พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการจำนองที่ดินสินสมรสเพื่อปรนเปรอภริยาน้อย ไม่เป็นหนี้ร่วม และสามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู
สามีเอาที่ดินสินสมรสไปจำนองธนาคารเอาเงินไปปรนเปรอภริยาน้อยหนี้นี้ไม่เป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482(1) ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
สามีแพ้คดีที่ภริยาฟ้องหย่าโดยเหตุที่สามีต้องรับผิดฝ่ายเดียว ภริยาไม่มีรายได้ สามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฐานะของภริยา และความสามารถของสามี ตามมาตรา 1506, 1508 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
สามีแพ้คดีที่ภริยาฟ้องหย่าโดยเหตุที่สามีต้องรับผิดฝ่ายเดียว ภริยาไม่มีรายได้ สามีต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฐานะของภริยา และความสามารถของสามี ตามมาตรา 1506, 1508 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าอุปการะและค่าปลงศพกรณีบุตรนอกสมรส & การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของมารดาผู้ตาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีหน้าที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตายไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นนั้น เฉพาะแต่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เท่านั้นที่มีหน้าที่จัดการศพ โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย เพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่477/2514)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่มารดาผู้ตายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ถึงแม้จะบรรยายมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีความประสงค์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยถือเอาคำฟ้องและหลักฐานต่าง ๆ ของโจทก์เป็นของผู้ร้องก็ตาม เมื่อฟังว่าผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดทำให้บุตรของตนตายได้โดยตรงอยู่แล้ว ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงแปลได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) นั่นเองโดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องหาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาตามมาตรา 57(2) ไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องก็เข้ามาในคดีได้ (ข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2521)
จำเลยถือสิทธิครอบครองใช้แพที่เกิดเหตุซึ่งเดิมใช้สำหรับผู้โดยสารเรือเล็กที่รับส่งข้ามฟาก หรือไปมาในระยะใกล้เป็นครั้งคราวมาใช้สำหรับรับส่งคนโดยสาร-เรือด่วนของจำเลยเป็นประจำ วันเกิดเหตุผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น แพโป๊ะทานน้ำหนักไม่ได้เกิดแตกล่มจำเลยมีส่วนจะต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่มิได้ระมัดระวังป้องกัน ตรวจสภาพปรับปรุงซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้แข็งแรงคงทนเหมาะสมกับกิจการของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
การที่บุตรตายลง ย่อมทำให้ผู้เป็นมารดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงว่าผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูมารดาหรือไม่
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย และบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วยและต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นนั้น เฉพาะแต่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เท่านั้นที่มีหน้าที่จัดการศพ โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย เพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่477/2514)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่มารดาผู้ตายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ถึงแม้จะบรรยายมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีความประสงค์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยถือเอาคำฟ้องและหลักฐานต่าง ๆ ของโจทก์เป็นของผู้ร้องก็ตาม เมื่อฟังว่าผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดทำให้บุตรของตนตายได้โดยตรงอยู่แล้ว ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงแปลได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) นั่นเองโดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องหาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาตามมาตรา 57(2) ไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องก็เข้ามาในคดีได้ (ข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2521)
