คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อโกง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน-ฉ้อโกงทั่วไป: การกระทำต่างกรรมต่างวาระ, ความผิดหลายกรรม, และการลงโทษ
จำเลยกับพวกได้ก่อตั้งบริษัท ด. ขึ้น และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ประกาศแพร่ข่าวชักชวนประชาชนว่าบริษัท ด. เป็นบริษัทที่มั่นคงประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ต้องการรับสมัครพนักงานหรือบุคลากรเพิ่มหลายตำแหน่ง และโฆษณาชักชวนให้บุคคลทั่วไปนำเงินมาลงทุนในธุรกิจรูปแบบใหม่กับบริษัทซึ่งให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งความจริงแล้วบริษัท ด. ไม่ได้ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และไม่ได้เป็นตัวแทนซื้อขายสินค้าที่ประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อการลงข่าวประกาศทางหนังสือพิมพ์ ก. เป็นความเท็จโดยทุจริตของบริษัท ด. เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ที่ได้อ่านข่าวหลงเชื่อ จึงไปติดต่อและมอบเงินให้จำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกสำหรับผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
ความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 7 และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อผู้เสียหายที่ 2 นั้น เป็นการกระทำต่างวันเวลาและต่างบุคคลกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 มิใช่ความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนและฉ้อโกงโดยร่วมกัน โทษหลายกรรม
จำเลยลงข่าวประกาศทางหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นความเท็จโดยทุจริต เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ที่ได้อ่านข่าวหลงเชื่อจึงไปติดต่อและมอบเงินให้จำเลย จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
ความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 7 และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อผู้เสียหายที่ 2 เป็นการกระทำต่างวันเวลาและต่างบุคคลกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน-กู้ยืมเงินเกินอัตราดอกเบี้ย: พฤติการณ์หลอกลวง-สร้างความเชื่อถือเพื่อขอกู้เงินจำนวนมาก
จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำเงินที่กู้ยืมจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปลงทุนหรือให้บุคคลอื่นกู้ยืมในลักษณะที่จะให้ผลประโยชน์มากเพียงพอที่จะนำมาจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายได้ หากแต่การจ่ายผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายในครั้งแรก ๆ เป็นเพียงอุบายทุจริตตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายให้หลงเชื่อและส่งมอบเงินให้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง และการที่จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายโดยจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน และร้อยละ 20 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ จึงเป็นความผิดตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12582/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บัตรเครดิตปลอม ฉ้อโกง และการริบของกลาง ศาลฎีกาแก้ไขโทษและข้อกำหนดการริบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมบัตรเครดิตวีซ่าและนำบัตรเครดิตที่ปลอมนั้นไปใช้หลอกลวงร้านค้า ห. ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นผู้มีชื่อถือบัตรเครดิตดังกล่าว และได้ไปซึ่งกระเป๋าของกลาง 2 ใบ โดยมิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่และมิได้ขอให้ศาลสั่งริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวมาในฟ้อง ศาลย่อมริบไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ส่วนกระเป๋าของกลาง เจ้าของไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดจึงริบไม่ได้เช่นกันตาม ป.อ. มาตรา 33 วรรคท้าย
แม้พนักงานอัยการโจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่ธนาคาร ท. ผู้จ่ายเงินตามใบบันทึกรายการขายที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตปลอมของจำเลยก็ตาม แต่เมื่อความเสียหายที่ธนาคาร ท. ได้รับนั้น เป็นเพียงความเสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่ถูกจำเลยกระทำทางอาญาจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งจำเลยคืนเงินที่ธนาคาร ท. จ่ายให้ร้าน ห. ให้แก่ธนาคาร ท. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจะไม่มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/4 วรรคแรก ประกอบมาตรา 269/7 แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 265 และ 268 มาบังคับแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12582/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงและการใช้เอกสารปลอม ธนาคารผู้เสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่ผู้เสียหายทางอาญา
ธนาคาร ท. ผู้จ่ายเงินตามใบบันทึกการขายซึ่งเกิดจากบัตรเครดิตของธนาคาร ซ. ที่จำเลยปลอมขึ้นและนำไปใช้ซื้อสินค้าให้แก่ร้าน ห. เป็นเพียงได้รับความเสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่ถูกจำเลยกระทำทางอาญา จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งจำเลยคืนเงินที่ธนาคาร ท. จ่ายให้แก่ร้าน ห. ให้แก่ธนาคาร ท. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปลอมและใช้เช็คปลอมฉ้อโกงธนาคาร – พิจารณารอการลงโทษ – การริบของกลาง (บัตร ATM)
