พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีโรงเรือนและที่ดินพร้อมดอกเบี้ย: กำหนดเวลาเริ่มนับดอกเบี้ยต้องเป็นวันคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่พิพากษาให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินพร้อมเงินเพิ่มแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันพ้นกำหนด 3 เดือน นับจากวันฟังคำพิพากษานี้จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ซึ่งหมายถึงนับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางนั้น เมื่อได้ความว่าคดีนี้มิได้ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 มาตรา 39 วรรคสอง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงพิพากษาให้จำเลยคืนเงินภาษีภายใน 3 เดือน นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ถ้าไม่คืนให้ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันครบกำหนด 3 เดือน จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนหุ้นโมฆะเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามรูปแบบกฎหมาย จำเลยต้องคืนเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ย
สัญญาโอนหุ้น มีการลงลายมือชื่อจำเลยและโจทก์ไว้ จึงถือเป็นหลักฐานในการโอนหุ้น แต่เมื่อหุ้นของบริษัท บ. ทั้งหมดเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อและยังไม่ได้ออกใบหุ้น ซึ่งการโอนหุ้นดังกล่าวต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสอง ที่กำหนดแบบไว้ว่าถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ แล้วถือว่าเป็นโมฆะ เมื่อสัญญาโอนหุ้นระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีผู้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายมือการโอนหุ้นดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่ผูกพัน จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้ฐานลาภมิควรได้
ตามปกติเมื่อมีการจองซื้อที่ดินแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยอีกครั้งหนึ่งอันจะทำให้เกิดการผูกพันที่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมลักษณะเป็นการเอาเปรียบโจทก์หลายข้อ โจทก์ย่อมขอแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องและเป็นธรรมเสียก่อนได้ ข้อสัญญาที่โจทก์ขอแก้ไข เช่น จะก่อสร้างเสร็จเมื่อใด จะแบ่งแยกโฉนดพร้อมโอนกรรมสิทธิ์รวมถึงการชำระเงินเมื่อใดซึ่งเป็นข้อสัญญา ที่เป็นปกติประเพณีของการซื้อขายที่อยู่ในวิสัยของจำเลยต้องกระทำและกระทำได้ ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันให้เรียบร้อยฉะนั้น เมื่อยังไม่ได้แก้ไขสัญญาตามที่โจทก์ขอทุกข้อ โจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคหนึ่ง สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เกิดขึ้น การที่จำเลยรับเงินจากโจทก์ไว้เป็นการชำระหนี้เกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ต้องคืนให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ ตามมาตรา 406 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์ จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้ให้โจทก์
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากบริษัทจำเลย โดยชำระเงิน274,600 บาท แต่เมื่อถึงวันทำสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์เห็นว่ามีข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมลักษณะเอาเปรียบโจทก์หลายข้อ จึงแสดงเจตนาขอแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องและเป็นธรรมเสียก่อนว่าจำเลยจะก่อสร้างให้แล้วเสร็จเมื่อใด จะแบ่งแยกโฉนดพร้อมโอนกรรมสิทธิ์รวมถึงการชำระเงินเมื่อใด ซึ่งล้วนแต่เป็นปกติประเพณีของการซื้อขายที่อยู่ในวิสัยของจำเลยต้องกระทำและกระทำได้ ข้อสัญญาดังกล่าวถือว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน เมื่อจำเลยยอมรับว่ายังไม่ได้แก้ไขสัญญาตามที่โจทก์ขอทุกข้อ โจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีสัญญาต่อกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366วรรคหนึ่ง สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เกิดขึ้นเงินที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ต้องคืนให้แก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 วรรคหนึ่ง พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ศาลฎีกาตัดสินให้คืนเงินของกลางแก่จำเลยเมื่อพิพากษาว่าไม่เกี่ยวเนื่องกับความผิด
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 27 วรรคหนึ่งนั้น ให้ศาลไต่สวน หากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้น เว้นแต่บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ยื่นคำร้องขอคืนก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า (1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ..."
