คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อโกงประชาชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน-กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง: กรณีหลอกลวงรับสมัครงานและเรียกเก็บเงินประกัน/หุ้น
บริษัทมีเจตนาเพียงจะเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากประชาชนผู้มาสมัครงานโดยมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตัวกรรมการของบริษัทเองหรือเพื่อบริษัทอันเป็นการกระทำโดยทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงานด้วยแสดงข้อความเท็จว่าให้สมัครเข้ามาทำงานแต่บริษัทหามีงานให้ทำไม่จำเลยที่1และที่2ในฐานะกรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทไม่มีงานให้ทำแต่ก็ยังร่วมดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนและในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานดังกล่าวเป็นเหตุทำให้บริษัทกับกรรมการของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทำงานจากผู้สมัครการกระทำของจำเลยที่1และที่2จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341,343วรรคแรก การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ30หุ้นเป็นเงิน3,000บาทมีลักษณะเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงินค่าครองชีพเดือนละ135บาทจึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527มาตรา3เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงินในการรับสมัครงานที่มิชอบหรือจ่ายหรือตกลงหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดดังกล่าวและในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ135บาทหรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ54ต่อปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา5แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527เมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวจึงมีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527มาตรา5 ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา344ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผลคือการทำงานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สามโดยจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่าที่ตกลงกันการกระทำของจำเลยที่1และที่2ที่ได้กระทำในนามของบริษัทโดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดีการรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดีการคืนเงินประกันการทำงานเมื่อครบกำหนด6เดือนแล้วก็ดีล้วนเป็นอุบายทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อและมอบเงินให้แสดงว่าจำเลยที่1และที่2หลอกลวงผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่1และที่2เท่านั้นมิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อมิให้มาทำงานเพราะความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำที่จำเลยที่1และที่2จัดให้มีการทำงานในช่วงแรกๆและจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่งซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้กรณีจึงมิให้เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา344ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยรวมโทษทุกกระทงแล้วปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(2)ทั้งที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดคือความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง20ปีนั้นไม่ถูกต้องที่ถูกต้องปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(3)รวมจำคุกคนละ50ปีแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งห้าคงแก้ไขให้ถูกต้องได้เฉพาะปรับบทให้ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดจากยักยอกเป็นฉ้อโกงประชาชน เกินกรอบการพิจารณาของศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 343 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเบียดบังทรัพย์สินของผู้เสียหายโดยมีเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอกศาลลงโทษฐานยักยอกได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคหนึ่ง จำคุก 3 ปี โจทก์ไม่อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอก ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายและประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหาในชั้นอุทธรณ์จึงมีตามอุทธรณ์ของจำเลย เพียงว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานยักยอกหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า การกระทำของจำเลยเป็นการ-หลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนและการหลอกลวงดังกล่าวทำให้จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามฟ้องและพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก ให้จำคุก 3 ปีตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงในข้อที่โจทก์และจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยข้อเท็จจริงและปรับบทลงโทษจำเลยว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดี คดีนี้จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอก ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควร ย่อมย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 และ 247ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีฉ้อโกงประชาชน: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากขัดต่อหลักการพิจารณาคดีที่จำกัดเฉพาะประเด็นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา343ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352วรรคหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามจำเลยอุทธรณ์ส่วนโจทก์ไม่อุทธรณ์ฉะนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายและประชาชนด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและปรับบทลงโทษจำเลยว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5969/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน-จัดหางาน: การหลอกลวงเป็นรายบุคคล ไม่เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนหรือการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ โดยจะได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยทั้งสามไม่สามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ เพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง โดยการหลอกลวงของ จำเลยทั้งสามดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสามไป การบรรยายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ได้ความเพียงว่าจำเลยทั้งสามเจตนาหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งหลายเพื่อหวังจะได้รับเงินค่าบริการตอบแทนจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายเท่านั้น จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีเจตนาที่จะส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงไปทำงานในต่างประเทศดังที่จำเลยทั้งสามกล่าวอ้างแต่ประการใด การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ตามฟ้อง โจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนทราบข่าวจากเพื่อนคนงาน คนอื่น ๆ ว่า จำเลยที่ 1 จัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายจึงไปที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อสมัครงาน ได้พบจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายว่าสามารถจัดส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสได้ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายต่างหลงเชื่อจึงได้มอบเงินค่าทำวีซ่าและค่าตอบแทนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปต่อหน้าจำเลยที่ 3 เป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละรายเป็นรายบุคคล หาใช่เป็นการประกาศโฆษณาเชิญชวนต่อประชาชนไม่ แม้ที่หน้าสำนักงานของจำเลยที่ 1 จะมีป้ายชื่อของจำเลยที่ 1 ปิดไว้ก็ตามแต่ป้ายดังกล่าวก็เป็นเพียงป้ายชื่อของจำเลยที่ 1 เท่านั้นไม่มีข้อความแสดงถึงการประกาศโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนมาสมัครงานกับจำเลยแต่อย่างใดจำเลยทั้งสามจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน: กรรมการบริษัทร่วมรับผลประโยชน์ถือเป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย แม้คดีอาญาไม่ถึงที่สุด
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1ร่วมกับจำเลยที่ 6 รับเงินจากผู้ร่วมลงทุนแล้วนำไปมอบให้จำเลยที่ 1รับผลประโยชน์จากจำเลยที่ 1 มามอบให้กับผู้ร่วมลงทุน โดยจำเลยที่ 4ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 1 เปอร์เซ็นต์ชักชวนให้บุคคลทั่วไปร่วมลงทุน เป็นการที่จำเลยที่ 4 และที่ 6กู้ยืมเงินตามพระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 แล้ว แม้พระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯมาตรา 3 จะบัญญัติว่า ผู้กู้ยืมเงินหมายความว่าบุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงินและในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย แต่การที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 ได้ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1 และได้รับผลประโยชน์ตอบแทนถือได้ว่าจำเลยที่ 4และที่ 6 ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย เพราะบุคคลธรรมดาอาจร่วมกับนิติบุคคลประกอบกิจการก็ได้ แม้จำเลยที่ 4 จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงประชาชนและความผิดตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ และเป็นโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายก็ตาม ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6 ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1 อยู่นั่นเอง แม้ศาลอาญาจะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 6 ในข้อหาฉ้อโกงและความผิดต่อพระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯแต่พนักงานอัยการโจทก์ยังอุทธรณ์คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าจำเลยที่ 6 ไม่ได้กระทำผิดตามพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ตาม แต่ตามเจตนารมณ์ ของพระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 10 นั้น แม้ผู้กระทำผิดอยู่ในฐานะผู้ต้องหาและหากเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเป็นบุคคลล้มละลาย พนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ ทั้ง ๆ ที่ในขณะฟ้องยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าผู้กระทำผิดได้กระทำผิดหรือไม่ พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 ให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้เสียหายเชื่อคำหลอกลวง
