คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 401 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าปรับและวิธีการกักขังแทนค่าปรับในคดีศุลกากรและป่าไม้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200บัญญัติว่าให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับให้ผู้อุทธรณ์เป็นผู้นำส่งสำเนาอุทธรณ์หาได้ไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในตอนต้นว่า "ฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ปรับรวมเป็นเงิน 26,000 บาท" แม้จะระบุเพิ่มเติมต่อไปว่า"ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระกันคนละกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 13,000 บาท"ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงศาลชั้นต้นประสงค์จะแบ่งความรับผิดของจำเลยทั้งสองให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกแก่การกักขังแทนค่าปรับเท่านั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของจำเลยแต่ละคน ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกันมิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับโดยแยกให้ชัดเจนตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและพระราชบัญญัติศุลกากรฯ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี จำเลยทั้งสองฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษหนักเกินไปเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับละ 6 เดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพกพาอาวุธมีดเป็นความผิดสำเร็จ แม้ไม่ได้ใช้ในการกระทำผิด และการบังคับค่าปรับต้องเป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ใช้คำว่า "ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง" ฉะนั้นเมื่อจำเลยมีอาวุธมีดติดตัวไปในเมืองก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว หาจำต้องใช้ในการกระทำผิดไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาทต่อหนึ่งวัน ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 37.50 บาท การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความของดอกเบี้ยค่าปรับจากสัญญาประกันตัว การชำระต้นเงินไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุด
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด นัดในวันที่ 30 เมษายน 2529 โจทก์จึงมีคำสั่งปรับจำเลย ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน 2535 จำเลยนำค่าปรับจำนวน 106,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์เป็นจำนวนเงินที่แยกออกจากต้นเงินค่าเบี้ยปรับจำนวน 106,000 บาท ดอกเบี้ยจึงเป็นหนี้คนละส่วนกับต้นเงิน ดังนั้น การที่จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 106,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2535 จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้บางส่วนที่จะถือว่าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันมีผลทำให้อายุความ สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1)
ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลย เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเลยกำหนด 5 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ยค่าปรับจากสัญญาประกันตัว การชำระต้นเงินไม่สะดุดอายุความ
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากโจทก์และผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดในวันที่ 30 เมษายน 2529 โจทก์จึงมีคำสั่งปรับจำเลย ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน 2535 จำเลยชำระค่าปรับ 106,000บาท แก่โจทก์ ส่วนดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดสัญญาประกันไม่ได้ชำระแต่ดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่แยกออกจากค่าปรับที่เป็นต้นเงินจึงเป็นหนี้คนละส่วน การที่จำเลยชำระต้นเงินแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้บางส่วนที่จะถือว่าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) เมื่อดอกเบี้ยเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน2530 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเลยกำหนด 5 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญา ก่อสร้างสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับได้ และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับคืน
แม้มีเหตุจะเป็นอุปสรรคในการทำการก่อสร้างของโจทก์อยู่บ้าง แต่โจทก์ยังสามารถทำการก่อสร้างในส่วนอื่นได้ และต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันโดยจำเลยผ่อนผันยืดเวลาทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จออกไปอีก และกำหนดไว้ในข้อ 3 ว่าความรับผิดชอบส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จเดิมเป็นต้นไป โจทก์ยอมให้จำเลยปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น จำเลยจึงมีสิทธิปรับโจทก์ได้ตามสัญญา
