พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376-3377/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาพนักงานทำงานกะกลางวันบนเรือขุดเจาะ: ไม่ถือเป็นงานล่วงเวลาหากไม่มีการสั่งงาน
โจทก์เป็นพนักงานฝ่ายผลิต ทำงานกะกลางวันประจำแท่นผลิตเอราวัณ เมื่อเลิกงานแล้วจะพักอยู่ที่แท่นพักอาศัย จำเลยให้โจทก์ไปทำงานที่แท่นผลิตจูเลียสเป็นการชั่วคราว เมื่อเลิกงานแล้วจำเลยให้โจทก์นอนพักอยู่บนเรือเจาะก๊าซซึ่งจำเลยจัดให้มีที่พักอาศัย และในระหว่าง 18 นาฬิกา ถึง 6 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นเวลาพักผ่อนนั้นจำเลยอาจสั่งให้โจทก์ขึ้นมาปฏิบัติงานปิดเปิดวาล์วโดยจ่ายค่าล่วงเวลาให้ตามความเป็นจริง การที่จำเลยให้โจทก์นอนพักบนเรือเจาะก๊าซก็เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานกะกลางวันในวันรุ่งขึ้นและสภาพไม่ต่างไปจากแท่นพักอาศัยเดิม มิใช่จำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลาในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยมิได้ปลุกโจทก์ขึ้นมาปฏิบัติงานปิดเปิดวาล์วจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการนำสืบพยานนอกคำให้การในคดีแรงงาน และการพิจารณาค่าล่วงเวลา
จำเลยให้การว่า โจทก์ประพฤติตนเป็นที่เสียหายและเสื่อมเสียแก่กิจการโรงพยาบาลของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นเหตุให้เลิกจ้างโจทก์ได้ โดยยกเอาการรักษาณ. ผู้ป่วยของโจทก์มาเป็นตัวอย่างว่าโจทก์ประพฤติตนเป็นที่เสียหายและเสื่อมเสียแก่จำเลยอย่างไรบ้าง เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งแล้ว ส่วนที่กล่าวในคำให้การว่ายังมีคนไข้อีกหลายรายที่โจทก์กระทำในทำนองเดียวกันก็เป็นรายละเอียดที่จำเลยชอบที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และเมื่อจำเลยนำพยานต่าง ๆ เข้าสืบถึงความประพฤติของโจทก์ที่เป็นที่เสียหายและเสื่อมเสียแก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมนำมาวินิจฉัยว่า การกระทำของโจทก์เป็นการประพฤติตนเป็นที่เสียหายและเสื่อมเสียแก่จำเลยได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9548-9570/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาในงานผลิตสารเคมีอันตราย: สารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์
คุณสมบัติของสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์แม้ในอุณหภูมิปกติก็ระเหยเป็นไอได้และเมื่อสัมผัสทางผิวหนังหรือเยื่อบุตาก็ทำให้ผิวหนังหรือดวงตาได้รับอันตรายและหากเข้าสู่ร่างกายโดยทางหายใจหรือทางปากก็อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งเฉียบพลันหรือค่อยเป็นค่อยไปเป็นระยะเวลานานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณสารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายมากน้อยเพียงใดสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์จึงเป็นวัตถุเคมีที่เป็นอันตรายในตัวของมันเองเมื่อสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์เป็นสารที่ระเหยได้ในอุณหภูมิปกติบุคคลที่ทำงานผลิตสารดังกล่าวจึงอาจได้รับอันตรายตลอดเวลาโจทก์ทั้งยี่สิบสามเป็นลูกจ้างของจำเลยทำงานด้านการผลิตสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์งานของโจทก์ทั้งยี่สิบสามจึงเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายตาม(2)แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างลงวันที่16เมษายน2515ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะมีระบบป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุดีเพียงใดและลูกจ้างของจำเลยเคยได้รับอันตรายหรือไม่งานดังกล่าวของจำเลยจึงตกอยู่ในบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3(3)ที่จำเลยจะต้องจัดให้ลูกจ้างทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ42ชั่วโมงเมื่อปรากฏว่าจำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามทำงานสัปดาห์ละ48ชั่วโมงหรือเฉลี่ยวันละ8ชั่วโมงโดยทำงาน6วันเวลาทำงานปกติคือ8ถึง17นาฬิกาพัก12ถึง13นาฬิกาโจทก์ทั้งยี่สิบสามจึงทำงานล่วงเวลาวันละ1ชั่วโมงซึ่งจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทุกคนตามฟ้อง ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเพราะโจทก์ทั้งยี่สิบสามสมยอมจำเลยมิได้ผิดสัญญานั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังเป็นยุติตามคำแถลงของโจทก์และจำเลยว่าหากโจทก์ทั้งหมดมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาก็จะได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15ต่อปีในต้นเงินดังกล่าวด้วยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาที่ไม่เป็นธรรมและสัญญาจ้างที่ไม่ชัดเจน
ค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ และประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวยังได้กำหนดให้ลูกจ้างประเภทไหนทำงานในระยะเวลาเท่าใดใน 1 สัปดาห์ หากทำเกินจากกำหนดระยะเวลา จะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราที่กฎหมายกำหนดตามข้อ 3, 11, 29,34 และ 42 ซึ่งกำหนดโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างในเวลาทำงานปกติ การที่จะรวมค่าจ้างและค่าทำงานล่วงเวลาย่อมเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างเพราะไม่ทราบว่าอัตราค่าจ้างปกติที่จะนำไปคำนวณค่าล่วงเวลานั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หรือต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ เนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำย่อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ เมื่อสัญญาว่าจ้างทำงานมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้ ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่า จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลาจริง ข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นมีผลเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานนอกเวลาทำงานปกติโดยไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ย่อมขัดต่อประกาศกระทรวง-มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรวมค่าล่วงเวลาขัดกฎหมาย หากไม่ระบุอัตราค่าจ้างปกติ ทำให้ลูกจ้างเสียเปรียบ
