พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกัน หากเจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามแผน
การฟื้นฟูกิจการมีผลให้มีการปรับลดปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ แต่คำสั่งของศาลที่เห็นชอบด้วยแผนก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง หนี้ส่วนที่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดย่อมระงับไปเฉพาะส่วนที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ในส่วนที่ขาดผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง
การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวโดยมิได้คำนึงว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ และกำหนดให้เจ้าหนี้บางกลุ่มได้รับชำระหนี้เพียงบางส่วนย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
การพิจารณาว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 หรือไม่ จะต้องพิจารณาเหตุเฉพาะตัวของจำเลยคนนั้น ๆ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ไว้วางใจให้จำเลยที่ 2 บริหารแผนซึ่งเป็นเรื่องของการฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 และเป็นเรื่องในอนาคตซึ่งไม่มีความแน่นอน ลำพังการได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะถือว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวโดยมิได้คำนึงว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ และกำหนดให้เจ้าหนี้บางกลุ่มได้รับชำระหนี้เพียงบางส่วนย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
การพิจารณาว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 หรือไม่ จะต้องพิจารณาเหตุเฉพาะตัวของจำเลยคนนั้น ๆ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ไว้วางใจให้จำเลยที่ 2 บริหารแผนซึ่งเป็นเรื่องของการฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 และเป็นเรื่องในอนาคตซึ่งไม่มีความแน่นอน ลำพังการได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะถือว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10700/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อ: การไล่เบี้ยลูกหนี้ vs. การรับช่วงสิทธิในทรัพย์สิน
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันได้ชำระค่าเช่าซื้อแทนจำเลยที่ 2 ผู้เช่าซื้อแล้ว โจทก์มีสิทธิเพียงไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693 วรรคหนึ่ง แม้ตามวรรคสองบัญญัติว่า "ผู้ค้ำประกันย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้ด้วย" และสัญญาค้ำประกัน ข้อ 3 ระบุให้ผู้ค้ำประกันมีสิทธิได้รับช่วงสิทธิทั้งหลายที่เจ้าของมีอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าตามกฎหมายหรือตามสัญญาเกี่ยวกับสัญญาเช่าซื้อก็ตาม ก็คงมีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 การที่โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 1 บรรดามีเหนือของจำเลยที่ 2 หาทำให้โจทก์มีสิทธิในรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 2 เช่าซื้อไปจากจำเลยที่ 1 ไม่ เนื่องจากรถจักรยานยนต์ดังกล่าวได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อแทนจำเลยที่ 2 ไปแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยที่ 2 ทั้งไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ และบังคับให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถจักรยานยนต์แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10700/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ค้ำประกันหลังชำระหนี้: ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อ แม้ได้รับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้แล้ว ย่อมมีสิทธิเพียงไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆเพราะการค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แม้ในวรรคสองบัญญัติว่า ผู้ค้ำประกันย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้ด้วย และสัญญาค้ำประกันระบุให้ผู้ค้ำประกันมีสิทธิได้รับช่วงสิทธิที่เจ้าของมีอยู่ไม่ว่าตามกฎหมายหรือตามสัญญาเกี่ยวกับสัญญาเช่าซื้อ ก็คงมีความหมายเพียงว่าผู้ค้ำประกันชอบที่จะใช้สิทธิบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเองตามมาตรา 226 เท่านั้น การที่โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 1หาทำให้โจทก์มีสิทธิในรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 2 เช่าซื้อไปจากจำเลยที่ 1 ไม่ เนื่องจากรถจักรยานยนต์ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ตั้งแต่ที่โจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อแทนจำเลยที่ 2 ไปครบถ้วนแล้วโดยผลของมาตรา 572 โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยที่ 2 ทั้งไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์และให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถจักรยานยนต์แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ค้ำประกันเฉพาะหนี้ที่เกิดขึ้นหลังสัญญาค้ำประกัน
การซื้อขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ตามใบแจ้งหนี้สำเร็จบริบูรณ์ก่อนเวลาที่จำเลยที่ 2 เข้ามาค้ำประกันแล้ว ดังนี้ แม้วันที่ครบกำหนดชำระราคาค่าสินค้าจะเป็นเวลาภายหลังวันที่ทำสัญญาค้ำประกันก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็คงต้องรับผิดเฉพาะหนี้ค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันการซื้อสินค้าของจำเลยที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5439/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันครอบคลุมหนี้ทั้งก่อนและหลังสัญญาค้ำประกัน, การกำหนดดอกเบี้ย, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ประมวลรัษฎากรฯ ที่ระบุให้ตราสารต้องปิดแสตมป์ในอัตราที่กำหนดไว้ จึงจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามมาตรา 118นั้น มีเฉพาะตั๋วแลกเงินและเลตเตอร์ออฟเครดิตเท่านั้น ส่วนสัญญาทรัสต์รีซีทไม่อยู่ในรายการให้ต้องปิดแสตมป์ สำหรับตั๋วแลกเงินและเลตเตอร์ออฟเครดิตแม้จะไม่มีแสตมป์ปิดไว้ แต่โจทก์ผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตและตั๋วแลกเงินเป็นธนาคารพาณิชย์ ชำระค่าอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ เป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ได้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ฯ ดังนั้นแม้ตราสารดังกล่าวจะไม่มีแสตมป์ปิดไว้แต่โจทก์ก็นำสืบได้ว่าได้ชำระอากรแล้ว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
