พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในพื้นที่ป่าสงวน แม้มีการจดทะเบียนที่ดินอย่างไม่ถูกต้อง ยังคงเป็นป่าตามกฎหมาย
เอาที่ดินไปจดทะเบียนบุริมสิทธิ์ ซื้อขายต่อกันอำเภอโดยอ้างว่าเป็นที่สวน จับจองเบิกบุกเอาเอง ซึ่งไม่ใช่ความจริง แม้เจ้าหน้าที่อำเภอจะจดทะเบียนบุริมสิทธิ์ซื้อขายให้ก็ดี ก็ต้องถือว่ายังเป็นยังดินซึ่งยังมิได้มีบุคคลได้มาตาม ก.ม.ที่ดิน อีกนัยหนึ่งคือป่า ผู้ใดทำไม้ประเภทหวงห้ามในที่นี้โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงต้องมีผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินที่ผิดหลง ทำให้สิทธิในที่ดินเป็นโมฆะ ผู้รับโอนรายหลังไม่สามารถอ้างสิทธิได้
เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือสำคัญและรายการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2486 มาตรา 12 ก็ต้องถือว่ารายการจดทะเบียนนั้นมิได้มีอยู่ ผู้ใดจะมาอ้างทรัพย์สิทธิอย่างใด เนื่องมาจากการจดทะเบียนนั้นมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดิน: เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจดำเนินการหลังคำพิพากษาถึงที่สุด
การขอให้บังคับตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดิน และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบโฉนดที่ดินแก่โจทก์ มิใช่เป็นการบังคับคดีที่ต้องดำเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. และไม่มีกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องขอต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง แต่การเพิกถอนรายการจดทะเบียนขายที่ดินตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าว เป็นกรณีที่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่ง ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายซึ่งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือผู้ตรวจราชการกรมที่ดินมีอำนาจหน้าที่สั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้ และตามวรรคแปดของบทบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกำหนด" ดังนั้น การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดินนั้น โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ก็ต่อเมื่อคำพิพากษานั้นถึงที่สุดเป็นต้นไป และที่ว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด ก็ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดทั้งคดี เมื่อนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดยังไม่ล่วงพ้นกำหนดเวลาสิบปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์จึงยังมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10859/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในมูลละเมิดและการจดทะเบียนที่ดิน: การแยกพิจารณาความรับผิดของจำเลยแต่ละราย
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลละเมิด เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 หลอกขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง และฟ้องจำเลยที่ 4 ให้ร่วมรับผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทของ ซ. ให้แก่ บ. โดยประมาทเลินเล่อ มูลเหตุที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิใช่เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 4 ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้จึงไม่ถือว่าเป็นการทำแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