พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนภาษีศุลกากรเมื่อสินค้าส่งออกแล้วลอยกลับเข้าประเทศ ถือว่ายังไม่ได้ทำลายสมบูรณ์ จึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษี
โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินค่าภาษีบุหรี่คืนโดยอ้างว่าบุหรี่นั้นจำหน่ายไม่ได้ในประเทศไทย โจทก์จึงได้ส่งออกไปทิ้งทะเลนอกเขตต์ประเทศไทยแล้ว แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าบุหรี่นั้นบางส่วนได้ลอยกลับเข้ามาในเขตต์ประเทศไทยอีกมีคนเก็บเข้ามาจำหน่ายโดยไม่ได้เสียภาษีดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าภาษีคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนค่าภาษีขาเข้าเมื่อส่งของกลับออกไป ไม่จำเป็นต้องส่งไปยังท่าต่างประเทศ
การส่งของที่ได้เสียภาษีขาเข้าแล้วกลับออกไปนั้นผู้เสียจะได้รับเงินค่าภาษีนั้นคืนตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ม.59 นั้น ไม่จำต้องเป็นว่าของนั้นต้องส่งไปยังท่าหนึ่งท่าใดนอกประเทศไทยจึงจะถือว่าเป็นการส่งกลับออกไปตามความหมายในมาตรา 59 นี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1660/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีค้ารวม: การขายสินค้าต่างประเทศไม่ถือเป็นแจ้งเท็จ
จำเลยยื่นคำร้องขอคืนค้าภาษีต่อกรมศุลกากรโดยกล่าวว่าสินค้านั้นยังมิได้จำหน่ายขายให้แก่ผู้ใดหรือเอาออกใช้ในประเทศนี้แต่ความจริงจำเลยได้ตกลงขายให้แก่ห้างในเมืองเชียงตุงโดยการขายตามตัวอย่าง แต่ห้างที่เชียงตุงยังมิได้ตอบรับซื้อมา ยังไม่ถือว่าจำเลยมีผิดฐานแจ้งความเท็จ ฎีกาอุทธรณ์ สัญญาทางพระราชไมตรี คดีที่จำเลยเป็นคนในบังคับอังกฤษ คู่ความฎีกาได้ฉะเพาะปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6901/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญต่อการคืนภาษี: บทบัญญัติไม่มีผลย้อนหลัง
ขณะที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2554 ได้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 48/2545 วินิจฉัยว่า ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 80 ดังนั้น ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) เพื่อขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาของจำเลยที่ 1 ว่าจะคืนภาษีให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2554 ในวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 วินิจฉัยว่า มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหาได้วินิจฉัยให้บทบัญญัติดังกล่าวตกเป็นโมฆะหรือเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้นไม่ ซึ่งจะมีผลเป็นการลบล้าง ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่มีบทบัญญัตินั้นไม่ เมื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555 เป็นกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยคำร้องที่ไม่มีผู้ถูกร้อง ซึ่งตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 ข้อ 55 วรรคสี่ ที่กำหนดว่า ในกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยคำร้องที่ไม่มีผู้ถูกร้อง ให้ศาลแจ้งคำวินิจฉัยของศาลแก่ผู้ร้องและให้ถือว่าวันที่ศาลลงมติซึ่งเป็นวันที่ปรากฏในคำวินิจฉัยเป็นวันอ่าน ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่เวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยคือ วันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ไม่มีผลใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6899/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินปันผล: สิทธิเครดิตภาษีและการคำนวณดอกเบี้ย
ที่ ส. เจ้าพนักงานของจำเลยเบิกความว่า คณะบุคคล ก. และ ว. เป็นหน่วยภาษีที่เป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากร บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน การจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ร่วมกันถือหุ้นดังกล่าวนั้น ต้องจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ได้รับถือเป็นการรับแทนผู้ร่วมหุ้น เงินปันผลที่ได้รับจึงถือเป็นเงินได้ของบุคคลแต่ละคนผู้ร่วมในคณะบุคคลนั้น ก็ปรากฏจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่า บริษัทเจ้าของหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในนามของคณะบุคคล ก. และ ว. ได้จ่ายเงินปันผลให้คณะบุคคลดังกล่าว และผู้จ่ายเงินปันผลได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายแล้ว โดยระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของคณะบุคคล ก. และ ว. ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ทั้งสอง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า บริษัทเจ้าของหลักทรัพย์ซึ่งเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในประเทศไทยได้จ่าย เงินปันผลในระหว่างปีภาษี 2553 ให้แก่คณะบุคคล ก. และ ว. มิได้จ่ายเงินปันผลให้แก่โจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียวดังที่พยานจำเลยเบิกความ เมื่อคณะบุคคลดังกล่าวเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้รับเงินได้พึงประเมินเป็นเงินปันผลตามมาตรา 40 (4) (ข) จากบริษัทต่าง ๆ ในปีภาษี 2553 ตามหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เกินกว่า 30,000 บาท คณะบุคคลจึงเป็นผู้มีเงินได้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของคณะบุคคลจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก โดยผู้เป็นบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีอีกตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร คณะบุคคลที่โจทก์ทั้งสองจัดตั้งขึ้นจึงมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อคณะบุคคลยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินปันผลที่ได้รับตามมาตรา 65 วรรคสอง โดยนำเงินปันผลที่ได้รับมาเครดิตภาษีตามวิธีการที่มาตรา 47 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง บัญญัติไว้ แล้วมีภาษีที่ชำระเกิน จำเลยจึงต้องคืนภาษีแก่คณะบุคคล ก. และ ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5869/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย เริ่มนับจากวันครบ 3 เดือนหลังยื่นคำร้อง (ค.10) ไม่ใช่จากวันสิ้นกำหนดภาษี
