พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของเจ้าหน้าที่ควบคุม/ตรวจรับงานก่อสร้างที่ประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหาย
เหตุละเมิดเกิดขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ.ความทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มีผลใช้บังคับ แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ในวันที่ 18 มกราคม 2544 ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้ว แต่เมื่อ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มิได้มีบทบัญญัติให้ใช้บังคับแก่คดีละเมิดที่เกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ความรับผิดทางละเมิดของผู้ทำละเมิดที่เกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับจึงต้องอยู่ภายในบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมงานจ้างก่อสร้างถนน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง แต่ผู้รับจ้างก่อสร้างถนนไม่ถูกต้องตามแบบทำให้ถนนชำรุด การที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างถนน ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มิได้ไปตรวจรับงานจ้างพร้อมกันไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ถือว่าจำเลยทั้งหกประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอสรรคบุรีเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งหกจึงต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 432 วรรคแรก
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมงานจ้างก่อสร้างถนน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง แต่ผู้รับจ้างก่อสร้างถนนไม่ถูกต้องตามแบบทำให้ถนนชำรุด การที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างถนน ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มิได้ไปตรวจรับงานจ้างพร้อมกันไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ถือว่าจำเลยทั้งหกประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอสรรคบุรีเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งหกจึงต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 432 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายบ้านที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่างานก่อสร้างแล้วเสร็จ
โจทก์และจำเลยต่างไม่ถือเอาระยะเวลาในการก่อสร้างบ้านเป็นสำคัญ แต่ถือเอาการก่อสร้างบ้านเสร็จเรียบร้อยเป็นสำคัญ เมื่อโจทก์ยังคงยืนยันว่าบ้านยังไม่เสร็จเรียบร้อย ก่อนที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จำเลยต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 387 เมื่อปรากฎว่าจำเลยขายบ้านไปแล้ว และโจทก์ก็ไม่ประสงค์จะซื้อบ้านอีกต่อไป สัญญาจึงเป็นอันเลิกกันและต่างฝ่ายต่างกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับไว้ ตามมาตรา 391 วรรคสอง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในความเสียหายต่อทรัพย์สินจากงานก่อสร้างบนพื้นที่สาธารณะ: ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ร่วมงาน
บริเวณที่เกิดเหตุเป็นทางหลวงอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ถ้ามีการอนุญาตให้ใช้โดยกรมทางหลวงกำหนดเงื่อนไขหรือข้อกำหนดไว้อย่างไร ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขและข้อกำหนดเช่นนั้น ซึ่งหน้าที่เช่นนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยอาศัยสิทธิของผู้ได้รับอนุญาต ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์ในเขตทางหลวงดังกล่าวในฐานะผู้ร่วมการงานและร่วมลงทุนกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้เข้ามาโดยอาศัยสิทธิขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยย่อมต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขหรือข้อกำหนดดังกล่าวดัวย เสมือนดั่งโจทก์เป็นตัวการและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนของโจทก์ในการดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่ในเขตทางหลวงจากกรมทางหลวงแทนโจทก์
