พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความจำนวนเงินในคำฟ้อง: ข้อผิดพลาดในการพิมพ์ตัวเลขกับเจตนาของผู้ฟ้อง
คำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่า ในวันและเวลาเกิดเหตุ ล.ได้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปตามถนนเมื่อถึงบริเวณที่เกิดเหตุ มีจำเลยที่ 1ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 สวนทางมาด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้ามาชนรถที่ ล.ขับทำให้รถของนายลองที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้จัดการซ่อมแซมรถยนต์คันดังกล่าวไปเป็นจำนวนเงิน 101,492 บาท และค่ายกลากรถ 1,250 บาท รวมเป็นเงิน102,742 บาท โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,605 บาท จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันหรือแทนกันใช้เงิน 104,347 บาท ให้โจทก์ และในคำขอท้ายคำฟ้องระบุว่าให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 104,347บาท แล้วมีข้อความในวงเล็บว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย 104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเงินสามจำนวนเมื่อรวมกันแล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บต่อท้าย 104,347 บาท ว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) นั้นจึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวอักษรเป็นประมาณตาม ป.พ.พ.มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสอง พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ยจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาคดีแรงงาน: ข้อผิดพลาดเล็กน้อยเกี่ยวกับจำนวนเงินค้างจ่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ21,500 บาท ในการทำงานตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 86,000 บาทแต่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้เพียง 7,200 บาท ยังคงค้างจ่ายอีกเป็นเงิน78,800 บาท โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมจ่าย ดังนี้คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้อย่างชัดแจ้งว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 เป็นเวลา 4 เดือนรวมเป็นเงิน 86,000 บาทจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้ว 7,200 บาท คงค้างอีก 78,800 บาท และเงินจำนวนที่ค้างอยู่นี้โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าได้ทวงถามแล้วซึ่งแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าประสงค์จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าว หาใช่ต้องการได้รับเพียงจำนวน 7,880 บาท ตามที่ระบุในคำขอท้ายคำฟ้องไม่เหตุที่คำขอท้ายคำฟ้องระบุจำนวนเงินไว้7,880 บาท จึงเกิดจากความพลั้งเผลอเขียนตัวเลขผิดพลาดไป เป็นเหตุให้ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงิน 7,880 บาท ผิดพลาดตามไปด้วยอันเป็นกรณีคำพิพากษามีข้อผิดพลาดเล็กน้อย และคู่ความไม่ได้อุทธรณ์โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องไดโดยแก้ไขจำนวนเงินในคำพิพากษาจาก 7,880 บาท เป็น78,800 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง: คำนวณค่าชดเชยได้ แม้จำนวนไม่แน่นอน ศาลแก้ไขจำนวนเงินฟ้องเกินสิทธิ
ค่านายหน้าที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนแม้จะมีจำนวนไม่แน่นอน และไม่เท่ากัน แต่จำเลยจ่ายค่านายหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ ทุกวันสิ้นเดือน โดยคำนวณตามยอดขายสินค้าที่โจทก์ขายได้และยอดเงินที่จำเลยเก็บค่าสินค้าซึ่งโจทก์ขายได้จึงเป็น การจ่ายเป็นประจำทุกเดือน กรณีถือได้ว่าค่านายหน้าดังกล่าว เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงาน โดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ จึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 จำเลยต้องนำค่านายหน้าดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่านายหน้าซึ่งต้องนำมารวม เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยเกินไปจากจำนวนเงินซึ่งโจทก์ มีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงิน ดังกล่าวไม่ถูกต้องเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็น ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา มีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้ำประกันการทำงาน: สิทธิคืนเมื่อทำงานครบกำหนด/ทุจริต & จำนวนเงินที่ต้องคืน
