คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินกว่าเหตุจากการยิงเพื่อช่วยเหลือพี่ชายที่ถูกทำร้าย ศาลพิพากษาลงโทษจำกัดเฉพาะผู้ยิง
จำเลยเห็นพี่ชายของนายจ้างกำลังถูกทำร้าย จึงใช้ปืนยิงไปกระสุนปืนไปถูกผู้ตายเข้าถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันแต่เกินกว่าเหตุ เพราะผู้ที่ถูกทำร้ายเป็นเพียงแต่ถูกขว้างและตีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราโทษความผิดพยายามข่มขืนชำเราและขอบเขตการสืบพยาน
แม้ความผิดฐานข่มขืนชำเราตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 244วรรคต้นมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง 10 ปีแต่ความผิดฐานพยายามตามมาตรา 244 นั้น อย่างสูงศาลจะพิพากษาโทษได้6 ปี 8 เดือนเท่านั้นจึงเป็นคดีที่ไม่จำเป็นต้องฟังพยานโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา176 ก่อน เมื่อจำเลยรับสารภาพศาลก็ย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้ทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดโทษจำคุกรวมเมื่อถูกตัดสินหลายกระทง แม้รวมเกิน 5 ปี แต่แต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี
จำเลยต้องโทส 2 กะทงแต่ละกะทงจำคุกไม่เกิน 5 ปีแม้รวมโทสจำคุกเปน 7 ปีก็ดีก็ดีกาไนข้อเท็ดจิงไม่ได้ อ้างดีกาที่ 219-220/2485

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลชั้นต้นนายเดียว: โทษจำคุกเกิน 6 เดือน คำนวณจากโทษหลังลดแล้ว
ผู้พิพากษานายเดียวพิพากษาวางโทษจำคุกจำเลย 1 ปีลดกึ่งหนึ่งคงเหลือ 6 เดือนได้ไม่เป็นการเกินอำนาจตามพระธรรมนูญประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทลงโทษโดยศาลอุทธรณ์และการไม่อุทธรณ์ฎีกาโทษไม่เกิน 5 ปี
ศาลเดิมวางบท 225 ให้จำคุกจำเลย 3 ปี ศาลอุทธรณ์แก้วางบท 229 ให้จำคุกจำเลย 5 ปี ดังนี้ เปนการแก้ไขเล็กน้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10493/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาที่มีอัตราโทษจำกัด โจทก์ต้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามขั้นตอนกฎหมาย
คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 และมาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งขั้นตอนในการปฏิบัติตามข้อยกเว้นให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ดังกล่าวมิได้มีบัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือ โจทก์ต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องดังที่กล่าวข้างต้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และให้ส่งสำเนาให้จำเลยทั้งสามแก้ จึงไม่มีผลตามกฎหมายให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22056/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงจำกัดตามโทษที่กฎหมายกำหนด แม้รับฟ้องแต่ขาดอำนาจพิจารณาคดี
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) บัญญัติให้ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 โดยบรรยายฟ้องรวมกันมา จึงเป็นกรณีที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ด้วยก็ตาม แต่หากพิจารณาได้ความตามฟ้อง ศาลต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 328 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. 90 เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท กรณีจึงเกินอำนาจศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ที่โจทก์ฎีกาว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 เห็นได้ว่าศาลสามารถที่จะลงโทษจำเลยในบทมาตราที่ถูกต้องได้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับรับฟ้องไว้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. แล้ว หากศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์สืบสมแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ซึ่งตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองรวมการกระทำความผิดหลายอย่าง และแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้ เห็นได้ว่าศาลชั้นต้นพิจารณารับฟ้องโดยชอบมาแต่ต้นแล้วนั้น เห็นว่า ข้อกฎหมายที่โจทก์ทั้งสองยกขึ้นฎีกาเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องซึ่งเป็นคนละกรณีกับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้น และการจะนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับนั้น ศาลชั้นต้นต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้เสียก่อน เมื่อศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วจึงไม่สามารถนำบทบัญญัติดังกล่าวมากล่าวอ้างได้ว่าศาลชั้นต้นพิจารณารับฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดโทษรวมคดีความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91: ศาลมีอำนาจจำกัดโทษรวมได้หรือไม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 กระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้ร่วมกันจำเลยที่ 2 วางแผนหรือรู้เห็นในการฉ้อโกงผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาหลอกลวงผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายขายผ้าทอมือให้จำเลยทั้งสองเกิดจากการเชื่อถือของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดทางแพ่ง ไม่ต้องรับโทษทางอาญาเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้ (1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี" มีความหมายว่าความผิดหลายกรรมนั้นไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษให้คิดจากโทษที่รวมกันทุกกระทงความผิด แต่ถ้าโทษที่เพิ่มหรือลดยังเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (1) แล้ว จะลงโทษจำคุกได้ไม่เกินกว่า 10 ปี บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะลงโทษจำคุกต่ำกว่า 10 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13599/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย และข้อจำกัดในการลงโทษปรับเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์
เมทแอมเฟตามีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.484 กรัม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท และตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/1 บัญญัติว่า ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ แต่เมื่อศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง โดยไม่ลงโทษปรับด้วย โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษปรับได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดโทษตามฟ้อง: แม้มีเจตนาทำร้าย แต่คำฟ้องไม่ระบุอาการบาดเจ็บสาหัส ศาลต้องลงโทษตามที่ฟ้องเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสอย่างไร อีกทั้งตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ซึ่งแนบมาท้ายคำฟ้องและถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บถึงทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันแต่อย่างใดดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาทำร้าย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่กล่าวในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงลงโทษได้เพียงตาม ป.อ. มาตรา 295 เท่านั้น
of 4