ตามบันทึกข้อตกลงข้อ 8 กำหนดว่า ในกรณีที่กรมทางหลวงจะทำการก่อสร้าง บูรณะหรือขยายทางหลวง เมื่อกรมทางหลวงแจ้งเป็นหนังสือให้รื้อย้ายเสาพาดสาย ท่าร้อยสาย บ่อพัก ตั้งตู้สลับสายหรือสิ่งใดๆ เกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์ออกไปให้พ้นเขตก่อสร้างทางหลวงภายในเวลาที่กำหนด องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะทำการรื้อย้ายให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้รับแจ้ง และตามหนังสืออนุญาตที่กรมทางหลวงอนุญาตให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยใช้ทางหลวงดำเนินการเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์ได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมไว้ในข้อ 7 (7) ว่า เมื่อกรมทางหลวงต้องสร้างหรือขยายทางหลวงหรือซ่อมแซมบำรุงทางหลวง ถ้าทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับอนุญาต ผู้ได้รับอนุญาตจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากกรมทางหลวง เมื่อกรมทางหลวงโดยแขวงการทางกาญจนบุรีได้มีหนังสือถึงองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยให้ดำเนินการรื้อย้ายบรรดาสาธารณูปโภคอันเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์ในเขตบริเวณทางหลวงที่จะก่อสร้างซึ่งรวมถึงทางบริเวณที่เกิดเหตุแล้ว กรมทางหลวงย่อมไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบอีก
โจทก์ทราบแล้วไม่ย้ายทรัพย์สินออกไปทั้งที่มีเวลาประมาณ 3 เดือน ถ้ามิใช่การตั้งใจเข้าเสี่ยงภัยอันถือได้ว่าเป็นการยินยอมก็เป็นการประมาทของฝ่ายโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงให้ดำเนินการก่อสร้างทางโดยกรมทางหลวงได้แจ้งให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทราบ ซึ่งถือว่าโจทก์ได้ทราบแล้วได้เข้าดำเนินการตามคำสั่งและภายในกรอบเงื่อนไขที่กรมทางหลวงกำหนดไว้ ย่อมถือได้ว่าไม่มีความประมาทในการดำเนินการขุดทำทางและวางท่อระบายน้ำในทางหลวงเป็นเหตุให้ท่อร้อยสายโทรศัพท์ของโจทก์ ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินเสียหาย และจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบอีก ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เพราะสามารถอนุมานได้ว่าถึงหากกรมทางหลวงเข้าดำเนินการด้วยตนเอง ก็คงจะทำอย่างจำเลยที่ 1 เช่นกัน ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่โจทก์ย่อมไม่แตกต่างกัน จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
ตามบันทึกข้อตกลงข้อ 8 กำหนดว่า ในกรณีที่กรมทางหลวงจะทำการก่อสร้าง บูรณะหรือขยายทางหลวง เมื่อกรมทางหลวงแจ้งเป็นหนังสือให้รื้อย้ายเสาพาดสาย ท่าร้อยสาย บ่อพัก ตั้งตู้สลับสายหรือสิ่งใดๆ เกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์ออกไปให้พ้นเขตก่อสร้างทางหลวงภายในเวลาที่กำหนด องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะทำการรื้อย้ายให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้รับแจ้ง และตามหนังสืออนุญาตที่กรมทางหลวงอนุญาตให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยใช้ทางหลวงดำเนินการเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์ได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมไว้ในข้อ 7 (7) ว่า เมื่อกรมทางหลวงต้องสร้างหรือขยายทางหลวงหรือซ่อมแซมบำรุงทางหลวง ถ้าทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับอนุญาต ผู้ได้รับอนุญาตจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากกรมทางหลวง เมื่อกรมทางหลวงโดยแขวงการทางกาญจนบุรีได้มีหนังสือถึงองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยให้ดำเนินการรื้อย้ายบรรดาสาธารณูปโภคอันเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์ในเขตบริเวณทางหลวงที่จะก่อสร้างซึ่งรวมถึงทางบริเวณที่เกิดเหตุแล้ว กรมทางหลวงย่อมไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบอีก
โจทก์ทราบแล้วไม่ย้ายทรัพย์สินออกไปทั้งที่มีเวลาประมาณ 3 เดือน ถ้ามิใช่การตั้งใจเข้าเสี่ยงภัยอันถือได้ว่าเป็นการยินยอมก็เป็นการประมาทของฝ่ายโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงให้ดำเนินการก่อสร้างทางโดยกรมทางหลวงได้แจ้งให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทราบ ซึ่งถือว่าโจทก์ได้ทราบแล้วได้เข้าดำเนินการตามคำสั่งและภายในกรอบเงื่อนไขที่กรมทางหลวงกำหนดไว้ ย่อมถือได้ว่าไม่มีความประมาทในการดำเนินการขุดทำทางและวางท่อระบายน้ำในทางหลวงเป็นเหตุให้ท่อร้อยสายโทรศัพท์ของโจทก์ ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินเสียหาย และจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบอีก ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เพราะสามารถอนุมานได้ว่าถึงหากกรมทางหลวงเข้าดำเนินการด้วยตนเอง ก็คงจะทำอย่างจำเลยที่ 1 เช่นกัน ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่โจทก์ย่อมไม่แตกต่างกัน จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนำระงับเมื่อลูกหนี้ใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน & เจ้าหนี้บุริมสิทธิในงานก่อสร้างบนที่ดินของรัฐ