ใบสมัครงานของโจทก์ระบุชัดว่า โจทก์จะทำงานกับจำเลยอย่างน้อย 1 ปี และถ้าจะลาออกจะแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ถ้าผิดสัญญาและ/หรือถูกจำเลยให้ออก ไล่ออกด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม โจทก์จะไม่รับเงินค้ำประกันคืนเงินค้ำประกันนี้ไม่ค้ำประกันความเสียหายใด ๆ ที่โจทก์ก่อขึ้นเงินค้ำประกันที่โจทก์ยังจ่ายไม่ครบให้หักจากเงินเดือนจนครบตามจำนวนที่จำเลยต้องการ หมายความว่า เงินค้ำประกันดังกล่าวโจทก์วางไว้แก่จำเลยเพื่อประกันการทำงานว่าจะทำงานกับจำเลยไม่น้อยกว่า 1 ปี ถ้าโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาและถูกจำเลยให้ออกหรือไล่ออกจากงานด้วยเหตุใดก่อนครบ 1 ปีโจทก์ทั้งสองจะไม่รับเงินค้ำประกันคืนจากจำเลย และแม้โจทก์จะทุจริตต่อหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ก็ไม่ใช่เงื่อนไขที่จำเลยจะไม่คืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์ ดังนี้เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยมาเกิน 1 ปี ครบถ้วนตามข้อตกลงในใบสมัครงานแล้ว แม้ถูกจำเลยไล่ออก โจทก์ก็มีสิทธิรับเงินค้ำประกันคืน แต่หากโจทก์นั้นทำงานกับจำเลยมายังไม่ถึง 1 ปี ตาม ข้อตกลงในใบสมัครและถูกจำเลยไล่ออกเพราะความผิดของโจทก์ที่ทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิรับเงินค้ำประกันที่วางไว้แก่จำเลยคืน ตามคำฟ้องโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยเรียกเก็บเงินค้ำประกันจากโจทก์ครั้งแรกคนละ 2,000 บาท ในวันเริ่มทำงานและหักค่าจ้างโจทก์ทั้งสองอีกคนละ 1,000 บาท เป็นรายเดือนเป็นเวลา 3 เดือน รวมเป็นเงิน 5,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่จำต้องคืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์เพราะโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย รายละเอียดปรากฏตามใบสมัครงานเอกสารท้ายคำให้การ ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยต้องคืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่เพียงใด ย่อมหมายถึงว่าการที่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ต้องรับผิดในเงินค้ำประกันต่อโจทก์ และมีความหมายรวมถึงปฏิเสธเรื่องจำนวนเงินค้ำประกันที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์มีจำนวนเท่าใด มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยรับข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนเงินที่ค้ำประกันกันแล้ว ทั้งมิใช่เป็นการตรวจและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน ดังนั้น ที่ศาลแรงงานพิเคราะห์จากเอกสารซึ่งจำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานที่มีการระบุชัดเจนว่าเงินค้ำประกันมีจำนวน 2,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ค้างเงินค้ำประกันอยู่อีก ส่วนเงินที่หักจากโจทก์มีคนละ 3,000 บาท เป็นเงินค่าจ้างที่หักไว้เท่านั้น จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็น ข้อพิพาทโดยชอบแล้ว มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำฟ้องคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6420/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนวนทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกิน 50,000 บาท ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เนื่องจากฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้มีเพียง 28,466.60 บาท เมื่อโจทก์รับว่าเป็นหนี้จำเลยจำนวน 39,342 บาท และขอหักกลบลบหนี้ จำเลยจึงไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้องจำนวน 63,174.41 บาท จึงมีจำนวนหนี้ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง 34,707.80 บาท ไม่ใช่จำนวน 63,174.41 บาท ถือได้ว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคหนึ่ง
โจทก์ฎีกาขอให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฎีกาขอให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6132/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชดใช้หนี้สัญญาข้าราชการศึกษาต่อ: พิจารณาจากจำนวนเงินที่ต้องชดใช้เป็นหลัก
