พบผลลัพธ์ทั้งหมด 515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5915/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมซื้อขายที่ดิน: การแบ่งหน้าที่ชำระตามข้อตกลงและกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 457 ที่บัญญัติว่า ค่าฤชาธรรมเนียมทำสัญญาซื้อขายนั้น ผู้ซื้อผู้ขายพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่าย เป็นการกำหนดหน้าที่ตามกฎหมายในการชำระค่าฤชาธรรมเนียมไว้ ซึ่งต้องใช้บังคับแก่คู่สัญญาทุกฝ่ายและผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมด้วย กรมที่ดินโจทก์จึงไม่มีอำนาจกำหนดให้ประชาชนต้องมีหน้าที่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนกฎกระทรวง ฉบับที่ 32 (พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ข้อ 2 (7) (ก) ที่ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์เรียกตามจำนวนทุนทรัพย์ร้อยละ 2 ซึ่งใช้อยู่ในขณะมีการจดทะเบียนโอนที่ดินตามฟ้องนั้น เป็นเพียงให้อำนาจทางราชการที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในอัตราเท่าใดเท่านั้น โจทก์จะนำมากล่าวอ้างเพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องมีหน้าที่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขายขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ซื้อ ตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมให้ต่างฝ่ายต่างออกคนละครึ่ง จำเลยที่ 1 และ 2 จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5915/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมซื้อขายที่ดิน: การแบ่งชำระตามสัญญา และหน้าที่ของคู่สัญญาตามกฎหมาย
หากผู้ซื้อและผู้ขายมิได้ตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมในการซื้อขายที่ดินกันไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ซื้อและผู้ขายต้องออกค่าธรรมเนียมเท่ากันทั้งสองฝ่าย ตามมาตรา 457 แห่ง ป.พ.พ. เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขาย ขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ซื้อ โดยตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่าให้ต่างฝ่ายต่างออกคนละครึ่งตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ. 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวคนละครึ่ง โจทก์จะเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมรับผิดในเงินค่าธรรมเนียมตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5617/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษาคนละฉบับ จำเป็นต้องวางเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาพร้อมกัน
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นรวม 2 ฉบับ โดยยื่นคนละคราวกัน สำหรับอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ซึ่งมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไปด้วย จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางพร้อมอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และหากจำเลยได้วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้วครบถ้วนจำเลยก็ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมในส่วนการอุทธรณ์คำพิพากษาซ้ำอีก การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งย่อมเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ทันที จำเลยจะอ้างว่าได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาไว้แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งอุทธรณ์คำสั่งเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ฉบับนี้หาได้ไม่ เพราะเป็นอุทธรณ์คนละฉบับและยื่นคนละคราวกันทั้งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลชั้นต้นต้องรอสั่งอุทธรณ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวพร้อมกัน แม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำพิพากษาแต่ก็เป็นเวลาภายหลังที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไปแล้ว ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวกลับกลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5617/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษาต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 โดยการวางค่าธรรมเนียมเป็นเงื่อนไขสำคัญของการรับอุทธรณ์
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นรวม 2 ฉบับ และยื่นคนละคราวกัน โดยยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีก่อน ส่วนอุทธรณ์คำพิพากษายื่นในภายหลัง เนื่องจากจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไว้ สำหรับการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีนั้นถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้จำเลยนำพยานเข้าสืบแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีซึ่งทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ต้องถูกเพิกถอนไปด้วย จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ดังนั้นเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก่อนอุทธรณ์คำพิพากษา จำเลยก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางพร้อมอุทธรณ์คำสั่งให้ถูกต้องครบถ้วน และหากจำเลยได้วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้วครบถ้วนจำเลยก็ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมส่วนนี้ซ้ำอีกเมื่อยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งย่อมเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ทันที จำเลยจะอ้างว่าได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาไว้แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งอุทธรณ์คำสั่งเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ฉบับนี้หาได้ไม่ เพราะเป็นอุทธรณ์คนละฉบับและยื่นคนละคราวกัน ทั้งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลชั้นต้นต้องรอสั่งอุทธรณ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวพร้อมกัน และแม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำพิพากษาแต่ก็เป็นเวลาภายหลังที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไปแล้ว ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวกลับกลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียม: ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและผลของการยอมรับเงื่อนไข
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษา และลงชื่อยอมรับที่จะมาฟังคำสั่งศาลวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ซึ่งพ้นกำหนดที่ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินครั้งสุดท้าย เท่ากับจำเลยยอมรับผลในกรณีที่ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2544 โดยมิได้สั่งในวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ก็ย่อมมีผลเช่นเดียวกัน และไม่จำต้องกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางอีก เพราะมิใช่เป็นกรณีชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับพิจารณาคดีใหม่ จำเลยต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หากไม่ปฏิบัติตาม อุทธรณ์ไม่ชอบ
อุทธรณ์ของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ถือว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อจำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาทแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีเดิมอีก ส่วนเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น เป็นคนละส่วนกับเงินค่าขึ้นศาล เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 โดยศาลไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติก่อนเพราะมิใช่เรื่องที่จำเลยมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4802/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่วางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ ทำให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยไว้พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี มีผลเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์พร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยมิได้จงใจฝ่าฝืน และมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้มิใช่เป็นคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 ได้ จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมประนอมหนี้ล้มละลาย: การคำนวณจากหนี้ร่วมและหนี้เดี่ยวของลูกหนี้
ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้รายที่ 1 ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 2,497,810.80 บาท โดยให้ได้รับชำระหนี้ไม่เกิน 1,110,852.57 บาท จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 6 อย่างลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งหมายความว่าหนี้ที่จำเลยที่ 6 ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้รายที่ 1 ก็รวมอยู่ในจำนวน 2,497,810.80 บาท ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดนั่นเอง เพียงแต่จำเลยที่ 6 ต้องร่วมรับผิดเพียง 1,110,852.57 บาท เท่านั้น จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 6 ขอประนอมหนี้ในส่วนของเจ้าหนี้รายที่ 1 จึงเป็นจำนวนเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 และที่ 6 ขอประนอมหนี้เป็นจำนวนร้อยละ 60 และ 50 ตามลำดับของจำนวนหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ตนขอประนอมหนี้เท่านั้น มิได้ทำให้เจ้าหนี้ส่วนของเจ้าหนี้รายที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 และที่ 6 ขอประนอมหนี้กลายเป็นหนี้คนละจำนวนกันแต่อย่างใด การคิดค่าธรรมเนียมประนอมหนี้ในส่วนจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 179 (เดิม) ซึ่งบัญญัติให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่ประนอมหนี้ จึงต้องคิดในอัตราร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ขอประนอมหนี้ ร้อยละ 60 ของจำนวนหนี้ที่ศาลอนุญาตให้เจ้าหนี้รายที่ 1 ได้รับชำระหนี้ จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่คิดค่าธรรมเนียมการประนอมหนี้จากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 6 ขอประนอมหนี้ในส่วนที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อเจ้าหนี้รายที่ 1 อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาโดยคนอนาถา ต้องชำระเงินตามคำพิพากษาหรือหาประกัน แม้ยกเว้นค่าธรรมเนียม
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 ต้องปฏิบัติตามมาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 คือนอกจากเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกา และนำค่าธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องชดใช้ตามมาตรา 229 มาวางศาลแล้ว จะต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้นด้วย จำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาแม้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกา และไม่ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องชดใช้มาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาหรือการหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองวางเงินหรือหาประกันภายใน 20 วัน จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติและไม่ใช่กรณีที่อาจขออนาถาได้ คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและเรียกจำเลยร่วม ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขออนุญาตยื่นคำให้การและขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมและพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้วสืบพยานต่อไปนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ต่อไป จำเลยจึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยจำเลยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลเป็นการไม่ชอบ