พบผลลัพธ์ทั้งหมด 299 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นฉ้อฉล แม้มีสัญญาสิทธิอาศัยก่อนยึดทรัพย์และทราบการยึด
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้ทำกันและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาท แม้ขณะที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2และที่ 3 ทำสัญญาดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิของคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยให้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจึงไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาทได้ ต้องเลี่ยงมาทำสัญญาสิทธิอาศัย และการที่จำเลยทั้งสามไม่ได้นำพาที่จะดำเนินการจดทะเบียนโดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเกือบ 10 ปีก็ไม่ได้ทำให้สัญญาสิทธิอาศัยเสียไป เมื่อสิทธิอาศัยดังกล่าวมีอยู่ก่อนหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ค้างชำระโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. ครบถ้วนตามที่จำเลยทั้งสามได้ตกลงกันไว้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ชอบที่จะขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะทราบว่าโจทก์ได้ยึดทรัพย์สินของ จำเลยที่ 1 รวมทั้งห้องชุดพิพาทก่อนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็เป็นการใช้สิทธิโดยชอบของจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามสมคบกันกระทำการโดยไม่สุจริต โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงไม่มี อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินเป็นภาระจำยอม ไม่ถือเป็นการฉ้อฉล โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงหนึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขอแบ่งแยกที่ดินแปลงดังกล่าวออกเป็นที่ดินอีกโฉนดหนึ่งเนื้อที่ 18 ตารางวาและจดทะเบียนภารจำยอมเป็นทางเดินให้แก่ที่ดินแปลงอื่น เมื่อทางภารจำยอมที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกไปจากที่ดินซึ่งโจทก์ทำสัญญาจะซื้อเป็นทางภารจำยอมที่มีมาแต่เดิม การแบ่งแยกทางภารจำยอมของจำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องโอนขายแก่โจทก์ จึงมิใช่การฉ้อฉลโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมของจำเลยที่ 1 สัญญาจะซื้อจะขายที่มีการวางมัดจำเป็นการชำระหนี้บางส่วน การฟ้องร้องบังคับตามสัญญาไม่จำต้องใช้เอกสารเป็นหลักฐาน และไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้นำเอกสารมาแสดงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94ศาลจึงสามารถรับฟังคำพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมของจำเลยที่ 1 ก่อน แล้วจึงขอให้จำเลยที่ 1 ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์เมื่อศาลมีคำวินิจฉัยไม่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมแล้วศาลจึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5723/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิการได้รับค่าทดแทนที่ถูกต้อง, การฉ้อฉลเพื่อหวังค่าทดแทนเพิ่ม และการคิดดอกเบี้ย
โจทก์กับจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ในเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ซึ่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ทำให้จำเลยที่ 1 โดยผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ฯ จึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
การจดทะเบียนทางภาระจำยอมในที่ดินแปลงอื่นให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนกระทำขึ้นภายหลังจากที่ที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดให้อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนมาแล้วหลายปี แสดงว่าทำขึ้นโดยฉ้อฉลเพียงเพื่อประสงค์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนมากขึ้นกว่าเดิม จึงต้องห้ามมิให้คิดเงินค่าทดแทนสำหรับราคาที่ดินที่สูงขึ้น ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 24 (2) จึงต้องถือว่าในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับนั้น ที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนไม่มีส่วนใดอยู่ติดทางสาธารณะหรือทางภาระจำยอม
การจดทะเบียนทางภาระจำยอมในที่ดินแปลงอื่นให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนกระทำขึ้นภายหลังจากที่ที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดให้อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนมาแล้วหลายปี แสดงว่าทำขึ้นโดยฉ้อฉลเพียงเพื่อประสงค์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนมากขึ้นกว่าเดิม จึงต้องห้ามมิให้คิดเงินค่าทดแทนสำหรับราคาที่ดินที่สูงขึ้น ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 24 (2) จึงต้องถือว่าในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับนั้น ที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนไม่มีส่วนใดอยู่ติดทางสาธารณะหรือทางภาระจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินเนื่องจากฉ้อฉล แม้ไม่ได้ยกประเด็นในชั้นชี้สองสถาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 หลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีก่อน จำเลยทั้งสองและทายาทของ จ.นางแจ่มได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโดยการสมยอม ทำให้ที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 ลดน้อยลงและโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1ได้ครบถ้วนตามคำพิพากษา เป็นการฉ้อฉลโจทก์ และโจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 4445 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2534ระหว่างจำเลยทั้งสอง กับให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดพิพาทเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 หรือให้ลบชื่อจำเลยที่ 2 ที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 มาด้วย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการฉ้อฉลโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวซึ่งทำไว้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 ด้วยได้แม้ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดตามคำขอดังกล่าวเป็นประเด็นพิพาทไว้ก็ตาม เพราะเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การโดยตรง มิใช่วินิจฉัยนอกประเด็น และกรณีหาใช่โจทก์สละประเด็นข้อพิพาทในกรณีตามคำขอส่วนนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความประนีประนอมยอมความเกินอำนาจ โจทก์ไม่ยินยอม ไม่ถือเป็นฉ้อฉล