โจทก์ผิดสัญญาก่อสร้างอาคารโดยส่งมอบให้จำเลยล่าช้ากว่ากำหนดจำเลยจึงปรับโจทก์ตามสัญญา โดยหักเงินค่าปรับไว้จากค่าจ้าง เมื่อศาลพิพากษาลดค่าปรับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ให้จำเลยคืนค่าปรับบางส่วนให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่ได้รับคืนนั้น เพราะการที่จำเลยหักค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษค่าปรับตาม ป.อ.มาตรา 78: ศาลมีดุลยพินิจในการลดโทษเฉพาะส่วน และการบังคับคดีค่าปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 901,635 บาทเพียงสถานเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองลดโทษปรับให้จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 78 กึ่งหนึ่งเฉพาะค่าปรับบุหรี่ซิกาแรตในจำนวนที่จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยมีไว้เพื่อขายโดยมิได้ปิดแสตมป์ตามกฎหมายเป็นการลดโทษที่ไม่ชอบ ควรจะลดโทษให้กึ่งหนึ่งของค่าปรับทั้งหมด ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลยพินิจของศาลว่าสมควรลดโทษให้จำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ.มาตรา 29, 30 เป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล มิใช่เป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวในคำฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษค่าปรับตามมาตรา 78 และการบังคับคดีค่าปรับด้วยการกักขัง ศาลฎีกาเห็นว่าการโต้แย้งดุลพินิจในการลดโทษเป็นข้อหาต้องห้าม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 901,635 บาทเพียงสถานเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองลดโทษปรับให้จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่งเฉพาะค่าปรับบุหรี่ซิกาแรตในจำนวนที่จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยมีไว้เพื่อขายโดยมิได้ปิดแสตมป์ตามกฎหมายเป็นการลดโทษที่ไม่ชอบ ควรจะลดโทษให้กึ่งหนึ่งของค่าปรับทั้งหมด ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลว่าสมควรลดโทษให้จำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 เป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล มิใช่เป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งปรับผู้ประกันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกัน การนับระยะเวลาอุทธรณ์ และการลดค่าปรับ
ผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตั้งแต่วันที่ 31กรกฎาคม 2541 และศาลชั้นต้นได้สั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันไปแล้ว แต่ในวันนัดพร้อมผู้ประกันแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยเนื่องจากจำเลยหลบหนี ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ประกันติดตามจำเลยอีก 1 เดือน ย่อมมีความหมายว่าในช่วงเวลาที่ศาลอนุญาตให้ผู้ประกันติดตามจำเลย ศาลจะยังไม่บังคับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับตามสัญญาประกัน และเป็นที่เข้าใจว่าหากผู้ประกันสามารถติดตามจำเลยมาส่งศาลได้ศาลชั้นต้นย่อมสั่งลดค่าปรับให้แก่ผู้ประกัน แม้ในวันนัดพร้อมนัดต่อมา ผู้ประกันยังไม่สามารถติดตามจำเลยได้ และขอเลื่อนการส่งตัวอีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและสั่งว่าถือว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ให้บังคับตามสัญญาประกันโดยให้ชำระค่าปรับภายใน 1 เดือน แต่ในวันนัดพร้อมวันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นนัดสุดท้ายนั้นผู้ประกันก็มาศาลแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยอีก ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งว่าไม่อนุญาตให้เลื่อนการส่งตัวจำเลย ให้ผู้ประกันชำระค่าปรับภายใน 30 วัน และให้จำหน่ายคดีชั่วคราว เห็นได้ว่า คำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 มีความหมายว่าให้ผู้ประกันชำระค่าปรับตามสัญญาประกันจำนวน 1,000,000 บาท ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่ง การที่ผู้ประกันอุทธรณ์ว่าหลังจากศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2541แล้วผู้ประกันได้ประสานงานกับเจ้าพนักงานตำรวจให้จับกุมจำเลยในทันทีที่จำเลยเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ขอให้แก้ไขคำสั่งศาลชั้นต้นลดค่าปรับลงด้วยถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541ที่ได้สั่งบังคับตามสัญญาประกัน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 119 ทั้งการขอลดค่าปรับไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ขอลดค่าปรับจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นก่อน เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ประกันจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมางาน: การขยายเวลา และผลกระทบต่อการคิดค่าปรับ
++ เรื่อง จ้างทำของ ค้ำประกัน ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ จำเลยทั้งสามฎีกา
++ ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี ตกลงค่าจ้างเป็นราคาเหมารวมภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีอากรอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวง จำนวน 63,900,000 บาท มีการแบ่งเนื้องานที่ว่าจ้างออกเป็น 10 งวด และกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดรวม 10 งวด ตามราคาเนื้องานในแต่ละงวด และแต่ละงวดได้กำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จเป็นจำนวนวันต่อเนื่องกันไปโดยมีระยะเวลาห่างกัน30 วันในแต่ละงวด โดยงวดที่ 1 กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันและในงวดที่ 10 งวดสุดท้ายกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน แต่ทุกงวดจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกัน
++ ในสัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จ และสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญา ได้มีการกำหนดให้ผู้รับจ้างจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม2537 มิฉะนั้นผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
++ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับกำหนดว่า หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง ตามสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี เอกสารหมาย จ.3
++ มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างดังกล่าวในจำนวนเงิน 3,195,000 บาท โดยมีข้อสัญญาว่า หากโจทก์ได้ขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 หรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดแผกไปจากเงื่อนไขใด ๆ ในสัญญา ให้ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมด้วย ตามหนังสือค้ำประกันเอกสารหมาย จ.6
++ ต่อมาวันที่ 18 พฤศจิกายน 2537 ก่อนครบอายุสัญญาจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอขยายอายุสัญญา วันที่ 14 กรกฎาคม 2538 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3โดยตกลงแก้ไขงวดงานและการจ่ายเงินในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10และมีข้อสัญญาเพิ่มเติมข้อ 3 ว่า โจทก์ตกลงขยายระยะเวลาให้จำเลยที่ 1เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับจากวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้โจทก์จะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม และในข้อ 4 กำหนดว่า โจทก์ตกลงไม่ปรับจำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำการประปาหนองแค (ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี สัญญาเลขที่ 238/2536ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2536 (ฉบับที่ 1) เอกสารหมาย จ.18 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำตามสัญญาทุกงวดแล้วเสร็จและส่งมอบแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ได้ขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว
++ ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานในงวดที่9 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2538 งวดที่ 3 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538และงานในงวดที่ 5 และที่ 6 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2538 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 3 ธันวาคม 2537 อันเป็นวันกำหนดเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเดิมแล้วล่วงเลยไป 162 วัน และในการจ่ายเงินค่าจ้างในงวดที่ 9 งวดที่3 งวดที่ 5 และงวดที่ 6 โจทก์ได้บันทึกข้อความขอสงวนสิทธิในการปรับจำเลยที่ 1 เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้าด้วย ต่อมาโจทก์จึงเรียกร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นเงินวันละ 63,900 บาท จำนวน162 วัน เป็นเงิน 10,351,800 บาท และเรียกให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.18 ถือเป็นการขยายระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ทั้งสัญญา หรือขยายระยะเวลาเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว
++ เห็นว่า แม้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 ข้อ 4 จะระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงไม่ปรับผู้รับจ้างในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการ อันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่าสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ถือว่ากำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงวดสามารถแยกออกจากกันได้ จึงได้มีข้อความเป็นทำนองว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาสำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ได้เท่านั้น
++ แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 เป็นเพียงส่วนประกอบของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3
++ ดังนั้น การตีความในข้อความของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จึงต้องตีความให้สอดคล้องและไม่ให้ขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3
++ เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3ข้อ 1 ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าจ้าง ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำการปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค จังหวัดสระบุรีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขแห่งสัญญานี้ รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญา และในสัญญาข้อ 4 ซึ่งเป็นข้อตกลงเรื่องค่าจ้างและการจ่ายเงิน ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้าง จำนวนเงิน 63,900,000 บาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวนเงิน 4,180,373.83 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่น ๆและค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว โดยถือเอาราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ และกำหนดจ่ายเงินเป็นงวด ๆ ดังนี้ สัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จและสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญาได้ระบุไว้ว่า ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานที่รับจ้างภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 และจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3ธันวาคม 2537 ถ้าผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลาหรือไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา หรือจะแล้วเสร็จล่าช้าเกินกว่ากำหนดเวลา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับ ระบุว่าหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง
++ จากข้อตกลงว่าจ้างและข้อตกลงเรื่องค่าจ้าง แสดงให้เห็นว่าสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3เป็นสัญญาจ้างทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ โดยผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างเพื่อผลสำเร็จของงานนั้นเป็นเงิน 63,900,000 บาท ข้อกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 อันเป็นวันทำสัญญา และต้องทำงานให้เสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 แม้ในรายละเอียดของงวดงานทั้ง 10 งวดตามสัญญา จะได้กำหนดจำนวนวันที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จในแต่ละงวดไว้แตกต่างกัน แต่กำหนดเวลาเริ่มต้นทำงานของงานแต่ละงวดจะนับตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกันหมด โดยมิได้กำหนดให้เริ่มทำงานในงวดที่ 1 ก่อนและกำหนดให้ส่งมอบงานในงวดที่ 10 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เรียงกันไป ทั้งเมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าปรับ 63,900 บาทต่อวันแล้ว ปรากฎว่าตามสัญญาได้ใช้จำนวนค่าจ้างของงานทั้งหมดมาเป็นฐานคำนวณค่าปรับในอัตราร้อยละ .1 ของค่าจ้างทั้งหมดจำนวนเดียว ย่อมมีความหมายว่าผู้รับจ้างจะเริ่มทำงานในงวดใดก่อนก็ได้ และจะทำงานงวดใดให้เสร็จเป็นงวดสุดท้ายก็ได้ แต่งานทุกงวดต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 หากงานงวดใดงวดหนึ่งเสร็จล่าช้าเกินไปกว่าวันที่ 3 ธันวาคม 2537 ต้องถือว่างานทั้งหมดล่าช้า ต้องเสียค่าปรับวันละ 63,900 บาท
++ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ว่า เป็นสัญญาจ้างทำของในลักษณะจ้างเหมาโดยถือเอาความสำเร็จของงานทั้งหมดเป็นสำคัญ การแบ่งงวดงานออกเป็น 10งวด ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินค่าจ้างซึ่งจะแบ่งจ่ายแก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆเท่านั้น ดังนั้น กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานทั้งหมด ก็คือกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 6 ที่กำหนดให้ทำงานเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เมื่อตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 ได้มีการแก้ไขเนื้องานเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 โดยมีการตกลงเพิ่มเติมจากสัญญาจ้างเดิมในข้อ 3 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมว่า ผู้ว่าจ้างตกลงขยายระยะเวลาให้ผู้รับจ้างเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมความในข้อ 6 ของสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.3 โดยการขยายระยะเวลาทำงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ออกไปทั้งสัญญา
++ แม้ตามความในข้อ 4ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จะมีข้อความในทำนองที่ว่า การขยายระยะเวลาตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เป็นการขยายระยะเวลาให้สำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ที่มีการแก้ไขเนื้องานเท่านั้น ส่วนงานในงวดอื่น ๆ หากมีการส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาในสัญญาจ้างเดิม ต้องถูกปรับตามอัตราค่าปรับตามสัญญาจ้างเดิมโดยมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมส่วนของอัตราค่าปรับให้สอดคล้องกับจำนวนค่าจ้างที่ต้องจ่ายตามสัญญาจ้างเดิมในแต่ละงวด ทั้งมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดอื่นในสัญญาจ้างเดิมอีก ความในข้อ 4 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จึงไม่สอดคล้องและขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ไม่มีผลบังคับ
++ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบงานทุกงวดภายในกำหนดเวลาที่ได้มีการขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระค่าปรับตามสัญญาได้ ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเรียกค่าปรับจากสัญญาไม่แล้วเสร็จ: ข้อจำกัดการฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์
จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าปรับรายวันแก่จำเลยรวมเป็นเงิน 120,000 บาท เนื่องด้วยโจทก์ผิดสัญญาก่อสร้างอาคารบ้านพักไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงต้องกันมาว่า โจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากโจทก์ ยกฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยฎีกาต่อมา คดีตามฟ้องแย้งจึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ทำการก่อสร้างอาคารบ้านพักไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดก็ดี มิได้มีการตกลงขยายเวลาก่อสร้างก็ดี เป็นฎีกาโต้แย้งในข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งมาด้วยนั้น ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 41