คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำให้การ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ปฏิเสธข้อกล่าวหาในคำให้การ ศาลรับฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง และจำกัดการฎีกาเฉพาะประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในชั้นศาล
แม้โจทก์จะเป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงและภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงจะตกแก่โจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ไม่ได้ให้การปฏิเสธข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าจำเลยที่ 2 รับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างนั้นแล้ว และไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งถือว่าคู่ความรับกันแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน
จำเลยที่ 2 ฎีกาแต่มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นจึงไม่ชอบถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6643/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดแย้งในคำให้การของผู้ค้ำประกันส่งผลต่อประเด็นข้อพิพาท และการวินิจฉัยฟ้องเคลือบคลุม
ประเด็นข้อพิพาทย่อมเกิดจากคำฟ้องและคำให้การที่ปฏิเสธฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และในคดีแต่ละเรื่องอาจมีประเด็นข้อพิพาทมากกว่าหนึ่งประเด็นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำให้การต่อสู้ของจำเลย ประเด็นใดที่จำเลยให้การไม่ชัดเจนย่อมถือว่าจำเลยมิได้ปฏิเสธในเรื่องนั้นเท่านั้น จะถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทอื่นที่จำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วไม่ได้ คำให้การของจำเลยที่ 3 ที่ขัดกันเองเฉพาะประเด็นเรื่องเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 3 มิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์ในประเด็นนี้เท่านั้น ส่วนประเด็นเรื่องฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมนั้นเป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้ว ซึ่งศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยให้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยและคดีพอวินิจฉัยได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นคำให้การ: เหตุผลความล่าช้าของจำเลยไม่เพียงพอ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อนออกคำสั่ง
ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การในขณะที่เหลือเวลาทำการเพื่อยื่นคำให้การอีกเพียง 2 วัน โดยอ้างว่าเพิ่งได้รับการติดต่อจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นทนายความในวันนี้ ต้องสอบถามรายละเอียดในคดี และตรวจเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนต้องไปดูสถานที่ตั้งของที่ดินพิพาท เพื่อทำคำให้การได้ถูกต้อง โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องหรือความจำเป็นอย่างใดจึงติดต่อหาทนายความล่าช้า ความล่าช้าดังกล่าวเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 เอง ที่ปล่อยปละละเลยให้ระยะเวลายื่นคำให้การล่วงเลยไปถึง 13 วัน โดยไม่ขวนขวายติดต่อหาทนายความแต่เนิ่น ๆ และแม้ว่าจะเหลือเวลาทำการอีกเพียง 2 วัน แต่คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องในฐานะเจ้าของรวมให้จำเลยทั้งสองรังวัดแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งได้ครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้ว และมีแผนที่สังเขปท้ายฟ้องอีกด้วย รูปคดีจึงไม่ยุ่งยากซับซ้อนแต่อย่างใด หากทนายจำเลยที่ 1 สอบถามข้อเท็จจริงอย่างจริงจังและรีบไปดูที่ดินโดยเร็ว เวลาที่เหลือ 2 วัน ก็เพียงพอที่จะทำคำให้การยื่นต่อศาลได้ทันกำหนดเวลา ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันจะพึงขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้จำเลยที่ 1 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่อ้างมาในคำร้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยมีคำสั่งได้แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจทำคำสั่งไปได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์และไต่สวนคำร้องก่อนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นคำให้การ: เหตุผลความล่าช้าของผู้ถูกฟ้องต้องมีน้ำหนัก, รูปคดีไม่ซับซ้อน, ศาลมีอำนาจสั่งโดยไม่ต้องไต่สวน
