พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7048/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงกับการจัดหางานต่างกรรมกัน การบรรยายฟ้องมีผลต่อการพิจารณาความผิดฐานจัดหางาน
ความผิดฐานฉ้อโกงกับความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานนั้น อาจเป็นความผิดต่างกรรมได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการบรรยายฟ้องของโจทก์ ถ้าคำฟ้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางาน การกระทำตามฟ้องย่อมไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 8,73
โจทก์บรรยายฟ้องแยกออกเป็นสองตอน ฟ้องข้อ (ก) บรรยายว่าจำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานโดยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนทั่วไปเรียกรับเงินค่าบริการเป็นค่าตอบแทนการจัดหางานจากคนหางานและผู้เสียหายโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง ส่วนข้อ (ข)โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จโฆษณาในหนังสือพิมพ์เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจหารายได้พิเศษเพื่อร่วมงานกับบริษัทถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศอันเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยกับพวกดังกล่าวนำผู้สมัครไปรวมกลุ่มพูดคุยที่ต่างจังหวัด โดยไม่ได้คัดตัวนักแสดงแต่อย่างใด และจำเลยกับพวกไม่สามารถจัดให้ผู้สมัครทำงานตามที่โฆษณาได้ข้อความตามข้อ (ข) ไม่มีข้อความใดเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น การที่จำเลยกับพวกไม่สามารถจัดให้ได้ทำงาน มิได้หมายความเสมอไปว่าจะต้องเกิดจากเพราะมิได้มีเจตนาจัดหางานอันจะถือว่าไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ
โจทก์บรรยายฟ้องแยกออกเป็นสองตอน ฟ้องข้อ (ก) บรรยายว่าจำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานโดยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนทั่วไปเรียกรับเงินค่าบริการเป็นค่าตอบแทนการจัดหางานจากคนหางานและผู้เสียหายโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง ส่วนข้อ (ข)โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จโฆษณาในหนังสือพิมพ์เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจหารายได้พิเศษเพื่อร่วมงานกับบริษัทถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศอันเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยกับพวกดังกล่าวนำผู้สมัครไปรวมกลุ่มพูดคุยที่ต่างจังหวัด โดยไม่ได้คัดตัวนักแสดงแต่อย่างใด และจำเลยกับพวกไม่สามารถจัดให้ผู้สมัครทำงานตามที่โฆษณาได้ข้อความตามข้อ (ข) ไม่มีข้อความใดเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น การที่จำเลยกับพวกไม่สามารถจัดให้ได้ทำงาน มิได้หมายความเสมอไปว่าจะต้องเกิดจากเพราะมิได้มีเจตนาจัดหางานอันจะถือว่าไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง vs. พ.ร.บ.จัดหางาน แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องฉ้อโกง แต่คดี พ.ร.บ.จัดหางานยังดำเนินต่อไปได้
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งศาลได้ลงโทษในความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง vs. จัดหางานผิดกฎหมาย: การยอมความเฉพาะความผิดส่วนตัว
ความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว และความผิดฐานดังกล่าวซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความกันก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7320/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ & รอการลงโทษ: คดีจัดหางาน & ฉ้อโกง แม้กรรมเดียว แต่คดีฉ้อโกงยังไม่เด็ดขาด ฟ้องซ้ำจึงไม่เป็นเหตุระงับ & มีเหตุบรรเทาโทษ
แม้ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 91 ตรี ในคดีนี้จะเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่ง แต่ปรากฏในฎีกาของจำเลยเองว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้คดีความผิดฐานฉ้อโกงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นและคดีดังกล่าวเสร็จสิ้นไปเพราะศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ อันถือไม่ได้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีความผิดฐานฉ้อโกง สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่ระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)(4)
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานฉ้อโกงเพราะจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการบรรเทาผลร้ายให้จนเป็นที่พอใจแล้วและผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ประกอบกับจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน สมควรรอการลงโทษเพื่อให้โอกาสจำเลยได้กลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานฉ้อโกงเพราะจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการบรรเทาผลร้ายให้จนเป็นที่พอใจแล้วและผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ประกอบกับจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน สมควรรอการลงโทษเพื่อให้โอกาสจำเลยได้กลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและการคืนเงินค่าบริการ ศาลฎีกายกประเด็นความผิดฐานจัดหางานและแก้ไขจำนวนเงินที่ต้องคืน
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ในความผิดร่วมกันจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
คำฟ้องข้อ 1(ข) บรรยายว่า จำเลยทั้งสองจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1 (ก) ที่ว่าจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่หลอกลวงได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางาน คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คดีคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เฉพาะฐานร่วมกันหลอกลวงประชาชนว่าหางานในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาว่าการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และมาตรา 91 ตรี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามฎีกาของจำเลยทั้งสองหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยทั้งสองได้คืนเงินให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้หักเงินที่จำเลยทั้งสองคืนให้ผู้เสียหายจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
คำฟ้องข้อ 1(ข) บรรยายว่า จำเลยทั้งสองจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1 (ก) ที่ว่าจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่หลอกลวงได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางาน คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คดีคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เฉพาะฐานร่วมกันหลอกลวงประชาชนว่าหางานในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาว่าการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และมาตรา 91 ตรี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามฎีกาของจำเลยทั้งสองหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยทั้งสองได้คืนเงินให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้หักเงินที่จำเลยทั้งสองคืนให้ผู้เสียหายจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานจัดหางาน: เพียงใช้คำตามกฎหมายก็ถือว่ามีเจตนา
ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 4 ได้นิยามคำว่า "จัดหางาน" หมายความว่า "ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน..." เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันจัดหางานโดยใช้คำที่กฎหมายให้ความหมายไว้โดยเฉพาะ ก็เท่ากับบรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้ประกอบธุรกิจจัดหางาน อันถือได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาจัดหางาน ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30วรรคหนึ่ง, 82 แล้ว โดยมิต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพโดยทำธุรกิจด้วยการจัดหางานโดยตรงอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต เพียงใช้คำว่า 'จัดหางาน' ตามนิยามกฎหมาย ถือว่าฟ้องสมบูรณ์
ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4 ได้นิยามคำว่า "จัดหางาน" หมายความว่า"ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน" เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันจัดหางานโดยใช้คำที่กฎหมายให้ความหมายไว้โดยเฉพาะ ก็เท่ากับบรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้ประกอบธุรกิจจัดหางาน อันถือได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาจัดหางาน ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 แล้ว โดยมิต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพโดยทำธุรกิจด้วยการจัดหางานโดยตรงอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานจัดหางาน การใช้คำนิยามตามกฎหมายถือว่าครบองค์ประกอบความผิด
ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 4 ได้นิยามคำว่า "จัดหางาน" หมายความว่า "ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน" เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันจัดหางาน โดยใช้คำที่กฎหมายให้ความหมายไว้โดยเฉพาะก็เท่ากับบรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้ประกอบธุรกิจจัดหางานอันถือได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาจัดหางาน ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 แล้ว โดยมิต้องบรรยายว่าจำเลยเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพโดยทำธุรกิจด้วยการจัดหางานอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานผิดกฎหมายและการเรียกทรัพย์สินชดใช้ – ขอบเขตอำนาจอัยการ
จำเลยมีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง 82 เท่านั้น แต่จำเลยมิได้มีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องด้วย พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 43 ทั้งตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ก็มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการโจทก์ที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้เสียหาย
จำเลยมีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง 82 เท่านั้น แต่จำเลยมิได้มีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องด้วย พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจเรียกทรัพย์หรือราคาแทนผู้เสียหายเพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 ทั้งตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528ก็มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการโจทก์ที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้