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันปลอมเช็คของกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกาแล้วนำเช็คปลอมดังกล่าวไปฉ้อโกงธนาคารผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับเงินไปถึง1,485,628.18 บาท นั้น ลักษณะความผิดเป็นเรื่องร้ายแรงและกระทบต่อความเชื่อถือระหว่างธนาคารซึ่งเป็นสถาบันการเงินและของประชาชนผู้สุจริตทั่วไปในการใช้เช็คนับเป็นการกระทำที่มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนเสียหายของผู้อื่นและสังคมส่วนรวม กรณีไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบัตร เอ.ที.เอ็ม. เป็นทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33 แต่อย่างใด จึงไม่อาจริบบัตรดังกล่าวได้ ต้องคืนแก่เจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง vs ลักทรัพย์: การกระทำทุจริตหลอกลวงให้เชื่อว่าจะซื้อของ แต่ไม่มีเจตนาจ่ายเงิน ถือเป็นฉ้อโกง
จำเลยทั้งสามกับ ย. ทำทีขอซื้อผ้าจากโจทก์ร่วม โดยหลอกให้โจทก์ร่วมขนผ้าขึ้นรถแล้วบอกว่าจะชำระค่าผ้าก่อน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือให้ตามไปเก็บจาก ย. เมื่อบุตรสาวของโจทก์ร่วมร้องไห้ภริยาของโจทก์ร่วมเข้าไปดูแลบุตรสาวภายในร้าน จำเลยทั้งสามกับ ย. ก็พากันนำรถบรรทุกผ้าออกไปจากร้านทันที จำเลยทั้งสามกับย. มีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าจะซื้อผ้ามาแต่ต้นด้วยการวางแผนการเป็นขั้นตอนและไม่มีเจตนาจะใช้ราคาผ้าเลย จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83 มิใช่ลักทรัพย์ดังที่โจทก์ฟ้อง แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยทั้งสามมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษฐานฉ้อโกงตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามมาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3962/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสนับสนุนการฉ้อโกงและใช้เอกสารปลอม: พยานหลักฐานรับสารภาพและพฤติการณ์สนับสนุน
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่บ้านผู้เสียหายเพื่อให้จำเลยที่ 2ที่ 3 กู้เงินผู้เสียหายโดยใช้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนปลอมเป็นหลักฐานการขอกู้เงิน และไปจอดรถรออยู่ริมบึง ซึ่งพันตำรวจตรี บ. ผู้ร่วมจับกุมจำเลยทั้งสามได้วางกำลังเจ้าพนักงานตำรวจไว้รอบบึงเจ้าพนักงานตำรวจได้วิทยุแจ้งเหตุการณ์ให้ทราบ ตั้งแต่ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วไปจอดรถรออยู่ระหว่างจับกุมจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 1รู้ตัวจึงขับรถยนต์หลบหนี เจ้าพนักงานตำรวจวิทยุสกัดจับกุมไว้ได้ ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 รับว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการปลอมเอกสารนำเอกสารที่ช่วยกันทำปลอมขึ้นไปถ่ายสำเนาหลายครั้งและขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตั้งแต่วันแรกและไปนอนค้างคืนที่โรงแรมในอำเภอ และวันรุ่งขึ้นก็ยังขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่บ้านผู้เสียหายอีก และขณะถูกจับกุมเจ้าพนักงานตำรวจค้นในรถก็พบกระเป๋าเสื้อผ้าของจำเลยที่ 2 และที่ 3 พยานหลักฐานโจทก์จึงปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานร่วมกันพยายามฉ้อโกงและฐานร่วมกันใช้เอกสารราชการและเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3896/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องความเป็นบริวารและการฉ้อโกงในสัญญาซื้อขาย
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศขับไล่ผู้ร้องให้ออกไปจากที่ดินแต่ผู้ร้องคัดค้านว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย หากแต่เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านที่โจทก์กับจำเลยได้ร่วมกันจัดสรรขึ้น แต่โจทก์กับจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินและบ้านให้แก่ผู้ร้อง โดยโจทก์แกล้งฟ้องขับไล่จำเลยต่อศาล หากเป็นความจริง การที่จะให้บังคับคดีโดยให้ผู้ร้องทุกรายออกไปจากที่ดิน อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องได้ แม้โจทก์จะมีสิทธิบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาก็ตาม แต่การที่จะงดการบังคับคดีไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) ก็เป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร โดยไม่ต้องไต่สวนให้ได้ความจริงก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367-3368/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: เริ่มนับจากวันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด
โจทก์แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 1 ถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของโจทก์โดยไม่ถูกต้อง เมื่อโจทก์สอบถามจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ได้ชี้แจงถึงเหตุที่ทางธนาคารจำเลยที่ 1 ต้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ของลูกหนี้ที่โจทก์ค้ำประกันไว้แสดงว่าโจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 คือผู้ที่หักเอาเงินของโจทก์ไป โจทก์จึงไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองจึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้เรื่องความผิดที่จำเลยทั้งสองกระทำการฉ้อโกงโจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว ส่วนเมื่อโจทก์แจ้งความแล้วพนักงานสอบสวนผู้รับแจ้งจะเห็นว่าไม่เป็นความผิดทางอาญาจึงบันทึกการรับแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นเพียงความเห็นของพนักงานสอบสวน ซึ่งไม่อาจลบล้างข้อเท็จจริงที่ถือว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงไปได้โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลา 3 เดือนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96แล้วจึงขาดอายุความ
of 94