ข้อตกลงในสัญญาทรัสต์รีซีท จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์เป็นผู้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในช่วงเวลาใดได้ตามที่โจทก์เห็นสมควร ซึ่งเมื่อโจทก์จ่ายเงินชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปตาเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเงินตราต่างประเทศแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่ตกลงกันไว้ เมื่อโจทก์จ่ายเงินแทนจำเลยที่ 1 ไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตในอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 37.155 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินในระยะเวลาตามที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องมีค่า 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25 บาท จึงฟังว่าอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเงินบาทไทยตามที่โจทก์นำสืบ ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
จากเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นการยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เข้าก่อหนี้กับโจทก์ ไม่ว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 มีอยู่ก่อนที่จะเข้าทำสัญญาค้ำประกัน ขณะทำสัญญาค้ำประกัน หรือหลังทำสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น หนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนทำหนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์หลังทำหนังสือสัญญาค้ำประกันต่างก็เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันแล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
ข้อตกลงในสัญญาทรัสต์รีซีท จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์เป็นผู้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในช่วงเวลาใดได้ตามที่โจทก์เห็นสมควร ซึ่งเมื่อโจทก์จ่ายเงินชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปตาเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเงินตราต่างประเทศแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่ตกลงกันไว้ เมื่อโจทก์จ่ายเงินแทนจำเลยที่ 1 ไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตในอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 37.155 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินในระยะเวลาตามที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องมีค่า 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25 บาท จึงฟังว่าอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเงินบาทไทยตามที่โจทก์นำสืบ ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
จากเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นการยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เข้าก่อหนี้กับโจทก์ ไม่ว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 มีอยู่ก่อนที่จะเข้าทำสัญญาค้ำประกัน ขณะทำสัญญาค้ำประกัน หรือหลังทำสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น หนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนทำหนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์หลังทำหนังสือสัญญาค้ำประกันต่างก็เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันแล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค้ำประกันและจำนอง: จำเลยต้องแสดงเจตนาชำระหนี้ที่ถูกต้องชัดเจน
หนังสือบอกกล่าวแจ้งความประสงค์ขอชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองของจำเลยที่ 2 กับหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ของโจทก์ ระบุยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระไม่ตรงกัน หากจำเลยที่ 2 ยังประสงค์จะชำระหนี้ในยอดหนี้ที่เห็นว่าถูกต้องตามภาระความรับผิดของตนและเห็นว่ายอดหนี้ที่โจทก์แจ้งมิใช่ยอดหนี้ที่แท้จริง ก็ชอบที่จำเลยที่ 2 จะต้องโต้แย้งไปยังโจทก์โดยแสดงเจตนาขอปฏิบัติการชำระหนี้ที่ถูกต้อง ลำพังหนังสือแจ้งความประสงค์ขอชำระหนี้ดังกล่าว จึงยังถือมิได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้และโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 , 727 , 744 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค้ำประกันและจำนอง: เจตนาชำระหนี้ที่ถูกต้อง และผลของการไม่โต้แย้งยอดหนี้
หนังสือฉบับลงวันที่ 25 ตุลาคม 2538 ซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันมีไปยังโจทก์ เพื่อขอชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองได้ระบุยอดหนี้ตามสัญญาคือ 250,000บาท จำเลยที่ 2 ขอให้โจทก์ตรวจสอบแล้วคำนวณดอกเบี้ยจากยอดเงินดังกล่าว แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายใน 1 เดือน เพื่อจำเลยที่ 2 จะได้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยมิได้ระบุวันที่โจทก์ต้องเริ่มคำนวณดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้จำนวน 819,685.54 บาท ระบุเป็นยอดหนี้ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม2536 เมื่อยอดหนี้ที่แต่ละฝ่ายกล่าวอ้างไม่ตรงกัน และวันที่เริ่มต้นคิดดอกเบี้ยก็ไม่ปรากฏว่าจะเริ่มจากวันใด ตรงกันหรือไม่ ดังนี้ หากจำเลยที่ 2 ยังประสงค์จะชำระหนี้ในยอดหนี้ที่เห็นว่าถูกต้อง ก็ชอบที่จะต้องโต้แย้งไปยังโจทก์โดยขอปฏิบัติการชำระหนี้ที่ถูกต้องคือยอดหนี้ 250,000 บาท ตามสัญญาพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์เลิกกัน คือวันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 แต่จำเลยที่ 2 หาได้กระทำไม่ ฉะนั้น จึงยังถือไม่ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ และโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701,727 และ 744(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีอากรเมื่อไม่ได้ส่งออกสินค้าตามกำหนด และสิทธิการเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกัน
การที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศโดยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวางประกัน และรับของไปจากอารักขาของศุลกากรเป็นเพียงการผ่อนผันชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตสินค้าส่งออกไปต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามกฎหมาย ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำเงินอากรขาเข้าและภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องติดตามทางถามให้จำเลยชำระ ทั้งตาม พ.ร.บ. ศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสียก็ต้องเรียกเงินเพิ่มจากจำเลยตามกฎหมาย
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางก็ไม่มีบทบัญญัติใดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรว่าถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) ตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันทันที ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น ถ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ และเมื่อเรียกจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วหนี้ยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่มแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) และเงินเพิ่ม จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและภายในชอบที่กฎหมายบัญญัติ จึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางก็ไม่มีบทบัญญัติใดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรว่าถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) ตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันทันที ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น ถ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ และเมื่อเรียกจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วหนี้ยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่มแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) และเงินเพิ่ม จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและภายในชอบที่กฎหมายบัญญัติ จึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาค้ำประกัน, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และการชำระหนี้บางส่วนของผู้กู้
ตามสัญญากู้ฉบับแรก โจทก์มิได้มอบเงินที่กู้ให้แก่จำเลยที่ 1 รับไปในคราวเดียว แต่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเป็นคราว ๆ ตามความจำเป็น และคิดดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นคราวตามวันที่จ่ายจริง มิใช่นับแต่วันทำสัญญากู้เงินทั้งหมด และแม้ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 มาขอกู้เงินจากโจทก์เพิ่มอีกเป็นครั้งที่ 2 โจทก์ก็จ่ายเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะเดียวกัน ดังนั้นแม้ในสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 8 ทำไว้ต่อโจทก์จะมีข้อความในข้อ 1 วรรคสาม ระบุว่า "เนื่องจากการค้ำประกันตามวรรคแรกเป็นประกันหนี้ดังกล่าวข้างต้นในจำนวนหนี้ที่มีอยู่ก่อน หรือในขณะทำสัญญานี้และ/หรือที่จะมีขึ้นใหม่ภายหน้า ผู้ค้ำประกันและธนาคารจึงตกลงกันว่าในกรณีที่ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแล้ว ถ้าตราบใดธนาคารยังมิได้มีหนังสือแจ้งว่าผู้ค้ำประกันหมดภาระผูกพันตามสัญญาค้ำประกันฉบับนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันและธนาคารตกลงให้ถือว่าสัญญาค้ำประกันรายนี้ยังคงมีผลบังคับอยู่ เมื่อเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าหรือหนี้ใหม่ของลูกหนี้กับธนาคารต่อไปอีกด้วย" อันแสดงให้เห็นได้ว่า สัญญาค้ำประกันฉบับแรกเป็นการค้ำประกันถึงหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 อันมีผลใช้บังคับต่อผู้ค้ำประกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคสอง ก็ตาม แต่ลักษณะของสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ซึ่งผู้ค้ำประกันคือ จำเลยที่ 5 และที่ 6 และที่ 8 อาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 699 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 6 และที่ 8 ได้มีหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว ก่อนที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ฉบับที่ 2 กับโจทก์ สัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไป ส่วนจำเลยที่ 5 นั้น แม้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ฉบับที่ 2 แต่จำเลยที่ 5 เพิ่งมีหนังสือบอกเลิกการค้ำประกันเงินกู้จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินฉบับที่ 2 กับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงยังคงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อโจทก์ในหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญากู้เงินฉบับแรกอยู่ จำเลยที่ 6 และที่ 8 ในฐานะค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ฉบับแรกพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามฟ้องต่อโจทก์
การที่พยานหลักฐานโจทก์ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระต้นเงินทั้งสองคราวนั้น ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ค้างชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินต่อโจทก์แล้ว จึงได้นำเงินมาหักจากต้นเงินได้ และแม้ว่าการผ่อนชำระดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับใด ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับแรก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคสอง
การที่พยานหลักฐานโจทก์ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระต้นเงินทั้งสองคราวนั้น ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ค้างชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินต่อโจทก์แล้ว จึงได้นำเงินมาหักจากต้นเงินได้ และแม้ว่าการผ่อนชำระดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับใด ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับแรก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้และผลของการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันหลังเกิดหนี้ใหม่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหนี้ก่อนบอกเลิก
สัญญาค้ำประกันตามสัญญากู้เงินฉบับแรกเป็นการค้ำประกันถึงหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง แต่ลักษณะของสัญญาค้ำประกันดังกล่าว เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้คือธนาคารโจทก์ ซึ่งผู้ค้ำประกันคือจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 8อาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อโจทก์ตามมาตรา 699 ได้เมื่อจำเลยที่ 6 และที่ 8 ได้มีหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว สัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 6 และที่ 8 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญากู้เงินฉบับที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์หลังจากวันที่จำเลยที่ 6 และที่ 8 บอกเลิกการค้ำประกันไปแล้วหาได้ไม่