จำเลยที่ 1 และที่ 4 มาหาที่บ้านแล้วชักชวนให้ ส.และ ธ. ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นโดยได้ค่าจ้างประมาณเดือนละ 35,000 บาท ถึง 40,000 บาท แต่การไปต้องมีค่าใช้จ่ายคนละ 68,000 บาท ถึง 78,000 บาท และให้บุคคลทั้งสองพาจำเลยที่ 1 และที่ 4 ไปบ้าน ว. และ น. และพูดชักชวน ว. และ น. ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นโดยยืนยันว่ามีงานให้ทำจริง ๆ นอกจากนั้น ว. ยังไม่ได้แจ้งให้ ล., ท.และพ. ทราบ แล้วพากันเดินทางมากรุงเทพฯ โดยมีจำเลยที่ 1 และที่ 5 ไปรอรับที่สถานีขนส่งระหว่างอยู่ในกรุงเทพฯ จำเลยทั้งห้ากับพวกมารับเงินจากผู้เสียหายทั้งเจ็ดไป อ้างว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการทำวีซ่าค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าทำงาน พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลย ทั้งห้ามิใช่เป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ควรบอกให้แจ้งต่อประชาชน การแสดงข้อความอันเป็นเท็จของ จำเลยทั้งห้าเป็นการเฉพาะเจาะจงต่อผู้เสียหายทั้งเจ็ดคน เท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน จำเลยทั้งห้าไม่ได้ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนงานข้อความเท็จที่จำเลยทั้งห้าร่วมกันแสดงออกต่อผู้เสียหายทั้งเจ็ด ยืนยันข้อเท็จจริงว่ามีงานให้ทำในประเทศญี่ปุ่นมีค่าจ้างเดือนละ 35,000 บาท ถึง 40,000 บาท และชักชวนผู้เสียหายทั้งเจ็ดให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นข้อความเท็จนั้น เป็นข้อความที่จำเลยทั้งห้าใช้หลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดเพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหายทั้งเจ็ดเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งห้าประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน ตามความหมายของพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 จำเลยทั้งห้าจึงไม่มีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานโดยมิได้รับอนุญาต ผู้เสียหายทั้งเจ็ดมอบเงินให้จำเลยทั้งห้า เพราะเชื่อในข้อความเท็จที่จำเลยทั้งห้าแจ้งให้ทราบและที่จำเลยทั้งห้า หลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่าสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งเจ็ด ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้จริงผู้เสียหายทั้งเจ็ดจึงยอมมอบเงินให้จำเลยทั้งห้า การรู้หรือไม่รู้ว่าการเข้าไปทำงาน ในประเทศญี่ปุ่นต้องลักลอบเข้าไป ไม่ใช่สาระสำคัญที่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดยอมมอบเงินให้จำเลยทั้งห้า เมื่อ ผู้เสียหายทั้งเจ็ดยอมมอบเงินให้จำเลยทั้งห้า เพราะเชื่อ ในคำหลอกลวงของจำเลยทั้งห้า ผู้เสียหายทั้งเจ็ดจึงเป็น ผู้เสียหายโดยนิตินัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตฐานฉ้อโกงประชาชน ต้องพิสูจน์การหลอกลวงโดยแสดงข้อความเท็จ หรือปกปิดความจริง
เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจดำเนินการสร้างอาคารชุดต่อไปได้เพราะขาดทุนดำเนินการ และ ส. ประธานกรรมการหลบหนีไปก็ได้รีบดำเนินการงดรับเงินค่าซื้ออาคารชุดงวดต่อ ๆ มาต่อผู้เสียหาย และยังหาทางชดใช้เงินผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่มีเจตนากระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและเป็นเพียงผู้ลงชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายเป็นคู่สัญญากับผู้เสียหายเท่านั้นหากจะฟังว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก็เป็นเรื่องซึ่งจะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่งต่อไป จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ความประสงค์หรือการกระทำของจำเลยที่ 1 แสดงออกโดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 กระทำผิดตามฟ้องจึงเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: การโฆษณาต่อกลุ่มบุคคลที่รู้จัก ไม่ถือเป็นการฉ้อโกงต่อสาธารณชน
จำเลยทั้งสองเป็นครู รู้จักหรือเป็นที่รู้จักของบุคคลในหมู่บ้านหรือท้องถิ่นเดียวกันเป็นอย่างดี นับถือศาสนาคริสต์ ด้วยกันปฏิบัติศาสนกิจที่โบสถ์เดียวกันดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองโฆษณาต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งรู้จักจำเลยเป็นอย่างดี หาใช่โฆษณาต่อบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าเป็นบุคคลใดไม่ การโฆษณาของจำเลยทั้งสองยังไม่เป็นการโฆษณาต่อประชาชนอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 343.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาหลอกลวงต้องเป็นการโฆษณาต่อประชาชนทั่วไป ไม่ใช่บุคคลที่รู้จักกันดี จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
จำเลยทั้งสองโฆษณาหลอกลวงผู้ที่มาเข้าโบสถ์ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนในบริษัท ท. สามารถส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศได้แต่บุคคลเหล่านั้นต่างเป็นคนหมู่บ้านหรือท้องถิ่นเดียวกันนับถือศาสนาคริสต์ ด้วยกัน ปฏิบัติศาสนกิจที่โบสถ์เดียวกันจำเลยทั้งสองเป็นครูย่อมเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่บ้าน การโฆษณาต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งรู้จักจำเลยเป็นอย่างดี ย่อมมิใช่โฆษณาต่อบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าเป็นบุคคลใด จึงยังไม่เป็นการโฆษณาต่อประชาชนอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน, การประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ขึ้นทะเบียน, และการยกเลิกกฎหมายเดิมด้วยกฎหมายใหม่
พระราชบัญญัติ ควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรม ได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 แล้ว ดังนั้นที่ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ตามคำขอของโจทก์จึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้
of 10