พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้จากการประมูลแชร์ และการชำระหนี้ค่าหุ้นที่ค้างอยู่
โจทก์จำเลยเป็นลูกวงแชร์ซึ่งมีข้อตกลงว่าผู้ประมูลแชร์ได้จะออกเช็คไม่ลงวันที่ให้แก่ผู้ประมูลไม่ได้ ส่วนผู้ประมูลไม่ได้จะจ่ายเงินค่าหุ้นให้ผู้ประมูลได้โดยนำดอกเบี้ยที่ประมูลได้หักออกจากเงินค่าหุ้น จำเลยประมูลแชร์ได้ จึงมีหน้าที่ผูกพันตามข้อตกลงต้องส่งเงินคืนคือสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ ดังนั้นเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ จึงมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์ยังเป็นหนี้เงินค่าหุ้นจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ตามเช็คพิพาทได้ เมื่อจำเลยแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้แก่โจทก์แล้วย่อมมีผลย้อนหลังขึ้นไปจนถึงเวลาซึ่งหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้นจะอาจหักกลบลบกันได้เป็นครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระหลังขายทอดตลาด และการประมูลที่ไม่ขัดกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1125 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการขายทอดตลาดหุ้นที่ริบแล้วได้เงินมากกว่ามูลค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นต้องรับผิด ก็ให้เอาหักใช้ค่าหุ้นที่เรียกกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ถ้ายังมีเงินเหลือเท่าใด ต้องส่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนกรณีที่ขายได้เงินน้อยกว่ามูลค่าหุ้นที่ผู้จองซื้อเป็นหนี้ค่าหุ้นบริษัทเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1106ที่บัญญัติว่า การเข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นย่อมผูกพันผู้เข้าชื่อโดยถ้าบริษัทตั้งขึ้นแล้วจะใช้จำนวนเงินค่าหุ้นนั้น ๆ ให้แก่บริษัทดังนี้ เมื่อจำเลยจองซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์และต้องชำระเงินเต็มมูลค่าหุ้นแก่บริษัทโจทก์ แต่ไม่ชำระย่อมเป็นหนี้บริษัทโจทก์ซึ่งมีผลให้บริษัทโจทก์เรียกให้จำเลยชำระได้ดังหนี้ทั่วไป การที่บริษัทโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นที่จำเลยจองซื้อได้เงินเท่าใดก็นำมาหักชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระเงินมูลค่าหุ้นได้ เมื่อยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ขาดอยู่แก่โจทก์ ผู้เข้าสู้ราคาและซื้อหุ้นได้จากการขายทอดตลาดที่บริษัทโจทก์เป็นผู้ขายนั้นเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วย หรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์เท่านั้นถือว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 511,512 ที่บัญญัติห้ามผู้ขายทอดตลาด หรือผู้ขายเข้าสู้ราคาหรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดหุ้นที่จองซื้อแล้วไม่ชำระเงิน และสิทธิของบริษัทในการเรียกค่าหุ้นส่วนที่ขาด
จำเลยจองซื้อหุ้นของโจทก์แล้วไม่ชำระค่าหุ้นตามที่โจทก์เรียกให้ส่งโจทก์จึงริบหุ้นของจำเลยและเอาออกขายทอดตลาดแต่ได้เงินน้อยกว่ามูลค่าหุ้นที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าหุ้นส่วนที่ยังขาดอยู่แก่โจทก์ได้ตามรูปการแห่งหนี้ทั่วไป ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 511,512 ห้ามผู้ทอดตลาดหรือผู้ขายเข้าสู้ราคาหรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด แม้บริษัท ม. ผู้ซื้อหุ้นของจำเลยได้จากการขายทอดตลาดจะเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วยหรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่บริษัท ม. ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ให้บริษัท ม. หรือลูกจ้างโจทก์หรือบุคคลอื่นใดเข้าประมูลสู้ราคาแทนโจทก์การขายทอดตลาดหุ้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ดำเนินการขายทอดตลาดตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าหุ้นและบำเหน็จของตัวแทน: ใช้ 10 ปีตามมาตรา 816 และ 193/30
โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าหุ้นและค่าบำเหน็จที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองแทนจำเลยไป เป็นกรณีตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปชดใช้จากตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้อายุความ 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องค่าหุ้นค้างชำระจากผู้ถือหุ้นลูกหนี้ เพื่อนำมาชำระหนี้
บริษัทจำเลยที่ 1 ซื้อก๊าซไนโตรเจนเหลวไปจากโจทก์ แล้วไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ และกรรมการของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์ต้องเสียประโยชน์โจทก์จึงมีอำนาจใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ส่งชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัท และอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจ ของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรง อยู่ หาใช่ว่าจะต้อง เรียกภายในกำหนด ๑๐ ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้ง กรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้ เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๖๕ ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้นและเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ และ ๑๑๙ เรียกให้ผู้ร้องซึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกทั้งหมดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระไม่จำกัดระยะเวลา หากยังไม่ได้รับชำระและบริษัทฯ ยังดำรงอยู่
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าจะต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้งกรรมการบริษัทไม่ แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกจึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัทและการบังคับชำระหลังล้มละลาย
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจ ของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรง อยู่ หาใช่ว่าจะต้อง เรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้ง กรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้ เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้นและเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกทั้งหมดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4621/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าหุ้นสหกรณ์: ข้อบังคับภายในไม่ผูกพันเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ตามข้อบังคับของสหกรณ์ผู้ร้อง จำเลยมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นต่อเมื่อได้มีการคืนหุ้นแก่จำเลย ซึ่งจะมีได้ 2 กรณี คือเมื่อจำเลยขาดจากสมาชิกภาพสหกรณ์ผู้ร้อง และเมื่อสหกรณ์ชำระบัญชีแล้วมีเงินเหลือคืนแก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ขาดจากสมาชิกภาพสหกรณ์ผู้ร้อง และสหกรณ์ผู้ร้องยังไม่เลิก สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นของจำเลยที่มีต่อผู้ร้องยังไม่เกิดขึ้น แต่ข้อบังคับของผู้ร้องมิใช่กฎหมาย เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจัดวางระเบียบบริหารงานภายในของผู้ร้องข้อบังคับของผู้ร้องจึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ศาลย่อมอายัดเงินค่าหุ้นของจำเลยต่อผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นที่บริษัทรู้เห็น vs. การไม่จดแจ้งทะเบียน และความรับผิดในค่าหุ้นค้างชำระ
การโอนหุ้นทำที่บริษัทจำเลยต่อหน้ากรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น โดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนแจ้งอีก การที่บริษัทจำเลยไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเอง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม จะบัญญัติถึงการโอนหุ้นที่ไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ แต่ก็หมายถึงว่าเป็นเรื่องที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้รู้เห็นด้วย กฎหมายจึงให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน เมื่อการโอนหุ้นได้โอนกันที่บริษัทจำเลย กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรู้เห็นเป็นพยาน จึงมิใช่กรณีที่จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสามมาใช้ได้
ในขณะที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้รับโอน หุ้นของผู้ร้องยังมิได้ส่งใช้เงินเต็มจำนวนค่าหุ้น ผู้ร้องในฐานะผู้โอนจึงยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ส่งใช้ให้ครบ
ในขณะที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้รับโอน หุ้นของผู้ร้องยังมิได้ส่งใช้เงินเต็มจำนวนค่าหุ้น ผู้ร้องในฐานะผู้โอนจึงยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ส่งใช้ให้ครบ