คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่งถึงที่สุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การรื้อฟ้องคดีกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนในโฉนดที่ดินเลขที่ 1417 ที่ผู้คัดค้านมีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องได้แนบแผนที่สังเขปแสดงรูปลักษณะของที่ดินที่ผู้ร้องได้ครอบครองมาท้ายคำร้องขอด้วย และศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินแปลงตามคำร้องขอจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ครั้นผู้ร้องมายื่นคำร้องขอในคดีนี้ก็กล่าวในคำร้องขอว่าเป็นที่ดินที่ผู้ร้องได้ครอบครองอยู่ในขณะที่ยื่นคำร้องขอในคดีเดิม เมื่อที่พิพาทในคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่ผู้ร้องร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ และศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้วว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ตามคดีเดิม ฉะนั้น ที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นการรื้อร้องเพื่อให้ศาลวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อนนั่นเอง ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5450/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ถือเป็นคำสั่งถึงที่สุด ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์นั้น เมื่อผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์หรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 จำเลยจะฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5450/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งถึงที่สุดแล้วไม่อาจฎีกาได้
ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์นั้น เมื่อผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์หรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 จำเลยจะฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปรับผู้ประกันถึงที่สุดแล้ว ไม่อุทธรณ์ ไม่สามารถขอเพิกถอนได้
ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันแล้ว หากผู้ประกันไม่อุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวย่อมถึงที่สุด ผู้ประกันจะมายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งปรับผู้ประกันและคืนหลักประกันในภายหลังอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปรับผู้ประกันที่ถึงที่สุดแล้ว ไม่อุทธรณ์ ไม่สามารถรื้อฟื้นได้
ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันแล้ว หากผู้ประกันไม่อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวย่อมถึงที่สุด ผู้ประกันจะมายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งปรับผู้ประกันและคืนหลักประกันในภายหลังอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้มีประกัน แม้คำสั่งถึงที่สุดได้ หากเกิดจากความพลั้งเผลอ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 97
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 97 บัญญัติว่า แม้เจ้าหนี้มีประกันขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกัน ศาลก็อาจอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ได้ หากเจ้าหนี้แสดงต่อศาลได้ว่าการละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ และตามมาตรา108 นั้นถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้ โดยผิดหลงว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลอาจมีคำสั่งใหม่ให้ ยกคำขอ หรือลดจำนวนหนี้ที่อนุญาตไปแล้วได้ ทั้งตามมาตรา108 นี้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งใหม่ได้เสมอ แม้คำสั่งเรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพราะกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ฉะนั้นโดยนัยเดียวกันศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ได้แม้คำสั่งศาลเรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากผู้ขอรับชำระหนี้แสดงได้ว่า การละเว้นไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเกิดขึ้นโดยความพลั้งเผลอ
ความในตอนท้ายของมาตรา 97 ที่ว่า "โดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่ง หรือกำหนดอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร" นั้นแสดงว่าแม้จะมีการขายและแบ่งทรัพย์สินไปบ้างแล้วแต่ตราบใดที่ยังมิได้มีการแบ่งครั้งที่สุดตาม มาตรา 131 ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97ได้เพราะฉะนั้นแม้คำสั่งศาลเรื่องขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็อาจจะร้องขอแก้ไขข้อความในคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้มีประกัน แม้คำสั่งถึงที่สุดได้ หากเกิดจากความพลั้งเผลอ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 97บัญญัติว่า แม้เจ้าหนี้มีประกันขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกัน ศาลก็อาจอนุญาตให้แก้ไขข้อความใน รายการขอรับชำระหนี้ได้ หากเจ้าหนี้แสดงต่อศาลได้ว่าการ ละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ และตามมาตรา108 นั้น ถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้ โดยผิดหลงว่า ลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลอาจมีคำสั่งใหม่ให้ ยกคำขอหรือลดจำนวนหนี้ที่อนุญาตไปแล้วได้ ทั้งตามมาตรา108 นี้ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งใหม่ได้เสมอแม้คำสั่ง เรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตามทั้งนี้เพราะกฎหมายล้มละลาย เป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่ จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรมฉะนั้นโดยนัยเดียวกัน ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ได้แม้คำสั่งศาลเรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตามหากผู้ขอรับชำระหนี้ แสดงได้ว่าการละเว้นไม่แจ้งว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกันเกิดขึ้นโดยความพลั้งเผลอ ความในตอนท้ายของมาตรา 97 ที่ว่า 'โดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่ง หรือกำหนดอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร' นั้นแสดงว่าแม้จะมีการขายและ แบ่งทรัพย์สินไปบ้างแล้วแต่ ตราบใดที่ยังมิได้มีการแบ่งครั้งที่สุดตาม มาตรา 131 ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา97ได้เพราะฉะนั้นแม้คำสั่งศาล เรื่องขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วผู้ร้องก็อาจจะร้องขอแก้ไขข้อความ ในคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำปฏิเสธการรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น หรือมีคำสั่งรับอุทธรณ์แล้ว ถือเป็นคำสั่งถึงที่สุด
ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์นั้นเมื่อผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ก็ดี หรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ก็ดีคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำร้องผิดพลาดในคดีขัดทรัพย์ ไม่เป็นร้องซ้ำ หากศาลยังไม่ได้วินิจฉัยถึงที่สุดในประเด็นกรรมสิทธิ์
คำร้องขัดทรัพย์เดิมของผู้ร้องมีข้อความว่า ทรัพย์ที่ผู้ร้องขอให้ปล่อยเป็นของโจทก์ แต่ตามภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่แนบมาท้ายคำร้องว่าเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องซื้อมาจึงเป็นเรื่องพิมพ์ถ้อยคำผิดพลาด ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าสิทธิของผู้ร้องมิได้ถูกโต้แย้ง ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาลไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โดยอาศัยคำร้องที่ผิดพลาดจากความเป็นจริงนั้นยังถือไม่ได้ว่าศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดในประเด็นที่ว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยหรือของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมาร้องใหม่ตามคำร้องได้ ไม่เป็นร้องซ้ำ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์ซ้ำหลังคำสั่งถึงที่สุด ถือเป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องในคราวก่อนเพราะผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ และคำสั่งนั้นได้ถึงที่สุดแล้วนั้น ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิมาร้องขัดทรัพย์ใหม่ ถือเป็นการฟ้องซ้ำอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 148 (1) เพราะการร้องขัดทรัพย์ มาตรา 288 บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเหมือนคดีธรรมดา
of 5