จำเลยถือสิทธิครอบครองใช้แพที่เกิดเหตุซึ่งเดิมใช้สำหรับผู้โดยสารเรือเล็กที่รับส่งข้ามฟาก หรือไปมาในระยะใกล้เป็นครั้งคราวมาใช้สำหรับรับส่งคนโดยสาร-เรือด่วนของจำเลยเป็นประจำ วันเกิดเหตุผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น แพโป๊ะทานน้ำหนักไม่ได้เกิดแตกล่มจำเลยมีส่วนจะต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่มิได้ระมัดระวังป้องกัน ตรวจสภาพปรับปรุงซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้แข็งแรงคงทนเหมาะสมกับกิจการของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
การที่บุตรตายลง ย่อมทำให้ผู้เป็นมารดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงว่าผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูมารดาหรือไม่
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย และบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วยและต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน: ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจากละเมิด ไม่ใช่ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมายเฉพาะ
ทำละเมิดให้บิดาตาย บุตรฟ้องผู้ทำละเมิดเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูตาม มาตรา443 ไม่ใช่เรียกตาม มาตรา1564 ไม่อยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะกรณีเสียชีวิต: มารดาและบุตรผู้เยาว์
จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ ท. ตายมารดาของ ท. กับบุตรผู้เยาว์ของ ท. ซึ่งมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดามีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเพราะขาดอุปการะตามกฎหมายมารดา ท. เรียกค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นระยะเวลา 10 ปี ไม่เป็นระยะเวลาที่นานเกินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2455/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลและค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ละเมิด แม้ผู้เสียหายได้รับเงินจากรัฐ
แม้โจทก์เป็นข้าราชการได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลบุตรผู้เยาว์ซึ่งถูกทำละเมิดจากทางราชการแล้ว ก็ยังมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดอีกได้ เพราะสิทธิ์ของโจทก์ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจากทางราชการ เป็นสิทธิ์ที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย
ในการละเมิดทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องค่าเสียหายอย่างใดได้บ้าง มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 444, 445 และ 446 ซึ่งหาได้ให้สิทธิ์แก่บิดาที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งทุพพลภาพเพราะถูกกระทำละเมิดต่อไปในอนาคตไม่
ฟ้องเรียกค่าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งต้องทุพพลภาพเพราะถูกกระทำละเมิด แม้ทางพิจารณาโจทก์จะนำสืบเป็นทำนองขอเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่บุตรเสียความสามารถสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและอนาคต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 ศาลก็จะบังคับให้ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
หมายเหตุ วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2519)
ในการละเมิดทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องค่าเสียหายอย่างใดได้บ้าง มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 444, 445 และ 446 ซึ่งหาได้ให้สิทธิ์แก่บิดาที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งทุพพลภาพเพราะถูกกระทำละเมิดต่อไปในอนาคตไม่
ฟ้องเรียกค่าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งต้องทุพพลภาพเพราะถูกกระทำละเมิด แม้ทางพิจารณาโจทก์จะนำสืบเป็นทำนองขอเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่บุตรเสียความสามารถสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและอนาคต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 ศาลก็จะบังคับให้ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
หมายเหตุ วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลังหย่ามีผลอย่างไร และศาลใดมีอำนาจพิจารณา
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน. และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด. สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป.จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร. การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1536. อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่.
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2ใน 4 คนคืนแก่สามี. หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว. สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง. ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม. แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512).