กรณีเงินได้พึงประเมินของโจทก์ที่ได้รับจากใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ โจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3,237,500 บาท แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร 3,152,992 บาท เป็นคนละจำนวนกัน แม้เงินได้จากใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเป็นกรณีที่โจทก์จะต้องยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย เนื่องจากเป็นเงินได้พึงประเมินและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ในขณะที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่โจทก์ได้รับจากใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญนั้น โจทก์มิได้ระบุในรายการคำร้องขอคืนเงินภาษีจากภาษีเงินได้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่โจทก์ได้รับจากใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญไว้ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต่อมาเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค. 10) ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2547 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยจากคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค. 10) มิใช่จากแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำเลยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค. 10) ในวันที่ 14 มีนาคม 2550 และต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในวันที่ 15 มิถุนายน 2550 เป็นต้นไป โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืนนับแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2550 เป็นต้นไป โดยให้คิดจนถึงวันที่ลงในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงิน แต่ดอกเบี้ยมิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 4 ทศ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10547/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากปริมาณการใช้ไฟฟ้า และการคืนภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ไม่ส่งมอบเอกสารหลักฐานให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบหาผลผลิตตามขั้นตอนการผลิตตามความเป็นจริงได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของโจทก์ในแต่ละเดือนคำนวณผลผลิต ย่อมเป็นวิธีการที่เหมาะสมและยอมรับได้
หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานประเมินในการคืนภาษีให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอคืนไว้ เมื่อโจทก์ไม่มีภาระภาษีที่จะต้องชำระเพิ่มเติมอีก จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังที่โจทก์อ้าง
หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานประเมินในการคืนภาษีให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอคืนไว้ เมื่อโจทก์ไม่มีภาระภาษีที่จะต้องชำระเพิ่มเติมอีก จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19074/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล: เจ้าพนักงานตรวจสอบบัญชีได้ แม้โจทก์อ้างสิทธิในการขอคืน
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินต้องตรวจสอบบัญชีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ก่อนว่า ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโจทก์เสียภาษีถูกต้องหรือไม่ ซึ่งตัวแทนโจทก์ไม่ได้ส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี อีกทั้งไม่สามารถให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้งสามบริษัทให้เพียงพอแก่การตรวจสอบได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงยังไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่าบริษัทต่างประเทศทั้งสามจะได้รับคืนภาษีตามจำนวนที่ขอคืนได้หรือไม่ และกรณีของโจทก์มิใช่เป็นการขอคืนชัดแจ้งซึ่งไม่จำต้องตรวจสอบตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากร พ.ศ.2539 ข้อ 13.1 แต่เป็นกรณีที่จำเป็นต้องตรวจสอบบัญชีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้ปรากฏยอดเงินได้สุทธิหรือกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ตามข้อ 13.2 การที่จำเลยยังไม่อาจคืนภาษีให้ได้จึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและการเรียกร้องคืนเงินกรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตรวจสอบ
แม้ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นภาษีอากรประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77 แต่การที่จำเลยให้สิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและขอรับเงินภาษีมูลค่าเพิ่มคืนไปก่อน โดยวางหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ซึ่งโจทก์ได้คืนเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนการตรวจสอบเพื่อคืนภาษี ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยนำเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มพิพาทมาเพื่อประเมินสถานะกิจการของจำเลยประกอบการพิจารณาตรวจคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วจำเลยไม่ไปพบและไม่นำเอกสารดังกล่าวไปให้โจทก์ การที่โจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์เรียกร้องเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยขอรับคืนไปก่อนการตรวจปฏิบัติการเพื่อคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่พิพาทเสร็จสิ้นไม่ใช่การประเมินให้จำเลยเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีไม่จำต้องออกหมายเรียกและมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5338/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีจากการขายทอดตลาด: ผู้ซื้อมีสิทธิขอคืนภาษีที่ชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อทรัพย์ที่ขายทอดตลาดมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีเงินได้จากการขายทรัพย์ แม้เงินดังกล่าวจะต้องถูกนำไปชำระหนี้ก็เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้อันเป็นประโยชน์แก่จำเลย จึงถึอได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีโดยการให้ผู้ซื้อทรัพย์หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากเงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) ผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินย่อมมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (5) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 52 วรรคสอง การที่ผู้ซื้อทรัพย์ชำระราคาเต็มจำนวนตามราคาขายทอดตลาดโดยยังมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ก็เท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ได้มอบเงินส่วนที่เป็นภาษีเงินได้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปด้วย ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิขอรับเงินส่วนที่เป็นภาษีเงินได้คืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 169/2546 เพื่อนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต่อไป