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังเป็นยุติว่า เงินสดของกลางจำนวน 220,200 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลย และทั้งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านขอคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย จึงทำให้คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่า จำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริง จึงไม่อาจที่จะสั่งคืนให้แก่จำเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังเป็นยุติว่า เงินสดของกลางจำนวน 220,200 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลย และทั้งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านขอคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย จึงทำให้คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่า จำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริง จึงไม่อาจที่จะสั่งคืนให้แก่จำเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินสดของกลาง: เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าไม่ใช่ทรัพย์สินเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงชอบที่จะคืนให้จำเลย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ริบเงินสดของกลางแล้วคดีย่อมฟังเป็นยุติว่าเงินสดของกลางที่โจทก์ขอให้ริบนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางเป็นของจำเลยทั้งจำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านของคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย เนื่องจากคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่าจำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริงจึงไม่อาจส่งคืนให้แก่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ มิใช่ความผิดฉ้อโกง อัยการขอคืนเงินผู้เสียหายไม่ได้
พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา91 ตรี มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 และ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย พนักงานอัยการจึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขาย และสิทธิในการเรียกร้องเงินคืนเมื่อผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน พร้อมตึกแถวสามชั้นครึ่งหนึ่งคูหากับจำเลยในราคา 3,200,000 บาท โจทก์ชำระเงินดาวน์ในวันทำสัญญา 300,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระเมื่อจำเลยปลูกสร้างตึกแถวแล้วเสร็จ แต่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ เมื่อจำเลยปลูกสร้างตึกแถวแล้วเสร็จพร้อมที่จะโอนให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีหน้าที่รับโอนตึกแถวพร้อมที่ดินดังกล่าวและชำระราคาส่วนที่เหลือแก่จำเลย แต่โจทก์ไม่ประสงค์จะชำระราคาที่เหลือให้แก่จำเลย แม้ทั้งโจทก์และจำเลยต่างมิได้ถือเอาเงื่อนไขในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ เนื่องจากจำเลยกำลังบอกขายตึกแถวพร้อมที่ดินให้แก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ของโจทก์ก็ตาม แต่ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าไม่เป็นการแน่นอนว่าจำเลยจะสามารถจัดการขายตึกแถวพร้อมที่ดินให้เป็นผลสำเร็จได้ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอในการเตรียมเงินให้พร้อมเพื่อชำระให้แก่จำเลย แต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินที่ค้างชำระแก่จำเลยภายใน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสืออันเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวแล้วเสร็จและพร้อมที่จะโอนให้แก่โจทก์เกือบ 1 ปี อันเป็นการบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรแล้ว หนังสือดังกล่าวมีข้อความระบุชัดว่า หากล่วงพ้นกำหนดเวลา 15 วันแล้ว โจทก์ไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ จำเลยขอถือเอาหนังสือฉบับนั้นเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญา เมื่อโจทก์ไม่ชำระเงินภายในเวลาที่จำเลยกำหนด สัญญาจะซื้อจะขายตึกแถวพร้อมที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมเป็นอันเลิกกันเมื่อล่วงพ้น 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือทวงถาม อันเป็นผลจากการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยสมัครใจตกลงเลิกสัญญาต่อกันไม่ โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
เงินดาวน์ที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาไม่ปรากฏว่าเป็นการให้ไว้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า มิใช่เงินมัดจำที่จำเลยจะริบได้
โจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง ซึ่งผลแห่งการนี้จำเลยมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215 การที่โจทก์ไม่ชำระเงิน ให้แก่จำเลยเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินดังกล่าว ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษตามมาตรา 222 วรรคสอง เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงความเสียหายที่จำเลยจะได้รับจากการที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้นั้น จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แต่การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่จำเลยย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย แม้จำเลยจะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