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร. การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1536. อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่.
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2ใน 4 คนคืนแก่สามี. หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว. สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง. ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม. แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการขับรถประมาททำให้เสียชีวิต ศาลไม่ผูกพันผลคดีอาญา และสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะ
จำเลยขับรถบรรทุกเฉี่ยวรถจี๊ปเสียหายด้วยความประมาท เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ซึ่งนั่งมาในรถจี๊ปถึงแก่ความตาย อัยการได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้คนตาย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่า เหตุที่รถเกิดชนกันนั้นอาจเกิดขึ้นเพราะความผิดความประมาทของจำเลยหรือของคนขับรถจี๊ปก็เป็นได้ทั้ง 2 ทางเท่าๆ กัน ดังนี้เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ทำให้บุตรโจทก์ตาย ศาลจะนำเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาที่ให้ยกฟ้องอัยการนั้นมาวินิจฉัยคดีแพ่งอย่างใดไม่ได้ เพราะมิได้ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติอย่างไร โจทก์อาจนำสืบในคดีแพ่งได้อีกว่า จำเลยเป็นฝ่ายประมาททำให้บุตรโจทก์ตาย
เมื่อโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าปลงศพบุตรโจทก์ ซึ่งถูกจำเลยกระทำให้ถึงแก่ความตาย แม้นายจ้างของบุตรโจทก์จะได้บริจาคเงินแก่โจทก์ให้ใช้จ่ายในการทำศพเป็นเงินจำนวนเท่าๆ กันแล้ว จำเลยก็จะยกมาเป็นข้อปัดความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่
ผู้ตายเคยอุปการะโจทก์เดือนละ 300 บาท ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนการที่โจทก์ขาดไร้อุปการะเป็นเงินจำนวนเดียว 36,000 บาท ตามที่โจทก์ขอมาโดยคิดคำนวณจากระยะเวลา 10 ปีได้ แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นนี้เป็นการชดใช้แก่หนี้ในอนาคต โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ไม่ได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าปลงศพบุตรโจทก์ ซึ่งถูกจำเลยกระทำให้ถึงแก่ความตาย แม้นายจ้างของบุตรโจทก์จะได้บริจาคเงินแก่โจทก์ให้ใช้จ่ายในการทำศพเป็นเงินจำนวนเท่าๆ กันแล้ว จำเลยก็จะยกมาเป็นข้อปัดความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่
ผู้ตายเคยอุปการะโจทก์เดือนละ 300 บาท ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนการที่โจทก์ขาดไร้อุปการะเป็นเงินจำนวนเดียว 36,000 บาท ตามที่โจทก์ขอมาโดยคิดคำนวณจากระยะเวลา 10 ปีได้ แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นนี้เป็นการชดใช้แก่หนี้ในอนาคต โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปลงศพและค่าอุปการะเลี้ยงดูจากละเมิด ศาลฎีกาชี้ว่าการระบุรายละเอียดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น และสิทธิในการเรียกร้องค่าอุปการะมีถึงอนาคต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปลงศพผู้ตายที่ตายเพราะจำเลยทำละเมิดนั้นพอที่จำเลยเข้าใจได้แล้ว หาจำต้องบรรยายว่าเป็นค่าอะไรเท่าใดด้วยไม่ เพราะเป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น และโจทก์มีสิทธิเรียกค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะในการศึกษาล่วงหน้าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปลงศพและค่าอุปการะเลี้ยงดูจากละเมิด ศาลฎีกาชี้ว่าการระบุรายละเอียดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น และสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมถึงค่าศึกษาในอนาคตมีได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปลงศพผู้ตายที่ตายเพราะจำเลยทำละเมิดนั้น พอที่จำเลยเข้าใจได้แล้ว หาจำต้องบรรยายว่าเป็นค่าอะไรเท่าใดด้วยไม่ เพราะเป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น และโจทก์มีสิทธิเรียกค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะในการศึกษาล่วงหน้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเลี้ยงดูจากสัญญาประนีประนอมยอมความกับการเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตร
คำฟ้องเดิมของโจทก์เรียกร้องค่าเลี้ยงดูเฉพาะตัวโจทก์เองเท่านั้น การที่โจทก์ร้องขอให้เพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงต้องเป็นเรื่องสืบเนื่องโดยตรงจากคำฟ้องเดิมของโจทก์นั้นเอง จะยกเอาประเด็นใหม่ขึ้นมาประกอบ อาทิเรื่องความจำเป็นเกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรอีกด้วย เช่นนี้ ไม่ได้ เพราะค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับตัวโจทก์เองโดยเฉพาะในฐานะที่เคยเป็นภรรยา กับค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตรเป็นคนละเรื่องคนละประเด็น และอาศัยหลักกฎหมายต่างกัน