ค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ และประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวยังได้กำหนดให้ลูกจ้างประเภทไหนทำงานในระยะเวลาเท่าใดใน 1 สัปดาห์ หากทำเกินจากกำหนดระยะเวลา จะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราที่กฎหมายกำหนดตามข้อ 3,11,29,34 และ 42 ซึ่งกำหนดโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างในเวลาทำงานปกติ การที่จะรวมค่าจ้างและค่าทำงานล่วงเวลาย่อมเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างเพราะไม่ทราบว่าอัตราค่าจ้างปกติที่จะนำไปคำนวณค่าล่วงเวลานั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่หรือต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ เนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำย่อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ เมื่อสัญญาว่าจ้างทำงานมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้ ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่า จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลาจริง ข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นมีผลเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานนอกเวลาทำงานปกติโดยไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ย่อมขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าล่วงเวลา: ศาลต้องวินิจฉัยสิทธิลูกจ้างตามที่ฟ้อง
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชำระดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี และศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้แล้ว การที่ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เพียงใด จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 51
นายจ้างที่ไม่ชำระค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากนายจ้างในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่ผิดนัด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ซึ่งตามข้อ29 (1) ลูกจ้างจะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง เมื่อนายจ้างมิได้ชำระแต่ละเดือน จึงถือว่าผิดนัดตั้งแต่วันที่จะต้องชำระในแต่ละเดือน
นายจ้างที่ไม่ชำระค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากนายจ้างในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่ผิดนัด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ซึ่งตามข้อ29 (1) ลูกจ้างจะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง เมื่อนายจ้างมิได้ชำระแต่ละเดือน จึงถือว่าผิดนัดตั้งแต่วันที่จะต้องชำระในแต่ละเดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องวินิจฉัยดอกเบี้ยค่าล่วงเวลาตามคำขอท้ายฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาถึงเรื่องค่าล่วงเวลาแล้ว
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชำระดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี และศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้แล้ว การที่ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เพียงใด จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 51 นายจ้างที่ไม่ชำระค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากนายจ้างในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่ผิดนัด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรกซึ่งตามข้อ 29(1) ลูกจ้างจะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง เมื่อนายจ้างมิได้ชำระแต่ละเดือนจึงถือว่าผิดนัดตั้งแต่วันที่จะต้องชำระในแต่ละเดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าล่วงเวลาของลูกจ้าง แม้มีข้อตกลงงดจ่าย ก็ไม่สมบูรณ์
โจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานขับรถของจำเลย มีเวลาทำงานตามปกติแน่นอนตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกาถึง 17 นาฬืกา ดังนั้น ระยะเวลาทำงานที่นอกเวลาปกตินี้ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลา มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน2515 ข้อ 2 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย การที่นายจ้างทำสัญญางดเว้นไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงงดจ่ายค่าล่วงเวลาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นโมฆะ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
โจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานขับรถของจำเลยมีเวลาทำงานตามปกติแน่นอนตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกาถึง 17 นาฬิกาดังนั้น ระยะเวลาทำงานที่นอกเวลาปกตินี้ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลา มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยการที่นายจ้างทำสัญญางดเว้นไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่จ่ายค่าล่วงเวลาขัดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โมฆะ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
การทำงานนอกเวลาทำงานปกติถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลาลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย การที่นายจ้างทำสัญญางดเว้นไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลา