พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 297/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าชดใช้ค่าใช้จ่าย/ค่าบำรุงที่ดินเมื่อเข้าทำประโยชน์ในที่ดินผู้อื่นโดยไม่ได้ตกลง
การเข้าอยู่อาศัยทำกินในที่ดินของผู้อื่นนั้น เมื่อไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นพิเศษ ผู้อาศัยจะเรียกให้เจ้าของที่ดินชดใช้ค่าใช้จ่ายหรือที่ได้ลงทุนทำให้ที่ดินดีขึ้น จากเจ้าของที่ดินหาได้ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายใดแล้ว ผู้ยื่นฎีกามิได้คัดค้านคำสั่งนั้นแต่อย่างใด ศาลฎีกาคงวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นสั่งรับมาเท่านั้น
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายใดแล้ว ผู้ยื่นฎีกามิได้คัดค้านคำสั่งนั้นแต่อย่างใด ศาลฎีกาคงวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นสั่งรับมาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยได้รับอนุญาตทางวาจา ย่อมไม่ตัดสิทธิเจ้าของที่ดินในการขอรื้อถอน และการบังคับชดใช้ค่าที่ดินแทนการรื้อถอนไม่ถือว่าเกินคำขอ
ปลูกเรือนชายคาล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยเจ้าของที่เขายินยอมให้ทำด้วยปากเปล่า เจ้าของยังมีสิทธิขอให้รื้อชายคาออกเสียจากที่ดินของเขาได้
อายุความฟ้องร้อง 1 ปีตามม.1375 ใช้ฉะเพาะในเรื่องซึ่งผู้ถูกแย่งมีสิทธิเพียงครอบครอง ไม่ใช่ผู้ถูกแย่งมีกรรมสิทธิตัดสินเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อหลังคาที่ปลูกรุกล้ำเข้ามาในเขตต์ที่ดินของโจทก์ศาลตัดสินให้จำเลยใช้เงิน 25 บาทแทนการรื้อชายคาตาม ป.พ.พ.ม.1312 ไม่เรียกว่าเป็นการตัดสินเกินคำขอตามประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.142
อายุความฟ้องร้อง 1 ปีตามม.1375 ใช้ฉะเพาะในเรื่องซึ่งผู้ถูกแย่งมีสิทธิเพียงครอบครอง ไม่ใช่ผู้ถูกแย่งมีกรรมสิทธิตัดสินเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อหลังคาที่ปลูกรุกล้ำเข้ามาในเขตต์ที่ดินของโจทก์ศาลตัดสินให้จำเลยใช้เงิน 25 บาทแทนการรื้อชายคาตาม ป.พ.พ.ม.1312 ไม่เรียกว่าเป็นการตัดสินเกินคำขอตามประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องค่าชดใช้ทรัพย์ในคดียักยอก ศาลไม่อนุญาตฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาเพียงเล็กน้อย
การที่ศาลล่างบังคับให้จำเลยใช้ทรัพย์ในคดีอาญาฐานยักยอกเกินกว่า 2000 บาท และจำคุกไม่เกิน 5 ปี ฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6914/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าชดใช้จากผู้รับประกันภัย: กรณีผู้ขับขี่เมาแล้วชน และการผิดนัดชำระหนี้
เมื่อจำเลยขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยในขณะเมาสุรา แล้วเกิดอุบัติเหตุชนท้ายรถยนต์ที่ ส. ขับได้รับความเสียหาย จึงเสมือนจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัยก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ตามกรมธรรม์ประกันภัยหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 8 กำหนดให้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่ยกเว้นความคุ้มครองกรณีการขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดไม่น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เพื่อปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และเมื่อโจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกแล้ว ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินที่โจทก์จ่ายไปคืนแก่โจทก์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 8 วรรคสาม กรณีดังกล่าวเป็นการฟ้องเรียกเงินที่ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ให้แก่บุคคลภายนอกไปคืนจากผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัย ซึ่งแตกต่างจากการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความในมาตรา 882 วรรคหนึ่ง และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไป คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการงานนอกสั่ง สมประโยชน์ตัวการ แม้ไม่มีสัญญาจ้าง แต่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดใช้