แม้ในคำร้องของโจทก์ ที่ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น จะได้กล่าวอ้างถึงเรื่องบุตรตลอดจนไม่มีเงินค่าเล่าเรียนให้แก่บุตรและศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉันกล่าวอ้างถึงเช่นนั้น และฝ่ายจำเลยจะไม่โต้แย้งด้วยก็ตาม แต่เมื่อไม่ใช่ประเด็น ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความข้อนี้
เมื่อเงินค่าเลี้ยงดูที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิติกรรมโดยศาลบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้กระทำไว้ต่อกันในวันจดทะเบียนหย่านั้น ย่อมไม่ใช่เป็นเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลกำหนดให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1506 และ มาตรา 1594 วรรค 2 คำว่า "ค่าเลี้ยงดู" กับ " ค่าอุปการะเลี้ยงดู" นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่เหตุแห่งการได้มาซึ่งค่าเลี้ยงดูหรือค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับภรรยานั่นแหละ เป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดผลแตกต่างกันขึ้นได้
ตามมาตรา 1506 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเห็นว่า สามีเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียว หากตรงข้ามภรรยาเป็นฝ่ายผิดแล้ว ศาลจะให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภรรยาก็ไม่ได้ กรณีที่ศาลกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ภรรยาตามมาตรานี้ จึงเป็นไปตาม มาตรา 1594 นั้นด้วย ซึ่งเป็นกำหนดตามที่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ในวาระหนึ่งต่อมา เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีอำนาจที่จะส่งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตาม ควรแก่กรณี โดยอาศัย มาตรา 1596 นั้น
เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิ (เกี่ยวกับค่าเลี้ยงดู) ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลก็ไม่ต้องคำนึงถึงความผิดความถูกของฝ่ายใด จำนวนเงินมากหรือน้อยไปเพียงใด กรณีมิได้เป็นไปตาม มาตรา 1506 และ 1594 จึงจะยกเอา มาตรา 1596 ขึ้นมาปรับแก่คดีไม่ได้ เมื่อศาลบังคับคดีให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อพิพาททั้งมวลก็ต้องยุติไปตามนั้น
แม้ในคำร้องของโจทก์ ที่ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น จะได้กล่าวอ้างถึงเรื่องบุตรตลอดจนไม่มีเงินค่าเล่าเรียนให้แก่บุตรและศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉันกล่าวอ้างถึงเช่นนั้น และฝ่ายจำเลยจะไม่โต้แย้งด้วยก็ตาม แต่เมื่อไม่ใช่ประเด็น ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความข้อนี้
เมื่อเงินค่าเลี้ยงดูที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิติกรรมโดยศาลบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้กระทำไว้ต่อกันในวันจดทะเบียนหย่านั้น ย่อมไม่ใช่เป็นเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลกำหนดให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1506 และ มาตรา 1594 วรรค 2 คำว่า "ค่าเลี้ยงดู" กับ " ค่าอุปการะเลี้ยงดู" นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่เหตุแห่งการได้มาซึ่งค่าเลี้ยงดูหรือค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับภรรยานั่นแหละ เป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดผลแตกต่างกันขึ้นได้
ตามมาตรา 1506 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเห็นว่า สามีเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียว หากตรงข้ามภรรยาเป็นฝ่ายผิดแล้ว ศาลจะให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภรรยาก็ไม่ได้ กรณีที่ศาลกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ภรรยาตามมาตรานี้ จึงเป็นไปตาม มาตรา 1594 นั้นด้วย ซึ่งเป็นกำหนดตามที่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ในวาระหนึ่งต่อมา เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีอำนาจที่จะส่งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตาม ควรแก่กรณี โดยอาศัย มาตรา 1596 นั้น
เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิ (เกี่ยวกับค่าเลี้ยงดู) ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลก็ไม่ต้องคำนึงถึงความผิดความถูกของฝ่ายใด จำนวนเงินมากหรือน้อยไปเพียงใด กรณีมิได้เป็นไปตาม มาตรา 1506 และ 1594 จึงจะยกเอา มาตรา 1596 ขึ้นมาปรับแก่คดีไม่ได้ เมื่อศาลบังคับคดีให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อพิพาททั้งมวลก็ต้องยุติไปตามนั้น