แม้ว่าสัญญาจำนำและรักษาทรัพย์ ข้อ 3 จะมีข้อตกลงว่า ผู้จำนำจะได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในเครื่องจักรที่จำนำก็ไม่ถือว่าเครื่องจักรกลกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำก็ตาม ก็เป็นการเขียนสัญญาไว้เพื่อเลี่ยงกฎหมาย ทั้งในการตีความการแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 เมื่อเจตนาที่แท้จริงของลูกหนี้ต้องการใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินที่จำนำ การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนำเครื่องจักรยอมให้ลูกหนี้เข้าใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินจำนำย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 769 (2) แล้ว สิทธิจำนำของผู้ร้องจึงระงับสิ้นไป ผู้ร้องจึงไม่มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนตามสัญญาจำนำเครื่องจักร
เจ้าหนี้บุริมสิทธิในมูลหนี้จ้างทำของต้องทำรายการประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อนเริ่มลงมือทำการก่อสร้างเพื่อให้มีผลบริบูรณ์เป็นบุริมสิทธิพิเศษใช้ยันเจ้าหนี้อื่นในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 286 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำการดังกล่าว นอกจากนี้ บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของอันเป็นการงานขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายให้มีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์ที่ทำการงานขึ้น และอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องเป็นของลูกหนี้ แต่ที่ดินซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างโรงโม่หินเป็นของกรมป่าไม้มิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์มีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 273 และมาตรา 275 โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
เจ้าหนี้บุริมสิทธิในมูลหนี้จ้างทำของต้องทำรายการประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อนเริ่มลงมือทำการก่อสร้างเพื่อให้มีผลบริบูรณ์เป็นบุริมสิทธิพิเศษใช้ยันเจ้าหนี้อื่นในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 286 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำการดังกล่าว นอกจากนี้ บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของอันเป็นการงานขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายให้มีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์ที่ทำการงานขึ้น และอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องเป็นของลูกหนี้ แต่ที่ดินซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างโรงโม่หินเป็นของกรมป่าไม้มิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์มีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 273 และมาตรา 275 โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาควบคุมงานก่อสร้าง: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ & การระงับหนี้จากการชำระหนี้โดยลูกหนี้ร่วม
โจทก์ว่าจ้างจำเลยควบคุมงานก่อสร้างโครงการอาคารชุดของโจทก์ การควบคุมงานในส่วนงานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรมอันเป็นงานก่อสร้างของบริษัท น. งานที่ก่อสร้างมีความชำรุดบกพร่องและยังไม่ได้แก้ไข จำเลยจึงไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมงานให้ถูกต้องตามที่ได้ให้สัญญา เป็นการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แต่การควบคุมงานในส่วนงานระบบของบริษัท อ. เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าจ้างควบคุมงานของเดือนมีนาคม 2559 จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่มาควบคุมงาน การที่จำเลยไม่มาควบคุมงานตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะทิ้งงาน ที่โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 25 เมษายน 2559 แจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา และมีหนังสือลงวันที่ 22 มิถุนายน 2559 บอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย แต่ตามหนังสือบอกกล่าวดังกล่าวโจทก์เพียงแจ้งให้จำเลยกลับมาทำหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างภายใน 15 วัน และขอให้จำเลยเรียกบริษัท อ. เข้ามาแก้ไขความบกพร่องที่เกิดจากการทำงานของบริษัทดังกล่าว เมื่อจำเลยเพิกเฉย โจทก์ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญา เท่ากับว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาด้วยเหตุที่จำเลยทิ้งงานและเหตุที่จำเลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท อ. ซึ่งทั้งสองเหตุนี้จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่อาจนำมาเป็นเหตุในการบอกเลิกสัญญาได้ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงไม่ชอบ มีผลเท่ากับกับโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา
ตามสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 4 วรรคสอง ระบุไว้ในตอนท้ายว่า การที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญา ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากความรับผิดตามสัญญา จำเลยจึงยังคงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัท น. ได้ยื่นฟ้องขอให้บังคับโจทก์คืนเงินประกันผลงานและชำระค่าจ้างทำงานก่อสร้างดังกล่าวส่วนที่ยังค้างชำระ โจทก์ฟ้องแย้งขอให้บังคับบริษัท น. ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานก่อสร้างบกพร่อง ตามคดีหมายเลขแดงที่ 2309/2561 ของศาลชั้นต้น ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์คืนเงินประกันผลงานที่โจทก์หักไว้จากค่าจ้างในแต่ละงวด รวม 14,256,971.38 บาท และให้รับผิดในค่าจ้างที่ยังไม่ได้ชำระ 7,978,778.68 บาท แก่บริษัท น. โดยให้หักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายที่บริษัท น. ทำงานก่อสร้างบกพร่อง เป็นเงิน 4,857,212.97 บาท ซึ่งค่าเสียหายในส่วนของงานก่อสร้างที่บกพร่องเป็นค่าเสียหายจำนวนเดียวกับที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในคดีนี้ ถือเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ จำเลยและบริษัท น. ต้องรับผิดแก่โจทก์เช่นอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 การที่บริษัท น. ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วยวิธีการหักกลบลบหนี้กับเงินประกันผลงานและค่าจ้างที่โจทก์ค้างชำระ ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วยตามมาตรา 292 วรรคหนึ่ง มีผลให้หนี้ของจำเลยในคดีนี้ระงับไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แก่โจทก์อีก
ตามสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 5 ระบุว่า หากโจทก์บอกเลิกสัญญาตามข้อ 4 แล้ว จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างที่ได้รับไว้ให้แก่โจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบด้วยสัญญาข้อ 4 วรรคสอง มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างที่จำเลยได้รับไปแล้วคืน
ตามสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 4 วรรคสอง ระบุไว้ในตอนท้ายว่า การที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญา ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากความรับผิดตามสัญญา จำเลยจึงยังคงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัท น. ได้ยื่นฟ้องขอให้บังคับโจทก์คืนเงินประกันผลงานและชำระค่าจ้างทำงานก่อสร้างดังกล่าวส่วนที่ยังค้างชำระ โจทก์ฟ้องแย้งขอให้บังคับบริษัท น. ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานก่อสร้างบกพร่อง ตามคดีหมายเลขแดงที่ 2309/2561 ของศาลชั้นต้น ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์คืนเงินประกันผลงานที่โจทก์หักไว้จากค่าจ้างในแต่ละงวด รวม 14,256,971.38 บาท และให้รับผิดในค่าจ้างที่ยังไม่ได้ชำระ 7,978,778.68 บาท แก่บริษัท น. โดยให้หักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายที่บริษัท น. ทำงานก่อสร้างบกพร่อง เป็นเงิน 4,857,212.97 บาท ซึ่งค่าเสียหายในส่วนของงานก่อสร้างที่บกพร่องเป็นค่าเสียหายจำนวนเดียวกับที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในคดีนี้ ถือเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ จำเลยและบริษัท น. ต้องรับผิดแก่โจทก์เช่นอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 การที่บริษัท น. ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วยวิธีการหักกลบลบหนี้กับเงินประกันผลงานและค่าจ้างที่โจทก์ค้างชำระ ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วยตามมาตรา 292 วรรคหนึ่ง มีผลให้หนี้ของจำเลยในคดีนี้ระงับไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาว่าจ้างควบคุมงานในส่วนงานก่อสร้างของบริษัท น. แก่โจทก์อีก
ตามสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ 5 ระบุว่า หากโจทก์บอกเลิกสัญญาตามข้อ 4 แล้ว จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างที่ได้รับไว้ให้แก่โจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบด้วยสัญญาข้อ 4 วรรคสอง มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างที่จำเลยได้รับไปแล้วคืน