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มาศาล แต่ทนายความของโจทก์ไล่โจทก์ออกนอกห้องพิจารณา แล้วทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม หากโจทก์อยู่ในห้องพิจารณาโจทก์จะไม่ยอมตกลงด้วยนั้น แม้เป็นความจริงก็เป็นเรื่องทนายความของโจทก์ซึ่งมีอำนาจประนีประนอมยอมความตามใบแต่งทนายความกระทำการฝ่าฝืนความประสงค์ของโจทก์ โจทก์จะเสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งหาใช่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 (1) ไม่
โจทก์ฎีกาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำขึ้นโดยฉ้อฉลขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ต่อไปตามรูปคดี โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายป.วิ.พ.เท่านั้น
โจทก์ฎีกาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำขึ้นโดยฉ้อฉลขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ต่อไปตามรูปคดี โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายป.วิ.พ.เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายประนีประนอมยอมความ - การฉ้อฉล - สัญญาประนีประนอมยอมความ
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มาศาลแต่ทนายความของโจทก์ไล่โจทก์ออกนอกห้องพิจารณาแล้วทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม หากโจทก์อยู่ในห้องพิจารณาโจทก์จะไม่ยอมตกลงด้วยนั้นแม้เป็นความจริงก็เป็นเรื่องทนายความของโจทก์ซึ่งมีอำนาจประนีประนอมยอมความตามใบแต่งทนายความกระทำการฝ่าฝืนความประสงค์ของโจทก์ โจทก์จะเสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งหาใช่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1) ไม่ โจทก์ฎีกาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำขึ้นโดยฉ้อฉล ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ต่อไปตามรูปคดีโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดีคำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเป็นค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ(2)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินอันเกิดจากการฉ้อฉลและการหลอกลวง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเข้าใจได้ว่า อ.กับพวกได้สมคบกับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กลอุบายทำการฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ โดยนำโฉนดที่ดินปลอมไปแลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินฉบับที่แท้จริงของโจทก์ แล้วมอบให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลย ทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์มิได้ยินยอมและมิได้รับเงินค่าขายที่ดินจากจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนนั้นเสีย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ว่านั้น รวมทั้งคำขอบังคับที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย การจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336
โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย การจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลซื้อขายที่ดิน การเพิกถอนการจดทะเบียน และความรับผิดของนายหน้าและผู้ซื้อ
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเข้าใจได้ว่า อ. กับพวกได้สมคบกับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กลอุบายทำการฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ โดยนำโฉนดที่ดินปลอมไปแลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินฉบับที่แท้จริงของโจทก์ แล้วมอบให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์มิได้ยินยอมและมิได้รับเงินค่าขายที่ดินจากจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนนั้นเสีย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ว่านั้น รวมทั้งคำขอบังคับที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่ความ แม้จะอ้างว่าทำสัญญาโดยถูกฉ้อฉลภายหลัง
ทนายความของจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความและในวันทำสัญญาดังกล่าว จำเลยก็มาศาลและทราบเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาด้วยหลังจากที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยเหตุที่อ้างว่าโจทก์และทนายจำเลยฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1)จนล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ และโจทก์ทำการยึดทรัพย์ที่จำนองของจำเลยแล้ว คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 147 วรรคหนึ่ง และผูกพันโจทก์จำเลยตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทสัญญาเงินกู้และการฉ้อฉล หากศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาสั่งให้สืบพยานเพิ่มเติมและพิพากษาใหม่ได้
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้