เงินดาวน์ที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาไม่ปรากฏว่าเป็นการให้ไว้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า มิใช่เงินมัดจำที่จำเลยจะริบได้
โจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง ซึ่งผลแห่งการนี้จำเลยมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215 การที่โจทก์ไม่ชำระเงิน ให้แก่จำเลยเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินดังกล่าว ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษตามมาตรา 222 วรรคสอง เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงความเสียหายที่จำเลยจะได้รับจากการที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้นั้น จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แต่การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่จำเลยย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย แม้จำเลยจะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายและการคืนเงินเมื่อผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้ ศาลพิจารณาความเสียหายและคิดดอกเบี้ย
จำเลยสร้างตึกแถวที่จะขายให้โจทก์เสร็จพร้อมที่จะโอนตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2539 โจทก์ย่อมมีหน้าที่รับโอนและชำระราคาส่วนที่เหลืออีก 2,000,000 บาท แก่จำเลย แต่โจทก์ไม่ชำระแม้ในช่วงเวลานั้นต่างมิได้ถือเอาเงื่อนไขในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ เนื่องจากจำเลยกำลังบอกขายตึกแถวพร้อมที่ดินให้แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ของโจทก์ แต่ไม่เป็นการแน่นอนว่าจะสำเร็จได้ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอในการเตรียมเงินชำระให้แก่จำเลยการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินที่ค้างชำระแก่จำเลยภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ อันเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวแล้วเสร็จเกือบ 1 ปี จึงเป็นการบอกกล่าวให้เวลาอันสมควรแล้ว เมื่อหนังสือดังกล่าวมีข้อความแสดงเจตนาเลิกสัญญา และโจทก์ไม่ชำระเงินภายในเวลากำหนดสัญญาจะซื้อจะขายย่อมเป็นอันเลิกกันเมื่อล่วงพ้น 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือทวงถามนั้น แต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยมีหน้าที่คืนเงิน 1,200,000 บาท ที่รับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
โจทก์ชำระเงินดาวน์ 300,000 บาท อันเป็นส่วนหนึ่งของเงินจำนวน1,200,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา โดยมิใช่เป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระล่วงหน้า มิใช่มัดจำที่จำเลยจะริบได้ เมื่อจำเลยมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแล้วโจทก์เพิกเฉย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตามมาตรา 215 การที่จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ต้องคืนเงินล่วงหน้า 1,200,000 บาท ให้แก่โจทก์จนครบจำนวน เนื่องจากจำเลยได้รับความเสียหาย เพราะเหตุที่โจทก์ผิดนัดและต้องรับภาระดอกเบี้ยที่กู้ยืมเงินจากธนาคารมาลงทุนปลูกสร้างอาคารพอแปลได้ว่าจำเลยเรียกเอาเงิน 1,200,000 บาท นั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้
การที่โจทก์ไม่ชำระเงิน 2,000,000 บาทให้แก่จำเลยเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี แต่ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงมิได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดไม่ได้ อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่จำเลยย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายดังนั้น แม้จำเลยจะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
โจทก์ชำระเงินดาวน์ 300,000 บาท อันเป็นส่วนหนึ่งของเงินจำนวน1,200,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา โดยมิใช่เป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระล่วงหน้า มิใช่มัดจำที่จำเลยจะริบได้ เมื่อจำเลยมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแล้วโจทก์เพิกเฉย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตามมาตรา 215 การที่จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ต้องคืนเงินล่วงหน้า 1,200,000 บาท ให้แก่โจทก์จนครบจำนวน เนื่องจากจำเลยได้รับความเสียหาย เพราะเหตุที่โจทก์ผิดนัดและต้องรับภาระดอกเบี้ยที่กู้ยืมเงินจากธนาคารมาลงทุนปลูกสร้างอาคารพอแปลได้ว่าจำเลยเรียกเอาเงิน 1,200,000 บาท นั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้
การที่โจทก์ไม่ชำระเงิน 2,000,000 บาทให้แก่จำเลยเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี แต่ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงมิได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดไม่ได้ อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่จำเลยย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายดังนั้น แม้จำเลยจะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินเพื่อแลกอิสรภาพไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ตามคำฟ้องฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่า ผู้เสียหายได้รับเงินคืนจากจำเลยแล้ว แต่ยังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)