองแพทย์และไม่ส่งใบรับรองแพทย์ในครั้งก่อนโดยอ้างว่าไม่ได้ไปหาแพทย์ พฤติการณ์ของทนายจำเลยดังกล่าวจึงส่อไปในทางประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจึงชอบแล้ว
ทนายจำเลยทั้งสามมอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนโดยอ้างว่าป่วย โดยในครั้งแรกศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้เลื่อนคดีและกำชับให้เตรียมพยานมาให้พร้อมทั้งกำชับว่าหากมีพยานเพียงใดถือว่าติดใจเพียงเท่านั้น หากไม่มีพยานมาศาลจะงดสืบพยานและให้ทนายทั้งสามส่งใบรับรองแพทย์ ครั้งถึงวันนัดทนายจำเลยทั้งสามมอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนอีก อ้างว่าป่วยโดยไม่มีใบรับรองแพทย์และไม่ส่งใบรับรองแพทย์ในครั้งก่อนโดยอ้างว่าไม่ได้ไปหาแพทย์ พฤติการณ์ของทนายจำเลยดังกล่าวจึงส่อไปในทางประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4348/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบ หากไม่วางค่าธรรมเนียมศาลพร้อมคำอุทธรณ์ แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่ง ไม่ใช่คำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้น มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น แม้คดีนี้จำเลยเพียงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในชั้นขอพิจารณาใหม่ และมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เป็นสาระเนื้อหาในคำฟ้องโจทก์แต่เป็นการที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว ซึ่งอาจมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนหากอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที กรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องให้ศาลสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งไม่รับคำคู่ความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ได้กำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องเสียก่อนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2549/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ป.วิ.พ. มาตรา 234: วางค่าฤชาธรรมเนียม & ชำระเงินตามคำพิพากษา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจะขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายมิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยกระทำขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์เช่นนี้ ย่อมทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าออกไป อาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยผู้อุทธรณ์จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวให้ครบถ้วน เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน & ความรับผิดนายจ้างในคดีค่าชดเชย
ความในมาตรา 125 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541ที่บัญญัติว่าในกรณีที่นายจ้างหรือลูกจ้างไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดนั้นต่อเนื่องมาจากความในวรรคหนึ่งที่ว่าเมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งนั้นให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสหรือให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่ไม่เห็นชอบด้วยกับคำสั่งนำคดีไปฟ้องศาลเพื่อให้ตรวจสอบคำสั่งดังกล่าวอีกชั้นหนึ่ง แต่หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่ประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าวแสดงว่านายจ้างหรือลูกจ้างไม่มีข้อโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ความในวรรคสองจึงบัญญัติให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายถึงเป็นที่สุดสำหรับนายจ้างหรือลูกจ้างด้วย มิใช่เป็นที่สุดเฉพาะในทางบริหาร
เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม จึงเป็นปริยายว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจโต้แย้งหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้อีกได้ กรณีมิใช่เรื่องการนำบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตัดสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการบังคับใช้หรือตีความกฎหมายโดยไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 5 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าชดเชยต่อโจทก์แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ศาลฎีกาจึงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม จึงเป็นปริยายว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจโต้แย้งหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้อีกได้ กรณีมิใช่เรื่องการนำบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตัดสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการบังคับใช้หรือตีความกฎหมายโดยไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 5 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าชดเชยต่อโจทก์แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ศาลฎีกาจึงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9407/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์: บทบาทหน้าที่ศาลชั้นต้นและการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ซึ่งกรณีนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นส่งคำร้องเช่นนี้ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งโดยไม่ชักช้า โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ จะตรวจสั่งไม่รับคำร้องเช่นว่านั้นเหมือนอย่างชั้นสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเสียเองย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาจึงให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์เสีย แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยเสียทีเดียวโดยไม่ต้อง ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง และเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เกินกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์ จึงไม่อาจรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ไว้ได้