จำเลยมีภาระต้องทำงานชดใช้หนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเป็นเวลา 5 ปี 10 เดือน 24 วัน คิดเป็นเงินที่ต้องชดใช้จำนวน 160,089.99 บาท และต้องทำงานชดใช้หนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน 2 วัน คิดเป็นเงินที่ต้องชดใช้จำนวน 556,199.90 บาท ซึ่งในการพิจารณาว่าหนี้รายใดจะตกหนักที่สุดแก่จำเลยนั้นจะต้องพิจารณาจากภาระที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นประเด็นสำคัญ แม้ระยะเวลาทำงานชดใช้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศยาวนานกว่าก็ตาม แต่กรณีได้ผ่านพ้นระยะเวลาที่จะต้องทำงานชดใช้ไปแล้วเนื่องจากโจทก์อนุญาตให้จำเลยลาออกจากราชการ จำเลยจึงมีหน้าที่เพียงชดใช้เงินให้แก่โจทก์เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องพิจารณาจากจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นหนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรืออบรม ณ ต่างประเทศจึงเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่จำเลยจึงต้องให้หนี้ตามสัญญาดังกล่าวได้เปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 โดยนำเวลาที่จำเลยกลับเข้าทำงานชดใช้เป็นเวลา3 ปี 1 เดือน 24 วัน ไปชดใช้เวลาที่จำเลยต้องทำงานชดใช้จำนวน 1 ปี6 เดือน 2 วัน ก่อน ซึ่งยังเหลือเวลาที่จำเลยทำงานชดใช้ไว้อีก 1 ปี 7 เดือน22 วัน และถือว่าจำเลยได้ทำงานชดใช้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรมณ ต่างประเทศครบตามสัญญาแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินไม่ระบุจำนวนเงิน: ไม่สมบูรณ์ แม้มีเช็คค้ำประกัน
สัญญากู้ยืมเงินที่ไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ให้กู้ยืมไว้นั้นเป็นการสาระสำคัญไม่อาจใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้ แม้ในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจะมีข้อความว่า ผู้กู้ได้นำเช็คเงินสดซึ่งมีการระบุจำนวนเงินเอาไว้ชัดเจนแล้วมอบให้ผู้ให้กู้เพื่อเป็นการค้ำประกัน ก็ฟังได้แต่เพียงว่าผู้กู้นำเช็คดังกล่าวมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจฟังว่าผู้กู้ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ไปตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินต้องระบุจำนวนเงิน หากไม่ระบุถือเป็นสัญญากู้ยืมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถนำมาใช้บังคับคดีได้
สัญญากู้ยืมเงินที่ไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ให้กู้ยืมไว้นั้นเป็นการสาระสำคัญไม่อาจใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้แม้ในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจะมีข้อความว่าผู้กู้ได้นำเช็คเงินสดซึ่งมีการระบุจำนวนเงินเอาไว้ชัดเจนแล้วมอบให้ผู้ให้กู้เพื่อเป็นการค้ำประกันก็ฟังได้แต่เพียงว่าผู้กู้นำเช็คดังกล่าวมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินเท่านั้นไม่อาจฟังว่าผู้กู้ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ไปตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็ค แม้มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็ค
จำเลยผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทแม้ผู้ที่แก้ไขรายการเช็คพิพาทช่องจำนวนเงินให้ตรงกับยอดจำนวนเงินที่ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไม่ใช่จำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดเพราะแม้ไม่มีการแก้ไขดังกล่าวจำเลยก็ต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา12อยู่แล้วการแก้ไขนั้นจึงไม่ใช่การแก้ไขที่เป็นสาระสำคัญที่ทำให้เช็คพิพาทเสียไปตามมาตรา1007วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทจำนวนเงินไม่ตรงกัน ศาลใช้จำนวนเงินตามตัวอักษร และแก้ไขคำสั่งค่าทนายความ
จำเลยเป็นผู้เขียนจำนวนเงินในเช็คพิพาท แต่เขียนจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกัน เมื่อศาลไม่อาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้จึงต้องถือเอาจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรเป็นประมาณ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ โดยที่โจทก์และทนายโจทก์มิได้แก้อุทธรณ์หรือยื่นคำร้องหรือกระทำการใด ๆ ต่อศาลอันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติในการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ โดยที่โจทก์และทนายโจทก์มิได้แก้อุทธรณ์หรือยื่นคำร้องหรือกระทำการใด ๆ ต่อศาลอันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติในการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้