การที่นายสถานีของสถานีขนส่งสินค้าของจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ยังคงปฏิบัติงานในการรักษาความปลอดภัยและอำนวยการจราจรต่อไป แต่กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการใด ๆ ให้เกิดความชัดเจนที่แสดงว่าจำเลยปฏิเสธไม่ให้โจทก์ปฏิบัติงานอีกต่อไปภายหลังจากสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงแล้วประกอบกับต่อมาโจทก์มีหนังสือฉบับแรกลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 แจ้งไปยังอธิบดีกรมการขนส่งทางบกให้ชำระค่าบริการหรือค่าจ้างในเดือนตุลาคม 2560 โดยอ้างถึงสัญญาจ้างทั้งสามฉบับระหว่างโจทก์กับจำเลยว่า ภายหลังครบกำหนดตามสัญญาแล้ว โจทก์ยังคงให้บริการรักษาความปลอดภัยและเข้าปฏิบัติงานที่สถานีขนส่งสินค้าทั้งสามแห่งเรื่อยมาจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2560 จำเลยมิได้ทักท้วงแต่อย่างใด หลังจากนั้น โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่ 21 กันยายน 2561 แจ้งไปยังอธิบดีกรมการขนส่งทางบกอีกครั้งให้ชำระค่าบริการโดยอ้างถึงสัญญาและการเข้าปฏิบัติงานเช่นเดียวกับหนังสือฉบับแรก จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามจากโจทก์แล้ว แต่ไม่ได้ตอบกลับไปยังโจทก์ อันเป็นกรณีที่จำเลยนิ่งเฉยเสียไม่ได้ชี้แจงหรือปฏิเสธให้เห็นได้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ทั้งที่หนังสือทวงถามให้ชำระค่าจ้างแก่โจทก์นั้น มีผลกระทบต่อจำเลยให้ต้องเสียประโยชน์โดยตรง พฤติการณ์ถือได้ว่า โจทก์ได้ปฏิบัติงานในการรักษาความปลอดภัยและอำนวยการจราจรภายในสถานีขนส่งสินค้าทั้งสามแห่งให้จำเลยและจำเลยได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติงานตามลักษณะงานปกติเช่นที่โจทก์เคยปฏิบัติมา การที่โจทก์ให้บริการต่อมาอีก 1 เดือน แต่หาได้มีการจัดจ้างโจทก์ จึงไม่ได้มีการต่อสัญญา เป็นกรณีโจทก์เข้าจัดการงานของจำเลยโดยไม่มีหน้าที่ แต่การให้บริการของโจทก์สมประโยชน์ของจำเลยตัวการ จึงปรับบทในเรื่องจัดการงานนอกสั่งได้ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในการให้บริการตามอัตราค่าจ้างที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีค้ามนุษย์: การสมคบคิด, ความเสียหาย, และค่าชดใช้
ความผิดฐานสมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ฐานร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ และฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นในคดีนี้ เป็นความผิดคนละประเภทกับความผิดฐานรับคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายให้เข้าพักอาศัยโดยซ่อนเร้นให้พ้นจากการจับกุมตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 และยังเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมกันโดยอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ นอกจากนี้ยังเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับซึ่งมีองค์ประกอบแห่งความผิดแตกต่างกันด้วย ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน สามารถแยกเจตนาในการกระทำความผิดออกจากกันได้ แม้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน ก็เป็นคนละกรรมกัน กรณีมิใช่โจทก์นำการกระทำกรรมเดียวกันมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี เมื่อโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 คดีย่อมเสร็จเด็ดขาดไปเฉพาะกระทงความผิดดังกล่าวเท่านั้น ส่วนกระทงความผิดอื่นในคดีนี้ยังไม่ได้มีการวินิจฉัยในเนื้อหาความผิด จะถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญา นายหน้า ค่าชดใช้จากการถมดิน และประเด็นการฟ้องเกินคำขอ