จำเลยที่ 1 เพิ่งติดต่อหาทนายในขณะที่ยังเหลือเวลายื่นคำให้การอีกเพียง 2 วันโดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องหรือความจำเป็นอย่างใดจึงมาติดต่อหาทนายล่าช้า จึงเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ที่ปล่อยปละละเลยให้ระยะเวลายื่นคำให้การล่วงเลยไปถึง 13 วันโดยไม่ขวนขวายติดต่อหาทนายแต่เนิ่นๆรูปคดีจึงไม่ยุ่งยากซับซ้อน เวลาที่เหลือ 2 วันก็เพียงพอที่จะทำคำให้การยื่นต่อศาลชั้นต้นได้ทันกำหนดเวลา ข้ออ้างตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันจะพึงขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้จำเลยที่ 1 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่อ้างมาในคำร้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งได้แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจทำคำสั่งไปได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์และไต่สวนคำร้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานการกู้ยืมจากคำให้การในคดีอาญา: รับฟังได้หากลงลายมือชื่อสมัครใจ
จำเลยได้ให้การและเบิกความในคดีอาญาโดยสมัครใจว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมนี้ได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำให้การของผู้ร่วมกระทำผิด และการพิจารณาความน่าเชื่อถือของคำให้การในชั้นสอบสวน
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะกล่าวหาว่า ท. เป็นผู้ต้องหาในครั้งแรกแต่ ท. ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยด้วย คำให้การของ ท. หาใช่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยแต่อย่างใด ทั้ง ท. ให้การต่อพนักงานสอบสวนภายหลังเกิดเหตุเพียงชั่วข้ามคืนและโดยทันทีที่เข้าแจ้งเหตุให้พนักงานสอบสวนทราบ เป็นการยากที่ ท. จะปรุงแต่งเรื่องราวเพื่อปรักปรำจำเลยหรือเพื่อต่อสู้คดีได้ ทั้งเป็นคำให้การที่มิได้เกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญาขู่เข็ญหลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และแม้จะฟังว่า ท. ให้การซัดทอดจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังแต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะไม่ได้ตัว ท. มาเบิกความในชั้นศาล ศาลย่อมนำคำให้การของ ท. ในชั้นสอบสวนมาฟังประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยได้
คำให้การของจำเลยต่อพนักงานสอบสวนยืนยันรับว่าเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจริง และการนำชี้ที่เกิดเหตุก็กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก ซึ่งแสดงว่าไม่มีการล่อลวงหรือขู่เข็ญ คำให้การในชั้นสอบสวนดังกล่าวจึงใช้ยันจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 และรับฟังประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ให้มีน้ำหนักมั่นคงยิ่งขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีแพ่ง: ศาลต้องพิจารณาแยกส่วนจำเลยที่ยื่นคำให้การแล้ว กับจำเลยที่ยังไม่ได้ยื่น
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ไม่ได้หมายความว่า เมื่อศาลกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ดำเนินคดีในเรื่องใดแล้ว โจทก์เพิกเฉยจะเป็นกรณีทิ้งฟ้องเสมอไป จะต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายใดก็ตาม แม้โจทก์จะเพิกเฉย ก็ไม่ใช่กรณีที่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้ต่อไป
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง (1) ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นไม่อาจสอบถามจำเลยที่ 1 ได้นั้น ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้แต่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะมาตรา 175 วรรคหนึ่ง บัญญัติชัดว่าถ้าเป็นการถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องโดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาลฉะนั้น คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อน-หลังยื่นคำให้การ และอำนาจศาลในการยกคำร้อง/จำหน่ายคดี
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง(1) ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ศาลไม่อาจสอบถามจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ยื่นคำให้การแล้วได้นั้น ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้ แต่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งยังไม่ได้ยื่นคำให้การไม่ได้เพราะมาตรา 175 วรรคหนึ่งได้บัญญัติไว้ว่า ถ้าเป็นการถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องโดยยื่นเป็นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล ดังนั้น คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การ ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับคำให้การของจำเลยเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่จะยื่นคำให้การได้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การจำเลยอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ ไม่อุทธรณ์ได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับคำให้การของจำเลยเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่จะยื่นคำให้การได้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การจำเลยอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)
of 72