คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: จำเลยต้องยกข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นเท่านั้น จึงจะอุทธรณ์ได้
จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับค่าจ้างตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง และมิได้ต่อสู้ว่าค่ารับรอง ค่าน้ำมันรถ ค่าอาหาร เงินสะสม ค่าภาษีและเงินสมทบที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แต่ละเดือนมิใช่ค่าจ้าง อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าจำนวนเงินตามฟ้องมิใช่ค่าจ้าง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการจำกัดเฉพาะผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้เอง ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับความคุ้มครอง
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นคดีเดียวกันกับคดีของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแต่ผู้เดียวจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/12(4) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไปได้แม้จำเลยที่ 1 ศาลแพ่งจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ตาม
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้กล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย ส่วนจำเลยที่ 4 ก็กล่าวมาในคำร้องว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดีย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไรถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย คำร้องของจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: ฟ้องแทนบริษัทต้องมีฐานะทางกฎหมายที่ชัดเจน
โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 2 มีสิทธิเพียงควบคุมการดำเนินงานของบริษัทจำเลยทั้งสองเพียงบางประการ ไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของบริษัทเสียเอง เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดระบุว่ากรณีมีการละเมิดและผิดสัญญาต่อบริษัท แม้บริษัทจะไม่ดำเนินการฟ้องร้องบุคคลภายนอก โจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ที่ 1 ก็หามีสิทธินำคดีมาฟ้องเองได้ไม่ ส่วนคำฟ้องที่เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 2 ก็เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากปัญหาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะถูกโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องร้องได้หรือไม่เสียก่อน แม้คำฟ้องที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องจะอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่บังคับตามสัญญา ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย แต่ตามคำขอของโจทก์ก็มิได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ในส่วนนี้โดยตรง กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิจัดการทรัพย์สินก่อนล้มละลายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อกล่าวอ้างไม่ชัดเจน
การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่า พระราชบัญญัติล้มละลายฯที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายอาจจะเป็นการจำกัดสิทธิของจำเลยในการจัดการทรัพย์สินของตนเอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 29 วรรคหนึ่งนั้น ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นการโต้แย้งที่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและไม่อาจถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งโดยชัดแจ้งว่า พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ทุกมาตราให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้และห้ามมิให้ลูกหนี้เข้าจัดการทรัพย์สินของตนขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องรอการพิจารณาพิพากษาไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของจำเลยไปศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังจำเลยเสียชีวิต: สิทธิของทายาทจำกัดเฉพาะการดำเนินคดีให้เสร็จสิ้น ไม่ใช่การเพิกถอนกระบวนพิจารณา
จำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการบังคับคดี หน้าที่และความรับผิดย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600เพื่อให้การบังคับเสร็จสิ้นไปเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องคดีค้างพิจารณาอันจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 และ 44

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การรับฟังพยานหลักฐานนอกสัญญา, และการวินิจฉัยข้อพิพาทสัญญาเช่า
คดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้ตามฟ้องโจทก์จะอ้างว่าที่ดินพิพาทมีผู้ประสงค์จะเช่าเดือนละ 15,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า ทางนำสืบของโจทก์ไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะเสียหายถึงเดือนละ 15,000 บาท จึงกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เพียงเดือนละ 4,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ทราบถึงการที่จำเลยกั้นแบ่งห้องให้บุคคลภายนอกเช่า โจทก์เพิ่งมาทราบภายหลังจึงได้บอกเลิกการเช่า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
จำเลยเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ระบุในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินว่าเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย แม้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าว จึงต้องฟังว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย แต่จำเลยให้การว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าซึ่งในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว นอกจากศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินแล้ว ศาลจำต้องฟังพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบมาประกอบว่า โจทก์หรือจำเลยได้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใดผิดไปจากข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดิน อันจะถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงที่ได้ปฏิบัติมาต่อกันได้ ไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร ที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานบุคคลว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ จำเลยจึงไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่าไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ยื่นฟ้องโดยแต่งตั้ง ป. เป็นทนายความและให้ ป. มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้ด้วย โจทก์ได้ชำระค่าธรรมเนียมแต่งทนายความพร้อมใบแต่งทนายความแล้ว เมื่อ ป. ยื่นฟ้องฎีกาจึงไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมแต่งทนายความอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์ต้องเคยยกขึ้นในศาลชั้นต้น จึงจะรับฟังได้
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า โดยสภาพธรรมชาติของเกลือจะมีความชื้นในตัวเอง หากวางทับซ้อนกันเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดปฏิกริยาทางเคมี เมื่อประสบกับความร้อนจากแสงแดดย่อมทำให้สินค้าเกลือเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ในระหว่างการขนส่งเรือได้ประสบพายุทำให้น้ำเข้าเรือจึงเป็นเหตุพ้นวิสัย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ประกอบด้วยมาตรา 225 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้จำเลยที่ 1 จะได้ให้การว่าความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากอุบัติเหตุแห่งท้องทะเลที่ใช้เดินเรือไว้ด้วย ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 2 ที่จะหยิบยกขึ้นอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8524/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากความผิดฐานกระทำชำเราโดยมีเหตุฉกรรจ์เป็นความผิดฐานเดิมที่ไม่มีเหตุฉกรรจ์ และข้อจำกัดในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ลงโทษจำคุก 25 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ลงโทษจำคุก 7 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้จากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์ ขณะกระทำผิดจำเลย มีมีดเป็นอาวุธ เป็นความผิดฐานเดิมไม่ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์ คือขณะกระทำผิดจำเลยไม่มีอาวุธ ทั้งความผิดทั้ง สองวรรคต่างเป็นความผิดอันยอมความกันไม่ได้ จึงเป็นกรณีแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ที่โจทก์ฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีมีดเป็นอาวุธหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม มิให้โจทก์ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชนเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษโดยไม่เพิ่มโทษจำคุก
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี 6 เดือนศาลอุทธรณ์เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยัง สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุรี มิได้เป็นการลงโทษ จำเลยโดยจำคุกเกิน 5 ปี ทั้งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง และตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 124 ประกอบมาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วมในคดีอาญา: ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษและมีเหตุต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364,365 ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ระหว่างพิจารณาผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกจำคุก 6 เดือน ในความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง ฯลฯจำคุก 3 เดือน ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกไว้โจทก์ร่วมฎีกา ดังนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีได้ น่าจะหมายถึงการอนุญาตเฉพาะในข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364,365 เท่านั้น ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายจึงเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยในข้อหาดังกล่าว
ความผิดในข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364,365 แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ไขรอการลงโทษจำคุกจำเลยอันเป็นการแก้ไขมากแต่ก็ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219
of 33