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินตกลงค่านายหน้าในอัตราร้อยละ 3 จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดได้ โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีว่าจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์โดยไม่สุจริตปราศจากมูลที่จะอ้างตามสัญญาหรือกฎหมายได้ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย มีคำขอให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดิน 125,000 บาท ค่าที่ดินเพิ่มขึ้นจากการปรับถมที่ดิน 14,355,099 บาท และค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ 5,000,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า จำเลยขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อถือได้ว่าเป็นผลจากการที่โจทก์ได้ติดต่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อ พิพากษาให้จำเลยใช้ค่านายหน้าร้อยละ 3 ของราคาซื้อขายจำนวน 2,712,000 บาท เป็นเงิน 81,360 บาท เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือที่โจทก์มีคำขอบังคับ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยใช้ค่านายหน้าแก่โจทก์จากราคาที่ผู้ซื้อกับจำเลยทำการซื้อขายกันจริงจำนวน 6,000,000 บาท เป็นเงิน 180,000 บาท และที่จำเลยฎีกาว่าการซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ซื้อกับจำเลยไม่ได้เป็นผลมาจากการชี้ช่องหรือจัดการให้ของโจทก์ จำเลยไม่ต้องใช้ค่านายหน้าแก่โจทก์ เป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่โจทก์ปรับปรุงถมดินในที่ดินของจำเลยที่มีโจทก์เป็นนายหน้าเพื่อจูงใจให้มีผู้สนใจมาซื้อที่ดิน โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงเรื่องนี้แล้วจำเลยไม่ได้คัดค้าน จึงถือได้ว่าโจทก์ทำการปรับถมดินในที่ดินของจำเลยโดยสุจริต แม้ค่าใช้จ่ายนี้โจทก์รับว่า ตามสัญญานายหน้าไม่มีการระบุเรื่องของการถมดินและค่าใช้จ่ายในการถมดิน ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 แต่ดินที่ถมดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ตกติดไปกับที่ดินที่จะซื้อจะขายกัน อันเป็นประโยชน์ในการขายต่อไป กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์คือดินที่ถมนั้น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ ลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยจึงต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ แต่เมื่อสภาพทรัพย์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร โดยสภาพย่อมไม่อาจคืนทรัพย์นั้นกันได้ จำเลยจึงต้องคืนโดยใช้ราคาทรัพย์นั้นแก่โจทก์ มิใช่ชดใช้ราคาค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นโดยใช้ดินในการถมประมาณ 97 ลูกบาศก์เมตร ถมดินสูงขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร ค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดินจำนวน 125,000 บาท จำเลยไม่ได้แก้อุทธรณ์โจทก์หรือฎีกาโต้แย้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไร กรณีจึงฟังได้ว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดินไป จำนวน 125,000 บาท อันถือเป็นราคาทรัพย์ที่จำเลยต้องชดใช้คืนแก่โจทก์
การที่โจทก์ปรับปรุงถมดินในที่ดินของจำเลยที่มีโจทก์เป็นนายหน้าเพื่อจูงใจให้มีผู้สนใจมาซื้อที่ดิน โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงเรื่องนี้แล้วจำเลยไม่ได้คัดค้าน จึงถือได้ว่าโจทก์ทำการปรับถมดินในที่ดินของจำเลยโดยสุจริต แม้ค่าใช้จ่ายนี้โจทก์รับว่า ตามสัญญานายหน้าไม่มีการระบุเรื่องของการถมดินและค่าใช้จ่ายในการถมดิน ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 แต่ดินที่ถมดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ตกติดไปกับที่ดินที่จะซื้อจะขายกัน อันเป็นประโยชน์ในการขายต่อไป กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์คือดินที่ถมนั้น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ ลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยจึงต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ แต่เมื่อสภาพทรัพย์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร โดยสภาพย่อมไม่อาจคืนทรัพย์นั้นกันได้ จำเลยจึงต้องคืนโดยใช้ราคาทรัพย์นั้นแก่โจทก์ มิใช่ชดใช้ราคาค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นโดยใช้ดินในการถมประมาณ 97 ลูกบาศก์เมตร ถมดินสูงขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร ค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดินจำนวน 125,000 บาท จำเลยไม่ได้แก้อุทธรณ์โจทก์หรือฎีกาโต้แย้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไร กรณีจึงฟังได้ว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดินไป จำนวน 125,000 บาท อันถือเป็นราคาทรัพย์ที่จำเลยต้องชดใช้คืนแก่โจทก์